ต้นสักหน้าศาลากลางหลังที่ 2 เมืองกำแพงเพชร

           เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเมืองกำแพงเพชร เมื่อเดือนสิงหาคม 2449 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า วันที่ 23 ฝนตกประปรายอยู่เสมอ 3 โมงต้องไปทั้งฝน ถ่ายรูปทั้งฝน ไปตามถนนบนฝั่งน้ำขึ้นไปข้างเหนือผ่านวัดเล็กๆ ทำด้วยแลง และที่ว่าการซึ่งยังทำไม่แล้ว
แสดงว่าในปี 2449 ที่ว่าการใหม่ ยังไม่เสร็จ
            
ที่ว่าการใหม่สร้างในปีพ.ศ.2448 -2449 ในสมัยของพระวิเชียรปราการ ผู้รั้งเมืองกำแพงเพชร มาเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2450 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
เสด็จมากำแพงเพชรครั้งที่ 2 หลักฐานจากจารึกต้นโพ กพ.8 (หลักที่ 237) ในวันที่ 15 มกราคม 2450 พักอยู่ที่กำแพงเพชร ณ พลับพลา บริเวณบ้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัจจุบัน
อยู่สามราตรี จึงสันนิษฐานว่า
           
ทรงปลูกสักหน้าศาลากลางหลังเก่า ในวันที่ 15 หรือ 16 หรือ 17 มกราคม พ.ศ.2450
แน่นอน เพราะมีคำบอกเล่าของ คนเก่าว่าทรงปลูกต้นสักต้นกลาง แต่ไม่มีรูปถ่ายและหลักฐานชัดเจน
        ส่วนต้นแรก จากต้นโพ จะเป็นของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินหรือไม่ ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ เพราะท่านไม่ได้มากำแพงเพชร พร้อมพระบรมโอรสาธิราช
         
ตัวบุคคลที่ปรากฏนามในคำนำที่ตามเสด็จพระบรมโอรสาธิราช มีชื่อตัว และภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มีนามอื่นดังนี้
           
๑. พระยาอมรินทรฦๅไชย (จำรัส รัตนกุล) ภายหลังเลื่อนเป็น พระยารัตนกุลอดุลยภักดี
           
๒. พระยาอุทัยมนตรี (พร จารุจินดา) ภายหลังเลื่อนเป็น เจ้าพระยาสุรบดินทรฯ
           
๓. พระวิเชียรปราการ (ฉาย) ภายหลังเลื่อนเป็นพระยาชัยนฤนาท
           
๔. นายร้อยโทขุนวิจารณ์รัฐขันธ์ (นาค) ภายหลังเป็นหลวง
           
๕. หลวงภูวสถานพินิจ (ม.ร.ว. สนั่น)
           
๖. พระยาศรีสุนทรโวหาร (กมล สาลักษณ์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ (ซึ่งบัญชาการกรมทำแผนที่อยู่ในสมัยนั้น)             ภายหลังเลื่อนเป็นพระยาศรีภูริปรีชา
           
๗. นายจำนงราชกิจ (บุญชู บุนนาค) ภายหลังเป็นพระยาอมรฤทธิธำรง
           
๘. หลวงบุรีนวราษฐ์ (จันทร์ จิตรกร) ภายหลังเป็นพระยาอนุศาสน์จิตรกร
           
ส่วนต้นสุดท้ายนั้น สันนิษฐานกันว่า พระวิเชียรปราการเป็นคนปลูก ตามหลักฐานที่อ้างถึง
ทรงปลูกเป็นธรรมเนียม หน้าศาลากลางเช่นกัน ในศาลากลางหลังที่ 3 (อำเภอเมืองในปัจจุบัน)