ตำนานจระเข้ปูน

 

          จระเข้ปูนมีลักษณะเป็นหินศิลาแลงมองเป็นรูปคล้ายจระเข้ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 9 เมตร หันศรีษะไปทางทิศเหนือส่วนตรงกลางลำตัวกว้างประมาณ 10 นิ้ว อยู่ชิดกับของทางเดิน (ถนน) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า “จระเข้ปูน” เป็นที่มาของตำนาน “จระเข้ปูน”
          กล่าวกันว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยยังเจริญรุ่งเรืองอยู่ ราวประมาณ พ.ศ. 1420 มีเมืองแห่งหนึ่งชื่อเมือง “พราน” เป็นเมืองใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง มีวังอันเป็นที่ประทับของพระร่วงองค์หนึ่งชื่อ พระมหาพุทธสาคร วันหนึ่งพระมหาพุทธสาครได้เสด็จมาที่วังแห่งนี้เพื่อพักผ่อน ขณะนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพญานาคตนหนึ่ง กำลังคาบสาวงามนางหนึ่งเลื้อยผ่านหน้าไป พระองค์จึงได้ติดตามไปจนกระทั่งถึงภูเขาลูกหนึ่ง พญานาคได้กลืนหญิงสาวลงไปในท้อง พระมหาพุทธสาครได้เสด็จตามมาทันพอดี จึงได้ใช้มนต์สะกดพญานาคไว้ แล้วจึงได้ล้วงหญิงสาวออกมาจากคอพญานาค ทราบชื่อภายหลังว่าชื่อ นางทอง ส่วนเขาบริเวณนั้นก็ชื่อว่า
“เขานางทอง”
          เนื่องจากนางทองเป็นหญิงสาวสวยงามมาก เป็นที่พอพระทัยของพระมหาพุทธสาคร จึงได้รับการอภิเษกเป็นมเหสี ใช้ชีวิตร่วมกับพระร่วงปกครองเมืองพานให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก (บริเวณวังที่ประทับนี้เองซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังพานเก่า ในช่วงที่มีความเจริญมีวัดตั้งอยู่ ปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์ได้มากันเขตไว้เป็นที่สาธารณะ บริเวณนี้ชาวบ้านเคยไถนาแล้วพบซากวังเก่า ๆ มากมายและที่สำคัญได้พบ “พระอู่ทอง” และ “พระวังพาน”)
          ในบริเวณวังที่ประทับของพระมหาพุทธสาครมีบึงน้ำขนาดใหญ่ลึกมากมีถ้ำอยู่ใต้น้ำ เป็นที่อยู่ของพญาจระเข้ยักษ์ ทุกครั้งที่นางทองออกมาอาบน้ำในบึงแห่งนี้ จระเข้จะลอยมาแอบมองด้วยจิตเสน่หา วันหนึ่งขณะที่นางทองอาบน้ำอยู่พญาจระเข้ได้ตรงรี่เข้าไปหานางทองแล้วคาบหนีออกจากบึง เมื่อพระมหาพุทธสาครทราบเรื่องจึงโกรธมากรีบเสด็จติดตามโดยด่วน และทันที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงเพชร เข้าช่วยนางทองออกมาได้ ด้วยความโกรธจึงได้สาบให้พญาจระเข้ยักษ์เป็นหินอยู่ตรงนั้น
          ปัจจุบันบริเวณที่จระเข้ถูกสาปมองไม่ค่อยจะออกแล้วว่ามีร่องรอยของจระเข้หินอยู่เพราะชาวบ้านได้ขุดดินใช้พื้นที่ทำการเกษตรและค้นหาสมบัติบริเวณส่วนหัว ลำตัว และอื่น ๆ ของพญาจระเข้ อย่างไรก็ตามหลังจากมีแนวความคิดที่จะฟื้นฟูถนนพระร่วงบริเวณจระเข้หิน หรือจระเข้ปูนตามที่ชาวบ้านนิยมเรียกกัน