อนึ่งท่อปู่พระยาร่วง
ทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้นก็ถมหายสิ้น และเขาย่อมทำนาทางฟ้า
และหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมืองนาฝาย
มิได้เป็นนาทางฟ้า
ข้อความที่กล่าวถึงคือข้อความที่จารึกที่ฐานพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร ซึ่งจารึกในปี
พุทธศักราช 2053 ได้กล่าวถึงท่อทองแดง ในนามของท่อปู่พญาร่วง แสดงให้เห็นว่า ท่อปู่พญาร่วงได้
กระทำตั้งแต่สมัยสุโขทัย และ ไม่ได้ใช้การในสมัยอยุธยา ตอนต้น จนกระทั่งมาซ่อมแซมจนกระทั่งใช้ได้อีกครั้งหนึ่งในสมัยปัจจุบัน
. แสดงถึงการชลประทานของสมัยสุโขทัยล้ำสมัยมาก
เมื่อวันที่ 30 มกราคม
2521 กรมชลประทานได้ตรวจสอบแนวทางของท่อปู่พญาร่วง ตามโครงการพระราชดำริ ให้กรมชลประทานมาดำเนินการ
ได้พบท่อนซุงไม้สักซึ่งขุดพบขณะก่อสร้างอาคารรับน้ำจากแม่น้ำปิง
อาจารย์พรชัย มหัทธนะสิน หัวหน้าโครงการท่อทองแดงในขณะนั้นได้กล่าวว่า ตอนที่พบท่อไม้สัก
หรือที่เราเรียกกันว่าท่อทองแดง มีสิ่งประหลาดเกิดขึ้นอยู่อย่างหนึ่งคือ
ตอนที่ยกท่อไม้สักขึ้น ปกติไม่มีวี่แววจะเกิดพายุหรือมีฝนแดดยังร้อนๆอยู่ พอรถแมคโฮยกท่อขึ้นเกิดพายุใหญ่พัดโหมแรงมาก
จนคนขับรถไม่กล้าดำเนินการยกต่อ ท่านต้องจุดธูปเทียนบอกว่าไม่เอาไปทำลาย แต่จะเอาไว้ศึกษา
ขอยกไปเก็บไว้ที่อื่น
.. ท่อทองแดงนี้ รัดเป็นช่วง ๆแบบท่อคอนกรีต ยาวประมาณ 4
เมตร แต่ละซีกยาว 60 เซนติเมตรเศษ มี 4 ส่วนประกบกันเป็นท่อ
เมื่อประกอบเสร็จ เป็นท่อยาวประมาณ 1.20 - 1.50 เมตร คือท่อจะอยู่ระดับก้นแม่น้ำปิง
คือฝังรอดไปเอาน้ำยังคลองวังพานที่ยังมีคลองเดิมอยู่ คลองเดิมจะบังคับไม่ได้ถ้าเปิดหมด
เอาท่อทองแดงเป็นตัวบังคับน้ำ ให้ไหลเข้าอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าน้ำนั้นจะไหลแรงเพียงใด
.
ท่อทองแดง จึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์
ที่บรรพบุรุษของเรา สร้างจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง จะมีใครเชื่อหรือไม่ว่า
การบังคับน้ำเข้า ไปเลี้ยงเมืองบางพานนั้น บังคับน้ำด้วยท่อทองแดง
ให้ปริมาณน้ำเข้าไปเลี้ยงเมืองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำให้น้ำท่วมเมือง
.. นี่คือภูมิปัญญาเรื่องการชลประทานของเมืองกำแพงเพชร
เมื่อเกือบ 700 ปีที่ผ่านมา ท่อไม้สักที่รัดด้วยทองแดงเส้นผ่าศูนย์กลาง ราว 70 เซนติเมตร
ยาว 4.27 เมตร ซึ่งก่อนที่จะขุดลอกยังมีน้ำไหลตามร่องรอยของโคลนตม
เส้นทางน้ำนี้ย่อมชักน้ำโดยใช้ท่อไม้สัก หรือท่อทองแดง เป็นท่อส่งน้ำไปตามคลองที่ขุดลอกเป็นเส้นทางเดินน้ำ
จากหลักฐานร่องรอยที่พบท่อไม้สักมีรอยสะกัดไว้สำหรับใช้วัตถุอย่างอื่น
เช่นโลหะคือทองแดง
รัดไว้ เรียกกันสืบต่อมาว่า ท่อทองแดง
ในบางกระแส มีผู้คนเรียกขานบริเวณนี้ว่า
ท่าทองแดงเช่นกัน จึงเป็นปริศนา คลองท่อทองแดง หรือ ท่าทองแดงมาจนทุกวันนี้
ระบบชลประทานในเมืองกำแพงเพชร จึงเป็นระบบที่เป็นขบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการควบคุมการไหลของน้ำได้อย่างสมบูรณ์
แบบยิ่งนัก นี่คือ ท่อทองแดง ตำนานและหลักฐานการชลประทานในสมัยสุโขทัย ท่อทองแดง
มีหนองปลิง เป็นที่รับน้ำ ไว้ เมื่อน้ำหลากมาอย่างรุนแรง แนวทางการชลประทานในสมัยกำแพงเพชร
ที่เราเรียกขานกันว่าท่อปู่พญาร่วงหรือท่อทองแดงจึงมีความหมายต่อคนกำแพงเพชร ยิ่งนัก
ท่อปู่พญาร่วง สร้างโดยพระราชดำริของ พระร่วงเจ้า ในสมัยสุโขทัย บูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัย
พระยาศรีธรรมมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร และฟื้นฟูให้ใช้ได้อีกคราหนึ่งในสมัยของ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิภูมิพลอดุลยเดช ท่อทองแดงมรดกทางวัฒนธรรมของคนกำแพงเพชร
|
|