ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เมืองมรดกโลก ในเขตอรัญญิก หรือเขตอรัญวาสี ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในป่านอกเมืองห่างจากชุมชน
ระยะทางเท่ากับ 500 คันธนู หรือราว
หนึ่งกิโลเมตร มุ่งให้ภิกษุ ปฎิบัติทางวิปัสสนา
..ในเขตอรัญญิกของกำแพงเพชร
มีวัดราว 50 วัดตั้งติดต่อกัน ในเนื้อที่ 1611 ไร่ ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมมีวัดมากมาย
ต่อเนื่องกันแบบนี้ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น
วัดฆ้องชัย
.เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เมืองมรดกโลกตั้งอยู่ระหว่างทางออกทั้งสองด้านของอุทยานประวัติศาสตร์
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง คือทางด้านทิศใต้กับทิศตะวันตก
.นอกกำแพงวัดด้าน
ทิศตะวันตกปรากฏบ่อศิลาแลงขนานไปกับแนวกำแพงของวัด
ด้านหลังของวัดอยู่ระหว่าง
วัด พระนอน กับวัดพระสี่อิริยาบถ โดยมีถนนคั่นกลางเท่านั้น
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในวัดคือ
มหาวิหารที่สูงกว่าทุกวัดในเขตอรัญญิก คือเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ฐานล่างก่อเป็นฐาน
หน้ากระดานมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างของวัดฆ้องชัย
แตกต่างจากแห่งอื่นๆคือทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง 2.10 เมตร
.นับว่าเป็นฐานเขียงหรือฐานหน้ากระดาน
ของอาคารที่สูงที่สุดเท่าที่พบในเขตเมืองกำแพงเพชร
.. มีบันไดขึ้นสองทาง
.ฐานวิหารข้างบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่
มีมุขเด็จหน้าหลัง ห้องโถงของพระวิหารมีขนาด 7 ห้อง แต่เมื่อรวมมุขทั้งหน้าและหลังแล้ว
มี 9 ห้อง เป็นอาคารขนาดใหญ่มาก
..เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลง
แปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับด้วยมกร(อ่านว่ามะกอน ) สัตว์ในนิยายคือมังกร
เป็นมกร ดินเผาหรือมกรสังคโลก ซึ่งเนื่องจากการขุดแต่งในปี พ.ศ.2525
ได้พบชิ้นส่วนของมกรจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถประกอบเป็นตัวมกรได้เกือบสมบูรณ์
ซึ่งปัจจุบันตัวมกรแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
.
บนพระวิหารมีฐานพระประธานที่ใหญ่มาก แต่ไม่มีร่องรอยของพระประธานอยู่เลย
..
ทำไมเรียกชื่อว่าวัดฆ้องชัยนั้น
ไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ อาจสันนิษฐานว่าได้พบฆ้องขนาดใหญ่ในบริเวณวัดจึงเรียกขานนามของวัดแห่งนี้ว่าวัดฆ้องชัย
.อาจเป็นไปได้
เจดีย์ประธานตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร
ในแกนทิศทางเดียวกันเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร
องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมและฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมที่หลดหลั่นซ้อนกันขึ้นมา
ฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยที่ทำเป็นบัวถลา 3 ชั้น ปัจจุบันองค์ระฆังและส่วนยอดหักพังจัดเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม
องค์ระฆังเล็กทำให้รูปทรงของเจดีย์สูงเพรียว ซึ่งเป็นรูปแบบของเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร
ด้านหลังเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายขนาดเล็ก 4 องค์ เหลือเพียงแค่ฐานรูปทรงเดียวกับเจดีย์ประธาน
ทั้งหมดเป็นเขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นเขตที่ทำสังฆกรรม มีกำแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส
.
เขตสังฆาวาส คือบริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง
เช่นศาลา กุฏิ บ่อน้ำ และเวจกุฎี (ห้องส้วม) ที่วัดฆ้องชัย
มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง
ยาว ประมาณ 4 เมตร ลึกประมาณ 10 เมตรแต่ไม่มีน้ำอยู่เลย บ่อน้ำอยู่ในบริเวณกุฎี
หลังวัดมีศาลาขนาดใหญ่อยู่สองศาลา ต่อกัน มีห้องน้ำ ห้องส้วมอยู่ในอาคารซึ่งนับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้ามาก
เป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ของกำแพงเพชร ที่ทำให้ห้องส้วมและห้องน้ำและไม่มีกลิ่นแม้จะอยู่ในอาคารก็ตาม
..เมื่อสมัยที่กำแพงเพชรยังไม่ถูกทิ้งร้าง
วัสดุที่นำมาก่อสร้าง เป็นศิลาแลงทั้งหมด มาเป็นแกนกลาง ที่เมืองกำแพงเพชร
ได้พบร่องรอยการตัดศิลาแลงขึ้นมาใช้ในทุกวัด
.ที่เห็นชัดเจนในบริเวณ
หน้าวัด
พระสี่อิริยาบถ
..
วัดฆ้องชัย
เป็นอีกวัดหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจมาก..เมื่อเข้ามาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรไม่ควรผ่านเลยไป
.ควรแวะมามาเยี่ยมชมความยิ่งใหญ่และอลังการแห่งวัดฆ้องชัย
แล้วจะได้สัมผัสถึงความเป็นกำแพงเพชรอย่างแท้จริง
.
การรักษามรดกทางอารยธรรม
เป็นการรักษาที่ไม่ยาก
เป็นการลงทุนที่น้อยมากเนื่องจากบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้ให้แล้ว เพียงเรารู้จักรักษาและนำประโยชน์
จากอารยธรรม มาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม ของเมืองกำแพงเพชรรายได้และความภาคภูมิใจ
ในมรดกทางอารยธรรมจะทำให้ชาวกำแพงเพชรพ้นจากความยากจนได้
และรวมใจชาวกำแพงเพชรเป็นหนึ่งเดียว
สมกับการเป็นเมืองมรดกโลก
.อย่างแท้จริง
. |