วัดหนองยายช่วย

 

          ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ
พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล
วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือวัด หนองพุทรา ….

           
วัดหนองยายช่วย อยู่ถัดจากวัดหนองลังกา ไปทางทิศตะวันออก ห่างจากวัดหนองลังกา ประมาณ 200 เมตร มีลักษณะรกร้าง มองจากที่ไกลๆ ดูวัดหนองยายช่วย ไม่งดงาม มีขนาดเล็ก ไม่น่าสนใจ แต่เมื่อเข้าไปใกล้ ต้องตะลึง ในความงดงามของ รูปทรงเจดีย์ ที่เป็นเจดีย์ ทรงลังกา ฐานแปดเหลี่ยม ที่มีลักษณะที่งดงามมาก มีศิลปะที่อ่อนช้อย รูปทรงเพรียวสมส่วน ยังสมบูรณ์ตั้งแต่คอระฆังลงมา ยอดหัก ไม่สามารถค้นหาได้พบ บริเวณ ฐานพระเจดีย์ มีซุ้มพระ อีก 4 ซุ้ม มีลักษณะซุ้มที่ใหญ่มาก แต่ไม่พบพระ ว่ามีลักษณะใด แต่เมื่อเทียบกับวัดหนองลังกาแล้ว น่าจะเป็นพระสี่อิริยาบถ คือยืน เดิน นั่ง นอน วัดในบริเวณนี้ที่มีลักษณะเหมือนกันคือ วัดหนองลังกา วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย ถือว่างดงามมาก และมีลักษณะที่พิเศษกว่าทุกวัด คือมีซุ้มพระ มีเจดีย์ราย มีหนองน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ แบบลัทธิลังกาวงศ์ เลยทีเดียว…….
           
……….ด้านหน้าวัด มีฐานวิหารขนาดใหญ่ ยังมีฐานที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ฐานพระประธาน มีขนาดใหญ่มาก ยังไม่ถูกทำลาย แต่องค์พระไม่มีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเป็นพระปูนปั้น จึงถูกทำลายไป พร้อมกับ เจดีย์ที่ถูกขุดค้นขึ้น…ลักษณะของวิหารเหมือนกับ สร้างโบสถ์ซ้อนอยู่ บนวิหาร มีลักษณะที่ เหมาะสมและงดงามอย่างที่สุด….
           ………รอบๆ บริเวณวัดหนองยายช่วย ได้ปักหลักแบ่งขายที่ดินหมดแล้ว แต่มิได้บุกรุกเข้ามาบริเวณอุทกสีมา ทำให้ไม่เสียหายแก่บริเวณวัดแต่อย่างใด แต่วัดหนองยายช่วย ไม่ได้รับการดูแล จากใครๆเลย….
           
…….อนุสรณ์แห่ง เมืองนครชุมเหลืออยู่ แค่ทุ่งเศรษฐี ….ที่ทำให้เมืองนครชุมมี มีชีวิตอยู่บนกระแส ….แห่งความคาดหวัง ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม….
           
…..ที่สำคัญคือ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ควรจะได้เข้ามามีบทบาทในการดูแล มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ อย่างเหมาะสมที่สุด…ใกล้ชิดที่สุด …คือแนวทางแห่งการแก้ปัญหามรดกทางวัฒนธรรมทางอารยธรรมอย่างแท้จริง…..