เมี่ยงโดยทั่วไป
เป็นสิ่งขบเคี้ยว ทางภาคเหนือ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น กินหรืออมเพื่อความกระชุ่มกระชวย
และให้เกิดความเพลิดเพลินหรือ แก้เปรี้ยวปาก ชาวเหนือส่วนใหญ่จะติดใบเมี่ยง
ถ้าไม่ได้อมจะง่วงนอน หรือง่วงซึม นับว่าเมี่ยงเป็นภูมิปัญญาชนิดหนึ่งของชาวเหนือ
ใบเมี่ยง ทำมาจากใบชาป่า
หรือใบชา นำมาหมัก เพื่อใช้กินกับเกลือหรือกินกับแคบหมู
นิยมกันทั่วภาคเหนือ ประชาชนในสมัยโบราณถือเป็นอาหารสำหรับอมเป็นหลักในทุกผู้คนไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ในสมัยนี้การอมใบเมี่ยงไม่นิยมกันแล้วและมีการพัฒนามาเป็นเมี่ยงที่มีไส้แตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด
แต่ละท้องถิ่น
กำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีการกินเมี่ยง
ที่มีไส้แปลกไปกว่าจังหวัดอื่นๆ ทุกถนนและเกือบทุกตรอกซอกซอยในกำแพงเพชร
ล้วนมีร้านเมี่ยง แบบฉบับกำแพงเพชร ที่ไม่ซ้ำกับท้องถิ่นใด
เมี่ยงแม่ผล
ตำบลนครชุม มีชื่อเสียงมาก กว่า 70 ปี โดยที่ แม่บุญผล ญาติกา สืบการทำเมี่ยงมาจากคุณแม่ของท่าน
จนกระทั่งท่านเสียชีวิต เมื่ออายุ 77 ปี แม่นันทนา ชินอ่วม ลูกสาวของแม่ผลสืบต่อ
อาชีพการทำเมี่ยง อยู่ที่ร้านแม่ผล บ้านเลขที่ 61 หมู่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร
เมี่ยงแม่ผลกำแพงเพชร
ประกอบด้วย มะพร้าว ถั่ว น้ำตาล แคบหมู และใบเมี่ยงที่สั่งตรงจากจังหวัดเชียงราย
ทำให้มีชื่อเสียงมานับร้อยปีนอกจากกินเมี่ยงแก้เปรี้ยวปากแล้ว ในสังคมกำแพงเพชรในอดีต
เมื่อแขกมาบ้าน จะเลี้ยงหมาก พลู บุหรี่ และเมี่ยง แต่ในปัจจุบัน ทั้งหมากพลู
บุหรี่และเมียง ไม่มีการนำมาต้อนรับแขกบ้านอีกแล้ว
เมี่ยงจึงกลายเป็นอาหารกินเล่นๆ
ในแต่ละบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานศพ เมี่ยงกำแพงเพชร จะเป็นของรับแขก
ในทุกงาน จนกลายเป็นประเพณีประจำเมืองกำแพงเพชร ในปัจจุบันเมี่ยงกำแพงเพชร
นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ไม่มีวันที่จะสาบสูญ ไปจากกำแพงเพชร เพราะ
ชาวกำแพงเพชร ส่วนใหญ่ยังนิยมกินเมี่ยงเป็น อาหารว่างกันอยู่ เกือบทุกครัวเรือน
เมี่ยงกำแพงเพชร ความเหมือนที่แตกต่าง จากเมี่ยง ที่จังหวัดอื่นๆทางภาคเหนือ
|
|