ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร
ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า
มหาชาติมีหลักฐานครั้งแรก
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงโปรดให้นักปราชญ์
ราชบัณฑิต แต่งมหาชาติคำหลวงขึ้น เป็นวรรณกรรมชั้นสูง เดิมใช้สวด ต่อมาพระเจ้าทรงธรรม
โปรดให้ แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้เทศน์
และในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการแต่งมหาชาติกลอนเทศน์
ซึ่งใช้เทศน์ในปัจจุบันทำให้เป็นประเพณี การเทศน์มหาชาติสืบต่อกันมานับพันปี
มีความชื่อว่า การได้มีโอกาสฟังเทศน์
มหาชาติครบ 13 กัณฑ์ ในหนึ่งวันถือว่าเป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นการยากมาก
เพราะถือว่าเป็นการอดทนอย่างสูงที่ทำได้ และมีความเชื่อว่าจะได้ไปเกิดในศาสนาพระศรีอารย์
ศาสนาพระศรีอารย์ เป็นสังคมในอุดมคติ เป็นศาสนาใหม่จะมาถึงเมื่อพระพุทธศาสนาสิ้นไป
เมื่อพุทธศักราช 5000 พุทธศาสนิกชน ทุกคนมีความใฝ่ฝันที่จะได้เกิดในศาสนาพระศรีอารย์
นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่มาก
ว่าถ้ามนุษย์สามารถฟังเทศนามหาชาติ
ที่มีตัวอย่างเช่น พระเวสสันดร ซึ่งมีความตั้งใจ ว่าจะให้ทานทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งร่างกาย
จิตใจ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ ลูกเมีย คนใดก็ตามที่ละ สิ่งเหล่านี้ได้ย่อมมีคุณอันยิ่งใหญ่ต่อตนเองและผู้อื่น
สมควรมารจะเกิดในศาสนาพระศรีอารย์
การเทศน์มหาชาติ ในปัจจุบัน
มักจะทำตามรูปแบบ อาจมิได้ยึดหลักการในอดีตอีกต่อไป นับว่าน่าเสียดายมาก
ถ้าการเทศน์มหาชาติ
เป็นเรื่องของอุดมคติ ความวุ่นวาย จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ความรักความหวังดี การให้ความช่วยเหลือต่อกันและกัน
การเสียสละ การให้ทาน นับว่าเป็นอานิสงส์อันสูงสุด ที่ไม่มี สิ่งใดมาเทียบเคียงได้
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามความเหมาะสมของสภาวะสังคม ไม่สามารถที่จะ
รักษาไว้ได้อย่างเดิม เพราะเป็นภาวะปกติของสังคม ในการเปลี่ยนแปลง
เทศนามหาชาติ ในปัจจุบัน
เป็นการรักษาวัฒนธรรม ดั้งเดิมไว้ ส่วนอานิสงส์จะเกิดขึ้นเหมือนเดิมหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของผู้ฟังเทศน์ ถ้าสักแค่ให้ครบตามโอกาสคงไม่เกิดประโยชน์อันใด
ความตั้งใจมั่น เจตนาที่ดี ของการให้ทานย่อมส่งอานิสงส์ ให้เป็นสุข ในสังคมอุดมคติ
ไม่ต้องรอไปถึงสังคมศาสนาพระศรีอารย์ |
|