|||||||||||||||<<<<<......ค้นหา......>>>>>|||||||||||||||
..1..พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร
..2..แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร
..3..วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร
..4..คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร
..5..การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร
..6..วัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร
ตำนานการแต่งกายของชาวกำแพงเพชร
1.จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน
สมัยประวัติศาสตร์เริ่มจากสมัยสุโขทัย จุดเริ่มต้นการแต่งกายของสตรีชั้นสูงชาวกำแพงเพชรสัณนิษฐานจากรูปปั้นเทวสตรีที่พบบริเวณศาลพระอิศวร
สมัยอยุธยาเท่าที่พบหลักฐาน พ.ศ. 2053 น่าจะมีจุดกำเนิดการแต่งกายจากเทวรูปพระ อิศวร และการแต่งกายของชาวอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้น
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ พบจุดกำเนิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ พระองค์เสด็จประพาสต้นเมือองกำแพงเพชร พ.ศ. 2449 ทรงถ่ายภาพชาวกำแพงเพชรจำนวนมาก
2. ลักษณะของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากหลักฐานที่พบลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรในสมัยสุโขทัย มีลักษณะคล้าย การแต่งกายของพวกขอมหรือเขมรโบราณ ต่อมาในสมัยอยุธยารัชสมัยของพระนารายณ์มหาราชมีชาวตะวันตกเข้ามามาก ได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากชาวตะวันตกมากขึ้น โดยมีราชสำนัก ขุนนาง ข้าราชการเป็นผู้นำเข้ามา สำหรับลักษณะการแต่งกายของราษฎรในแต่ละสมัยไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์บ้านเมือง ฐานะและตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย มีส่วนทำให้การแต่งกายมีความเท่าเทียมกันประกอบกับค่านิยมต่างชาติ โดยเฉพาะตะวันตก จึงมีลักษณะการแต่งกายตามแฟชั่นและแต่งกายตามนโยบายรัฐ ในหมู่ของข้าราชการ สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรมีดังนี้
1. แต่งกายตามฐานะ
2. แต่งกายตามเทศกาล
3. แต่งกายตามนโยบายรัฐ
4. แต่งกายตามสภาพดินฟ้าอากาศ
5. แต่งกายตามค่านิยม
6. แต่งกายตามแฟชั่น
7. แต่งกายตามอาชีพ
การแต่งกายที่สูญหายไป และสาเหตุของการสูญหาย
การแต่งกายของหญิงสาวชาวกำแพงเพชร ที่สูญหายไปไม่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ยัง มีบางคนต้องการฟื้นฟูจึงนำมาแต่งบ้างในโอกาสสำคัญ เช่น งานประเพณีสำคัญ กิจกรรมใน โอกาสพิเศษ ได้แก่
1. การนุงผ้าซิ้นหรือผ้าถุงของหญิงสาว
2. การนุ่งโจงกระเบน ของผู้ชายและผู้หญิง
3. การนุ่งผ้าจีบหน้านางของผู้หญิง
4. การห่มผ้าสไบและผ้าแถบของผู้หญิง
5. การสวมหมวกกะโล่ของผู้ชาย และกางเกงแพร ขณะออกนอกบ้าน
6. เด็กผู้หญิงขณะแต่งเครื่องแบบนักเรียน
7. การไว้ผมจุกของเด็กผู้หญิง
8. การสวมตะปิ้งของเด็กผู้หญิง
9. การสวมกำไลลูกกระพรวนข้อมือและข้อเท้าของเด็กเล็กที่หญิงและชาย
10. การนุ่งและโพกผ้าขาวม้าของผู้ชาย
11. การนุ่งกางเกงจีนของผู้ชาย
สาเหตุของการสูญหาย
1. ไม่สะดวก ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน
2. นิยมการแต่งกายตามแฟชั่น ซึ่งมีสื่อหลากหลายที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วทั่วถึง
3. ค่านิยมตะวันตก
4. ความทันสมัยของเทคโนโลยี
5. ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
6. ล้าสมัย
การกำเนิดการแต่งกายในปัจจุบัน มีการกำเนิด ลักษณะและสาเหตุดังนี้
1. แต่งกายในสมัยเก่าล้าสมัยไม่เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน เช่น การคมนาคม สมัยโบราณไปมาหาสู่กันด้วยการเดินเท้า ใช้สัตว์เป็นพาหนะ การแต่งกายไม่ต้องรัดกุมมากนัก
2. ความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้การติดต่อสื่อสารได้สะดวกรวดเร็ว การลอกเลียนแบบการแต่งกายของตะวันตกทำได้ง่ายมากขึ้น
3. ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป
4. การประกอบอาชีพหลากหลายมากขึ้น
5. ความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญ ทำให้ทุกคนมีสิทธิในการแต่งกาย ไม่แยกชนชั้น แต่งตามฐานะทางเศรษฐกิจ