กวีนิพนธ์หรือวรรณศิลป์
ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย มาช้านานกำลังจะหาผู้เขียนมิได้ในปัจจุบัน
จนบางครั้งคิดว่าอาจสาบสูญไป จากสังคมไทย ถ้ามิมีใครคิดอนุรักษ์ ให้คู่แผ่นดินไทยไว้
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
นำโดยนางสาวอัจฉรา อ่อนจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวัฒนธรรมให้ดำเนินการ
โครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย สาขาวรรณศิลป์ ประเภทกวีนิพนธ์
โดยคัดเลือกเยาวชนอายุ ระหว่าง 15 20 ปีจากจังหวัด กำแพงเพชร นครสวรรค์
พิจิตร และเพชรบูรณ์ จังหวัดละ 10 คน ซึ่งมีความสนใจในการเขียนกวีนิพนธ์
โดยอบรมในระหว่างวันที่ 27- 30 มิถุนายน 2551 ณ โรงแรมมาลิน รีสอร์ท
ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
โดยเริ่มจาก
วันแรกเรียนรู้ ความสำคัญของวรรณศิลป์ และการเขียนวรรณศิลป์ โดยอาจารย์สันติ
อภัยราช และ อาจารย์สุปราณี แสงทอง ผู้เชี่ยวชาญการสอนวรรณศิลป์ ของจังหวัดกำแพงเพชร
ในภาคบ่าย
ได้แยกกลุ่ม เยาวชนออกเป็น 4กลุ่ม เพื่อศึกษา ตามฐานๆละ 1 ชั่วโมง
จำนวน 4 ฐาน
โดยผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะ สาขา ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย และร้อยแก้ว
เยาวชนได้ศึกษา อย่างละเอียดจนสามารถเขียนได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้าที่พัก
ได้ทดลองเขียน จึงทราบว่านักเรียนสามารถดำเนินการเขียนกวีนิพนธ์ ได้เป็นอย่างดียิ่ง
รุ่งขึ้นวันที่
29 มิถุนายน 2551 ได้นำเยาวชน นั่งรถไฟฟ้า ไปศึกษาเมืองมรดกโลก ทั้งที่วัดพระแก้ว
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เยาวชนตื่นเต้นกับการได้ชมมรดกโลก
ได้เขียนกวีนิพนธ์ด้วยความสนใจ ตอนบ่ายได้วิจารณ์งานที่เขียน ในเมืองมรดกโลก
ตอนหนึ่งอย่างไพเราะว่า
จรัสรุ่ง
จรุงโรจน์ งามโชติช่วง |
นครหลวง ชากังราว พราวไสว |
แผ่นดินนี้ กำแพงเพชร เด่นวิไล |
ธำรงไว้ ได้แลเห็น เป็นเมืองงาม |
เรืองระยิบ
ทิพย์วิมาน อันบรรเจิด |
แสนประเสริฐ ทั่วแคว้น แดนสยาม |
มรดกโลก ยกย่อง ก้องเขต คาม |
ระบือนาม ชั่วฟ้า หล้าแดนดิน |
ตอนเย็น
ได้นำเยาวชน ไปที่ริมแม่น้ำปิง เพื่อชมบรรยากาศที่งดงามของลำน้ำปิง
ที่บริเวณหน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เยาวชน ตื่นเต้นมาก แทบไม่มีใครอยากกลับ
ไปที่พัก ทุกคนพรรณนา ความงามของลำน้ำปิง ได้อย่างไพเราะ ดังตอนหนึ่งที่ว่า
เห็นลมเรื่อย
เฉื่อยฉิว ต้องผิวน้ำ |
ลมเย็นย้ำ ยามเย็น เป็นไฉน |
สุขภาพ ยามเย็น เป็นเช่นไร |
เด็กผู้ใหญ่ ออกกำลัง ริมวารี |
บางคนที่
เรี่ยวแรง ยังแข็งขัน |
วิ่งเล่นกัน ไล่กัน บ้างวิ่งหนี |
จักรยาน เต้นรำ ก็พอมี |
คือสิ่งที่ ดีงาม ตามทางชล |
กลางคืนของ
วันที่ 3การอบรม มีการเรียนรู้เรื่อง การแต่งเพลงไทยสากล โดยคุณอธิคม
สือพัทธิมา
เยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และสามารถแต่งได้อย่างน่าฟัง การอบรมภาคค่ำ
เรียกน้ำตา ทั้งจากเยาวชนและครูอาจารย์ ได้อย่างประทับใจ
วันที่
4 ของการอบรมซึ่งเป็นวันสุดท้าย เยาวชน ซึ่งเป็นยุวกวี ได้ทำการประกวดคำประพันธ์ทุกประเภท
ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร้อยแก้ว และการแต่งเพลง เมื่อทุกคนได้นำเสนอผลงานของตนเอง
น้ำตาท่วมเวที การอบรม เพราะความประทับใจในผลงานของ เยาวชน ทุกคน
ในที่สุดการจากลามาถึง
ความประทับใจอย่างไม่มีวันลืม ของทุกคน จากการลาอย่างแสนอาลัย
นับว่าเป็นการอบรมที่ทรงคุณค่าอย่างที่สุด และทุกคนยืนยันร่วมกันว่า
จะสืบสาน วรรณศิลป์ กวีนิพนธ์
ด้วยความรักตลอดชีวิต ไปนิรันดร์
ดังบทเพลง
ที่ส่งเข้าประกวดตอนหนึ่งว่า
สองมือพนมแล้วก้มกราบลงวันทา
กราบเท้าคุณครูเลิศค่า ถึงคราวต้องลาหมองหม่น โบกมืออำลา ลาแล้วแก้วตา
เพื่อนๆทุกคน จากไกลดวงใจหมองหม่น พวกเรา เราทุกคน ไม่ลืมคุณครู
|