|||||||||||||||<<<<<......ค้นหา......>>>>>|||||||||||||||
..1..พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร
..2..แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร
..3..วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร
..4..คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร
..5..การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร
..6..วัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร
สืบสานภาษาไทย ร่วมใจอนุรักษ์ เพื่อประจักษ์ ความเป็นไทย เทิดไท้แปดสิบพรรษา
กระทรวงวัฒนธรรม กำหนดให้ปี 2550 เป็นปีส่งเสริมภาษาไทย จังหวัดกำแพงเพชร จึงกำหนดจัดโครงการ สืบสานภาษาไทย ร่วมใจอนุรักษ์ เพื่อประจักษ์ความเป็นไทย เทิดไท้แปดสิบพรรษา ขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2550 ณ ศาลาอเนกประสงค์อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ในการรณรงค์ ส่งเสริม กระตุ้นจิตสำนึก และเสริมสร้างศักยภาพ ในการใช้ภาษาให้เกิดแก่เยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงความสำคัญ มีทัศนคติและค่านิยมภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของภาษาไทย
สำนักงานวัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรม เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ ในการส่งเสริมและสนับสนุนตลอดจนปลูกฝังวัฒนธรรมอันดีงามให้เยาวชน ประชาชน ให้มีจิตสำนึกที่ดีงาม อนุรักษ์ ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติ ได้เห็นความสำคัญ ในการร่วมสืบสานภาษาไทยให้เยาวชนได้รู้ซึ้งถึงตัวตนที่แท้จริงของตน ถึงวัฒนธรรมทางภาษา ประกอบกับปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุครบ 80 พรรษา จึงกำหนดให้จัดโครงการ สืบสานภาษาไทย ร่วมใจอนุรักษ์ เพื่อประจักษ์
ความเป็นไทย เทิดไท้ แปดสิบพรรษาขึ้น
การดำเนินงาน ได้เชิญครูอาจารย์ผู้ชำนาญการพิเศษทางด้านภาษาไทย มาจากสถาบันต่างๆ เพื่อมาถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านภาษาไทยให้แก่เยาวชนและครูอาจารย์ จากสถาบันต่างๆรวม 28 สถาบัน
ครูอาจารย์กว่า 40 ท่าน นักเรียนกว่า 100 คน และวิทยากรจากสำนักงานวัฒนธรรมอีกจำนวนหนึ่ง บรรยากาศ โดยเริ่มจาก หัวข้อความสำคัญของภาษาไทยต่อประเทศชาติและประชาชน โดยอาจารย์สันติ อภัยราช ครูผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวเปิดนำการบรรยาย โดยเชิญครูอาจารย์วิชาภาษาไทยจากทุกสถาบัน ร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องความสำคัญของภาษาไทย โดยละเอียดทุกท่าน
จากนั้นได้แบ่งกลุ่มเข้าฐาน โดยบรรยากาศ ณวัดพระสี่อิริยาบถ ทำให้เยาวชนได้ซาบซึ้งภาษาไทยและอารยธรรมไทย ได้อย่างชัดเจนและงดงาม โดยแบ่งเป็น ฐานการฟังอย่างมีวิจารณญาณ
การพูดเชิงสร้างสรรค์ การอ่านอย่างถูกต้องชัดเจน และการเขียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ในตอนสุดท้ายได้มีการประกวดพูดและประกวดเขียน เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อสิ้นสุดโครงการ ได้สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ และผลที่ได้รับ เมื่อสิ้นสุดโครงการ ครูอาจารย์และนักเรียนทุกคน ต่างมีความยอมรับ และตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย
ทุกคน อันเป็นความสัมฤทธิผล ในการดำเนินโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อดำรงไว้ ซึ่งภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติของเรา เราจึงร่วมภูมิใจในภาษาไทย และความเป็นคนไทยของเราทุกคน