๑.
ประวัติผู้ทรงภูมิปัญญา
|
๑.๑
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายสันติ นามสกุล อภัยราช
เชื้อชาติ......ไทย............สัญชาติ ไทย
วัน เดือน ปีเกิด ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๐ อายุ ๖๐ ปี ภูมิลำเนา(บ้านเกิด)
จังหวัดกำแพงเพชร
ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้)
บ้านเลขที่ ๒๐๒/๑๔ ซอยอภัยราช ถนนกำแพงเพชร นครชุม หมู่ที่
๓ ตำบล นครชุม
อำเภอ เมือง จังหวัด กำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ ๖๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๕๕ ๗๓๘ ๘๒๔ โทรศัพท์มือถือ ๐๘๑ ๔๗๕๕๕๕๗
สถานที่ทำงาน โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง
กำแพงเพชร
โทรศัพท์ ๐๕๕ ๗๙๙๐๓๔ ต่อ ๑๑๐
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ด้านภาษาและวรรณกรรม
ตำแหน่งพิเศษ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ๒ สมัย
ตำแหน่งพิเศษ รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
|
วุฒิการศึกษา/ระดับการศึกษา |
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัชรราษฎร์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ระดับอนุปริญญา วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) วิทยาลัยวิชาการศึกษา
ประสานมิตร ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นนทบุรี
ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ( วัฒนธรรมศึกษา)
มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรม ณ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศพม่า ประเทศลาว จีน
|
๑.๒ ประวัติครอบครัว |
ชื่อบิดา นายเสรี อภัยราช ชื่อมารดา นางเสงี่ยม อภัยราช
อาชีพบิดา อดีตปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ถึงแก่กรรม) อาชีพมารดา
คหบดี
เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๕ คน
(ถ้าเสียชีวิตแล้วระบุด้วย)
(๑) ชื่อ-นามสกุล นางสุนันทา วารีเพชร อาชีพ อดีต พนักงานการประปาส่วนภูมิภาคกำแพงเพชร
(๒) ชื่อ-นามสกุลนายอิสระ อภัยราช อาชีพ ผู้ประเมินสถานศึกษา
(๓) ชื่อ-นามสกุล นางศิวดี ใจอินทร์ อาชีพอดีต พนักงานการประปาส่วนภูมิภาคกำแพงเพชร
(๔) ชื่อนายสันติ อภัยราช อาชีพ ข้าราชการครู ผู้ได้รับการเสนอชื่อ
(๕) ชื่อนายสัมพันธ์ อภัยราช อาชีพข้าราชการ สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อ ภรรยา นางจันทินี (นามสกุลเดิมของภรรยา จารุวัฒน์ )
อาชีพ ข้าราชการครู คศ. ๓ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
บุตร(ชาย) ๑ คน (หญิง) - คน รวมทั้งหมด ๑ คน
ได้แก่ (ระบุชื่อ)
(๑) ชื่อ-นามสกุล นายอรรถ อภัยราช อาชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กำแพงเพชร
|
๒.ประวัติชีวิตและผลงาน |
๒.๑ ความเชี่ยวชาญภูมิปัญญาด้าน
|
/ ภาษา วรรณกรรม และ วัฒนธรรม ประเพณี
|
๒.๒ ชีวิตวัยเด็ก (ได้รับความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญในข้อ
๒.๑ มาอย่างไร โปรดอธิบายอย่างละเอียด)
ได้ศึกษา ด้านภาษาและวรรณกรรม จากการอ่าน วรรณคดี และวรรณกรรมทุกเรื่องตั้งแต่อ่านหนังสือออก
ฟังการเล่าเรื่องราวต่างๆประเภทมุขปาฐะ จากปราชญ์ท้องถิ่น
ผู้ใหญ่ พระภิกษุ และท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ศึกษาจารึกที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ภาษาถิ่นของทุกอำเภอในเมืองกำแพงเพชร
ศึกษาต่อด้านภาษาและวรรณคดีไทย ในระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี
จนได้รับยกย่องให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร
และได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินพื้นบ้าน และผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
|
๓. ประสบการณ์การทำงานด้านที่เชี่ยวชาญ
|
๓.๑ ด้านที่เชี่ยวชาญเฉพาะ (ระบุความรู้และประสบการณ์การทำงานด้านที่เสนอขอตามข้อ
๒.๑)
ด้านภาษาและวรรณกรรม ประเมินผลงาน กำหนดตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ
๙ ในสาขาวิชาภาษาไทย รายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น ดำเนินการทำหน้าที่วิทยากร
ในวรรณกรรมท้องถิ่น ในทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา
อาชีวศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย วิทยากรพิเศษ ในระดับปริญญาตรี
โท และเอก ในมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร สถาบันพระจอมเกล้าลาดกระบัง
วิทยากร อบรมผู้นำท้องถิ่น ประชาชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวนมาก
กว่า ๒๐ ปี
|
๓.๒ ระยะเวลาในการทำงานด้านที่มีความเชี่ยวชาญ (ระบุระยะเวลาในการทำงาน/การถ่ายทอดความรู้)
มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านภาษาและวรรณกรรม ตั้งแต่ อายุ ๓๐ ปี
จนกระทั่งปัจจุบัน อายุ ๖๐ปี
ได้รับยกย่องจากทุกสถาบัน ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น ด้านภาษาและวรรณกรรม
ในจังหวัดกำแพงเพชร มากว่า ๓๐ ปี
|
๓.๓ การถ่ายทอดและการพัฒนาการถ่ายทอดความรู้
(ระบุรูปแบบวิธีการถ่ายทอด/การพัฒนาการถ่ายทอด) |
๓.๓.๑ ดำเนินการวิจัย และพัฒนา พิมพ์เผยแพร่ บรรยาย ในด้านภาษาและวรรณกรรม
กว่า ๓๐ เรื่อง ถ่ายทอดแนวทางในการดำเนินการ โดยได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
|
๓.๓.๒ ดำเนินการจัดการแสดง แสงเสียง ในงานประเพณี นบพระเล่นเพลง
และงานลอยกระทง นำวรรณกรรมท้องถิ่นมานำเสนอ ในรูปแบบ การแสดง
แสงเสียง มากว่า ๑๐ ปีในตำแหน่ง ผู้เขียนบท และผู้กำกับการแสดง
มีผู้ชมนับหมื่นคน ทุกปี
|
๓.๓.๓ ดำเนินการเป็นวิทยากร นำเสนอเรื่องของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นในทุกระดับการศึกษา
ต่อเนื่องนาน ประมาณ ๓๐ปี
|
๓.๓.๔ ดำเนินรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางเคเบิลท้องถิ่น ต่อเนื่อง
มากว่า 6 ปี จำนวน
หลายร้อยเรื่อง
|
๓.๓.๕ ดำเนินการจัดทำเวปไซด์ ทางอินเตอร์เนต ทั้งระบบ เรื่อง
ภาพ และวิดิโอ เพื่อเผยแพร่
ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นหลายร้อยเรื่อง
|
๓.๔ ผู้รับการถ่ายทอดความรู้ในโรงเรียน/นอกโรงเรียน/ตามอัธยาศัย
จำนวน หลายหมื่น คน ดังนี้ |
๓.๔.๑ ดำเนินการวิจัย และพัฒนา พิมพ์เผยแพร่ บรรยาย ในด้านภาษาและวรรณกรรม
กว่า ๓๐ เรื่อง
ถ่ายทอดแนวทางในการดำเนินการ โดยได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
มีผู้รับการถ่ายทอด หลายพันคน
|
๓.๔.๒ ดำเนินการจัดการแสดง แสงเสียง ในงานประเพณี นบพระเล่นเพลง
และงานลอยกระทง
นำวรรณกรรมท้องถิ่นมานำเสนอ ในรูปแบบ การแสดง แสงเสียง มากว่า
๑๐ ปี
ในตำแหน่ง ผู้เขียนบท และผู้กำกับการแสดง มีผู้ได้รับการถ่ายทอด
ปีละนับหมื่น
|
๓.๔.๓ ดำเนินการเป็นวิทยากร นำเสนอเรื่องของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นในทุกระดับการศึกษา
ต่อเนื่องนาน ประมาณ ๓๐ปี มีผู้ได้รับการถ่ายทอด หลายพันคน
|
๓.๓.๔ ดำเนินรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางเคเบิลท้องถิ่น ต่อเนื่อง
มากว่า 6 ปี จำนวน
หลายร้อยเรื่อง ซึ่งสามารถชมได้ ทั่วประเทศและทั่วโลก และจัดทำ
แผ่นวีซีดี แจกจ่าย
แก่ผู้สนใจจำนวนมาก มีผู้ได้รับการถ่ายทอด ปีละนับหมื่น
|
๓.๓.๕ ดำเนินการจัดทำเวปไซด์ ทางอินเตอร์เนต ทั้งระบบ เรื่อง
ภาพ และวิดิโอ เพื่อเผยแพร่
ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นหลายร้อยเรื่อง ซึ่งคาดว่า มีผู้เข้าชมทางอินเตอร์เนต
และ
มีผู้ได้รับการถ่ายทอด ปีละนับหมื่นคน
|
๓.๕ ผู้รับการถ่ายทอดนำความรู้ไปใช้ จำนวน
ไม่สามารถประมาณได้ คือ |
๓.๕.๑ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ทั้งในจังหวัดและนอกจังหวัด
|
๓.๕.๒ ครูอาจารย์ ในทุกระดับการศึกษา ทั้งในจังหวัดและนอกจังหวัด
|
๓.๕.๓ ประชาชน และผู้สนใจ ทั่วประเทศ
|
๓.๕.๔ ผู้สนใจ นักท่องเที่ยว ที่ชมเรื่องราวของกำแพงเพชร
ทางอินเตอร์เนต ทั่วโลก
|
๓.๖ การสร้างเครือข่ายและการเผยแพร่ความรู้
(มีการสร้างเครือข่ายหรือไม่/อย่างไร/จำนวนกี่คน/ เครือข่าย)
/ มี (โปรดระบุ) |
(๑) เครือข่ายชื่อ สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๐
คน (๒) เครือข่ายชื่อสภาวัฒนธรรมอำเภอ ๑๑ อำเภอ จำนวน ๕๕๐
คน
(๓) เครือข่ายชื่อสภาวัฒนธรรมตำบล ๒๘ ตำบล จำนวน ๒,๐๐๐ คน
(๔) เครือข่ายชื่อศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย จังหวัดกำแพงเพชร
จำนวน ๑๕๐ คน
(๕) เครือข่ายชื่อสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร จำนวน ๒๕๒ คน
(๖) เครือข่ายชื่อชมรมนักกลอนนครชากังราว จำนวน ๕๒ คน
(๗)เครือข่ายชื่อองค์การอาสาประชาธิปไตยกำแพงเพชร จำนวน ๒,๕๐๐
คน
|
๓.๗ ประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญอื่น
ๆ |
๓.๗ .๑ ทำหน้าที่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจังหวัดกำแพงเพชร
ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน
๓.๗ .๒ อุปนายกฝ่ายวิชาการสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน
๓.๗ .๓ ฝ่ายวิชาการ ชมรมนักกลอนนครชากังราว
๓.๗ .๔ ประธานชมรมผู้รักษ์เมืองกำแพงเพชร
๓.๗.๕ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ๒สมัย
๓.๗.๖ วิทยากรบรรยายภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ระดับ ประถมศึกษา
จนถึงปริญญาเอก
๓.๗.๗ ผู้เชี่ยวชาญในการเขียนบทและกำกับการแสดง แสง เสียง
ในงานประเพณี นบพระเล่นเพลง
และงานลอยกระทง
๓.๗.๘ผู้เชี่ยวชาญ การทำบทและวิทยากรรายการโทรทัศน์วัฒนธรรมมากกว่า
๑๐ปี
๓.๗.๙ ผู้เชี่ยวชาญ ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มรดกโลก
|
๔. ผลงานที่ปรากฏ |
๔.๑ ผลงาน(ที่มีความเชี่ยวชาญในข้อ ๒.๑) เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม
|
๔.๑.๑ เรื่องงานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องทุ่งมหาราชกับประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เผยแพร่ที่ พิมพ์เผยแพร่ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑,๐๐๐ เล่ม ทั้งระบบสีและขาวดำขนาด
จำนวน ๓๑๕ หน้า
ใช้เป็นแบบเรียน เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร มานานประมาณ
๑๐ปี
ได้รับความสนใจอย่างมาก
|
๔.๑.๒ ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชร
โดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
พิมพ์เผยแพร่ ๒ครั้ง จำนวน 351หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัย
ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น จากหลายสถาบัน
|
๔.๑.๓ ผลงานเรื่อง งานวิจัยและถ่ายถอด เอกสารจดหมายเหตุเรื่องเมืองกำแพงเพชร
ใบบอกในสมัยรัชกาลที่๕ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
เล่มที่ ๑จำนวน ๘๕ หน้า พิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม
เล่มที่ ๒ จำนวน ๖๘ หน้า พิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม
|
๔.๑.๔ ผลงานเรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกำแพงเพชร
( ทำหน้าที่บรรณาธิการ) จำนวน ๓๐๗ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐เล่ม เป็นเอกสารอ้างอิง
โดยทั่วไป
|
๔.๑.๕ งานศึกษาวิจัย เรื่อง ประวัติความเป็นมาของศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร
ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จวางศิลาฤกษ์ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร
วันพฤหัสบดีที่๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ จำนวน ๕๗หน้า พิมพ์จำนวน
๓,๐๐๐เล่ม
|
๔.๑.๖ งานศึกษา วิเคราะห์วิจัย ถ่ายถอด จารึกที่พบในเมืองกำแพงเพชร
ปีพุทธศักราช ๓๕๔๕
จำนวน ๑๐๔ หน้า จำนวนพิมพ์ ๕๐๐ เล่ม จำหน่ายจ่ายแจกไปทั่วประเทศ
|
๔.๑.๗ งานศึกษาวิจัย เรื่องเดินเท้าสำรวจถนนพระร่วง ด้วยระบบ
GPS. สำรวจด้วยดาวเทียม จำนวน
๑๓๓ หน้า จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม เผยแพร่ ไปทุกชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร
และผู้สนใจทั่วไป
|
๔.๑.๘ ประมวลภาพ ฝีพระหัตถ์ เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อครบร้อยปี
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเมืองกำแพงเพชร ๑๒๐ หน้า พิมพ์จำนวน ๕๐๐
ฉบับ เผยแพร่ไปทั่วประเทศ
|
๔.๑.๙ งานวิจัย ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร
จำนวน ๑๔๙ หน้า
พิมพ์จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นแบบเรียน รายวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
|
๔.๑.๑๐ งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน ๙๗ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐
เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๑ งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องคณฑี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณฑี จำนวน๘๕ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐ เล่ม
เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๒งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน๘๕ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐
เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๓ งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน๑๐๓ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐ เล่ม
เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๔ งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน๑๒๐ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐
เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๕ งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอพรานกระต่าย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอพรานกระต่าย จำนวน๑๔๐ หน้า จำนวน
๑.๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๖ งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอลานกระบือ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอลานกระบือ จำนวน๑๗๐ หน้า จำนวน
๑.๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
๔.๑.๑๗ งานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่ เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย
เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่น ทั่วประเทศ และทั่วโลก ความยาว
ประมาณ ๑๕ ๓๐ นาที ในเรื่องของ
|
พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน ๑๑ ตอน
แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน ๔๑ ตอน
วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๒ ตอน
คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๔๑ ตอน
การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๒ ตอน
วัฒนธรรม ประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร ๒๒ ตอน
|
๔.๑.๑๘ งานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ
กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน หลายร้อยเรื่อง
|
๔.๒ ผลงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ (ระบุจุดเด่นของผลงานที่แตกต่างจากผลงานของผู้อื่น)
นำภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอทางรูปแบบ
วิดีโอ และ อินเตอร์เนต ทำให้ผู้สนใจทั่วโลกได้ชมเรื่องราวของความเป็นไทย
|
๔.๓ ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม (โปรดระบุในระดับชุมชน/ท้องถิ่น/อำเภอ/ประเทศ)
|
ระดับชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ
งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน ๙๗ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐
เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องคณฑี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณฑี จำนวน๘๕ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐ เล่ม
เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน๘๕ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐
เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน๑๐๓ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐ เล่ม
เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน๑๒๐ หน้า จำนวน ๑.๐๐๐
เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
|
ระดับประเทศ |
ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชรโดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) พิมพ์เผยแพร่ ๒ครั้ง จำนวน 351หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน
และแนวทางการวิจัย ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น จากหลายสถาบัน
|
งานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่ เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย
เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่น ทั่วประเทศ และทั่วโลก ความยาว
ประมาณ ๑๕ ๓๐ นาที ในเรื่องของ
|
พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน ๑๑ ตอน
แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน ๔๑ ตอน
วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๒ ตอน
คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๔๑ ตอน
การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๒ ตอน
วัฒนธรรม ประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร ๒๒ ตอน
|
งานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ
กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน หลายร้อยเรื่อง
|
๕. เครื่องราชอิสริยาภรณ์/ เกียรติคุณ
/ รางวัลที่เคยได้รับ |
๕.๑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ
|
ป.ม. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
ป.ช. ประถมาภรณ์ช้างเผือก
|
๕.๒ เกียรติคุณ
|
อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ กรมสามัญศึกษา (สพท.กำแพงเพชร)
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานการศึกษากำแพงเพชร เขต ๑
ผุ้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
ครูต้นแบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
|
๕.๓ รางวัลที่เคยได้รับ |
ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ครูแม่แบบภาษาไทยดีเด่นระดับประเทศ
คนดีศรีกำแพงเพชร
ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมกำแพงเพชร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม
บุคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
บุคคลดีเด่นแห่งปี ๒๕๔๓ จากหนังสือพิมพ์ไท สยาม
บุคคลเกียรติยศ จากหนังสือพิมพ์ประชาไทย
ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(วัฒนธรรมศึกษา)
จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
ได้รับรางวัลไปศึกษา ดูงานด้านวัฒนธรรม ประเทศออสเตรเลียและ
นิวซีแลนด์
|
นายสันติ อภัยราช เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด
เกิดที่บ้านพักปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร
เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ปัจจุบันอายุ ๖๐ ปี เนื่องจากบิดา
นายเสรี อภัยราช มาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร มารดาชื่อนางเสงี่ยม
อภัยราช ทำหน้าที่แม่บ้าน เมื่ออายุได้ขวบเศษ บิดาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอคลองขลุง
จังหวัดกำแพงเพชร จึงได้ไปเติบโตที่อำเภอคลองขลุง โดยเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร
ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง ในระดับประถมปีที่ ๑-๔ เมื่อวัยเยาว์
ได้ศึกษาวรรณคดี
วรรณกรรมภาษา จากพ่อและแม่ ซึ่งเป็นผู้ทรงความรู้ ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างดียิ่ง
ศึกษาจากตำราที่หาได้จาก อำเภอคลองขลุงทุกเล่ม จนมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
เมื่อว่างจากการเรียนรู้ ได้ขายขนมในตลาดสดคลองขลุงทุกวันโดย ตื่นตั้งแต่
ตี ๔ ทุกวันช่วยมารดาทำขนมหวานทุกชนิด เมื่อเสร็จราว๖ โมงเช้า
ได้นำไปขายด้วยตนเอง ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ถึง ๑๒ ขวบ ทุกวัน เมื่อมีรายได้จากการแบ่งให้ของมารดานำไปซื้อหนังสือนิทาน
ของเสรี เปรมฤทัย มาอ่านทุกเรื่อง นอกจากอ่านหนังสือ ได้ตามผู้ใหญ่
ในละแวกบ้าน ไปท่องเที่ยวทุกตำบล หมู่บ้าน ในวันหยุดทุกสัปดาห์
ในวันพระทุกวันพระ ได้ตามยาย และแม่ไปวัดทุกวันพระจนเข้าใจในเรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี
ตามประสาเด็กๆ
เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔
บิดาได้ย้ายกลับมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร อีกครั้ง ได้กลับมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๑ ที่โรงเรียนวัชราษฎร์วิทยาลัย โรงเรียนชายประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ในขณะนั้น
เมื่อมาอยู่กำแพงเพชร เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่า ในวันหยุดทุกสัปดาห์
ได้ตามผู้ใหญ่ไปศึกษาเมืองโบราณอย่างเข้าใจ โดยละเอียด ได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆจากเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
ในขณะนั้นเนื่องจากไปเป็นลูกศิษย์ของท่านอย่างละเอียด ทุกเรื่องจนจบชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในระหว่างเรียนเนื่องจากเป็นคนพูดน้อย แต่ชอบเล่านิทาน
ในระหว่างพักเที่ยงจึงมีเพื่อนมานั่งล้อมวงฟังนิทานกันทุกวัน จนครูประจำชั้นให้ทำหน้าที่สอนแทน
เมื่อครูติดธุระเป็นเหตุให้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าชั้นทุกปี
เมื่ออายุได้ราว ๑๔ ๑๕ ปี ได้ศึกษาดนตรีสากล
ดนตรีไทย และมวยไทย อย่างละเอียด
จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่๖ จัดว่าเป็นคนเรียนหนังสือเก่งมากคนหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร
เมื่อจบการศึกษาโรงเรียนและจังหวัดกำแพงเพชร ได้คัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครู
และเรียนเก่งที่สุด ไปเรียนครู ที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
เรียนอยู่ ๔ ปี โดยเลือกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย เป็นวิชาเอก ระยะเรียนได้ออกค่ายชนบท
บ่อยมาก ไปฝึกสอนโรงเรียนที่ไกลที่สุด เป็นหัวหน้าหน่วยฝึกสอน
ทั้งประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
และประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ผลการเรียนอยู่ระดับค่อนข้างดี
เมื่อจบระดับ ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงจากวิทยาลัยครูพิบูลสงครามแล้ว
บิดาซึ่งปลัดอำเภอเสียชีวิต จึงไปหางานทำในกรุงเทพตามแบบฉบับของ
เด็กบ้านนอก และไปสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
ในภาคค่ำ ในสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทยเหมือนเดิม ตอนเช้าไปสอนหนังสือโรงเรียนเอกชน
ที่โรงเรียนศึกษาวิทยา สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตอนเย็นไปเรียน
ที่ประสานมิตรๆให้อะไรมากมายทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ ...เปลี่ยนโรงเรียนมาสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา
คลองตัน กรุงเทพ ให้ใกล้วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรมากขึ้น
เพื่อสะดวกในการเดินทาง โดยเดินทางโดยเรือในคลองแสนแสบ เมื่อจบการศึกษาได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต
สาขาภาษาและวรรณคดีไทย
ไปสอนที่โรงเรียนพณิชยการมักกะสัน
ดินแดง กรุงเทพ ๓ ปี ไปสอนโรงเรียนช่างกลสยาม ท่าพระ
กรุงเทพอีก ๓ปี จึงสอบบรรจุเข้ารับราชการในปีการศึกษา ๒๕๑๘ ที่โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
กรุงเทพ ได้ ปีเศษ เกิดเหตุการณ์ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ถูกย้ายมาอยู่ชานเมืองนนทบุรี
โรงเรียนเล็กๆในขณะนั้น คือโรงเรียนรัตนาธิเบศร นนทบุรี ทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนรัตนาธิเบศรจนกระทั่งพุทธศักราช
๒๕๓๕ ขณะทำงานได้ศึกษาด้วยตนเองที่หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุเกือบทุกวัน
ในระหว่างนั้นได้ศึกษาคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เป็นรุ่นแรก ๓ ปีจบ ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต
อย่างภาคภูมิใจ
ได้ตั้งใจไว้ว่าเมื่อมีประสบการณ์
พอสมควรแล้วจะกลับมาพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง เมื่อถึงเวลาจึงขอย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์
๒ ระดับ ๖ ที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงพื้นที่
ทำงานด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างจริงจังและเต็มความสามารถ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์
ของผู้รู้ในเมืองกำแพงเพชร
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ทำงานได้รับผลดีมากมาย
จึงได้รับคัดเลือก จากกรมสามัญศึกษา ให้ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
ณ ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ได้เลื่อนระดับเป็นอาจารย์ ๓ ระดับ
๘ ในปีการศึกษา ๒๕๓๙ และได้เลื่อนเป็นอาจารย์ ๓ระดับ ๙ ในวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
ในปีการศึกษา ๒๕๔๒ และได้รับเกียรติคุณอย่างมากมายในที่สุดหลังจากการทำงานอย่างหนัก
อาทิ |
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานการศึกษากำแพงเพชร เขต ๑
ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
ครูต้นแบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
|
นอกจากนั้นได้รับรางวัลอย่างมากมาย ทั้งในระดับ
ท้องถิ่น และระดับชาติ อาทิ |
ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ครูแม่แบบภาษาไทยดีเด่นระดับประเทศ
คนดีศรีกำแพงเพชร
ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมกำแพงเพชร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม
บุคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
บุคคลดีเด่นแห่งปี ๒๕๔๓ จากหนังสือพิมพ์ไท สยาม
บุคคลเกียรติยศ จากหนังสือพิมพ์ประชาไทย
ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(วัฒนธรรมศึกษา)
จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
ได้รับรางวัลไปศึกษา ดูงานด้านวัฒนธรรม ประเทศออสเตรเลียและ
นิวซีแลนด์
|
ปัจจุบันได้รับเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ตั้งแต่ปี ๒๕๔๑
จนถึงปัจจุบัน และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
นับว่าสูงสุด ที่คนสามัญ
ตำแหน่งครูจะได้รับ และได้รับความยกย่องนับถือ ว่า เป็นปราชญ์ท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรจนกระทั่ง
ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา)จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร |
งานที่ภูมิใจที่สุดในขณะนี้คือ
นำรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ดำเนินการทางเคเบิลทีวีท้องถิ่น
กว่า ๔๐๐ เรื่อง นำมาลงในภาคอินเตอร์เนต วิดีโอ กูเกิล เพื่อให้คนทั้งโลกได้รู้จักภาษาและวัฒนธรรมไทย |
หลังจากปลดเกษียณอายุราชการแล้ว
จะจัดตั้งและดำเนินรายการวิทยุชุมชน ชื่อสถานีวิทยุชุมชน
ชุมทางวัฒนธรรมกำแพงเพชร |
ตั้งใจไว้ว่าจะทำงานรับใช้บ้านเมืองด้านภาษาวัฒนธรรม
และวรรณกรรมท้องถิ่นจนไม่สามารถดำเนินการต่อไปไหว เป็นอุดมการณ์สูงสุดของนายสันติ
อภัยราช |
|