จังหวัดเชียงราย ชุด ?ฟ้อนสาวไหม/ฟ้อนเจิง?
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้้าค่าพระธาตุดอยตุง

เชียงรายเป็นชื่อจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ต้าบลเวียง
อ้าเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกัน
ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้้าโขง
ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา
ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดล้าปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่
ฟ้อนสาวไหมเป็นฟ้อนทางภาคเหนือ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้ปรับปรุงสืบทอด มาจาก
ครูพลอยศรี สรรพศรี ทั้งนี้ครูพลอยศรีได้ถ่ายแบบรับท่ามาจากหญิงชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ชื่อ บัวเรียว
รัตนมณีกรณ์ซึ่งคุณบัวเรียวก็ได้เรียนการฟ้อนนี้มาจากบิดาของตนอีกทีหนึ่ง
การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้
การแสดง เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย
เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง
ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม
จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอส้าเร็จแล้ว
ดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี
จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว
ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมาครูนาฎศิลป์ได้เลือกสรรใช้เพลง “ซอปั่นฝ้าย”
ซึ่งมีท่วงท้านองเป็นเพลงซอท้านองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน
และมีลีลาที่สอดคล้องกับการฟ้อนสาวไหมอย่างงดงามยิ่ง
เชิง (อ่านว่าเจิง) คือ ชั้นเชิง ซึ่งหมายถึง ศิลปะการต่อสู้ของ ล้านนา ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเป็นแบบอย่าง
และรวบรวมจากประสบการณ์แตกแขนงกลยุทธ์โดยพิสดารออกไป
แล้วถ่ายทอดศิลปะดังกล่าวสืบต่อกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง


Related posts: