จังหวัดแพร่ ชุด ?มหัศจรรย์ล้านนาเภรีก๋องใจ๋ฟ้อนผางประทีปดาบไฟฟ้อนนกกิ่ง กาหล่า กาโต๋ ผีลู เชิดชูวัฒนธรรมล้านนา? หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดในภาคเหนือ อดีตเป็นแหล่งไม้สักที่สำคัญของประเทศ มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบมีเทือกเขาล้อมรอบ จังหวัดแพร่เป็นนครแห่งวรรณกรรมอมตะลิลิตพระลอที่รู้จักกันทั่วไป แพร่เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีแล้ว ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามค าแหงกล่าวว่า แพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรสุโขทัย มีชื่อเรียกกันหลายชื่อว่า พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยที่ขอมมีอ านาจระหว่าง ปี พ.ศ. 1470?1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองในเขตลานนาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนคร หรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่าผ้าแพร แล้วมาเปลี่ยนเป็นเมืองแพร่ในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน
Category : มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ

จังหวัดลำปาง ชุด ?วงแก้วสะหรีลัมภางค์? ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,300 ปีมีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานต่าง ๆ รวม 11 ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า ? กุกกุฏนคร ? แปลว่าเมืองไก่ ดังนั้น ตราประจำจังหวัดลำปาง คือ ? ไก่ขาว ? และเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า

จังหวัดพะเยา ชุด ?ฟ้อนซอ ถวายจุ่มสลี / การฟ้อนลื้อสไบแพร? กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม พะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนานไม่น้อยไปกว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรล้านนา บริเวณที่ตั้งของจังหวัดพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พ่อขุนง าเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอ านาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงราย ในฐานะ อ าเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อ าเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุด ?ฟ้อนหม่องส่วยยี และฟ้อนไต? หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศมีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ฟ้อนหม่องส่วยยี?????????????? ฟ้อนไต เป็นศิลปะการฟ้อนของชาวพื้นเมืองเหนือที่ได้รับอิทธิพลมาจากชนชาติไทยใหญ่ ฟ้อนกันทั่วไปแถบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ที่มีชาวพื้นเมืองที่สืบเชื้อสายมาจากชนชาติไทยใหญ่มาแต่เดิม ซึ่งมีการฟ้อนโดยทั่วไปทั้งชายและหญิง ผู้แสดง ใช้ผู้หญิงแสดง ฟ้อนเป็นชุด ชุดหนึ่งประมาณ 12 คน หรือมากกว่านั้น การแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นไหมสีต่าง ๆ หรือนุ่งผ้าซิ่นที่มีดอกสดใส ยาวกรอมเท้า ใช้พับข้างหน้าแล้วขมวดเหน็บเอวข้างซ้ายหรือขวาตามถนัด เสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวสั้นแค่เอวหรือสูงกว่าเอวเล็กน้อย ด้านหน้าป้ายข้างเป็นลักษณะเสื้อไต (หรือเสื้อพม่า) ติดกระดุม 3 เม็ด เกล้ามวยผมทรงสูงแล้วปล่อยชายผมลงมาไว้ข้าง ๆ มีผ้าคล้องคอยาว ๆ ปล่อยชายไว้ทั้ง 2 ข้าง วิธีแสดงและการฟ้อน วิธีแสดงฟ้อนไตนั้น ผู้ฟ้อนจะยืนเรียงแถวแล้วฟ้อนเช่นเดียวกับฟ้อนเมืองของพื้นเมืองเหนือ ท่าที่ใช้ฟ้อนเป็นลักษณะของไทยใหญ่ ต่อมานายแก้ว และนางละหยิ่น ทองเขียว ได้ใช้ท่าแม่บทของภาคกลางมาประกอบ และเรียงล าดับท่าการฟ้อนให้ต่อเนื่องกันเพื่อความสวยงาม

จังหวัดพิษณุโลก ชุด ? นาฏศิลป์ถิ่นสองแคว แลประเพณีปักธงชัย อ.นครไทย ? พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ่ำและน้ำตกหลากตระการตา พิษณุโลก ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนสุดของประเทศไทย หรือเรียกว่า “เหนือล่างกลางบน” มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ต านาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวันที จังหวัดพิษณุโลกตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างและอยู่ในเขตภาคกลางตอนบนสุดของประเทศไทย มีเนื อที่ทั งหมดประมาณ 10,815 ตร.กม. หรือ 6,759,909 ไร่

การแสดงรำโทนจังหวัดกำแพงเพชร รำโทน ชุมชนเขาทอง รำโทน เป็นแสดงความรักและความสามัคคีของคนในชุมชน ในช่วงสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีจุดมุ่งหมายให้คนไทยรักชาติ รักความเป็นไทย มีสำนึกรักบ้านเกิด ดังนั้นในแต่ละชุมชนได้คิดเพลงรำโทนขึ้นประจำบ้านของตนเอง ที่ชุมชนเขาทองเช่นกัน ชาวบ้านได้อพยพมาจาก ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 30-40 ปีมาแล้วหรือราวพุทธศักราช 2510 ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ต าบลไตรตรึงษ์ อ าเภอเมืองจังหวัดก าแพงเพชร หลังวัดไตรตรึงษารามประมาณ 20 ครอบครัว ล้วนเป็นญาติมิตรกันทั้งสิ้น เพลงที่ร้องกันส่วนใหญ่ เป็นเพลงสั้นๆมีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ การเกี้ยวพาราสี ที่แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาไทย แต่มีท่าร าที่โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น คือมีการชี้บทร ามีท่าทางประกอบบทเพลง นางนาม เผือกคล้าย และนายชด เผือกคล้าย สองสามีภรรยา ได้สืบทอดและรวบรวมผู้คนตั้งคณะเพลงพื้นบ้านชุมชนเขาทองขึ้นเกือบ 30 ชีวิต เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อว่างจากไร่นา ก็มาร้องเล่นกัน สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจังหวัดกำแพงเพชรได้รับงบประมาณจากส านักงานวัฒนธรร มแห่งชาติ ได้เชิญเยาวชนและครอบครัวจาก 9 โรงเรียนบริเวณใกล้เคียงกับบ้านเขาทองจำนวนเกือบ 200 คน มาร่วมสืบทอดการแสดงพื้นบ้านโดยหวังว่า จะสืบต่อความเป็นไทยไว้ให้ลูกหลาน ก่อนที่ความเป็นไทยจะไม่มีเหลืออยู่ในสายเลือดของลูกหลานไทยอีกต่อไป เนื้อเพลงแตกต่างกันไปตามอารมณ์และความรู้สึกของช่วงเวลาที่ชาวบ้านได้กระทบ บริสุทธิ์สะอาด และมีกลิ่นอายความเป็นไทยที่ชัดเจน ดังตัวอย่าง เพลงชักชวนสาวงาม ชักชวนสาวงาม มาเล่นฟ้อนร

จังหวัดสุโขทัย ชุด ?ระบำสุโขทัย? มรดกโลกล้้าเลิศ ก้าเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ด้ารงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ค้าว่า สุโขทัย มาจากค้าสองค้าคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ. ศ. 1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ สุโขทัยติดต่อกับ แพร่อุตรดิตถ์พิษณุโลก ก้าแพงเพชร ตาก และ ล้าปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ) ระบ้าสุโขทัยเป็นระบ้าโบราณคดีที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวส้าเนียงของถ้อยค้าไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระพุทธรูปปางส้าริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์ที่ตามเสด็จ การแสดงระบ้าสุโขทัย จะร้าตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง นาฏศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ ๑. จีบหังสัสยะหัสต์โดยการน้านิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป ๒. ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลังหงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า ๓. ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือท้าเป็นรูปดอกบัวอยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน ๔. ท่าพระนารายณ์แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ตั้งวงกลางข้างล้าตัว กระดกเท้าซ้าย ๕. ท่ายูงฟ้อนหาง

จังหวัดเชียงใหม่ ชุด ?กลองสะบัดชัย? ดอยสุเทพเป็นศรีประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้้าค่านครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดหนึ่งใน 76 จังหวัดของประเทศไทย และตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 20,107 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 1.67 ล้านคน ยังเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพในการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุน จนมีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นเมืองใหญ่ อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร เท่านั้น มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ มีภาษาล้านนา (ค้าเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกับจังหวัดอื่นๆ ทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ท้าให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญก้าลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ท้านองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ท้านอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

จังหวัดอุตรดิตถ์ ชุด ?ไตรภาคี? น้้าพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ต้านานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงต้าบลชื่อ “บางโพธิ์ท่าอิฐ” ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐ ซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้้าน่านมีความ เจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะต้าบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง “อุตรดิตถ์” ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้้าแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัยอยู่ ต่อมาอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และเมืองพิชัย เลื่อนลงไปเป็นอ้าเภอหนึ่ง ขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้

การแสดงจังหวัดนครสวรรค์ ชุด ?เต้นกำรำเคียว? เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้้าโพ นครสวรรค์เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง ถือเป็น ประตูสู่ภาคเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีความส้าคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและก้าแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก เต้นก้าร้าเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เก่าเเก่ของชาวชนบทในภาคกลาง แถบจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งชาวชนบทส่วนมากมีอาชีพการท านาเป็นหลัก เเละด้วยนิสัยรักสนุกกับการเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จึงได้เกิดการเต้นก าร าเคียวขึ้น ในเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ลักษณะการร า จะเน้นความสนุก เป็นใหญ่ มีทั้งเต้นและร าควบคู่กันไป ในมือของผู้ร าข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือข้าวที่เกี่ยวเเล้ววิธีเล่น จะมีผู้เล่นประมาณ 5 คู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชายเรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่าแม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนเเม่เพลงให้ออกมา เต้นก าร าเคียว โดยร้องเพลงเเละเต้นออกไปร าล่อฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องเเละ ร าแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลาย ๆ คน ช่วยกันร้องจนจบเพลง ผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็จะเป็นลูกคู่ ปรบมือและร้องเฮ้เฮ้วให้จังหวะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ศิลปินของกรมศิลปากรได้ไปฝึกหัดการเล่นเต้นก าร าเคียวจากชาวบ้านต าบลย่านมัทรี อ