Category : วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

2012-03-06_21-04
วัดโคกตะเคียน

วัดโคกตะเคียน

2012-03-06_21-03_kpp
วัดสามจีน

วัดสามจีน

2012-03-06_20-47
วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ เมืองนครชุม…หรือนครพระชุม สร้างในสมัยสุโขทัย เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไท ประกอบด้วย สองเขต เหมือนกับเมืองโบราณ โดยทั่วไป คือเขตเมืองที่เรียกว่าคามวาสี และเขตป่าที่เรียกว่าอรัญญิก บริเวณนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ดงเศรษฐีเมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ไปจนหมดสิ้น จึงเรียกกันว่าทุ่งเศรษฐี เป็นอาณาเขต ที่พบ กรุพระเครื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองกำแพงเพชร เรียกตามแหล่งที่พบว่า พระทุ่งเศรษฐี วัดซุ้มกอ อยู่ในเขตอรัญญิกบริเวณทุ่งเศรษฐี บริเวณตรงกันข้ามกับสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองพุทรา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และวัดเจดีย์กลางทุ่ง …..วัดซุ้มกอ ที่เรียกว่าวัดซุ้มกอเพราะ พบพระเครื่อง ที่วงการพระเครื่องเรียกกันว่า พระซุ้มกอ ทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน จำนวนมากที่วัดนี้…. เนื่องจาก วัดซุ้มกอ มีพระซุ้มกอ ที่มีชื่อเสียง เป็นหนึ่งในเบญจภาคี สุดยอดแห่งจักรพรรดิ์พระเครื่อง ทำให้โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในบริเวณวัดซุ้มกอถูกทำลายจนหมดสิ้น ที่พบ ก่อนการบูรณะคือเนินดิน ที่เป็นเจดีย์ทรงลังกา และเนินวิหารขนาดเล็ก มีเจดีย์ราย รอบเจดีย์ใหญ่ แต่ไม่เหลือแม้กระทั่งซาก พระเครื่อง พระบูชา พระพุทธรูป ถูกขนย้ายไปจากบริเวณวัดซุ้มกอทั้งหมด รอบๆวัด มีคูน้ำล้อมรอบ เป็นลักษณะ อุทกสีมา ตามคตินิยมแบบลังกา วัดบริเวณนี้ทั้งหมด มีอุทกสีมาเหมือนกันทั้งหมด ยืนยันได้ว่าสร้าง ในสมัยใกล้เคียงกัน ……….วัดซุ้มกอ

2012-03-06_20-40
โบสถ์ล้ำค่า วัดอัมพาพนาราม

โบสถ์ล้ำค่า วัดอัมพาพนาราม ที่ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร คุณจันทรา กุลนันทคุณ วัฒนธรรมอำเภอคลองขลุง ได้เล่าถึงความงามและความเก่าแก่ของโบสถ์วัดอัมพาพนาราม ให้เราฟังมาหลายครั้ง แต่ยังไม่มีโอกาสไปชมเลย วันนี้ วันที่ 26 มีนาคม 2552 คุณจันทราได้นัดเราไปชม โบสถ์โบราณวัดอัมพาพนาราม วัดอัมพาพนาราม มีชื่อที่ประชาชน เรียกชานกันว่าวัดวังไทร เป็นวัดใหม่ที่สร้างซ้อนบนวัดเก่า เดิมชื่ออะไรนั้นไม่สามารถทราบได้ เพราะไม่มีการจดบันทึกไว้ ได้ไปพบพระครูกิตติวชิรโสภิต เจ้าอาวาสวัด ท่านได้บวชที่วัดนี้มากว่า 20 ปี กำลังบูรณะวัด ให้เป็นสมัยใหม่อย่างเต็มกำลัง วัดอัมพาพนาราม จึงเป็นวัดที่กำลังพัฒนา แต่โชคดีที่ท่านยังไม่ลืม อุโบสถโบราณ อายุกว่า ร้อยปี ที่เกือบถูกทิ้งร้าง อยู่มุมวัดด้านหน้าที่ดินวัดมีปัญหาน้ำท่วมวัดทุกปี จึงต้องถมสูงขึ้น ทำให้โบสถ์โบราณจึงไม่สง่างาม ท่านเจ้าอาวาสเล่าให้ฟังว่า เดิมผนังโบสถ์ เป็นเป็นพนังที่กั้นด้วยได้ไผ่ หลังคามุงแฝก ชาวบ้านคงสร้างขึ้น แต่ที่แปลกคือ พระประธานที่เจ้าอาวาสนำย้ายมาไว้บนกุฏิของท่าน กลับสร้างด้วยโลหะ ห่มจีวรลวดลายดอกพิกุล ลักษณะงดงาม ธรรมดาถ้าวัดที่ประชาชนสร้าง จะสร้างพระประธานที่เป็นปูนปั้น ลักษณะไม่งดงาม จึงอาจสันนิษฐานว่า โบสถ์หลังนี้ อาจไม่ได้เป็นฝีมือประชาชนและเป็นฝีมือของช่างหลวง ซึ่งอยู่ในสภาพที่เห็นนี้มาตลอด ด้านหลังโบสถ์เดิมมี พระเจดีย์ขนาดใหญ่ ไม่ทราบรูปทรงเพราะได้ถูกรื้อทำลายไปแล้ว เป็นเพราะพวกขุดหาสมบัติ หรือพระเครื่องก็เป็นได้ หลังคาโบสถ์ เปลี่ยนจากกระเบื้องขอ เป็นกระเบื้องแผ่นใหญ่ อาจง่ายดี แต่ทำให้ความงามลดไปอย่างน่าเสียดาย ได้เรียนถามท่านเจ้าอาวาสว่า มีโครงการรื้อหรือไม่

2012-03-06_20-37
วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว วัดพระแก้ว เป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุด ในกำแพงเมือง เป็นวัดประจำเมืองกำแพงเพชร เหมือนวัดมหาธาตุประจำเมืองสุโขทัย เป็นวัดในราชวัง ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ เพราะไม่มีร่องรอยของกุฎิ อยู่ในบริเวณวัดเลย เหตุที่เรียกว่าวัดพระแก้วเพราะ สันนิษฐานว่า เมื่อพระแก้วมรกตมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ต้องมาอยู่ในวัดนี้แน่นอน ประชาชนทั่วไปจึงเรียกขานวัดแห่งนี้ว่าวัดพระแก้ว วัดพระแก้วมีมหาวิหารขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในเมืองกำแพงเพชร มีพระพุทธรูปโกลนศิลาแลง เป็นพระประธานอยู่บนมหาวิหาร บนฐานวิหาร มีมณฑปขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่า ควรเป็นที่ประดิษฐานของ พระแก้วมรกต ถัดมาเป็นวิหารขนาดเล็ก มีเจดีย์ฐานสิงห์ ทรงลังกา งดงามมาก ถัดไปเป็นพระนั่งสององค์ พระนอนหนึ่งองค์ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะเฉพาะกำแพงเพชร ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธาน เรียกกันโดยทั่วไปว่าวัดช้างเผือก แต่ที่จริงแล้วเรียกว่า วัดพระแก้วเหมือนกันเพราะเป็นวัดเดียวกัน

2012-03-06_17-25
วัดหม่องกาเล

วัดหม่องกาเล ในบริเวณอรัญญิกนครชุม มีวัดในเขตอรัญวาสี หลายวัด โดยเริ่มจากวัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองยายช่วย และวัดหม่องกาเล เรียงรายอยู่บนแนวถนนโบราณ จาก เมืองนครชุม ไปเมืองนครไตรตรึงษ์ แนวถนนโบราณ แนวคลองโบราณ?..ยังเห็นได้ชัด ถนนสายนี้ ชาวบ้านเรียกว่าถนนพระร่วงเหมือนกัน ซึ่งยังไม่ได้สืบค้นอย่างแน่ชัด?ถนนเส้นนี้อยู่ในแนว แผนที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งกำลังพิสูจน์สิทธิ์ ระหว่างเจ้าของที่ดิน ปัจจุบัน กับกรมธนารักษ์?.คงทราบผลในเร็ววันนี้ วัดหม่องกาเล เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจน ชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตาม ภูมินามที่พบเห็น เช่นเห็นเจดีย์ อยู่กลางทุ่ง ก็เรียกวัดเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ในบริเวณนาของยายช่วย ก็เรียกว่า วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล เช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจอง ของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ ผู้อื่น?.. ปัจจุบัน วัดหม่องกาเล ตั้งอยู่บนแนวถนนโบราณ ที่ชาวบ้านเรียกว่าถนนพระร่วง หรือถนน ตาพระร่วง ยังไม่ถูกบุกรุกทำลายมากอย่างวัดอื่นผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้ว จากกรมศิลปากร มีเจดีย์ประธานที่มีรูปทรงงดงาม ขนาดย่อมกว่าวัดหนองลังกา เล็กน้อย มีซุ้มที่ฐานเจดีย์ อยู่สามซุ้ม ไม่ทราบว่า ไม่ได้บูรณะ 1 ซุ้ม หรือไม่มีแต่แรก แต่ถ้าสังเกตจากวัดหนองลังกา แล้วน่าจะมี

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง? วัดป่าแลงนี้มีวิหารขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มี หกห้องแต่ฐานวิหาร ต่ำมาก น่าจะสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน พระประธานไม่มี คงเป็นพระศิลาแลงที่ถูกทำลายเพื่อหาสมบัติ ที่ตนเองไม่ได้สะสมไว้ ฐานพระขนาดใหญ่งดงามได้สัดส่วน ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธานทรงลังกาฐานแปดเหลี่ยม อันเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบของกำแพงเพชรโดยแท้ นอกกำแพงแก้วยังมีวิหารอีกหลังหนึ่ง หรืออาจเป็นโบสถ์ ขนาดเล็กมาก หรืออาจเป็นวัดเล็กๆอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน มีเจดีย์ราย อยู่ 9 องค์ บ่อน้ำขนาดใหญ่ 5 บ่อ เพราะสภาพของอรัญญิก แล้งน้ำ มีบ่อศิลาแลงที่มีร่องรอยการตัดแลงออกไป ขนาดใหญ่ 2 บ่อ ที่น่าแปลกคือมีลาน ที่ปูด้วยศิลาแลง เกือบทั้งบริเวณวัด อาจเป็นที่มาอีกชื่อหนึ่งของวัดป่าแลง สิ่งที่ขุดค้นพบที่วัดป่าแลง นอกจากพระเครื่องและพระบูชาจำนวนมากแล้ว ยังพบกระเบื้องดินเผาขนาดใหญ่ สำหรับมุงหลังคาตกอยู่เกลื่อนกลาด มีครกบดยา ตะคันดินเผาสำหรับจุดประทีปโคมไฟ สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดของวัดป่าแลงคือ มีเจดีย์ทรงต่างๆ ที่แตกต่างกันแต่ละยุคสมัยถึงสามแบบคือ 1.เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงลังกาฐานแปดเหลี่ยมรูปทรงงดงาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมของกำแพงเพชร แท้ๆ อาจหาชมองค์ที่สมบูรณ์ได้ที่วัดพระธาตุ ที่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร 2. เจดีย์รายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัย ยังมีหลักฐานให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน 3. เจดีย์รายทรงระฆังคว่ำ ตามรูปแบบของ อยุธยา ยังอยู่ในสภาพที่พอสันนิษฐานได้

2012-03-06_17-20
หลวงพ่อเพชรวัดบาง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน

หลวงพ่อเพชรวัดบาง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน จะมีใครสักกี่คน ที่ทราบว่าที่วัดบาง กลางเมืองกำแพงเพชร มีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่พบในเมืองกำแพงเพชร เก่าแก่สมัยเชียงแสน ที่เรียกกันว่า สิงห์หนึ่ง ซึ่งนับว่าไม่ได้เห็นกันได้ง่ายนัก พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนได้รับอิทธิพลมาจาก พระพุทธรูปของอินเดียแบบปาละ มีพุทธลักษณะที่อวบอ้วน พระพักตร์กลมสั้น พระหนุ (หะนุ) หรือคาง เป็นปุ่มยื่น เม็ดพระศกเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ พระอุระนูนใหญ่ จีวรบางแนบไปกับพระวรกาย และที่สำคัญที่สุดคือ ชายสังฆาฏิพาดสั้นอยู่เหนือ ราวพระอุระ ด้านซ้าย ประทับ ปางมารวิชัย แบบขัดสมาธิเพชร งดงามมาก พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 3 ศอก 1 คืบ สมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง ที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร คือหลวงพ่อเพชร ของวัดบาง จังหวัดกำแพงเพชร มีอายุกว่า 800 ปี ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดตอม่อ ซึ่ง เป็นวัดเก่าโบราณ อยู่บริเวณตลาดศูนย์การค้า กลางเมืองกำแพงเพชร ในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พุทธศักราช 2479 หลวงพ่อผิว พระธรรมาธิมุตมุนี เจ้าอาวาสวัดบาง เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น และหลวงพ่อภา พระครูวิธานวชิรศาสตร์ ได้ไปอัญเชิญหลวงพ่อเพชร

2012-03-06_17-18
วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดใน ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดโบราณที่มีชื่อเดียวกันมากที่สุดถึง 3 วัด คือวัดป่ามืด ประกอบด้วยวัดป่ามืดนอก อยู่บริเวณนอกรั้วอุทยานประวัติศาสตร์ …วัดป่ามืด อยู่ติดกับวัดพระนอน และวัดป่ามืดใน อยู่ติดกับวัดป่าแลง วัดหมาผี …..วัดป่ามืดใน ที่จะนำท่านชมในวันนี้ เป็นวัดขนาดใหญ่ ที่มีสถาปัตยกรรมไม่ซ้ำกับวัดใดๆในจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับนามว่าวัดป่ามืด คงบริเวณที่พบวัดในอดีต มีป่าปกคลุมหนาแน่นมากทั้ง 3 วัด จึงขนานนามวัดนี้ว่าวัดป่ามืดเช่นกัน และเป็นวัดป่ามืดที่อยู่ด้านในสุด จึงเรียกว่าวัดป่ามืดใน….. ด้านหน้าของวัด มีทางเข้าทางเดียว มีวิหารขนาดใหญ่ พื้นเตี้ยสูงจากพื้นดิน ประมาณ 60 ซ.ม. บนวิหารไม่มีพระประธาน แต่พระประธานไปประดิษฐานที่มณฑป ขนาดใหญ่มาก มีความหนาของผนังมณฑป ประมาณ 2 เมตร นับว่าใหญ่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับวัดศรีชุม ที่เมืองสุโขทัย แต่วัดศรีชุมสามารถเดินเข้าไปในผนังได้ แต่ผนังวัดป่ามืดในไม่สามารถเดินเข้าไปได้ ภายในมณฑป มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร แต่ชำรุดหมดเหลือให้เห็นเพียงพระเพลาเท่านั้น แต่เมื่อดูพุทธลักษณะแล้วจะงดงามมาก… ด้านหลังมณฑป มีเจดีย์รายขนาดใหญ่ 1 องค์ ด้านข้าง ด้านหนึ่ง 3 องค์ อีกด้านหนึ่งมี 4องค์ แต่เดิมคงมีจำนวนเท่าๆกัน แต่ก็ชำรุดเสียหายไปตามกาลเวลา ด้านหลังสุด มีฐานเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ที่สุด แต่เหลือเพียงฐานเท่านั้น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบกำแพงเพชร

2012-03-06_17-10
วัดหนองยายช่วย

วัดหนองยายช่วย ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือวัด หนองพุทรา ?. วัดหนองยายช่วย อยู่ถัดจากวัดหนองลังกา ไปทางทิศตะวันออก ห่างจากวัดหนองลังกา ประมาณ 200 เมตร มีลักษณะรกร้าง มองจากที่ไกลๆ ดูวัดหนองยายช่วย ไม่งดงาม มีขนาดเล็ก ไม่น่าสนใจ แต่เมื่อเข้าไปใกล้ ต้องตะลึง ในความงดงามของ รูปทรงเจดีย์ ที่เป็นเจดีย์ ทรงลังกา ฐานแปดเหลี่ยม ที่มีลักษณะที่งดงามมาก มีศิลปะที่อ่อนช้อย รูปทรงเพรียวสมส่วน ยังสมบูรณ์ตั้งแต่คอระฆังลงมา ยอดหัก ไม่สามารถค้นหาได้พบ บริเวณ ฐานพระเจดีย์ มีซุ้มพระ อีก 4 ซุ้ม มีลักษณะซุ้มที่ใหญ่มาก แต่ไม่พบพระ ว่ามีลักษณะใด

Page 2 of 712345...Last »

Uses wordpress plugins developed by www.http://www.sunti-apairach.com