Category : วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

2012-03-05_18-23
วัดสระแก้ว

วัดสระแก้ว ทางเข้าเขตอรัญญิกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในปัจจุบัน มีวัดวัดหนึ่งอยู่ริมทางทางด้านซ้ายมือ เรียกกันโดยสามัญว่าวัดสระแก้ว เหตุด้วยสร้างอยู่กลาง สระน้ำขนาดใหญ่ เรียกขานกันตามโบราณประเพณี ของสระในเมืองใหญ่ว่า สระแก้ว ………วัดสระแก้วเป็นโบราณสถานที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ เพราะไม่มีสิ่งใดบอกว่าเป็นวัดเลย ไม่มีเจดีย์ ไม่มีมณฑป ไม่มีกุฏีสงฆ์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ นอกจาก โบสถ์ขนาดใหญ่ สูงกว่า 5 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางสระ มีคลองท่อทองแดง ไหลมาหล่อเลี้ยงเป็นอุทกสีมา ที่อาจเรียกว่าโบสถ์เพราะมีใบเสมา ตั้งอยู่ด้านหน้า 2 ใบ แต่มีขนาดที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับขนาดของโบสถ์ …..สถานที่แห่งนี้ แต่เดิมน่าจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ที่สำคัญ ของเมืองกำแพงเพชร แต่เมื่อความเชื่อเดิมถูกกลืนหายไป จึงถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นโบสถ์ …..วัดสระแก้วจึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าสนในศึกษายิ่งนัก…ไม่ควรผ่านเลยไป…เมื่อเข้าอุทยานประวัติศาสตร์

2012-03-05_18-21
วัดดงหวาย

วัดดงหวาย วัดที่อยู่นอกบริเวณอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ วัดดงหวาย ก่อนที่จะเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ วัดดงหวาย มีชื่อเสียงมาก ในการค้นพบพระเครื่องและพระบูชา วัดดงหวายตั้งอยู่แนวถนนพระร่วง เป็นวัดขนาดใหญ่ ก่อนที่จะตัดถนน กำแพงเพชร ? สุโขทัย สภาพวัดสมบูรณ์มาก วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วน ได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย บริเวณข้างวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ มิใช่สระที่สำหรับขุดเอาศิลาแลง แต่เป็นสระน้ำที่ขุดไว้เพื่อใช้น้ำจริงๆ บริเวณนี้คงขาดน้ำมาก อาจเป็นเพราะน้ำเปลี่ยนทิศทาง หรือท่อปู่พญาร่วงที่ผ่านบริเวณนี้ ถูกถมหายไป ตามหลักฐานจากจารึกฐานพระอิศวร?? ?.เจดีย์ประธานวัดดงหวาย เป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระเฉพาะด้านหน้าคือทางทิศตะวันออก เพียงด้านเดียว เจดีย์มีลักษณะต่ำกว่าพื้นปกติ และต่ำกว่าพื้นวิหาร น่าจะมีการบูรณะ ปฎิสังขรณ์วิหารในภายหลัง เจดีย์รายที่อยู่ รอบเจดีย์ประธาน การสร้างค่อนข้าง ไม่เป็นระเบียบ เพราะคงมีการมาสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง ในเนื้อที่ที่จำกัด?ลักษณะเด่นขององค์เจดีย์ประธานคือ การสร้างฐานแปดเหลี่ยม ลดหลั่น ลงมาหลายชั้น จนทำให้รูปทรงของเจดีย์เพรียว ชลูด ชั้นบัวถลาทำเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย สามชั้นองค์ระฆังเล็กมาก นักวิชาการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า ฐานแปดเหลี่ยมลักษณะนี้ อาจได้รับอิทธิพลมาจากล้าน มาพัฒนาให้เป็นลักษณะเจดีย์ ในรูปแบบของกำแพงเพชร?..

2012-03-05_18-19
วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย ?..โบราณสถาน ในเมืองกำแพงเพชร มีมากมาย สมกับการได้รับยกย่องให้ เป็นเมืองมรดกโลก?.หนึ่งในอารยธรรมอันทรงคุณค่าของเมืองกำแพงเพชร คือ วัดเชิงหวาย?. เป็นวัดร้าง?ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์ พังตกลงมา วัดเชิงหวายนี้ มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์ ?.เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์ กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้ แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่าวัดเชิงหวายเพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของ..ดงหวาย?เพราะมี วัดดงหวายอยู่ใกล้ๆ ..มีท่อทองแดงหรือท่อปู่พญาร่วง คั่น กลาง ห่างจากกันประมาณ ไม่เกิน 800 เมตร? วัดเชิงหวายเป็นตัวอย่างของวัดที่มีการขุดค้น อย่างมากมาย ตัวเจดีย์ประธาน?ทั้งองค์ถูกขุด เป็นช่อง ตลอดองค์ลึกลงไปในพื้นดินจนกระทั่ง ถึงน้ำ เป็นแนวยาวตลอด ผู้ที่เกิดในช่วง 40ปีที่..ผ่านมาจะไม่ทราบว่าวัดโบราณในเมืองกำแพงเพชร ก่อนหน้าจะเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกนั้น มีสภาพที่ไม่แตกต่าง จากวัดเชิงหวาย เพราะถูกขุดค้นอย่างไม่มีชิ้นดี รอการทลายลงกับพื้น ราบเป็นหน้ากลอง วัดเชิงหวาย จึงเป็นสภาพเดิมแท้ๆ ของวัดโบราณ ในกำแพงเพชร ?.มีผู้เล่าว่า บริเวณฐานเจดีย์..วัดเชิงหวาย เมื่อลึกลงในในดิน ถึงกรุพระที่ลึกนับ 10 เมตร มีพระบูชา

2012-03-05_18-17
วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์ น่าแปลกใจที่ชื่อของวัดดูเป็นทางการกว่าทุกวัด มิใช่ชื่อที่ ชาวบ้านเรียก แต่เป็นชื่อที่ราชการตั้ง วัดรามรณรงค์เป็นวัดขนาดกลางที่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้ว คำว่ารามรณรงค์ มาจากชื่อของเจ้าเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยาแล้ว เพราะผู้มาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกท่าน ต้องได้รับพระราชทานทินนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม รามภักดี พิริยพาหุปรากรม จนกระทั่งถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับว่า เกือบ 600 ปี ที่เจ้าเมืองกำแพงเพชร ใช้นาม พระยารามรณรงคสงคราม มาโดยตลอด วัดแห่งนี้จึงได้รับนาม ตามชื่อของพระยารามรณรงค์ แต่ไม่มีหลักฐานว่า พระยารามรณรงค์ สร้างวัดนี้ เพราะขนาดของวัดที่เป็นวัดขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดรามรณรงค์ ด้านหน้ามีวิหารที่งดงาม ลงตัวร่องรอยของการก่อสร้างวิหารยังอยู่ชัดเจน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเหมาะสมงดงาม พระประธานหายไปเหมือนกับทุกวัด ด้านหลังของฐานพระประธาน มีพระพุทธรูปโกลนศิลาแลง ที่นำลงมาจากฐานประธาน นั่งเรียงรายอยู่ แต่ละองค์ไม่ครบชิ้นส่วนมีส่วนสำคัญที่ถูกทำลายหายไปหมดสิ้น ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธานที่งดงาม ตามแบบสถาปัตยกรรมของเมืองกำแพงเพชร ขนาดกำลังดี เหมาะกับพื้นที่ก่อสร้างและวิหารที่งดงามและลงตัว ระหว่างวิหารกับเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายที่ก่อสร้างขนาดใหญ่เกือบเท่าเจดีย์ประธาน ยืนยันจากการก่อสร้าง มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างภายหลัง คาดว่าอาจเป็นที่ เก็บอัฐิ แห่งพระยารามรณรค์สงคราม ท่านใดท่านหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อก็ได้? เจดีย์รายที่วัดรามรณรงค์ มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก จนถึงขนาดใดมายืนยันได้?. หลักฐานจาก

-picture-picture-thumbnails-0003969_002
วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก ในเขตอรัญญิกที่มีวัดขนาดน้อยใหญ่ เรียงราย ติดต่อกันราว 40วัด แต่ละวัดล้วนก่อสร้างด้วยศิลาแลง ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร ….. และผู้คนที่มาเที่ยวชมพากันมหัศจรรย์ใจว่าสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมที่หลากหลายล้วนมีความเป็นกำแพงเพชร… คือเอกลักษณ์ที่เด่นเฉพาะตัว …..สมเป็นเมืองมรดกโลก… วัดเจดีย์กลม เป็นที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลมเลย…. อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด…. วันนี้ไปสำรวจอย่างใกล้ชิดและละเอียด พบว่า….วัดเจดีย์กลมมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากทุกวัด เท่าที่เคยสำรวจมาแล้ว ทั้งนครชุม นครไตรตรึงษ์ และกำแพงเพชร เกือบร้อยวัด ยังไม่พบสถาปัตยกรรมใดเหมือนวัดเจดีย์กลม…. ด้านหน้าของวัดหันไปทางทิศตะวันออก ตามแบบฉบับทั่วไปของวัดทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ ฐานวิหารมีการก่อสร้างสองชั้น ชั้นแรกสูงประมาณเกือบสองเมตร ยังมองเห็นแนวก่อสร้างอย่างชัดเจนและลงตัว …ทั้งสองด้านของพระวิหารมีบันไดขึ้นทั้งสองด้าน ร่องรอยเป็นบันไดที่ไม่ใหญ่โตนักเมื่อเปรียบกับขนาดวิหาร ด้านหน้ามีลานกว้าง ราว100 ตารางเมตร ถัดขึ้นไป มีการก่อสร้างวิหารอีกชั้นหนึ่ง…สูงราว 1 เมตร มีระเบียงและหลังคาด้านหน้า…หลัง…. บนพระมหาวิหารหน้าองค์พระประธาน มีร่องรอยการขุดพระ ที่ลึกกว่าสามเมตร กว้างกว่า หกเมตร นับว่าเป็นหลุมใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ …..บริเวณฐานพระประธาน เจาะลึกลงไปกว่าสองเมตร พบเพียงแนวของฐานพระเท่านั้น …ไม่พบหลักฐานใดๆเลย… สิ่งที่นับว่าไม่เหมือนวัดใดเลย คือเจดีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับวิหาร…เท่าที่พบเราพบอยู่วัดเดียวคือวัดอาวาสน้อย…ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายกัน ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ที่ โดดเด่นของของวัดเจดีย์กลม คือฐานเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานวิหารนั้น เป็นลักษณะกลมงดงามมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ นำศิลาแลงขนาดใหญ่ มาก่อให้กลมกลึงนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ถัดจากฐานเจดีย์กลมขึ้นมา กลับไม่มีองค์เจดีย์ แต่เป็นลักษณะเหมือนการก่อห้องสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป อยู่บนเจดีย์ ยังมีหลักฐานที่เห็นได้ชัด… นับว่าเป็นโบราณสถานที่ ไม่เหมือนที่แห่งใด

2012-03-05_18-12
วัดมะเคล็ด

วัดมะเคล็ด ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก มีวัดมากมายติดต่อกันรวม 40 วัด จากความยิ่งใหญ่อลังการและสิ่งก่อสร้างเป็นศิลาแลงล้วนๆ นับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สำคัญ จนกระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก นำความภูมิใจมาสู่ชาวกำแพงเพชรและชาวไทยทุกๆคน…อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม…ที่สำคัญของเมืองกำแพงเพชร วัดมะเคล็ด…เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่เรายังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วเราจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาก ….หายไปทั้งหมด เราจึงให้เจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรพาเราไปชม วัดมะเคล็ด เพื่อป้องกันความผิดพลาด ….ในที่สุดเราจึงพบวัดมะเคล็ดในลักษณะที่ขุดแต่งแล้ว มะเคล็ด เป็นชื่อของพันธุ์ไม้หายากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เนื่องจากในบริเวณวัดมีนี้มีต้นมะเคล็ดจำนวนมากจึงเรียกกันว่าวัดมะเคล็ด.. ….วัดมะเคล็ดเป็นวัดที่มี ขนาดเนื้อที่กว้างขวางมาก นับสิบไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัส หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก ระยะทางจากทางเข้าวัดมาถึงพระวิหาร ระยะทางราว 50 เมตร ที่น่าสนเท่ห์ คือ ไม่มีทางขึ้นพระวิหารด้านหน้าทั้งที่ฐานพระวิหารสูงราว 1 เมตร….เราต้องเดินอ้อมพระวิหารขนาดใหญ่ ไปขึ้นบันไดด้านหลัง ซึ่งมีบันไดคู่กัน ….เมื่อขึ้นไปพระวิหารแล้วเราจึงเดินไปสำรวจด้านหน้าพระวิหาร…. ซึ่งเป็นลานกว้าง สามารถให้พุทธศาสนิกชน ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างสะดวก ถัดจากฐานวิหาร ขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งราว 1 ฟุต เป็นที่ตั้งของ พระวิหาร มีวิหารขนาดใหญ่ราว 6 ห้อง มีอาสนะสงฆ์……บนฐานวิหารมีฐานพระประธานขนาดใหญ่แต่ไม่มีพระประธานปรากฏให้เห็น หรือแม้แต่ร่องรอย…… ห่างจากพระวิหารไปราว 5 เมตร มีเจดีย์ประธาน ฐานสี่เหลี่ยม เป็นศิลาแลงล้วนๆ ถัดขึ้นไปเป็นสถาปัตยกรรม….ย่อมุมไม้สิบสอง แต่ก่อสร้างด้วยอิฐลดหลั่นเป็นชั้นอย่างงดงาม พอถึงฐานองค์ ..ระฆัง ไม่ปรากฎให้เห็นเนื่องจากพังทลายลงแล้วสิ้น…. ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเจดีย์ประธาน พบซุ้มพระพุทธรูป ที่อยู่ในสภาพพอสังเกตได้เท่านั้น เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มาก …ถัดไปเป็นกำแพงแก้ว ในบริเวณเขตพุทธาวาสไม่พบเจดีย์รายเลย

2012-03-05_18-09
เขานางทองหลังจากการบูรณะแล้ว

เขานางทองหลังจากการบูรณะแล้ว หลังจากเคยสำรวจเขานางทอง เมื่อคราวสำรวจเส้นทางถนนพระร่วง เมื่อหลายปีก่อน ได้มีส่วนผลักดันให้ มีการบูรณะเขานางทอง นางทองตามตำนานเล่าว่านางทองเป็นมเหสีของพระร่วงเจ้า………ขณะนี้กรมศิลปากรได้บูรณะเขานางทองเรียบร้อยแล้ว เราจึงได้ไปเยี่ยมชมอีกครั้ง เพื่อบันทึกความภูมิใจในแผ่นดิน เขานางทอง อยู่ในเขตเมืองเก่าบางพาน ท้องที่อำเภอพรานกระต่ายในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อสมัยสุโขทัย เป็นเมืองบางพานเป็นเมืองที่รุ่งเรืองมากถึงประกาศตัวเป็นอิสรภาพไม่ขึ้นกับเมืองสุโขทัย จนกระทั่งพญาลิไท ได้เสด็จมาที่เมืองบางพาน และนำรอยพระพุทธบาทมาประดิษฐานที่ยอดเขานางทอง เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจทางพุทธจักรและอาณาจักร ของพระองค์อยู่เหนือเมืองบางพาน ดังหลักฐานในจารึกนครชุม ทางขึ้นเขานางทอง ได้ทำใหม่ทั้งหมด สะดวกสบาย ไม่สูงชันเกินไป ทันสมัย ท้าทายกับท่านที่ต้องการออกกำลังกาย ความสูงกำลังพอดี ที่จะทดสอบสมรรถภาพของท่านว่าแข็งแรงพอหรือไม่ แต่เมื่อขึ้นถึงยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ที่งดงามมาก รอบทิศทางลมพัดเย็นสบายหายเหนื่อยราวกับปลิดทิ้ง ถ้าขึ้นมาชมแล้ว จะรู้สึกว่างดงามไม่เหมือนที่ใดในประเทศไทยเพราะสามารถมองได้เห็นรอบทิศทางจริงๆ บนยอดเขา มีสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการบูรณะแล้วหลายสิ่งอาทิ เจดีย์ขนาดใหญ่ ซึ่งเดิมเป็นเพียงกองศิลาแลงเท่านั้น สภาพถูกขุดค้นอย่างไม่มีชิ้นดี ได้รับการบูรณะแล้วในบางส่วน ทำให้เห็นองค์เจดีย์รูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่บนยอดที่สูงที่สุด สภาพน่าทัศนากว่าเดิม ฐานเป็นรูป สี่เหลี่ยม คล้ายเจดีย์วัดกะโลทัยที่เมืองกำแพงเพชร ที่ให้เห็นถึงศิลปะของสุโขทัยอย่างสมบูรณ์ อีกยอดหนึ่งของเขานางทองซึ่งอยู่ไม่ห่างกัน ลักษณะเป็นมณฑปขนาดที่พอดีกับการประดิษฐาน รอยพระพุทธบาท เดิมถูกขุดลงไปลึกกว่า 4 เมตร น่าเสียดายที่รอยพระพุทธบาทไม่อยู่ที่เขานางทองเสียแล้ว ถ้ามีโอกาสเอากลับมาประดิษฐานที่เขานางทองอีกครา จะทำให้เขานางทองจะมีผู้คนมาชมและมานมัสการรอยพระพุทธบาทมากมายอย่างแน่นอน

download (1)
การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุ นครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุ นครชุม เมืองนครชุม มีวัดประจำเมืองคือวัดพระบรมธาตุ สร้างมาตั้งแต่ต้นสมัยสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญ ครอบไว้ แต่มิทันเสร็จ พญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อโดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ ฉัตรทองพระบรมธาตุได้รับการบูรณะครั้งแรก ในปีพุทธศักราช 2533 จากจารึก บนยอดฉัตรทองระบุว่า ??ฉัตรพระบรมธาตุเจดีย์ บูรณะครั้งใหญ่เป็นครั้งแรก โดยสร้างใหม่ทั้งหมด เนื่องจากเนื้อโลหะเดิมหมดอายุตามกาลเวลา บูรณะใหม่เป็นเนื้อทองเหลือง พร้อมลงรักปิดทองแบบลวดลายระฆังเหมือนเดิม จากเงินเช่าบูชา พระพิมพ์ซุ้มกอจำนวน 1,500,000 บาท นำโดย ร.ต.ทวี ผดุงรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ควบคุม ลวดลายออกแบบโดยอาจารย์อนันต์ สวัสดิเสวณีย์ เริ่มจัดสร้างเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2533 แล้วเสร็จ วันที่ 1 สิงหาคม 2533?สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตร เมื่อวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2533 เวลา 15.00 น. ฉัตรทองได้รับการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่อัญเชิญลงมาจากยอดเจดีย์

2012-03-05_17-19
วัดพระสี่อิริยาบถ

วัดพระสี่อิริยาบถ วัดภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นวัดขนาดใหญ่ ที่สุดวัดหนึ่ง จุดเด่นที่สำคัญคือ ด้านหน้ามีพระมหาวิหารขนาดใหญ่มาก แต่พระพุทธรูปประธานไม่เหลือให้เห็น ถูกทำลายไปสิ้นเพราะก่อด้วยศิลาแลง ด้านหลังมหาวิหารมีมณฑปขนาดใหญ่มากมีทั้งหมดสี่ด้านมีปูนปั้นพระสี่อิริยาบถคือ พระยืน พระเดิน พระนั่งและพระนอน ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงพระยืนองค์เดียว เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเมืองกำแพงเพชร เรียกวัดแห่งนี้ว่าวัดพระยืน พระองค์ท่านเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดพระเชตุพน แต่ประชาชนเรียกขานกันตามที่เห็นว่า วัดพระสี่อิริยาบถ ตามจารึก เสด็จพ่อพระยาสอย ที่พบในบริเวณเจดีย์รอบมณฑปกล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้าง อาจชื่อวัดรัตนโมลีก็เป้นไปได้

2012-03-05_17-15
การบูรณะฉัตรพระบรมธาตุเจดีย์

การบูรณะฉัตรพระบรมธาตุเจดีย์ ที่เมืองนครชุม มีวัดพระบรมธาตุ เป็นวัดประจำเมือง สร้างตั้งแต่ต้นกรุงสุโขทัย ?.พญาลิไท นำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ จากลังกาทวีปประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1900 อันเป็นปฐมเหตุ แห่งตำนาน ประเพณี นบพระ เล่นเพลง? หลังจาก เมืองนครชุมร้างไป ในช่วงปี พุทธศักราช 2000 เนื่องจาก น้ำกัดเซาะทำลายกำแพงเมืองไปแถบหนึ่ง?เมืองนครชุมกลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในสมัยอยุธยา .เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพุฒาจารย์ โต เสด็จมาเยี่ยม ญาติของท่านที่เมืองกำแพงเพชร ตามตำนานว่า มารดาของสมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร ได้อ่านจารึกนครชุม ได้ความว่า มีพระบรมธาตุอยู่ฝั่งนครชุม จึงให้พระกำแพง ผู้มีศักดิ์เป็นหลานค้นหา และค้นพบพระเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และพบพระบรมสารีริกธาตุ ?จึงบูรณะและปฏิสังขรณ์ขึ้น ..มีเริ่มมีพระภิกษุ มาจำพรรษา ที่วัดพระบรมธาตุ ? อีกประมาณเกือบร้อยปี ต่อมา พญาตะก่า..เศรษฐีชาวกะเหรี่ยง ขออนุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 สร้างเจดีย์ทรงมอญ ครอบเจดีย์สามองค์ไว้ เป็นองค์เดียว แต่ไม่ทันเสร็จ พญาตะก่า ถึงแก่กรรม พะโป้น้องชาย บูรณะต่อ และนำฉัตรทองมาจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน บนยอดเจดีย์ พระบรมธาตุ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จวัดพระบรมธาตุ เพียงสามเดือน? ??ฉัตรทองนี้ได้รับการบูรณะครั้งแรก ในปีพุทธศักราช 2533 ดังจารึก

Page 4 of 7« First...23456...Last »

Uses wordpress plugins developed by www.http://www.sunti-apairach.com