Category : วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

2012-03-05_17-10
วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ วัดที่ก่อสร้างด้วยแบบสถาปัตยกรรมศิลปะกำแพงเพชรแท้ๆคือวัดมหาธาตุ ซึ่งปัจจุบันเรียกขานกันว่าวัดพระธาตุ เป็นวัดที่สำคัญ สำคัญภายในกำแพงเมืองกำแพงเพชร อยู่กึ่งกลางของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานภายในวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธาน 1 องค์ วิหาร 1หลัง มีระเบียงคดล้อมรอบเจดีย์ประธาน และวิหาร เจดีย์รายสององค์ ที่มุมด้านหน้าวัด กำแพงวัด ศาลา 1หลัง ที่ด้านนอกกำแพงวัดทางทิศใต้ และสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมอยุ่ทางทิศตะวันออกด้านหน้าวัด กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2511 มีพื้นที่ 5,580 ตารางเมตร เหตุที่ชื่อว่าวัดพระธาตุ เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยจากพระราชนิพนธ์ เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า ?.. ???.ส่วนวัดนั้นคงเป็นอย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงทวาราวดี มีเจดีย์ โบสถ์วิหารใหญ่ๆ งามๆอยู่มาก การก่อสร้างใช้แลงเป็นพื้น มีที่ก่อซ่อมแซมด้วยอิฐภายหลังก็มาก มีกำแพงแก้วสูงประมาณ 3ศอก ล้อมรอบลาน ต่อลงไปทางทิศใต้มีลานอีกลานหนี่ง มีกำแพงแก้วล้อมรอบเหมือนกัน ในที่กลางมีพระธาตุใหญ่ตั้งอยู่บนลานสูง พระวิเชียรปราการตั้งชื่อไว้ว่า วัดมหาธาตุ จากแผนผังของวัด ทำให้สันนิษฐานว่าวัดพระแก้วและวัดพระธาตุ เดิมอาจเป็นวัดเดียวกัน ต่อมาสร้างวัดพระแก้วต่อไปข้างหน้า จึงทำให้วัดแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ แต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือวัดพระแก้วสร้างด้วยศิลาแลง แต่วัดพระธาตุสร้างด้วยอิฐ จึงทำให้สันนิษฐานว่าสร้างที่หลังวัดพระแก้ว ลักษณะของสถาปัตยกรรมจัดเป็นแบบเฉพาะของตระกูลช่างกำแพงเพชร มีฐานแปดเหลี่ยมต่อจากฐานเขียงอีกหลายชั้น ต่อจากนั้นเป็นลักษณะของเจดีย์ทรงกลม ตระกูลช่างกำแพงเพชร มีผู้พบจารึกลานเงินได้ที่วัดนี้ มีข้อความตอนหนึ่งว่า ??. ต่อมาเมื่อข้าศึกถอยกลับไปหมดแล้ว เจ้าสร้อยแสงดาว

2012-03-05_17-08
วัดวังพระธาตุ นครไตรตรึงษ์

วัดวังพระธาตุ นครไตรตรึงษ์ นอกเมืองเก่า ไตรตรึงษ์ ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีวัดโบราณที่สำคัญวัดหนึ่ง ประชาชนเรียกขานกันว่าวัดวังพระธาตุ เชื่อกันว่า ภายในพระมหาเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ…. ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬบูชา ชาวบ้านในเขตใกล้กับวัดทั่วไปพบปรากฏการณ์มหัศจรรย์ คือ พระบรมธาตุ จากวัดวังพระธาตุ จะลอยมามีขนาดประมาณผลส้มเกลี้ยงลอยวนไปมา แล้วลอยมาที่วัดเสด็จในเมืองกำแพงเพชร แล้วลอยไปที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม เป็นอย่างนี้ทุกปีมา จนกระทั่งวัดเสด็จได้ชื่อว่าวัดเสด็จ คือพระบรมธาตุเสด็จนั่นเอง เป็นที่กล่าวสรรเสริญกันไปในยุค 50 ปีที่ผ่านมา…. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิต ตำบลหนองอ้อและตำบลท่าชัย มีเนื้อที่ 45.14 ตารางกิโลเมตร มีโบราณสถานทั้งหมด 215 แห่ง แต่เดิมติดต่อกับกำแพงเพชรและสุโขทัยโดยถนนพระร่วง เหตุผลที่เรียกขานกันว่าวัดวังพระธาตุเพราะ หน้าวัดเป็นห้วงน้ำใหญ่ เรียกกันโดยสามัญว่า วังเมื่อมีพระธาตุตั้งอยู่ จึงเรียกกันว่าวังพระธาตุ ท่านเจ้าอาวาสพระครูสถิตวชิรคุณ ได้เล่าให้ฟังว่า บริเวณวังน้ำหน้าวัดใกล้กับศาลท้าวแสนปมเดิม มีวังน้ำขนาดใหญ่ มีอุโมงค์ เข้าไปถึงองค์พระเจดีย์ มีสมบัติซ่อนอยู่มากมาย เมื่อน้ำปิงขึ้นสูง น้ำจะไหลเข้ามาตามอุโมงค์ จนมาถึงฐานพระมหาเจดีย์ มีแผ่นหินใหญ่ปิดไว้ แต่ปัจจุบันไม่มีหลักฐานให้เห็นนอกจาก คำบอกเล่าเท่านั้น สถานที่สำคัญของวัดวังพระธาตุคือ พระมหาเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สมัยสุโขทัย ขนาดใหญ่มากที่สุดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วจากกรมศิลปากร ศิลปะงดงามสร้างด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ เมื่อในปีพุทธศักราช 2449 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชร แวะที่วัดวังพระธาตุ ทรงบันทึกไว้ว่า ………พระธาตุนี้มีฐานแท่นซ้อนสามชั้น

2012-03-05_17-06
การขุดแต่งวัดป่ากล้วย

การขุดแต่งวัดป่ากล้วย ภายในกำแพงเมืองตอนเหนือ ในส่วนที่แคบที่สุด ของกำแพงเมืองกำแพงเพชร แนวระยะตรงกับประตูผี มีวิหารร้าง จำนวน 5 แห่ง ไม่มีผู้ใดได้ตั้งชื่อ ว่าชื่อวัดใด ต่อมามีประชาชนได้อพยพเข้าไปทำกิน ในบริเวณนั้น ต่างก็เรียกชื่อวัดที่พบเห็น ตามสภาพ อาทิ ถ้าอยู่ใดดงกล้วย ก็เรียกว่าวัดป่ากล้วย อยู่ในดงพริก ก็เรียกว่าวัดป่าพริก ทางราชการมิได้ตั้งชื่อแต่ประการใด…ทั้งที่วัดที่ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองนั้น ต้องเป็นวัดที่สำคัญ…ผู้สร้างตั้งมิใช่คนธรรมดาสามัญ จึงไปสร้างวัดในที่ดินอันจำกัดนั้นได้ วัดป่ากล้วยเป็นวัดหนึ่งที่อยู่ในบริเวณส่วนที่แคบที่สุดและเหนือที่สุดของภายในกำแพงเมืองเป็นเพียงเนินดิน ที่มิได้มีผู้ใดสนใจ แม้พระเจดีย์ประธานก็ได้ถูกไถไปทำป่ากล้วยจนหมดสิ้น เหลือเพียงวิหารร้างห็นเป็นแค่เนินดิน จึงมิได้มีผู้ใดใส่ใจ แม้อยู่ใกล้เพียงมือสัมผัสด้วยเป็นเพราะว่ากำแพงเพชรมีวัดร้างมากมาย วันนี้เรามีโอกาสได้พบกับ อาจารย์ ดร. ประสิทธิ์ อื้อตระกูลวิทย์ รองหัวหน้าภาควิชา โบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร นำนักศึกษาคณะโบราณคดี 3 ชั้นปี คือปีที่ 1ถึงปีที่ 3 รวมทั้งนักศึกษาปริญญาโท ทางสถาปัตยกรรม มาขุดแต่งวัดป่ากล้วย ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะค้นพบ ความสำเร็จคือโบราณสถานวัดป่ากล้วย ที่ถูกทับถมและฝังดินอยู่ช้านานหลายร้อยปี ทุกฝ่ายทุกชั้นเรียน ต่างมุ่งมั่นทำงานกันอย่างขันแข็งทั้งหญิงชาย ทั้งทั้งที่บางคนรูปร่างบอบบางสังเกตดูว่าน่าจะไม่เคยได้จับ ได้จับจอบ เสียม หรือพลั่ว มาก่อนทั้งชีวิต แต่มิได้ย่อท้อทำงานแข่งกับเวลา ที่จะต้องให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นเดือนมีนาคม 2548 …ขุดแต่ง ทำการสำรวจ โดยละเอียดชัดเจนแทบทุกตารางนิ้วเรามีโอกาส ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ดร.ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ และนางสาวบุศรา เขมาภิรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่

2012-03-05_17-04
วัดเจดีย์ทอง

วัดเจดีย์ทอง ที่บ้านโนนม่วง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง มีโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า วัดเจดีย์ทอง ซึ่งเจดีย์ทรงดอกบัวตูมขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง รูปทรงงดงาม เจดีย์มี ฐานเขียง สี่เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น บนยอดของเจดีย์ เห็นร่องรอยของดอกบัวตูม เหลือให้เห็นเพียงครึ่งเดียว ยอดบนสุด หัก หาหลักฐานไม่พบ พระอธิการวีระ อภิปุณโณ เจ้าอาวาส วัดเจดีย์ทองเล่าให้ฟังว่า แต่เดิมเห็นแต่เป็นเนินดินขนาดใหญ่ มียอดของเจดีย์ โผล่ ออกมาเท่านั้น กรมศิลปากรได้มาขุดแต่ง จึงเห็นความงดงามของพระเจดีย์… ที่ด้านหน้าเจดีย์ มีวิหารขนาดใหญ่ แต่ไม่เห็นพระพุทธรูปแล้ว คงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ที่ถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ มีกำแพงแก้วที่เห็นได้ชัด แต่เดิมคงเป็นวัดขนาดใหญ่ ในเขตโนนม่วง น่าเสียดายที่คนนครชุม คนกำแพงเพชรส่วนใหญ่ มิได้รู้จัก วัดเจดีย์ทองกัน และมิเคยเห็นวัดเจดีย์ทอง เป็นวัดสมัยสุโขทัย โดยมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เห็นเป็นหลักฐานสำคัญ ได้สัมภาษณ์ นายธวัชชัย นิยมรักษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ตำบลนครชุม ท่านเล่าว่า แต่เดิมวัดเจดีย์ทอง มีชื่อเรียกกันโดยสามัญว่า เจดีย์บ้านธาตุ ต่อมา เรียกกันว่าพระธาตุน้อย เรือนทอง และพระธาตุเจดีย์ทอง จนสุดท้ายเหลือแต่คำว่า เจดีย์ทอง คำว่าพระธาตุหายไปเหลือแต่คำว่าธาตุ ผู้เฒ่าจ้อย เกิดเพ็ง อายุ เกือบ 80

2012-03-05_17-02
วัดมะคอก

วัดมะคอก การไปสำรวจวัดในเขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดสุดท้ายคือวัดมะคอก สำเร็จด้วยดี โดยรายการโทรทัศน์วัฒนธรรมใช้เวลา ประมาณ 2 ปี ในการเก็บรายละเอียดของโบราณสถาน ทุกแห่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก เพื่อบันทึกความทรงจำในช่วงพุทธศักราช 2546 -2548 ว่าทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์มีสภาพเป็นอย่างไร บันทึกในระบบ วีซีดีเพื่อประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวของบ้านเมืองในอนาคต…และนำเสนอความยิ่งใหญ่อลังการของเมืองกำแพงเพชร ให้คนที่ได้ชมรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ได้หลงใหลและดื่มด่ำไปกับความยิ่งใหญ่ของเมืองมรดกโลกของเราทุกคน วัดมะคอก เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก…. คุณเอี่ยม คำกระมล เจ้าหน้าที่ดูแลอุทยานประวัติศาสตร์ได้ ชี้ชวนให้เราชมต้นมะคอก ซึ่งเราไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย เราจึงเห็นและเข้าใจ วัดมะคอกนี้ เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน เพราะสภาพของวิหารที่อยู่ต่ำเหนือพื้นดินเพียงเล็กน้อย เดินเข้ามาในวัดพบพระวิหาร ที่ถูกขุดค้นหาพระเครื่องและพระบูชา มีพระพุทธรูป 2 องค์ ที่มีเฉพาะพระวรกาย พระเศียร ถูกตัดไป พิงอยู่กับฐานพระประธาน น่าสลด หดหู่ยิ่งนัก ฝีมือของเราชาวพุทธทั้งสิ้น ถัดไปเป็นฐานพระประธานถูกขุดเป็นหลุมลึก ไม่มีร่องรอยของพระประธานให้เห็น อาจถูกนำไปไว้ที่อื่น ด้านหลังพระวิหาร เป็นเจดีย์ประธานฐาน 4 เหลี่ยม องค์ระฆังถูกเจาะเป็นช่องกว้าง ไม่สามารถสังเกตรูปทรงของพระเจดีย์ได้ รอบๆเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายโดยรอบ แต่ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะไม่เห็นเจดีย์รายเหล่านี้เลยเพราะพังราบติดพื้นดินไปหมดโดยรอบของพระเจดีย์มีซากกองแลง และชิ้นส่วนของยอดเจดีย์ตกอยู่ ในเขตสังฆาวาส ทางด้านเหนือของพุทธาวาส มีศาลาขนาดใหญ่ อยู่ถึงสามหลัง แต่เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น พื้นของศาลาลดหลั่นกันอย่างเหมาะเจาะและลงตัว ในอดีตคงงดงามน่าชมยิ่งนัก วัดมะคอก เป็นวัดหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเป็นเมืองพระของกำแพงเพชร

2012-03-05_16-55
วัดตะแบกลาย

วัดตะแบกลาย เมื่อประมาณ 45 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปชมวัดตะแบกลาย ในทุกสัปดาห์ เพราะได้ตามคุณลุงหอม รามสูต บุตรชายหลวงพิพิธอภัย ไปที่ไร่ บริเวณ วัดกะโลทัย และวัดตะแบกลาย ได้พบเห็นการขุดค้น อย่างนักล่าสมบัติ อย่างไม่มีกติกา ซึ่งทำให้ โบราณสถานและโบราณวัตถุของเรา พังพินาศอย่างที่เห็นในทุกวัน แต่ก่อนการไปที่วัดตะแบกลายนั้นต้องบุกเข้าไปในป่า มิได้มีถนนตัดผ่านดังเช่นปัจจุบัน ถนนในกำแพงเพชร มีเพียง ถนนเทศา กับราชดำเนินเท่านั้น.. วัดตะแบกลาย เป็นวัดขนาดใหญ่ อยู่ทางไปโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร แยกเข้าไปทางคลองท่อทองแดง หมู่บ้านริมคลองมีถนนตัดผ่านทั้งด้านหน้าและด้านข้างภายในวัดตะแบกลาย มีเจดีย์ทรงกลม หรือทรงลังกา ขนาดใหญ่มาก ฐานแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ยังเห็นหลักฐานที่ชัดเจนมาก ภายในเจดีย์ มีร่องรอยการเจาะเข้าไปในฐานเจดีย์ มีร่องรอย ใหม่ๆ คงหลังจากการพูดถึงการพบโบราณวัตถุที่วัดราชบูรณะแล้ว…ของนักล่าสมบัติ สมัยใหม่… ยอดของเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ อยู่สภาพที่ชำรุดมาก ไม่แตกต่างจากวัดเชิงหวาย ด้านหน้าของวัดตะแบกลาย มีฐานของพระวิหารขนาดใหญ่ มีร่องรอยการขุดค้นแบบพลิกแผ่นดิน แทบไม่เชื่อสายตาตนเองว่ากำแพงเพชรเมืองพระพุทธศาสนา มีการทำลายวัดกันมากขนาดนี้ชิ้นส่วนของพระประธานเป็นบริเวณพระเพลา ตกอยู่ที่ริมวิหาร ไม่มีใครใส่ใจ ดูแล ขณะเข้าไปชมไฟกำลังไหม้ รอบพระเจดีย์และพระวิหาร ด้านข้างของวัดตะแบกลาย ถูกถนนตัดผ่านรุกเข้ามาทั้ง ด้านหน้าและด้านข้าง อีกด้านหนึ่งมีการไถที่ทำไร่มันสำปะหลัง เฉียดพระวิหารและพระเจดีย์ไป วัดตะแบกลายเป็นอีกวัดหนึ่งที่ถูกบุกรุกมากที่สุด.และถูกขุดทำลายแบบไม่มีชิ้นดีสมควรได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ก่อนที่คิดทำอย่างอื่น เพราะอยู่กลางใจเมืองกำแพงเพชร อยู่ในสายตาของผู้ผ่านไปผ่านมาก่อนที่ นักขุดสมบัติ จะทำลาย เจดีย์เพื่อหาพระเครื่องอีกต่อไป กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก จะรักษาเมืองมรดกโลกทางอารยธรรมไว้ส่วนใหญ่และทิ้งส่วนน้อยคงไม่ได้ เพราะอิฐทุกก้อน

วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน วัดบ่อสามแสนเป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มา ตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เหตุที่เรียกว่าวัดบ่อสามแสนเพราะตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านบ่อสามแสน ด้านหน้าวัดมีบ่อศิลาแลง ขนาดใหญ่มหึมา ชาวกำแพงเพชรเรียกขานกันว่า บ่อสามแสน โดยมีตำนานว่าน้ำในบ่อมีจำนวนมาก แม้คนสามแสนคนใช้ดื่มกินก็ไม่มีวันหมด วัดใหม่จึงเรียกชื่อตามบ่อสามแสน ว่าวัดบ่อสามแสน หลวงพ่อพล กุสโล ได้ชักชวนชาวบ้านเพื่อสร้างหลวงพ่อพระนอนขึ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และวัดบ่อสามแสนได้รับอนุญาตให้เป็นวัดเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2525 มีเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อพลคือ หลวงพ่อยงค์ ทีฆายุโก เมื่อท่านมรณภาพ พระอาจารย์ทวี วชิรวังโส เจ้าคณะตำบลโกสัมพี มาเป็นเจ้าอาวาส จ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูวชิรปัญญากร นามเดิมว่าพระอาจารย์อำนวย กรรณิกา ในปีพุทธศักราช 2538 พระครูวชิรปัญญากร ได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น เป็นอุโบสถขนาดใหญ่ที่งดงาม สิ้นงบประมาณก่อสร้างไป สิบห้าล้านบาทแม้รูปลักษณ์ของหลวงพ่อพระนอน วัดบ่อสามแสน จะไม่งดงามเหมือนพระนอนที่สร้างโดยช่างหลวง ก็ตาม แต่ประชาชนชาวบ่อสามแสน เคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ฝีมือช่างราษฎรหรือช่างชาวบ้าน ก็ปั้นตามภูมิปัญญาของชาวบ้าน แต่เป็นความภูมิใจที่สามารถสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างสมบูรณ์ ชาวบ้านบ่อสามแสนจะจัดงานประเพณีไหว้พระนอน ในประมาณเดือนมีนาคม ของทุกปี ประมาณ

download
วัดป่ามืด

วัดป่ามืด ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก มีวัดจำนวนมากมาย เรียงรายติดกัน กว่า 50 วัด มีทั้งวัดขนาดเล็ก วัดขนาดกลาง และวัดขนาดใหญ่ มีผู้คนพากันถามว่า ทำไมเมืองกำแพงเพชรมีวัดต่างๆ มากมายถึงขนาดนี้ คำตอบที่ชัดเจน คือเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองพระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองสูงสุดทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร สืบต่อกันมาหลายร้อยปี วัดป่ามืด อยู่ติดกับรั้วของอุทยานประวัติศาสตร์ ด้านหน้า ?เป็นวัดขนาดกลาง ที่น่าสนใจ วัดหนึ่งหน้าวัดมีบ่อศิลาแลง ที่ขุดไปสร้างวัดยาวติดต่อกัน ด้านซ้ายของวัดป่ามืด คือวัด พระนอน ทำให้วัดป่ามืดมิมีใครมาแวะชม พากันเลยไป ที่วัดพระนอนกันหมด ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ ในอุทยานประวัติศาสตร์ เมืองมรดกโลก เหตุที่เรียกว่าวัดป่ามืด เพราะในบริเวณวัด เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา เคยเข้าไปขุดไม้ไผ่ที่มาทำเป็นไม้ตะพด หรือไม้เท้า เพื่อมาส่งครู ราว พ.ศ. 2501 มีลักษณะมืดครึ้มมีเถาวัลย์ และไม้ขนาดใหญ่มากมาย ปกคลุมวัด พื้นดินเต็มไปด้วยใบไม้ ที่ร่วงหล่น เกลื่อน กล่นไปหมด จึงอาจเรียกกันว่าวัดป่ามืด ด้านหน้ามีวิหารขนาดใหญ่ ฐานพระประธาน มีพระพุทธรูป ก่อด้วยศิลาแลง และมีร่องรอย ของพระพุทธรูปโกลน ศิลาแลง หลายองค์ องค์พระประธานเหลือเพียงแค่ฐาน ส่วนองค์พระและพระอุระ ตกอยู่ ใต้ต้นไม้ ที่ในกำแพงแก้ว วางกองไว้ถ้าไม่สังเกตจะไม่ทราบเลย ว่าเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ด้านหลังพระประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกา

2012-03-05_16-46
วัดแก้วสุริย์ฉาย

วัดแก้วสุริย์ฉาย เดินทางมาศึกษา …เรื่องราวของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มาหลายวัน ได้พบสิ่งที่ทรงคุณค่ามากมาย ทั้งทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของลานกระบือคือวัดแก้วสุริย์ฉาย กลางอำเภอลานกระบือ คุณธำรงค์ จันคง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลานกระบือ และคุณวรรณภา ทัพมงคล เจ้าหน้าที่วัฒนธรรม 5 จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำเราไปพบกับ พระครูรัตนวชิโรภาส เจ้าอาวาสวัดแก้วสุริย์ฉาย และเจ้าคณะตำบลลานกระบือ ซึ่งเมตตาต่อสังคมและประชาชนที่มาพบยิ่งนัก ท่านเล่าประวัติวัดแก้วสุริย์ฉายว่า ได้สร้างราวพุทธศักราช 2400 ในสมัยรัชกาลที่4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ผู้ที่ยกที่ดินให้สร้างวัดคือ นายแก้ว และนางฉาย ประชาชนจึงร่วมกันสร้างวัดขึ้น ณ ที่ดินแห่งนี้และขนานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดแก้วสุริย์ฉาย เจ้าอธิการยี้ เมตติโก ซึ่งเป็นนามสามัญของท่าน ได้เล่าถึง หลวงพ่อขำ หลวงพ่อกลับ ซึ่งมีรูปหล่อของท่านทั้งสอง อยู่ในศาลา กลางวัด ว่าท่านทั้งสองเป็นพระอาจารย์ของ เจ้าอธิการยี้ และได้รับการถ่ายถอดวิทยาคุณ จากพระอาจารย์ของท่าน คือหลวงพ่อขำ เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อกลับ หลวงพ่อกลับเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อไสว (พระครูวินิจวชิรคุณ) หลวงพ่อไสวเป็นอาจารย์ของเจ้าอธิการยี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรงวิทยาคุณทางคาถาอาคมยิ่ง เป็นที่พึ่งหลักทั้งทางธรรมะ และทางโลก นับว่าน่ายกย่องสรรเสริญยิ่ง ท่านพาเราไปชมพระเจดีย์โบราณ สององค์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้าอาวาสและผู้ที่มีพระคุณต่อวัด นำไปชมพระอุโบสถ ซึ่งเป็นโบสถ์สมัยโบราณที่ถมดินขึ้นมาสูงมากทำให้ อาคาร พระอุโบสถและพระวิหารเสียรูปทรงไปบ้าง… ในโบสถ์มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นพระประธาน เมื่อสังเกตโดยละเอียด พบว่า ได้นำปูนไปฉาบพระองค์ไว้ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่ามี

2012-03-05_16-42
วัดโพธิ์เตี้ย บ้านปลักไม้ดำ

วัดโพธิ์เตี้ย บ้านปลักไม้ดำ ที่บ้านปลักไม้ดำ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มีวัดโบราณวัดหนึ่ง เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า วัดงิ้วงาม มีหลวงพ่อกล้ายเป็นเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อขำ ได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาและเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดงิ้วงาม เป็นวัดโพธิ์เตี้ย ตามสัญลักษณ์ของต้นโพธิ์ที่มีลักษณะเตี้ยแคระ ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ได้ตายแล้ว?.เหลือแต่เพียงชื่อ ได้นมัสการพระโพธิ์ พัชยาโน รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งบวชมาได้ เพียง 4 พรรษา แต่ดูมีความตั้งใจและจริงใจในการบริหารและดูแลวัดเป็นอย่างมาก ท่านพาไปชมพระเจดีย์โบราณอายุราว 150 ปี ซึ่งมี สามองค์ แต่โดนขุดทำลายไป 1 องค์ เหลือให้เห็นเพียง 2 องค์ อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ท่านเล่าว่า ผู้มาขุดทำลายพระเจดีย์ประมาณ 30 คน ไม่มีใครที่ตายดีสักคน?.น่าจะเป็นอุทาหรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้รับทราบและระมัดระวังมากขึ้น ในการทำลายโบราณสถานและโบราณวัตถุ เพราะผู้สร้างสาปแช่งไว้ ด้านหลังพระเจดีย์ เป็นพระอุโบสถ อายุราว 150 ปี สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็นอุโบสถขนาดย่อม เรียกกันโดยทั่วไปว่าโบสถ์มหาอุตม์ คือมีทางเข้าด้านหน้าทางเดียวไม่มีทางออก เหมาะสำหรับปลุกเสก เครื่องราง ของขลังหรือแม้แต่บวชพระ สภาพค่อนข้างทรุดโทรมตามอายุขัยและยังไม่ไดัรับการดูแลอย่างถูกวิถี จากกรมศิลปากร หรือกรมศิลปากรอาจยังไม่ทราบ ว่ามีโบสถ์เก่าแก่อยู่ที่วัดนี้ จึงยังมิได้ขึ้นทะเบียนไว้ ข้างซ้ายของพระอุโบสถ เป็นพระวิหาร ที่ได้รับการบูรณะและดัดแปลงแก้ไขแล้ว ทำให้สถาปัตยกรรมเดิมถูกดัดแปลงแก้ไขไปโดย ไม่ทราบถึงความสำคัญ อย่างถูกต้องและแท้จริง น่าเสียดายยิ่งนัก ด้านหน้ามีวิหารขนาดเล็ก

Page 5 of 7« First...34567

Uses wordpress plugins developed by www.http://www.sunti-apairach.com