Category : วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร

2012-02-29_11-27
วัดนาควัชรโสภณ

วัดนาควัชรโสภณ วัดที่มีความงดงามพร้อมด้วยการออกแบบ และสถาปัตยกรรม ไม่ซ้ำกว่าวัดใดๆ ในเมืองกำแพงเพชร คือวัดช้าง หรือชื่อทางการว่าวัดนาควัชรโสภณ วัดช้างเป็นวัดเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัย อยู่นอกเขตอรัญญิก ไม่ใช่วัดช้างรอบ ชื่อนาควัชรโสภณ มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจว่า คำว่านาค นั้น หมายถึง ช้าง วัชร หมายถึงเพชร หรือสายฟ้า อาวุธแห่งพระอินทร์ โสภณ หมายถึงงาม ถ้าแปลตามตัว หมายถึง วัดที่มีช้างที่งดงามราวดั่งเพชร คนทั่วไปมักไปชมช้างกันที่วัดช้างรอบ ลืมไปว่า ช้างที่ วัดช้างนั้นงดงามยิ่งนัก วัดช้าง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร ทางทิศเหนือ ลักษณะผังวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บริเวณวัดล้อมรอบด้วยคูน้ำ ด้านในคูน้ำมีกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงอีกชั้นหนึ่ง สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัด ประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ประธานทรงระฆังสมัย สุโขทัย และเจดีย์รายอีก สามองค์ กำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับกำแพงวัด สร้างรอบรอบเจดีย์ ประธาน แนวกำแพงแก้วด้านหน้าจะเชื่อมกับวิหารทั้งสองด้าน ส่วนหลังของวิหารจะอยู่ภายในกำแพงแก้ว พระอุโบสถจะอยู่นอกคูน้ำด้านทิศใต้ ปัจจุบันเหลือแต่ฐานก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะวิหาร เป็นอาคารแบบจตุรมุข มุขด้านหน้าทำเป็นโถงยาว กว่ามุขด้านข้างและมุขด้านหลังเสารองรับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงสี่เหลี่ยม ก่อผนังด้านข้างสูงมาเพียงเล็กน้อย เป็นลักษณะวิหารโถง เจดีย์ประธาน เป็นลักษณะเจดีย์ทรงระฆัง แบบสุโขทัย ฐานสี่เหลี่ยม ด้านล่างประดับช้างปูนปั้น โผล่มาครึ่งตัว จำนวน 18 เชือก ด้านตะวันออกทำเป็นซุ้มพระ ถัดขึ้นไปทำเป็นฐานหน้ากระดาน แปดเหลี่ยมซ้อนสามชั้น

2012-02-29_11-22_kpp
วัดกำแพงงาม

วัดกำแพงงาม วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ แผนผังบริเวณวัด เป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงศิลาแลงโดยรอบทั้ง 4ด้าน เขตพุทธาวาสมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ส่วนเขตสังฆาวาสเป็นบริเวณด้านหลัง และด้านข้างของพุทธาวาส เขตสังฆาวาสหมายถึงเขตที่พระภิกษุอยู่อาศัย..ในสมัยโบราณแบ่งเขตกันอย่างชัดเจนเหมือนกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามที่กรุงเทพมหานคร ที่มีการแบ่งสัดส่วนเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสกันอย่างเด็ดขาด วิหารก่อด้วยศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขหน้า หลัง ลักษณะของฐานวิหารเป็นลักษณะบัวลูกแก้วอกไก่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่พบกันทั่วไปที่ในเมืองกำแพงเพชร เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงล้วน องค์ระฆังและส่วนยอดหักพัง ส่วนที่ยังเหลือประกอบด้วยฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย รองรับชั้นมาลัยเถาที่เป็นบัวถลาสามชั้น ลักษณะเจดีย์ประธานของวัดกำแพงงาม จึงเป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานสูงเช่นเดียวกับวัดสิงห์ แต่ฐานที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเพื่อรองรับส่วนยอดเป็นฐานสี่เหลี่ยมมิใช่ฐานแปดเหลี่ยมรูปแบบของฐานสี่เหลี่ยมสันนิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนฐานแปดเหลี่ยม ด้านหน้าและด้านหลังของเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายรวม เจ็ดองค์ ส่วน อุโบสถตั้งอยู่นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก วัดกำแพงงามจึงเป็นวัดสำคัญ ที่น่าสนใจและน่าศึกษาอีกวัดหนึ่ง ในเมืองกำแพงเพชร เมื่อเข้ามาชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดกำแพงงาม มีร่องรอยแห่งสถาปัตยกรรมยุคต้นๆของเมืองกำแพงเพชรให้น่าชมยิ่ง อย่าเพียงแค่ผ่านไป เราจะได้ทราบเจตนารมย์ อันยิ่งใหญ่ของบรรพ-บุรุษเรา กำแพงเพชร

2012-02-29_11-19
วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ในเขตอรัญญิก หรือเขตอรัญวาสี ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในป่านอกเมืองห่างจากชุมชน ระยะทางเท่ากับ 500 คันธนู หรือราว หนึ่งกิโลเมตร มุ่งให้ภิกษุ ปฎิบัติทางวิปัสสนา ?..ในเขตอรัญญิกของกำแพงเพชร มีวัดราว 50 วัดตั้งติดต่อกัน ในเนื้อที่ 1611 ไร่ ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมมีวัดมากมาย ต่อเนื่องกันแบบนี้ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น?? วัดฆ้องชัย?.เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลกตั้งอยู่ระหว่างทางออกทั้งสองด้านของอุทยานประวัติศาสตร์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก?กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง คือทางด้านทิศใต้กับทิศตะวันตก ?.นอกกำแพงวัดด้าน ทิศตะวันตกปรากฏบ่อศิลาแลงขนานไปกับแนวกำแพงของวัด ? ด้านหลังของวัดอยู่ระหว่าง วัด พระนอน กับวัดพระสี่อิริยาบถ โดยมีถนนคั่นกลางเท่านั้น?สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในวัดคือ มหาวิหารที่สูงกว่าทุกวัดในเขตอรัญญิก คือเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานล่างก่อเป็นฐาน หน้ากระดานมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างของวัดฆ้องชัย แตกต่างจากแห่งอื่นๆคือทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง 2.10 เมตร?.นับว่าเป็นฐานเขียงหรือฐานหน้ากระดาน ของอาคารที่สูงที่สุดเท่าที่พบในเขตเมืองกำแพงเพชร ?.. มีบันไดขึ้นสองทาง?.ฐานวิหารข้างบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้าหลัง ห้องโถงของพระวิหารมีขนาด 7 ห้อง แต่เมื่อรวมมุขทั้งหน้าและหลังแล้ว มี 9 ห้อง เป็นอาคารขนาดใหญ่มาก ?..เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลง แปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับด้วยมกร(อ่านว่ามะกอน ) สัตว์ในนิยายคือมังกร เป็นมกร ดินเผาหรือมกรสังคโลก ซึ่งเนื่องจากการขุดแต่งในปี พ.ศ.2525 ได้พบชิ้นส่วนของมกรจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถประกอบเป็นตัวมกรได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันตัวมกรแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร?. บนพระวิหารมีฐานพระประธานที่ใหญ่มาก แต่ไม่มีร่องรอยของพระประธานอยู่เลย?..

2012-02-29_11-18_kpp
วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย ไม่มีที่มาของชื่อวัด สืบไม่ได้ว่า แต่เดิมชื่อว่าอะไร กันแน่ แต่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า วัดกะโลทัยมาช้านานตั้งแต่สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นที่รกร้าง มีแค่ทางเกวียนผ่านเท่านั้น สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในวัด ประกอบด้วยวิหาร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบัน ไม่มีสภาพของวิหาร เพราะถูกขุดทำลาย จนไม่มีชิ้นดี ไม่สามารถจะบูรณะได้ จึงปล่อยให้เป็นที่รกร้าง มีหลุมจากการถูกขุด หาพระเครื่อง เป็นหลุมลึกโดยทั่วไป เจดีย์ราย ถูกทำลายไปทั้งหมด เหลือเป็นเนินดินข้างถนน ที่ไม่มีคนเหลียวแล อาจเป็นเพราะเป็นวัดที่ใกล้ตา จนเกินไป จึงรู้สึกว่า ไม่มีค่า เหมือนสิ่งที่ใกล้ตัวทั้งหลาย ตามที่คนสามัญคิดกัน ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ขนาดใหญ่ เป็นประธาน เป็นทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นโบราณสถานที่ร่วมสมัยกับเจดีย์กลางทุ่ง ที่เมืองนครชุม ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานซ้อน ลดหลั่น 4 ชั้น ก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะฐานหน้ากระดานชั้นที่ 4 ก่อด้วยอิฐ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ที่ปรับทรงให้สูงขึ้น เรือนธาตุ

2012-02-29_11-13
วัดเขาลูกรัง

วัดเขาลูกรัง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน..จนเป็นคำถามที่นักท่องเที่ยวถามเหมือนๆกันว่า ทำไมกำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายเช่นนี้ … คำตอบที่สำคัญคือ…กำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่…อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก……. วัดเขาลูกรัง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นอีกวัดหนึ่ง ตั้งอยู่บนเนิน เขาลูกรัง ด้านหลังของวัดช้างรอบ ที่ไม่เคยมีใครเข้าไปรู้จักและท่องเที่ยว เพราะอยู่ห่างจากทุกๆวัดในเขตอรัญญิกราว 500 เมตรนับว่าเป็นวัดที่ลึกลับและหาทางเข้าไปยากที่สุดที่เราไปสำรวจกันมา….วัดเขาลูกรังตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรัง สูงกว่าพื้นปกติราว 10เมตร ประชาชนจึงเรียกขานกันว่าวัดเขาลูกรัง …..สมนามจริงๆ…. ด้านหน้าของวัดเป็นวิหารขนาดใหญ่กว้างราว 12 เมตร ยาวราว 24 เมตร ไม่พบร่องรอยใดๆนอกจากรอยขุดค้นหาพระเครื่องไปทุกจุด เสาแต่ละต้นที่ผู้สร้างมีเจตนาให้อยู่นับพันๆปี ล้มทอดตัวระเนระนาด ก้อนศิลาแลงทุกก้อน ถูกรื้อค้น …เป็นหลุมลึก ค้นหาพระเครื่องที่ผู้สร้างวัดต้องการสืบต่อพระศาสนา…ว่าแม้โลกสลายไปแล้ว เมื่อขุดค้นไปเมื่อพบพระเครื่องและพระบูชาจะยืนยันได้ว่าที่นี่เคยเป็นวัดมาก่อน…..แต่อนิจจาไม่ถึงกาลเวลาเหล่านั้น….. บริเวณฐานพระประธานก็เช่นกัน เป็นหลุมลึกขนาดใหญ่ ไม่พบชิ้นส่วนของพระประธาน เพราะมีเรื่องเล่าขานว่า ในช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา ใครมากำแพงเพชร ก็จะหยิบฉวยพระพุทธรูปน้อยใหญ่ไป คล้ายสาธารณะสมบัติกระนั้น พระพุทธรูปทุกวัดจึงกระจัดกระจายไปที่ต่างๆ และไม่มีผู้จดบันทึกไว้ พระพุทธรูปเหล่านี้จึงสูญหายไปสิ้น….. ด้านหลังพระวิหาร มีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่ เนื่องจากพังทลายลงเกือบหมดจนแทบไม่ทราบว่าจะเป็นเจดีย์ทรงใด มีร่องรอยการเจาะลงไปใหม่ๆ อีก…เห็นเพียงซุ้มพระพุทธรูปบางส่วน เมื่อขึ้นไปยืนบนเจดีย์มองลงมาด้านล่าง จะสังเกตได้ว่าวัดนี้ ตั้งอยู่บนเนินเขา คล้ายกับวัดช้างรอบ จากการสำรวจ เราไม่พบ ศาลา กุฏิสงฆ์ บ่อน้ำเลย อาจเป็นเพราะเขาลูกรังทรุดตัวลงตาม ธรรมชาติอาจทำให้สิ่งก่อสร้างพังทลายไปด้วย . ก่อนที่จะเข้ามาสำรวจ…วัดเขาลูกรังเราขับรถวนหา ทางเข้า วัดเขาลูกรังอยู่หลายนาที

2012-02-29_11-10_kpp
วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวัน…ริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบัน….สถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ ออกจะแตกต่างจากวัดทั่วๆไป ที่สร้างตามแบบของกรมการศาสนา ที่มีการจัดวางและออกแบบเป็นพิมพ์เดียวกันหมดทำให้ขาดความน่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ วัดที่สวยงามและออกแบบแปลกไม่เหมือนใครนี้คือวัดหนองปลิง การจัดการของวัดยึดประโยชน์การใช้สอย ให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน มากกว่า ท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท ใช้เวลาเพียง 6 ปี จัดการวัดหนองปลิง จนอยู่ในสภาพที่ เกิดประโยชน์และรับใช้สังคม มากกว่า เน้นไปที่การปฏิบัติ วิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ เมื่อปฏิบัติงาน ทุกประเภทการออกแบบ การใช้พื้นที่ของวัดด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ของพระครูวิเชียรธรรมนาททำให้อาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ..ห้องพัก ชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา ทำให้การจัดการของวัดนี้ จึงแตกต่างจากวัดอื่นๆ… ที่มุ่งสร้างคุณภาพของชีวิตของผู้คน..มากกว่าที่จะรับประโยชน์จากผู้คน ด้วยบุคลิกที่เป็นนักประชาสัมพันธ์. นักจัดการ นักบริหารและนักปกครอง ของท่านเจ้าอาวาส ทำให้วัดหนองปลิง กลายเป็นวัดที่น่าสนใจในสายตาของปัญญาชนอาจจะแปลกแยกกับวัดทั่วไปทำให้คนทั่วไปในบริเวณใกล้เคียงที่มีวิสัยทัศน์ดั้งเดิม มองวัดหนองปลิงด้วยสายตาที่แตกต่างและยังไม่เข้าใจดีพอพราะ เจตนารมณ์ของการสร้างวัดหนองปลิงอยู่ที่การสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนโชคดีของชาวกำแพงเพชร ที่ได้พบทางธรรมที่แตกต่างไม่สามัญเหมือนที่ปฏิบัติธรรมแห่งใด

2012-02-29_11-07
วัดกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง เมื่อเข้าไปชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในบริเวณอรัญญิกแล้ว คนทั่วไป มักไปชมวัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบ กันทุกคน ไม่มีใครที่คิดจะไปชม วัดกรุสี่ห้อง ซึ่งถ้ามองจากริมถนนในอุทยานประวัติศาสตร์ แล้วเป็นเหมือนวัดเล็กๆ ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่เมื่อเข้าไปสำรวจ บริเวณข้างใน วัดกรุสี่ห้องเป็นวัดที่ มีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในยุค กำแพงเพชรรุ่งเรืองสุดขีด คือราวพุทธศักราช 1900 ? 2000 มีหลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใครในเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเนื้อที่วัด ไพศาลกว่าวัดอื่นในอุทยาน ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร คือกว่า 64,200 ตารางเมตร มีวิหารขนาดใหญ่ หนึ่งหลัง ขนาดย่อม 2 หลัง มีเจดีย์ขนาดย่อมเรียงรายอยู่ด้านหน้าวัด ถึง 13 องค์ มีกุฏิที่มีลักษณะแปลก 8 หลัง มีศาลาโถง 3 หลัง มีเวจคือส้วม หรือฐาน อยู่มากมายกว่า 8 ที่ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ วางในทิศที่เหมาะสมในทุกทิศ 5 บ่อ และบ่อขนาดย่อม อยู่บนอาคารวิหาร อีก 2 บ่อ…. สิ่งที่น่าสนใจที่สุด ของวัดกรุสี่ห้องคือ การที่มีพระวิหาร ขนาดใหญ่ ที่มีรูปทรงและสถาปัตยกรรมที่งดงามเป็นเลิศ สัดส่วนใช้สอยของห้องต่างในวิหารล้วนสมดุลยิ่ง… ที่พิเศษสุด พื้นของวิหาร ปูด้วยหินชนวนอย่างงดงาม ดูกว้างขวางและแปลกตากว่าวัดใดๆ ในเมืองกำแพงเพชร

ทดสอบการโพสข้อความเพื่อโชว์หมวดหมู่ต่างๆ

ทดสอบการโพสข้อความเพื่อโชว์หมวดหมู่ต่างๆ

Page 7 of 7« First...34567

Uses wordpress plugins developed by www.http://www.sunti-apairach.com