จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มกราคม 03, 2025, 10:54:45 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ครูมาลัย ชูพินิจ ครูมาลัย ชูพินิจ นักประพันธ์ชาวกำแพงเพชร ผู้สร้างสรรค์  (อ่าน 9611 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1445


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 10:08:08 pm »

ครูมาลัย  ชูพินิจ 

   ครูมาลัย   ชูพินิจ  นักประพันธ์ชาวกำแพงเพชร  ผู้สร้างสรรค์นวนิยายดีเด่นหลายเรื่องประดับไว้ในบรรณพิภพ โดยเฉพาะเรื่อง ทุ่งมหาราช ที่ถ่ายทอดเรื่องราวจากสภาพชีวิตความเป็นอยู่  และสภาพธรรมชาติในท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร  ไว้อย่างละเอียด  ผลงานวรรณกรรม  เรื่องนี้ทำให้จังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศถือว่าท่านได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาวจังหวัดกำแพงเพชร
   ครูมาลัย  ชูพินิจ  เกิดเมื่อวันที่  ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่บ้านริมฝั่งแม่น้ำปิง  ตำบลคลองสวนหมาก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลนครชุม)   อำเภอเมืองกำแพงเพชร  บิดา  มารดา คือ นายสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ ประวัติของตระกูลชูพินิจนี้  นางขนิษฐา ณ บางช้าง  บุตรสาวของครูมาลัย   ชูพินิจ  เล่าว่า?เป็นตระกูลที่สืบต่อมาจากตระกูลบางช้าง?  ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมาจนกระทั่งถึงชั้นของครูมาลัย   ชูพินิจ  และได้ย้ายมารับราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    บิดามารดาของครูมาลัย  ชูพินิจ   ไม่ได้รับราชการแต่ประกอบอาชีพค้าไม่สักและไม้กระยาเลย  ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร
   ครูมาลัย  ชูพินิจ  ใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่ที่ตำบลคลองสวนหมาก  ได้รับการศึกษาชั้นต้น  ที่วัดพระบรมธาตุซึ่งอยู่ใกล้บ้าน  แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร  จนอายุ  ๑๐  ปี  จึงเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ  ใน พ.ศ. ๒๔๕๙  โดยพักที่บ้านญาติเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  ที่โรงเรียนบพิตรพิมุขและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๖๔  ต่อมาได้เข้าเรียนวิชาครูที่โรงเรียนวิชาครู  ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีความก้าวหน้าในสมัยนั้นเพราะเห็นว่าวิชาครูเป็นวิชาที่เรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนทั้งนี้เนื่องจากฐานะทางบ้านในขณะนั้นอยู่ในภาวะที่ขาดแคลนมาก  การค้าไม้ของบิดามารดาประสบกับการขาดทุนจากความตกต่ำของตลาดไม้ใน พ.ศ. ๒๔๖๓  ในฐานะที่เป็นลูกคนโตและมีโอกาสเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับและต่อสู้กับความจำเป็นนั้นอย่างสุขุมรอบคอบ ได้เข้าพักอาศัยอยู่กับพระยามหาอำมาตยาธิบดี  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ที่ตำบลยศเส  จนสำเร็จการศึกษา  เมื่อสำเร็จการศึกษาประโยคครูประถมจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้เข้าเรียนวิชาสามัญระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๗  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  และสำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ ๘เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗  ในขณะที่เรียนอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนี้  ได้ใช้เวลาในตอนกลางคืนเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษ  ที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ด้วย

ครูมาลัย  ชูพินิจ  เริ่มอาชีพครูที่โรงเรียนวัดสระเกศ  เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ โดยสอนอยู่ที่เรือน ?ศรียา
ภัย? รับราชการได้เพียง  ๒ ปี  ก็ลาออกเพราะชีวิตการทำงานในอาชีพครูต้องปฏิบัติตามกรอบและระเบียบซึ่งไม่ตรงกับความรู้สึกของท่าน  เนื่องจากขณะนั้นอยู่ในวัยรุ่นต้องการชีวิตที่เป็นอิสระการท่องเที่ยวผจญภัย  การเป็นตัวของตัวเอง  ถึงจะยากลำบากก็ตาม เมื่อลาออกจากอาชีพครู ได้เข้าทำงานด้านหนังสือพิมพ์ในหน้าที่บรรณาธิการ  ซึ่งการประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ครั้งนั้นทำให้มีโอกาสเริ่มงานอาชีพนักประพันธ์

ประวัติการทำงานมีดังนี้
   พ.ศ. ๒๔๖๙   ทำหนังสือ ?ไทยใต้? ที่จังหวัดสงขลา  ตามคำชักชวนของ นายบุญทอง  เลขะกุล ซึ่ง
เป็นเพื่อนคนหนึ่ง
   พ.ศ. ๒๔๗๐   เดินทางกลับกรุงเทพฯ  ตามคำชักชวนของนายกุหลาบ  สายประดิษฐ์  เข้าทำงานที่
หนังสือพิมพ์รายวัน ?บางกอกการเมือง? รับผิดชอบงานในแผนกสารคดี
   พ.ศ. ๒๔๗๑   ร่วมก่อตั้ง ?หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ? มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ นับเป็นงานที่ประสบผลสำเร็จ มียอดขายถึง ๔,๐๐๐ ฉบับ
   พ.ศ. ๒๔๗๓   ร่วมกันทำหนังสือพิมพ์ใหม่รายวัน  มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกสารคดี และ
บันเทิงได้รับเงินเดือนชั้นหลังสุดที่ได้รับก่อนลาออกจากครู  ทำได้ ๑ ปี  คณะผู้จัดทำลาออกทั้งคณะ เพราะ
ถูกบีบบังคับจากนายทุนผู้ดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
   พ.ศ. ๒๔๗๕   รวมดำเนินงานจัดทำหนังสือพิมพ์ประชาชาติ มีตำแห่งเป็นหัวหน้าแผนกสารคดี
และบันเทิงคดี  ต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ และบรรณาธิการ การทำงานด้านหนังสือพิมพ์นี้
ครูมาลัย  ชูพินิจ ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยในการทำหนังสือพิมพ์ทีเดียว ทำงานอยู่ ๗ ปี จึงลาออกด้วยเหตุผล
ทางการเมือง  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐
   พ.ศ. ๒๔๘๐   ไปทำไร่ถั่วเหลือง ที่อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
   พ.ศ. ๒๔๘๑   รวบรวมพรรคพวกตั้งบริษัทจำกัด ?ไทยวิวัฒน์? (ต่อมาเป็นบริษัท อักษรนิติ์)
ออกหนังสือพิมพ์ฉบับบ่าย ?ประชามิตร? รายวัน ตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการ และหนังสือพิมพ์
?สุภาพบุรุษ? ฉบับเช้า ตำแหน่งบรรณาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงลาออกเพราะสุขภาพไม่ดี  และ
ขณะนั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม
   พ.ศ. ๒๔๘๖   ไปทำสวนมะพร้าวที่อ่างพนังตัก  จังหวัดชุมพร  เป็นเวลา ๑ ปี
   พ.ศ. ๒๔๘๘   ร่วมกับคุณอารีย์  ลีวีระ  ก่อตั้งบริษัทไทยพณิชยการ จำกัด จัดทำหนังสือพิมพ์รายวัน?สยามนิกร?  ?พิมพ์ไทย?  ?สยามสมัย? ตำแหน่งที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์ไทย  และเป็นนักเขียนประจำของบริษัท ไทยพณิชยการ จำกัด ทำงานอยู่นานถึง  ๑๗  ปี





   จากประวัติศาสตร์การทำงานหนังสือพิมพ์ของครูมาลัย  ชูพินิจ  จะเห็นลักษณะเดิ่นประการหนึ่ง คือ ท่านจะทำงานอยู่ในกลุ่มนักหนังสือพิมพ์หนุ่มที่ชอบริเริ่มก่อตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยทุนจากเจ้าของสำนักพิมพ์ ด้วยเหตุนี้นักหนังสือพิมพ์กลุ่มนี้จึงต้อง ?ตบเท้าออก? เนื่องจากมีความขัดแย้งทางนโยบายกับเจ้าของทุนอยู่เสมอ  การริเริ่มออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมาสู่ตลาดหนังสือ  การลาออกจากความขัดแย้งกับนายทุน  เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของครูมาลัย  ชูพินิจ  ได้อย่างชัดเจนว่า  ท่านเป็นบุคคลที่ริเริ่ม มีความมานะ  ความเชื่อมั่นในตนเอง  และกล้าเสี่ยง  กล้าทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการงานที่ทำโดยไม่หวั่นกลัวต่อความล้มเหลว  แม้ต้องล้มและลุกซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายครั้ง ก็ไม่มีความย่อท้อ และไม่ยอมอ่อนข้อให้กับนายทุนในสิ่งที่เห็นว่าไม่สมควร ซึ่งแสดงถึงความมีจรรยาบรรณของ นักหนังสือพิมพ์ และความอิสระในการทำงาน  ที่ไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติของผู้มีเงินแต่ปราศจากอุดมการณ์ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตไว้ในวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของท่านไว้     ?ชีวิตมีค่าอะไร     ถ้ามันจะราบรื่นไปเสียทุกอย่าง    ปราศจากอุปสรรคที่จะดิ้นรน  ปราศจากอันตรายที่จะต่อสู้  และปราศจากผู้ที่จะร่วมรับความสุข  ความภาคภูมิใจเพราะชัยชนะที่เราได้รับมา?
   ด้านอาชีพนักประพันธ์  ซึ่งแยกไม่ค่อยออกกับงานหนังสือพิมพ์  ครูมาลัย  ชูพินิจ  เริ่มสนใจงาน
ประพันธ์อย่างจริงจังขณะเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดสระเกศ  ระหว่าง  พ.ศ. ๒๔๖๗?๒๔๖๘  โดยใช้เวลาว่างจากการสอนเขียนเรื่องสั้นส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน  และรายสัปดาห์ที่เผยแพร่ในขณะนั้นจนกระทั่งมาประกอบอาชีพนักประพันธ์โดยตรง  ครูมาลัย  ชูพินิจ   มีผลงานเขียนทั้งประเภทเขียนทั้งประเภทบังเทิงคดีและสารคดีจำนวนมากกว่า ๒,๕๐๐  เรื่อง บางเรื่องออกอากาศทางวิทยุติดต่อกันถึง ๕ ปี คือเรื่อง ?ล่องไพร?ที่ส่วนหนึ่งของเรื่องใช้ฉากในจังหวัดกำแพงเพชร
   ชีวิตครูมาลัย     ชูพินิจ       เป็นวิถีชีวิตการทำงานอย่างแท้จริง    และได้เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า
?นักเขียนเล็กๆคนหนึ่ง ซึ่งทั้งเนื้อทั้งตัวมีสมบัติติดกายอยู่ชิ้นเดียว คืองาน ๑๒ ถึง ๑๘ ชั่วโมง  ในหนึ่งวัน
๗ วัน ในหนึ่งสัปดาห์  และ ๕๒  สัปดาห์  ในหนึ่งปี  ทำนองเดียวกับที่ข้าพเจ้าเริ่มต้นเมื่อ  ๒๐ ปีมาแล้ว?
ประสบการณ์การทำงาน และการต่อสู้ชีวิตด้วยความอดทนเข้มแข็ง  และเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ของครู
มาลัย   ชูพินิจ  มักแสดงออกในงานเขียนเสมอ  เช่น  ?ชีวิตคือการต่อสู้  ชีวิตที่มีคุณค่าคือชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม?  ซึ่งถือเป็นหลักในการครองชีวิตของนักประพันธ์ผู้นี้
   ครูมาลัย   ชูพินิจ  ใช้นามปากกาในการเขียนหนังสือเป็นจำนวนมาก  ตามประเภทของงานเขียน
ได้แก่  สมิงกะหร่อง  และแบตตลิ่งกรอบ  ผู้นำ ม.ชูพินิจ  แม่อนงค์  เรไร  ผุสดี  อาตมา  ลดารักษ์  นายดอกไม้ น้อย  อินทนนท์  หนอนหนังสือ  เรียมเอง  อุมา  นายฉันทนา   จิตรดา   ฮ.ฮ.ฮ.ก.ก.ก.ฐ.ฐ.ฐ.น.น.น.ส.ส.ส   นอกจากผลงานด้านการประพันธ์แล้ว ครูมาลัย  ชูพินิจ ยังมีผลงานที่อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่สังคม  โดยให้ความสนใจงานด้านการศึกษา  และงานเกี่ยงกับเยาวชนการปฏิบัติเพื่อสังคม   ดังนี้



   

   -      กรรมการในคณะกรรมการฝ่าย  Mass  Communication   ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา  วิทยาศาสตร์  และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
-   กรรมการบริหารมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์
-   กรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย
-   กรรมการสภาสังคมสงเคราะห์   ในพระบรมราชินูปถัมภ์
-   ที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติ  ในพระบรมราชินูปถัมภ์
-   กรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
-   อุปนายกสมาคมภาษาและหนังสือ
-   อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
การดำรงชีวิตในครอบครัว  ครูมาลัย  ชูพินิจ  สมรสกับนางสาวสงวน   จันทรสิงห์    เมื่อวันที่
๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๗๙  มีบุตรธิดา  ๕  คน  คือ  นายสุคต   ชูพินิจ    นายกิตติ   ชูพินิจ    นางขนิษฐาณ   บางช้าง    นางโสมนัส   นครจารุพงศ์   และนางสาวสมาพร   ชูพินิจ   ครอบครัวครูมาลัย  ชูพินิจ   เป็นครอบครัวแบบไทยแท้  คือ พ่อบ้านเป็นผู้รับผิดชอบด้านการเงิน     ส่วนความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวเป็นหน้าที่ของภรรยา  ซึ่งมิไดทำงานนอกบ้าน   นอกจากนั้นด้วยความเป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อจึงมีบุคคลอื่นอาทิ   ญาติ  ผู้รู้จักคุ้นเคย   และมิตรสหายของ  บุตร ? ธิดา  มาขอพักอาศัยเพื่อเรียนหนังสือ  และเพื่อทำงานในกรุงเทพฯ  บางรายพักอาศัยอยู่ทั้งครอบครัว  จึงเป็นภาระหน้าที่ของครูมาลัย  ชูพินิจ  ที่ต้องดูแลเรื่องการใช้จ่าย  ในบั้นปลายของชีวิตครูมาลัย  ชูพินิจ  ประสบความสำเร็จในชีวิตที่เป็นที่ยอมรับของสังคมเป็นอย่างมาก  ประมวลได้ดังนี้
   พ.ศ.  ๒๕๐๒  ได้รับการแต่งตั้ง  เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
   พ.ศ.  ๒๕๐๕   รับพระราชทานปริญญาบัตร  วารสารดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  จากมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์
   ในด้านการต่างประเทศ  ได้รับเชิญไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหลายครั้ง  คือ
-   ได้รับเชิญจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตกไปสังเกตสถานการณ์  ในนครเบอร์ลินและเยอรมัน
ตะวันตก  พ.ศ.  ๒๕๐๒
   -     ได้รับเชิญไปประชุม   APACL  (องค์การต่อต้านคอมมิวนิสต์)  ครั้งที่ ๕  ที่ นครเซอูล
ประเทศเกาหลี    ประเทศเกาหลีใต้
   -     ได้รับเชิญจากรัฐบาลไต้หวัน  ให้ไปสังเกตการณ์   ณ  เกาะคีมอย   (QUEMOR)
   -     ได้รับเชิญไปประชุม   APACL    ครั้งที่ ๖   ณ  กรุงไทเป  และดูงานที่ไต้หวัน  เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๐๓
-   ได้รับการแต่งตั้งร่วมคณะผู้แทนไทยไปร่วมสัมมนาขององค์การซีโต้  ณ  เมืองละฮอร์  ประเทศปากีสถาน
-   ได้รับเชิญจากบริษัทการบินแอร์ฟรานซ์  (AIR  FRANCE)  เดินทางไปรอบโลก
-   ได้รับเชิญจากรัฐบาลเยอรมันไปสังเกตสถานการณ์เบอร์ลิน   เยอรมันตะวันตก   พร้อมทั้ง
รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
-   ได้รับเชิญจากรัฐบาลญี่ปุ่น  เพื่อสังเกตการณ์การเศรษฐกิจ  ศึกษาวัฒนธรรม  และเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  เมื่อเดือนตุลาคม   พ.ศ.  ๒๕๐๔
-   ได้รับเชิญจากสมาคมการประพันธ์ฟิลิปปินส์  ให้ไปประชุมที่บาเกียว
-   ได้รับเชิญจากบริษัทการบิน  SWISS  AIR  และรัฐบาลสวิสให้ไปเยือนประเทศ  สวิตเซอร์แลนด์
ครูมาลัย   ชูพินิจ  เป็นบุคคลที่ถือว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร   ที่สร้างชื่อเสียงให้กับท้องถิ่น  มีบทบาทในวงวรรณกรรมเป็นอย่างมาก  ทุกคนเรียกว่าท่านเป็น  ?ครู?  เป็นนักเขียนผู้ผ่านการต่อสู้ในสนามชีวิต  ทั้งอาชีพครู  นักประพันธ์  และนักหนังสือพิมพ์ที่ต้องทำงานหนักมาตลอด  ตั้งแต่งานหนังสือพิมพ์ฉบับแรก  คือ  ?ไทยใต้? เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓  เรื่อยมาจนถึง  พ.ศ.๒๔๘๙  ต้องรับผิดชอบงานที่ปรึกษาไทยพนิชการ  จำกัด  ซึ่งออกหนังสือพิมพ์หลายฉบับ  อาทิ  พิมพ์ไทย   สยามนิกร  สยามสมัย  กระดึงทอง  เพื่อนบ้าน  ฯลฯ  ตลอดจนเสียสละเวลาเพื่องานสังคมสงเคราะห์โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของตน   จึงทำให้สุขภาพทรุดโทรดมากต่อมาใน  พ.ศ.  ๒๕๐๖  เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  จากการตรวจสอบของแพทย์  พบว่า  เป็นโรคมะเร็งในปอดขั้นรุนแรง  และถึงแก่กรรม  ณ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อวันที่  ๒๐  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๐๖   รวมอายุได้  ๕๗  ปี 
เป็นความภูมิใจของชาวกำแพงเพชร ที่ครูมาลัยได้รจนา เรื่องราวของกำแพงเพชรไว้อย่างงดงามในวรรณกรรมชื่อ ทุ่งมหาราช....   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!