จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 22, 2024, 01:51:53 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ราชวงศ์พระร่วง แห่งสุโขทัย มาจากกำแพงเพชรและพ่อขุนรามคำแหงกับศิลาจารึกหลักที่ ๑  (อ่าน 7720 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2010, 01:57:34 pm »

 ราชวงศ์พระร่วง แห่งสุโขทัย มาจากกำแพงเพชรและพ่อขุนรามคำแหงกับศิลาจารึกหลักที่ ๑  

จากชินกาลมาลีปกรณ์ ในหน้า 112-113 ตอนหนึ่งมีข้อความถึงการประสูติ
                    ? ได้ยินว่า  ที่ตำบลที่บ้านโค  ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก  ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง  เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย  จึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น  จึงเกิดบุตรชายหนึ่ง
และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า
โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง?

[แก้] รายนามและพระนามผู้ที่อยู่ในราชวงศ์พระร่วง-สุโขทัย

บุคคลตามจารึกในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนามเดิม บางกลางหาว
นางเสือง
พ่อขุนบาลเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พญาเลอไท
พญางั่วนำถุม (ผสมวงศ์นำถุมทางราชินิกุล)
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
พระมหาเทวี (พระพี่นางในพญาลิไท)
พระศรีเทพาหูราช พระโอรสในพระมหาเทวี และขุนหลวงพะงั่ว (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
พระยาราม (พระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองศรีสัชนาลัย)
พระยายุทธิษฐิระ (พระโอรสในพระยาราม เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 3อีกต่อหนึ่ง)
สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
พระนางสาขะ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของกษัตริย์อยุธยาต้องมาจากราชวงศ์พระร่วง
พระสุริโยทัย
ขุนพิเรนทรเทพ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
พระสุพรรณกัลยา (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระเอกาทศรถ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
หม่อมเจ้าหญิงในราชวงศ์พระร่วง สมัยพระนารายณ์มหาราช
หม่อมเจ้าเจิดอุภัย
พระยาโกษาธิบดี (ปาน)
พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
สมเด็จพระปฐมบรมราชชนก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ในนามราชวงศ์จักรี)
และ เชื้อพระวงศ์จักรีทุกพระองค์

ประวัติพ่อขุนรามคำแหง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3   แห่งราชวงศ์พระร่วงสมัยกรุงสุโขทัย       เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง  มีพระเชษฐา 2 พระองค์    องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์    องค์กลางทรงพระนามว่า" บานเมือง "   และมีพระขนิษฐาอีก 2 พระองค์   เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนม์ได้ 19 พรรษา ได้เสด็จไปในกองทัพกับพระะชนกและได้ทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ชัยชนะ   พระชนกจึงพระราชทานพระนามว่า      "พระรามคำแหง "  เมื่อพระชนกสวรรคต      พ่อขุนบานเมืองผู้เป็นพระเชษฐาได้ขึ้นครองราชย์และแต่งตั้งให้พ่อขุนรามคำแหงไปครองเมืองเชลียง     และเมื่อพ่อขุนบานเมืองสวรรคต      พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัย   เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง

                    พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์    ทรงเป็นนักรบ   นักปกครอง  และนักอักษรศาสตร์   พระองค์ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงแต่งตั้งราชทูตไปสานสัมพันธไมตรีกับจีน และได้นำช่างปั้นจากจีนมาปั้นเครื่องชามสังคโลกในกรุงสุโขทัย  ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ได้เป็นไมตรีกับเมืองลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองลังกาโดยรับมาจากนครศรีธรรมราชอีกทอดหนึ่งในรัชสมัยนี้

ศิลาจารึกหลักที่๑รูปคำปัจจุบัน

         พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือตั้งแต่ยังเล็ก

        เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจะแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพราะกูพุ่งช้างขุนสามชน

           เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดอันกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้ง(ก)ลม

            เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า

ไพร่ฟ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียเข้า ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น

          ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล จึ่งแล่งความแก่เขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักนักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงินบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก่ดี บ่ข้าบ่ตี

            ในปากประตูมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม

            สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน

            กลางเมืองสุโขทััยนี้ มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี?ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา

           คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีงฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกถินโอยทานแล้ปีแล้ญิบล้าน ไปสูตญัติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงแต่อรัญญิกพู้น เท่าหัวลานดํบงคํด้วยเสียงพาดเสียงพิณเสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเหล้นเหล้น ใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน

         เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถรเบื้องตะวันตก

         เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันหนึ่งงมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันหนึ่งลุกยืน เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้มีพิหารมีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนามีถิ่นถ้าน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดั่งแกล้ (งแต่)ง

           เบื้องตีนนอนเมืองสุโขไทนี้มีตลาดปสาน มีพระอัจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่มีนา มีถิ่นถ้าน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฎีพิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส(ศรีตระพังสระ???) มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วงป่าขาม มีน้ำโคกมีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยงเมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขาอันบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย

          ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า จึ่งให้ช่างฟันขดารหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนออกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูตธรรมแก่อูบาสกฝูงท่วยจำสีล ผิใช่วันสูตรธรรมพ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงลูกเจ้าขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยางเที้ยนย่อมทองงา...ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหงขึ้นขี่ไปนบพระ....(เถิง)อรัญญิกแล้วเข้ามา,

         จารึกอันหนึ่งมีในเมืองเชลียงสถาบกไว้ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันหนึ่งมีในถ้ำชื่อถ้ำพระราม อยู่ฝั่งน้ำสํพาย จารึกอันหนึ่งมีในถ้ำรัตนธารในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันหนึ่งชื่อศาลาพระมาส อันณึ่งชื่อพุทธศาลา ขดารหินนี้ชื่อมนังศิลาบาตร สถาบกไว้หนี้(จึ่ง)ทังหลายเห็น

           พ่อขุนรามคำแหงลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนในเมืองสรีสัชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากาวลาวแลเมืองไทเมืองใต้หล้าฟ้าฏ?ไทชาวอูชาวของมาออก

         ๑๒๐๗ สก ปีกุน ให้ขุด(เอา)พระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองสรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงล้อมพระมหาธาตุสามเข้าจึ่งแล้ว

           เมื่อก่อนลายสือนี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสืไทนี้ลายสือนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำแหงนั้นหาเป็นท้าวเป็นพระญาแก่ไททังหลาย หาเป็นครูอาจารยสั่งสอนไททังหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้แต่คนอันมีในเมืองไทด้วยรู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้

              อาจปราบฝูงข้าเศิก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออกรอดสรลวง สองแคว ลมบาจาย สคาเท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรณณภูมิ ราชบูรี เพช(บู)รี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตกรอดเมืองฉอด เมือง?น หงษาวดี สมุทรหาเป็นแดน, เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน?เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวาเป็นที่แล้ว , ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2010, 02:11:56 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!