จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 25, 2024, 01:36:45 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 3 พระร่วง 3 ราชวงศ์ โดยรุ่งเรือง สอนชู  (อ่าน 6833 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 11:44:57 am »

3 พระร่วง  3  ราชวงศ์
สืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง  สอนชู
                    เมื่อกล่าวถึง ?พระร่วง? ทุกคนที่สนใจประวัติศาสตร์ก็จะมีความเข้าใจตรงกันว่าเป็นบุคคลที่เป็นกษัตริย์หรือเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยซึ่งมีพระนามว่า ?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์? และเป็นต้นราชวงศ์?พระร่วง?  แต่ยังมีข้อสงสัยว่ามาจากที่ใด บ้างว่ามาจากเมืองละโว้ซึ่งมีวาจาสิทธิ์สาบให้ทหารขอมกลายเป็นหิน  บ้างว่าไปจากกำแพงเพชรเพราะเกิดที่บ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร  ผู้เขียนจึงขอนำพระราชประวัติโดยย่อของ ?พระร่วง? มาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
                   ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  กล่าวถึงพระร่วงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุโขทัย มีถึง 3  ราชวงศ์ ได้แก่
1.   พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน)
2.   พระร่วงจากเมืองละโว้  (จังหวัดลพบุรี)
3.   พระร่วงจาก เมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)
\
                                 พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย  จังหวัดลำพูน
                  จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงอรุณราชกุมารเมืองสวรรคโลก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า  88 ? 92  มีข้อความที่สรุปได้ว่า พระยาอภัยคามินีราช เมืองหริภุญไชย(ลำพูน) ได้ออกไปจำศีลอยู่ในเขาใหญ่ ได้เสพเมถุน(สังวาส)กับนางนาค(สาวชาวบ้าน) จนเกิดราชบุตรองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ?อรุณราชกุมาร?  เมื่อโตขึ้นพระยาอภัยคามินีราชให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย มีพระนามว่า ?พระยาร่วง?
                พระยาร่วง ได้เสด็จไปเมืองจีน มีความชอบทางพนัน ชอบเล่นว่าว มีวาจาสิทธิ์  พระร่วงได้สิ้นพระชนม์ เมื่อคราวที่ทรงเล่นน้ำที่กลางแก่งหลวง แล้วจมหายไป  ไม่สามารถจะตามหาพระศพได้   เมื่อปีพุทธศักราช 1200 จุลศักราช 152 ปีชวด  สัปตศก
  
                                            พระร่วงจากเมืองละโว้  จังหวัดลพบุรี
                จากพระราชพงศาวดารเหนือ  เรื่องพระร่วงเมืองสุโขทัย  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า  99 ? 102  มีข้อความที่กล่าวไว้ว่า  นายคงเครา  ซึ่งเป็นนายส่วยน้ำดูแลสระน้ำทะเลชุบสอนที่เมืองละโว้  เป็นน้ำที่ชาวกัมพูชานำไปเสวย  ทุกๆ 3 ปีจะมาขน 1 ครั้ง   นายคงเครามีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ นายร่วง  เป็นคนที่มีวาจาสิทธิ์  หลังจากนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว  ไพร่ทั้งหลายก็ยกนายร่วงเป็นนายกองบังคับไพร่ดูแลสระน้ำทะเลชุบสอนต่อไป
                ครั้นเมื่อครบกำหนดมาขนน้ำ  นักคุ้มของกัมพูชาควบคุมไพร่มาขนน้ำที่เมืองละโว้  นำเกวียนมา 50 เล่ม แต่ละเล่มใส่ลุ้งน้ำ(ภาชนะใส่น้ำรูปทรงกระบอกเตี้ยๆ)เล่มละ 25 ใบ   เมื่อถึงเมืองละโว้ ได้เรียกหานายคงเคราให้เปิดประตูเพื่อตักน้ำ  พบแต่นายร่วงซึ่งไพร่ได้อธิบายว่านายร่วงบุตรของนายคงเคราเป็นผู้ควบคุมดูแลแทน   นายร่วงได้บอกนักคุ้มว่าลุ้งน้ำที่นำมาขนน้ำนั้นจะเสียเวลา ขนน้ำไปได้น้อย   ครั้งนี้ให้สานเป็นชะลอมใส่น้ำไปดีกว่า  จะได้น้ำทีละมากๆใช้ได้นาน ไม่ต้องมาขนบ่อย  นักคุ้มจึงถามว่าชะลอมตาห่างจะใส่น้าได้หรือ นายร่วงกล่าวว่ากลัวจะไม่มีน้ำมาใส่ชะลอมเสียมากกว่า   ด้วยความกลัว นักคุ้มจึงเกณฑ์ไพร่สานชะลอมเล่มละ 25 ใบ  ครั้นกำหนดจะเดินทางกลับ  จึงเปิดประตูเอาชะลอมจุ่มน้ำแล้วยกขึ้นใส่เกวียน  เดินทางไปกัมพูชา   มาถึงด่านแห่งหนึ่งคนคุมน้ำมาสงสัยในใจอยู่ว่าชะลอมจะขังน้ำได้หรือ  ก็เกิดบันดาลให้มีน้ำไหลล้นออกมาจากชะลอม ทุกคนต่างก็เห็นว่ามีน้ำ   จึงกล่าวสรรเสริญถีงความสักสิทธิ์ของนายร่วง   ในขณะที่กองเกวียนผ่านไปนั้น ผู้คนก็เล่าลือกันว่าชะลอมที่บรรทุกมานั้นมีแต่ชะลอมเปล่า ไม่มีน้ำ  เมือถึงกัมพูชา กษัตริย์กัมพูชาเรียกนักคุ้มผู้คุมเกวียนไปสอบถาม นักคุ้มได้ทูลเรื่องราวทุกประการ  บรรดานายนายทัพนายกองได้ยกชะลอมที่บรรทุกมานั้นเทลงไปไนหม้อน้ำ  ก็เกิดมีน้ำเต็มหม้อน้ำและล้นออกมา
               กษัตริย์กัมพูชาทรงตกพระทัยเห็นว่านายร่วงเป็นผู้ที่มีบุญมาเกิด จึงคิดจับตัวมาฆ่าเสีย  นายทัพนายกองจึงเกณฑ์ทหารไปตามจับ  นายร่วงรู้ข่าวก็หนีไปทางเมืองพิจิตร ไปถึงสุโขทัยอาศัยวัดอยู่และได้อุปสมบทเป็นภิกษุ  จึงได้เรียกว่า ?พระร่วง?  
              ทหารขอมที่รับอาสามาจับนายร่วงมาถึงเมืองละโว้ ได้ถามหานายร่วง  ชาวบ้านบอกว่าขึ้นไปเมืองเหนือ  ทหารได้แยกกันไป  ไปถึงเมืองสวรรคโลก  ชาวบ้านบอกว่าเขาเล่าลือกันว่าไปอยู่เมืองสุโขทัยบวชเป็นภิกษุอยู่  ครั้นเมื่อตามไปถึงสุโขทัยเห็นพระร่วงกำลังกวาดวัด   ทหารขอมจึงถามว่าพระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงบอกให้คอยอยู่เดี๋ยวจะไปบอก  ขอมก็คอยอยู่จนกลายเป็นหินจนถึงวันนี้
             เมื่อปีพุทธศักราช 1502  กษัตริย์สุโขทัยสิ้นพระชนม์  ไม่มีวงศานุวงศ์  เสนาบดีได้ประชุมเพื่อหาบุคคลมาเป็นเจ้าเมือง ก็เห็นแต่พระร่วงบวชอยู่ที่วัดเหมาะที่จะเป็นเจ้าเมืองได้  ก็พร้อมใจกัน ไปที่วัดเชิญพระร่วงลาผนวช  รับพระร่วงเข้ามาครองเมืองสุโขทัย



พระร่วงจากเมืองพิจิตรปราการ(จังหวัดกำแพงเพชร)
               เรื่องพระร่วงสุโขทัย  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า  177 ? 188  มีข้อความที่สรุปได้ว่า  เมื่อพุทธศักราช 1717  พระเจ้าสุริยราชาได้ทรงครอบครองเมืองพิจิตปราการ(เมืองกำแพงเพชร ) มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า จันทกุมาร  
              อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าจันทกุมารเสด็จไปประพาสป่าพร้อมด้วยทหารเป็นอันมาก  ทรงพบสาวงามคนหนึ่ง  พระองค์มีความเสน่หารักใคร่และทรงได้สังวาสกับนาง และทรงกล่าวชักชวนนางนั้นเข้าไปอยู่ในวัง แต่นางปฏิเสท  พระเจ้าจันทกุมารทรงเสียดายนางมาก เสด็จคืนพระราชวัง  ต่อมาสาวงามได้ตั้งครรภ์ขึ้น  เมื่อ่ครบกำหนด คลอดออกมาเป็นบุตรชาย  นำไปทิ้งไว้ที่ป่าอ้อย  ตายายเจ้าของป่าอ้อยมาพบ  จึงนำไปเลี้ยงไว้แล้วตั้งชื่อว่า ?ร่วง?
             ครั้นเมื่อพระเจ้าสุริยราชาสิ้นพระชนม์  พระเจ้าจันทกุมารได้ขึ้นครองเมืองกำแพงเพชร เมื่อปีพุทธ
ศักราช  1751  ต่อมาได้เสด็จออกจากเมอืงพิจิตรปราการไปครอบครองเมืองสุโขทัย  
             เมื่อ ?ร่วง? มีอายุได้ 15 ปี มีบุคลิกภาพที่งดงาม  และมีอานุภาพมาก   จะออกปากกล่าวสิ่งใดก็มักเป็นไปตามนั้น(มีวาจาสิทธิ์)  กิตติศัพท์นี้ทราบไปถึงพระเจ้าจันทราชาผู้ครองเมืองสุโขทัย ก็มีพระทัยพิศวง  ทรงดำริว่าบุตรชายนี้คงจะเป็นบุตรของสาวงามที่ได้สังวาสไว้  ถ้าเป็นเช่นนั้นบุตรชายผู้นี้ต้องเป็นโอรสของพระองค์อย่างแน่นอน จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตายายเจ้าของไร่อ้อยให้พาบุตรชายเข้าเฝ้า  ตากับยายได้เล่าเรื่องที่ได้บุตรชายนี้มา  ทำให้พระเจ้าจันทราชาทรงมั่นพระทัยว่าบุตรชายผู้นี้เป็นโอรสของพระองค์อย่างแน่นอน จึงให้รับเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ในพระราชวัง
            ในขณะที่พระเจ้าจันทราชาครองเมืองสุโขทัยอยู่นั้น ถูกกัมพูชาเข้ายึดเมืองสุโขทัย จำเป็นต้องส่งส่วยน้ำให้กับกัมพูชาอยู่ตลอด  คราวเมื่อได้พระราชโอรสหรือพระร่วงเข้าไปอยู่ในเมืองสุโขทัย พระร่วงได้ทูลให้พระเจ้าจันทราชางดส่งส่วย ทางกัมพูชาเห็นว่าเมืองสุโขทัยแข็งข้อ จึงยกทหารเข้ามาปราบปราม พระร่วงได้นำทหารเข้าต่อสู้กับกองทัพของกัมพูชา จนได้ชัยชนะขับไล่ออกไปจากเมืองสุโขทัย
            พระเจ้าจันทราชาสิ้นพระชนม์   พระร่วงได้ทรงขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย  เมื่อปีพุทธศักราช 1781  ได้เสด็จไปสร้างเมืองสวรรคโลกขึ้นใหม่ และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลกนั้นด้วย  
            ในปลายสมัยนั้นมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อมะกะโท้เป็นเชื้อสายมอญเข้ามาค้าขาย หลังจากเลิกค้าขายแล้วได้เข้ามารับราชการที่เมืองสุโขทัย  เป็นบุคคลที่มีความฉลาด ขยัน และซื่อสัตว์จนเป็นที่ถูกพระทัยต่อพระร่วงเป็นอย่างมาก จนได้รับยศครั้งสุดท้ายขึ้นเป็นขุนวัง  มีตำแหน่งในกรมวัง   ต่อมามะกะโท้ได้พระธิดาของพระร่วงซึ่งมีพระนามว่า สุวรรณเทวี หนีไปประเทศพม่า  และมะกะโทได้เป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะซึ่งมีพระนามว่า ?พระเจ้าฟ้ารั่ว?
           พระร่วงสิ้นพระชนม์เมื่อปีพุทธศักราช  1821  อยู่ในราชสมบัติ  40  พรรษา มีพระชนมายุ
นับได้  75  พรรษา
พระร่วงองค์ใดที่หมายถึง ?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์?
         มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้สรุปถึงการขึ้นครองราชย์ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไว้ดังนี้
                       1   นายตรี  อมาตยกุล    เสนอว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขี้นครองราชย์    เมื่อ  
พ.ศ.  1781  ไม่ระบุว่าสิ้นรัชกาล เมื่อใด                    
                     2.  ดร. ประเสริฐ ณ นคร เสนอว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ  
พ.ศ. 1762-1781 ไม่ระบุว่าสิ้นรัชกาล เมื่อใด                
                     3.ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 371 ทำตารางเสนอว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.  1792   ไม่ระบุสิ้นรัชกาล แต่ระบุขึ้นรัชกาล
ของพ่อขุนบานเมืองว่า พ.ศ. 1822  และพ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1822
                    4. ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์  หน้า 108  ไม่ระบุการขึ้นครองราชย์ และสิ้นรัชกาลของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  แต่ระบุว่าพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์เมี่อ พ.ศ. 1821 และพ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ในปีเดียวกันคือ  พ.ศ. 1821
                   ตามหลักฐานของการขึ้นครองราชย์และสิ้นรัชกาลนั้น  ผู้เขียนพอจะสรุปได้ว่า
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์  พ.ศ. 1781  และสิ้นรัชกาลเมื่อ  พ.ศ. 1821 หรือ 1822
                   ดังนั้น ?พระร่วง? ที่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองสุโขทัย  ที่มีพระนามว่าว่า?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์?
ก็คือ ?พราะร่วง?  ที่ไปจากเมืองพิจรปราการหรือเมืองกำแพงเพชร นั่นเอง
       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วงประสูติที่ใด
                        จากชินกาลมาลีปกรณ์ ในหน้า 112-113 ตอนหนึ่งมีข้อความถึงการประสูติไว้ว่า
                    ? ได้ยินว่า  ที่ตำบลที่บ้านโค  ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก  ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง  เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย  จึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสํงวาส
กับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น  จึงเกิดบุตรชายหนึ่ง
และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า
โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง?
                              ผู้แปลหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายว่า   บ้านโค  อาจเป็น  บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร  
                              ผู้เขียนเชื่อว่า บ้านโค ก็คือ บ้านโคน อันเป็นที่เกิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เพราะมีอัยกาและชนกเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่แล้ว
บรรณานุกรม
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
ถนอม  อานามวัฒน์และคณะ,ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยเริ่มแรงจนถึงสิ้นอยุธยา.  
                     กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,  2528.
แสง  มนวิทูร, ร.ต.ท.  ชินกาลมาลีปกรณ์.(พิมพ์อนุสรณ์นายกี  นิมมานเหมินทร์) มิตรนราการพิมพ์,
                      2510.






   เมื่อกล่าวถึง ?พระร่วง? ทุกคนที่สนใจประวัติศาสตร์ก็จะมีความเข้าใจตรงกันว่าเป็นบุคคลที่เป็นกษัตริย์หรือเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยซึ่งมีพระนามว่า ?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์? และเป็นต้นราชวงศ์?พระร่วง?  แต่ยังมีข้อสงสัยว่ามาจากที่ใด บ้างว่ามาจากเมืองละโว้ซึ่งมีวาจาสิทธิ์สาบให้ทหารขอมกลายเป็นหิน  บ้างว่าไปจากกำแพงเพชรเพราะเกิดที่บ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร  ผู้เขียนจึงขอนำพระราชประวัติโดยย่อของ ?พระร่วง? มาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
                   ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  กล่าวถึงพระร่วงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุโขทัย มีถึง 3  ราชวงศ์ ได้แก่
1.   พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน)
2.   พระร่วงจากเมืองละโว้  (จังหวัดลพบุรี)
3.   พระร่วงจาก เมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)
\
                                 พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย  จังหวัดลำพูน
                  จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงอรุณราชกุมารเมืองสวรรคโลก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า  88 ? 92  มีข้อความที่สรุปได้ว่า พระยาอภัยคามินีราช เมืองหริภุญไชย(ลำพูน) ได้ออกไปจำศีลอยู่ในเขาใหญ่ ได้เสพเมถุน(สังวาส)กับนางนาค(สาวชาวบ้าน) จนเกิดราชบุตรองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ?อรุณราชกุมาร?  เมื่อโตขึ้นพระยาอภัยคามินีราชให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย มีพระนามว่า ?พระยาร่วง?
                พระยาร่วง ได้เสด็จไปเมืองจีน มีความชอบทางพนัน ชอบเล่นว่าว มีวาจาสิทธิ์  พระร่วงได้สิ้นพระชนม์ เมื่อคราวที่ทรงเล่นน้ำที่กลางแก่งหลวง แล้วจมหายไป  ไม่สามารถจะตามหาพระศพได้   เมื่อปีพุทธศักราช 1200 จุลศักราช 152 ปีชวด  สัปตศก
  
                                            พระร่วงจากเมืองละโว้  จังหวัดลพบุรี
                จากพระราชพงศาวดารเหนือ  เรื่องพระร่วงเมืองสุโขทัย  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า  99 ? 102  มีข้อความที่กล่าวไว้ว่า  นายคงเครา  ซึ่งเป็นนายส่วยน้ำดูแลสระน้ำทะเลชุบสอนที่เมืองละโว้  เป็นน้ำที่ชาวกัมพูชานำไปเสวย  ทุกๆ 3 ปีจะมาขน 1 ครั้ง   นายคงเครามีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ นายร่วง  เป็นคนที่มีวาจาสิทธิ์  หลังจากนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว  ไพร่ทั้งหลายก็ยกนายร่วงเป็นนายกองบังคับไพร่ดูแลสระน้ำทะเลชุบสอนต่อไป
                ครั้นเมื่อครบกำหนดมาขนน้ำ  นักคุ้มของกัมพูชาควบคุมไพร่มาขนน้ำที่เมืองละโว้  นำเกวียนมา 50 เล่ม แต่ละเล่มใส่ลุ้งน้ำ(ภาชนะใส่น้ำรูปทรงกระบอกเตี้ยๆ)เล่มละ 25 ใบ   เมื่อถึงเมืองละโว้ ได้เรียกหานายคงเคราให้เปิดประตูเพื่อตักน้ำ  พบแต่นายร่วงซึ่งไพร่ได้อธิบายว่านายร่วงบุตรของนายคงเคราเป็นผู้ควบคุมดูแลแทน   นายร่วงได้บอกนักคุ้มว่าลุ้งน้ำที่นำมาขนน้ำนั้นจะเสียเวลา ขนน้ำไปได้น้อย   ครั้งนี้ให้สานเป็นชะลอมใส่น้ำไปดีกว่า  จะได้น้ำทีละมากๆใช้ได้นาน ไม่ต้องมาขนบ่อย  นักคุ้มจึงถามว่าชะลอมตาห่างจะใส่น้าได้หรือ นายร่วงกล่าวว่ากลัวจะไม่มีน้ำมาใส่ชะลอมเสียมากกว่า   ด้วยความกลัว นักคุ้มจึงเกณฑ์ไพร่สานชะลอมเล่มละ 25 ใบ  ครั้นกำหนดจะเดินทางกลับ  จึงเปิดประตูเอาชะลอมจุ่มน้ำแล้วยกขึ้นใส่เกวียน  เดินทางไปกัมพูชา   มาถึงด่านแห่งหนึ่งคนคุมน้ำมาสงสัยในใจอยู่ว่าชะลอมจะขังน้ำได้หรือ  ก็เกิดบันดาลให้มีน้ำไหลล้นออกมาจากชะลอม ทุกคนต่างก็เห็นว่ามีน้ำ   จึงกล่าวสรรเสริญถีงความสักสิทธิ์ของนายร่วง   ในขณะที่กองเกวียนผ่านไปนั้น ผู้คนก็เล่าลือกันว่าชะลอมที่บรรทุกมานั้นมีแต่ชะลอมเปล่า ไม่มีน้ำ  เมือถึงกัมพูชา กษัตริย์กัมพูชาเรียกนักคุ้มผู้คุมเกวียนไปสอบถาม นักคุ้มได้ทูลเรื่องราวทุกประการ  บรรดานายนายทัพนายกองได้ยกชะลอมที่บรรทุกมานั้นเทลงไปไนหม้อน้ำ  ก็เกิดมีน้ำเต็มหม้อน้ำและล้นออกมา
               กษัตริย์กัมพูชาทรงตกพระทัยเห็นว่านายร่วงเป็นผู้ที่มีบุญมาเกิด จึงคิดจับตัวมาฆ่าเสีย  นายทัพนายกองจึงเกณฑ์ทหารไปตามจับ  นายร่วงรู้ข่าวก็หนีไปทางเมืองพิจิตร ไปถึงสุโขทัยอาศัยวัดอยู่และได้อุปสมบทเป็นภิกษุ  จึงได้เรียกว่า ?พระร่วง?  
              ทหารขอมที่รับอาสามาจับนายร่วงมาถึงเมืองละโว้ ได้ถามหานายร่วง  ชาวบ้านบอกว่าขึ้นไปเมืองเหนือ  ทหารได้แยกกันไป  ไปถึงเมืองสวรรคโลก  ชาวบ้านบอกว่าเขาเล่าลือกันว่าไปอยู่เมืองสุโขทัยบวชเป็นภิกษุอยู่  ครั้นเมื่อตามไปถึงสุโขทัยเห็นพระร่วงกำลังกวาดวัด   ทหารขอมจึงถามว่าพระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงบอกให้คอยอยู่เดี๋ยวจะไปบอก  ขอมก็คอยอยู่จนกลายเป็นหินจนถึงวันนี้
             เมื่อปีพุทธศักราช 1502  กษัตริย์สุโขทัยสิ้นพระชนม์  ไม่มีวงศานุวงศ์  เสนาบดีได้ประชุมเพื่อหาบุคคลมาเป็นเจ้าเมือง ก็เห็นแต่พระร่วงบวชอยู่ที่วัดเหมาะที่จะเป็นเจ้าเมืองได้  ก็พร้อมใจกัน ไปที่วัดเชิญพระร่วงลาผนวช  รับพระร่วงเข้ามาครองเมืองสุโขทัย



พระร่วงจากเมืองพิจิตรปราการ(จังหวัดกำแพงเพชร)
               เรื่องพระร่วงสุโขทัย  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า  177 ? 188  มีข้อความที่สรุปได้ว่า  เมื่อพุทธศักราช 1717  พระเจ้าสุริยราชาได้ทรงครอบครองเมืองพิจิตปราการ(เมืองกำแพงเพชร ) มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า จันทกุมาร  
              อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าจันทกุมารเสด็จไปประพาสป่าพร้อมด้วยทหารเป็นอันมาก  ทรงพบสาวงามคนหนึ่ง  พระองค์มีความเสน่หารักใคร่และทรงได้สังวาสกับนาง และทรงกล่าวชักชวนนางนั้นเข้าไปอยู่ในวัง แต่นางปฏิเสท  พระเจ้าจันทกุมารทรงเสียดายนางมาก เสด็จคืนพระราชวัง  ต่อมาสาวงามได้ตั้งครรภ์ขึ้น  เมื่อ่ครบกำหนด คลอดออกมาเป็นบุตรชาย  นำไปทิ้งไว้ที่ป่าอ้อย  ตายายเจ้าของป่าอ้อยมาพบ  จึงนำไปเลี้ยงไว้แล้วตั้งชื่อว่า ?ร่วง?
             ครั้นเมื่อพระเจ้าสุริยราชาสิ้นพระชนม์  พระเจ้าจันทกุมารได้ขึ้นครองเมืองกำแพงเพชร เมื่อปีพุทธ
ศักราช  1751  ต่อมาได้เสด็จออกจากเมอืงพิจิตรปราการไปครอบครองเมืองสุโขทัย  
             เมื่อ ?ร่วง? มีอายุได้ 15 ปี มีบุคลิกภาพที่งดงาม  และมีอานุภาพมาก   จะออกปากกล่าวสิ่งใดก็มักเป็นไปตามนั้น(มีวาจาสิทธิ์)  กิตติศัพท์นี้ทราบไปถึงพระเจ้าจันทราชาผู้ครองเมืองสุโขทัย ก็มีพระทัยพิศวง  ทรงดำริว่าบุตรชายนี้คงจะเป็นบุตรของสาวงามที่ได้สังวาสไว้  ถ้าเป็นเช่นนั้นบุตรชายผู้นี้ต้องเป็นโอรสของพระองค์อย่างแน่นอน จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตายายเจ้าของไร่อ้อยให้พาบุตรชายเข้าเฝ้า  ตากับยายได้เล่าเรื่องที่ได้บุตรชายนี้มา  ทำให้พระเจ้าจันทราชาทรงมั่นพระทัยว่าบุตรชายผู้นี้เป็นโอรสของพระองค์อย่างแน่นอน จึงให้รับเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ในพระราชวัง
            ในขณะที่พระเจ้าจันทราชาครองเมืองสุโขทัยอยู่นั้น ถูกกัมพูชาเข้ายึดเมืองสุโขทัย จำเป็นต้องส่งส่วยน้ำให้กับกัมพูชาอยู่ตลอด  คราวเมื่อได้พระราชโอรสหรือพระร่วงเข้าไปอยู่ในเมืองสุโขทัย พระร่วงได้ทูลให้พระเจ้าจันทราชางดส่งส่วย ทางกัมพูชาเห็นว่าเมืองสุโขทัยแข็งข้อ จึงยกทหารเข้ามาปราบปราม พระร่วงได้นำทหารเข้าต่อสู้กับกองทัพของกัมพูชา จนได้ชัยชนะขับไล่ออกไปจากเมืองสุโขทัย
            พระเจ้าจันทราชาสิ้นพระชนม์   พระร่วงได้ทรงขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย  เมื่อปีพุทธศักราช 1781  ได้เสด็จไปสร้างเมืองสวรรคโลกขึ้นใหม่ และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลกนั้นด้วย  
            ในปลายสมัยนั้นมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อมะกะโท้เป็นเชื้อสายมอญเข้ามาค้าขาย หลังจากเลิกค้าขายแล้วได้เข้ามารับราชการที่เมืองสุโขทัย  เป็นบุคคลที่มีความฉลาด ขยัน และซื่อสัตว์จนเป็นที่ถูกพระทัยต่อพระร่วงเป็นอย่างมาก จนได้รับยศครั้งสุดท้ายขึ้นเป็นขุนวัง  มีตำแหน่งในกรมวัง   ต่อมามะกะโท้ได้พระธิดาของพระร่วงซึ่งมีพระนามว่า สุวรรณเทวี หนีไปประเทศพม่า  และมะกะโทได้เป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะซึ่งมีพระนามว่า ?พระเจ้าฟ้ารั่ว?
           พระร่วงสิ้นพระชนม์เมื่อปีพุทธศักราช  1821  อยู่ในราชสมบัติ  40  พรรษา มีพระชนมายุ
นับได้  75  พรรษา
พระร่วงองค์ใดที่หมายถึง ?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์?
         มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้สรุปถึงการขึ้นครองราชย์ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไว้ดังนี้
                       1   นายตรี  อมาตยกุล    เสนอว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขี้นครองราชย์    เมื่อ  
พ.ศ.  1781  ไม่ระบุว่าสิ้นรัชกาล เมื่อใด                    
                     2.  ดร. ประเสริฐ ณ นคร เสนอว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ  
พ.ศ. 1762-1781 ไม่ระบุว่าสิ้นรัชกาล เมื่อใด                
                     3.ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 371 ทำตารางเสนอว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.  1792   ไม่ระบุสิ้นรัชกาล แต่ระบุขึ้นรัชกาล
ของพ่อขุนบานเมืองว่า พ.ศ. 1822  และพ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1822
                    4. ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์  หน้า 108  ไม่ระบุการขึ้นครองราชย์ และสิ้นรัชกาลของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  แต่ระบุว่าพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์เมี่อ พ.ศ. 1821 และพ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ในปีเดียวกันคือ  พ.ศ. 1821
                   ตามหลักฐานของการขึ้นครองราชย์และสิ้นรัชกาลนั้น  ผู้เขียนพอจะสรุปได้ว่า
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์  พ.ศ. 1781  และสิ้นรัชกาลเมื่อ  พ.ศ. 1821 หรือ 1822
                   ดังนั้น ?พระร่วง? ที่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองสุโขทัย  ที่มีพระนามว่าว่า?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์?
ก็คือ ?พราะร่วง?  ที่ไปจากเมืองพิจรปราการหรือเมืองกำแพงเพชร นั่นเอง
       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วงประสูติที่ใด
                        จากชินกาลมาลีปกรณ์ ในหน้า 112-113 ตอนหนึ่งมีข้อความถึงการประสูติไว้ว่า
                    ? ได้ยินว่า  ที่ตำบลที่บ้านโค  ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก  ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง  เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย  จึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสํงวาส
กับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น  จึงเกิดบุตรชายหนึ่ง
และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า
โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง?
                              ผู้แปลหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายว่า   บ้านโค  อาจเป็น  บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร  
                              ผู้เขียนเชื่อว่า บ้านโค ก็คือ บ้านโคน อันเป็นที่เกิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เพราะมีอัยกาและชนกเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่แล้ว
บรรณานุกรม
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
ถนอม  อานามวัฒน์และคณะ,ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยเริ่มแรงจนถึงสิ้นอยุธยา.  
                     กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,  2528.
แสง  มนวิทูร, ร.ต.ท.  ชินกาลมาลีปกรณ์.(พิมพ์อนุสรณ์นายกี  นิมมานเหมินทร์) มิตรนราการพิมพ์,
                      2510.





บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!