จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 25, 2024, 09:09:51 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์สามล้อถีบที่เมืองกำแพงเพชร  (อ่าน 8405 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 12:44:52 pm »

ประวัติศาสตร์สามล้อถีบที่เมืองกำแพงเพชร

   
สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช ๒๔๙๐  มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี ๒๕๐๐  รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรก ที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่น้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียน เป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนายอุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมากๆ มีฐานะดีด้วย
   สามล้อท่านที่สอง ที่สนิทสนม และรู้จักเป็นอย่างดี เป็นสามล้อนักมวยรูปหล่อ คือพยัคฆ์น้อย สมานฉันท์ มาชกมวยกำแพงเพชรในปี ๒๕๐๒  และได้แต่งงานกับสาวที่กำแพงเพชรไม่ได้กลับบ้านเดิม
มีโอกาส ได้ไปเรียนรู้ วิชามวยกับท่านสามล้อรูปหล่อ ฝีมือดีมาก ซ้อมทุกวันที่บ้าน พยัคฆ์น้อย สมานฉันท์ บริเวณ หน้าบ้านสาวห้อม ในปัจจุบัน พยัคฆ์น้อย ขี่สามล้อหากิน ตอนเย็นซ้อมมวย สมัยนั้นกำแพงเพชรมีมวยบ่อยมากๆ มีนักมวยค่ายพงษ์วัชรินทร์ หลายคน  มีพี่แสวง พี่เด่น และคุณพ่อของออฟ พงษ์พัฒน์ ชื่อครูคุ้ย เป็นนักมวยชื่อดังมากๆ มีโอกาสจะนำเสนอ ตำนานนักมวยกำแพงเพชร เมื่อจบ มอศอสามไปเรียนต่อ ที่พิษณุโลก และกรุงเทพ ไม่ได้พบอาจารย์พยัคฆ์น้อย สมานฉันท์อีกเลย
   พ่อปลัดเสรี อภัยราช มีสามล้อ ให้เช่า และเช่าซื้อ จำนวนมาก  เหตุที่มีมากเพราะ ถ้าสามล้อคันใดใครเดือดร้อนพ่อจะรับซื้อสามล้อทุกคันในราคายุติธรรม ไม่ถึง ปี บ้านจึงเป็นอู่สามล้อกำแพงเพชร เกือบทั้งหมด ทั้งกำแพงเพชร สนนราคาค่าเช่า สภาพดีวันละ ๒บาท สภาพดีมาก ๓ บาท ไปกลับเช้าเย็น  ถ้าเอาไปไว้บ้านเลยวันละ ๕ บาท  เช่าซื้อวันละ ๑๐ บาท ผมมีหน้าที่ ซ่อมรถสามล้อ ทุกคัน ทุกวัน ก่อนไปโรงเรียน และกลับจากโรงเรียน เปลี่ยนยาง ใส่ซี่ลวด หุ้มเบาะ มีหลานๆ ลูกพี่สมนึก ช่วย ทำบัญชี   แดง(สุวิมล อภัยราช)  ทำบัญชีรับจ่าย  เมื่อไปเรียนต่อ ไม่มีใครช่วยพ่อ เมื่อพ่อ เสียชีวิต แม่จึงให้ (ขาย) สามล้อทั้งหมดไป ในหนึ่งปี แม่เสงี่ยมอภัยราช ใจดีมากกับทุกคน ความทรงจำและความประทับใจ จึงแนบแน่นกับสามล้อมาช้านาน เมื่อเห็นสามล้อกำลังจะหมดไปจากกำแพงเพชร จึงอดใจหายไม่ได้ จึงคิดจะช่วยเยียวยา
รถจักรยานสามล้อถีบคันแรกในเมืองไทยเริ่มมีขึ้นในราวปี พ.ศ.2476 ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยนายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นก่อน (ได้รับพระราชทานยศเป็นนาวาเอก เมื่อ พ.ศ.2500) ได้แก้ไขปรับปรุงอยู่หลายครั้งจึงนำมาจดทะเบียนในกรุงเทพฯได้ ในวันแรกที่นำรถมาจดทะเบียน ไม่มีคนสนใจและหาคนขี่ไม่ได้ นายเลื่อนต้องทดลองขี่ให้ดูและจ้างให้คนนั่ง ครั้งแรกจ้างเด็กคนละ 5 สตางค์ ต่อมามีคนขี้เมาสองคนมาขอขึ้น นายเลื่อนก็ถีบรถให้นั่งโดยไม่คิดค่าโดยสาร แต่ได้ผลเกินคาด ขี้เมาชอบใจช่วยประกาศโฆษณาจนคนอยากทดลองมากขึ้น และเริ่มสนใจกันอย่างแพร่หลาย เพราะเห็นว่าดีกว่ารถลาก (รถเจ๊ก) ต่อมามีคนเช่าไปถีบ 7 วัน โดยให้ค่าเช่าล่วงหน้า แต่ปรากฏในภายหลังว่าไม่ได้เช่าไปขับขี่ กลับเอาไปเป็นตัวอย่างทำเลียนแบบ กว่านายเลื่อนจะรู้ กลับจากจังหวัดนครราชสีมาลงมากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งก็มีรถสามล้อถีบในกรุงเทพฯ เกือบ 500 คันเข้าไปแล้ว นายเลื่อน พงษ์โสภณ ไม่มีทุนสร้างแข่งขันพวกพ่อค้า ในที่สุดก็ยอมเลิกราไปเอง
          สามล้อได้วิวัฒนาการและใช้เป็นพาหนะที่สำคัญในกรุงเทพฯต่อมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นอาชีพหลักของคนยากจน โดยเฉพาะชาวต่างจังหวัดได้เข้ามาประกอบอาชีพถีบสามล้อกันเป็นจำนวนมาก
          ครั้นถึง พ.ศ.2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ตำรวจยกเลิกการจดทะเบียนจักรยานสามล้อและจักรยานสามล้อส่วนบุคคลที่ใช้ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นต้นไป ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาการจราจร ปัญหาทางสังคมอันเนื่องมาจากการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพนี้ และปัญหาความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
อย่างไรก็ตามเมื่อเลิกรถสามล้อในกรุงเทพฯ รถสามล้อที่มีอยู่เป็นจำนวนมากก็ระบายออกต่างจังหวัดจนหมด ส่วนหนึ่งมาใช้ที่กำแพงเพชร
รถสามล้อได้รับความนิยมแพร่หลาย ทางราชการต้องออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับสามล้อ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม  พ.ศ. 2479 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้อเลื่อน ปี พ.ศ. 2478 รายละเอียดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับสามล้อนี้ มีอยู่ 7 ข้อด้วยกันคือ
1.     มีที่นั่งสำหรับผู้ขับขี่นั่งอยู่ตอนหน้าผู้โดยสารนั่งอยู่ตอนหลัง
2.    ตัวรถสำหรับผู้โดยสารนั่งมีรูปเป็นตัวถัง
3.    มีประทุนกันฝนและแดดสำหรับผู้โดยสาร
4.    ระยะห่างระหว่างล้อหลัง ไม่น้อยกว่า 1 เมตร และไม่เกิน 1.10 เมตร
5.    น้ำหนักรถไม่เกิน 80 กิโลกรัม
6.    มีโคมไฟไม่น้อยกว่าข้างละ 1 ดวง โดยใช้กระจกสีขาวด้านหน้า สีแดงด้านหลัง ติดไว้ให้เห็นส่วนกว้างของตัวถังรถ  โดยให้เห็นแสงไฟทั้งจากข้างหน้าและข้างหลัง
7.    มีห้ามล้อที่ใช้การได้ดีไม่น้อยกว่า 2 อัน
ที่กล่าวมาข้างต้น ก็คือลักษณะของรถสามล้อ ตามที่กฎกระทรวงบังคับไว้แน่ชัด  นอกจากนี้แล้ว  ในกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน  ยังกล่าวถึงการใช้รถสามล้อเป็นพาหนะในการขนส่งผู้โดยสารไว้ชัดแจ้งว่า
?จะรับบรรทุกผู้โดยสารอายุเกิน 10 ขวบได้ 2 คน  กับเด็กอายุไม่เกิน 10 ขวบ ด้วยหนึ่งคน  เป็นอย่างมาก  กับห้ามใช้บรรทุกของ  เว้นแต่ว่าเป็นของที่มีติดตัวไปกับผู้โดยสาร แต่ก็ต้องไม่เกิน 30 กิโลกรัม?
รถสามล้อถีบ มีแต่อดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต แล้ว ใครจะเยี่ยวยาได้ ช่วยด้วยครับ


สามล้อคนสุดท้ายที่ไปสัมภาษณ์ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๙ นาฬิกา ที่ริมแม่น้ำปิง ชื่อว่า นายบุญล้อม เพชรสำแดง  หรือนายอ๋อย อายุ ๖๐ ปี มีอาชีพสามล้อถีบมาตั้งแต่ ปี ๒๕๓๑ บุคลิกดี ท่าทางดี ฉลาดหลักแหลม สามารถเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีได้ในตัวเลย ท่านเล่าว่า กำแพงเพชรมี ๓ล้อรับจ้างอยู่ ๓คัน คือตัวนายอ๋อย อยูริมปิง นายเล็ก อยู่ตลาดศูนย์ นายเบิ้ม  อยู่วัดบาง สามล้อกำแพงเพชร จึงเหลืออยู่แค่สามคันจริงๆ  สามล้อใหม่ๆ ราคากว่า สามหมื่นบาท อาชีพนี้ คงหายไปจากกำแพงเพชร อย่างแน่นอน ถ้าไม่มีใครลุกขึ้นมารณรงค์








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2013, 01:01:47 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!