จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: santi ที่ มิถุนายน 01, 2010, 06:26:43 pm



หัวข้อ: วัฒนธรรมความปลอดภัย >> ประกวดกล่าวสุนทรพจน์
เริ่มหัวข้อโดย: santi ที่ มิถุนายน 01, 2010, 06:26:43 pm
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ในปีงบประมาณ  ๒๕๕๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักรู้เรื่อง ?วัฒนธรรมความปลอดภัย? เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเกิดการประพฤติปฏิบัติเรื่องวัฒนธรรมประชาธิปไตยในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดกิจกรรมการประกวด กล่าวสุนทรพจน์ ภาพยนตร์สั้นและการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แสดงความสามารถและเป็นการส่งเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด โดยมีรายละเอียดดังนี้

๑. การประกวดสุนทรพจน์
การประกวดระดับจังหวัด มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้

     ๑. การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ?วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจตั้งแต่วันนี้? ผู้เข้าประกวดคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ตอนปลาย มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑  เนื้อหาสามารถบรรยายถึงการดูแลความปลอดภัยในด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และอุบัติเหตุ
๑.๒  ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนมีเวลาในการพูด ๕ นาที ในการพูดแต่ละครั้ง จะพูดเกิน หรือขาดจากเวลาที่กำหนด  ไว้ได้เพียง ๑ นาที หากเกินหรือขาดมากกว่านั้นจะถูกตัดคะแนน
๑.๓ รูปแบบเหมือนการเตรียมการพูดในโอกาสต่างๆ โดยแบ่งบทพูดออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนลงท้าย
๑.๔  แข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ณ สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร โรงเรียนอนุบาลวาริน (ออกอากาศสด) วันอาทิตย์ที่ ๒๗  มิถุนายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. เป็นต้นไป  และผู้เข้าแข่งขันสามารถลงสมัครแข่งขันได้เพียง ๑ หัวข้อ
สามารถขอใบสมัครการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้) ส่งใบสมัครได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  หากส่งทางไปรษณีย์จะถือตามวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ (สอบถามรายละเอียดได้ที่ อาจารย์สันติ  อภัยราช ๐๘๑ ๔๗๕๕๕๕๗ , นางสาวภัณฑิรา รามสูต ๐๘๙ ๑๕๐๖๓๐๙)


ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ระดับจังหวัด จะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล   ๑,๐๐๐ บาท   
- รางวัลดีเด่น      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล       ๘๐๐ บาท   
- รางวัลสร้างสรรค์      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล       ๕๐๐ บาท   
   
- รางวัลชมเชย (๒ รางวัล)   ได้รับเกียรติบัตร
การประกวดระดับภาค มีรายละเอียดการประกวดดังนี้
     การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ?วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจตั้งแต่วันนี้? ประกวดโดยนำผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดระดับจังหวัดในภาคนั้น ๆ (ตามการแบ่งภาควัฒนธรรม)  มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับภาค

ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ระดับภาค จะได้รับรางวัลแต่ละประเภท ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล   ๑๐,๐๐๐ บาท   
- รางวัลดีเด่น      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท   
- รางวัลสร้างสรรค์      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๓,๐๐๐ บาท   
- รางวัลชมเชย (๒ รางวัล)   ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๑,๐๐๐ บาท   

การประกวดระดับประเทศ มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
   การประกวดระดับประเทศ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค
มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้

การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ ระดับประเทศ มีรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๒. การประกวดภาพยนตร์สั้น
การประกวดระดับภาค มีรายละเอียดการประกวดดังนี้
๒.๑ หัวข้อการประกวด หัวข้อ ?ไทยรวมพลัง ป้องกันภัย?
๒.๒ เนื้อหา มีเนื้อหาในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยในด้านสุขนิสัย ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้าน การป้องกันอุบัติเหตุ
๒.๓ วิธีการสมัคร และเงื่อนไขการผลิตผลงาน
๑) วิธีการสมัคร  ผู้เข้าสมัครต้องเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือประชาชนทั่วไป มีรายละเอียดดังนี้
 - สมัครเป็นทีม ทีมละไม่น้อยกว่า ๓ คน
 - ขอใบสมัครได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือที่กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายทางวัฒนธรรม ๓ สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐  โทรศัพท์๐๒ ๒๔๗ ๐๐๑๓ ต่อ ๑๔๒๐, ๑๕๑๗ โทรสาร๐๒ ๖๔๕ ๒๙๕๘ หรือดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้)

๒) เงื่อนไขในการผลิตงาน

- เนื้อหาภาพยนตร์ความยาว ๕ ? ๑๐ นาที (รวม title และ End credit)
- ภาพยนตร์สั้น ใช้คนแสดง (Life Action)
- บันทึกลงแผ่น VCD หรือ DVD ให้เป็นไฟล์ที่สามารถเปิดดูกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้
- ไม่นำเสนอเนื้อหาที่ขัดกับศีลธรรมอันดีงามของสังคม
 - ผู้เข้าร่วมประกวดต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การผลิตและดำเนินการผลิตเอง โดยส่งเข้าประกวดในนามกลุ่ม
- ถ้ามีการนำผลงานหรือ ผลผลิตอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หรือ เสียงอื่นใดมาประกอบในภาพยนตร์ ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้นๆ อย่างถูกต้อง (แจ้งข้อมูลยืนยันกับเจ้าหน้าที่โครงการ) ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น หากพบในภายหลังว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
- ผลงานที่เข้ารอบการประกวด ๑๐ เรื่องสุดท้าย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติในการนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

๒.๔ วิธีการส่งผลงาน
- ผู้สมัครสามารถส่งผลงานได้ทีมละ ๑ เรื่อง
- ให้ส่งผลงานโดยบันทึกใส่แผ่น VCD หรือ DVD รวม ๓  ชุด  พร้อมเอกสารอธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง  วัตถุประสงค์ และเรื่องย่อภาพยนตร์สั้น ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษเอ ๔
- ส่งผลงานด้วยตัวเองหรือส่งทางไปรษณีย์ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ภาพยนตร์สั้นที่ชนะการประกวด ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงาน ฯ สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามความเหมาะสม

๒.๕ เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน
ใช้เกณฑ์คะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน โดยพิจารณาประเด็น ดังต่อไปนี้
๑) เนื้อหา  ๔๐  คะแนนเนื้อหาสามารถสื่อถึงการให้ความสำคัญกับประชาธิปไตย
๒)  ความคิดสร้างสรรค์  ๓๐  คะแนนความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ หรือกระบวนการเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตามหัวข้อที่นำเสนอ
๓) การนำเสนอ(การเล่าเรื่อง)  ๓๐ คะแนนการใช้ภาษา ภาพ เสียง องค์ประกอบอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายดังกล่าว
๔) หากไม่มีผลงานใดที่ส่งเข้าประกวดเหมาะสมจะได้รับรางวัล คณะกรรมการ ฯ  ขอสงวนสิทธิ์ให้เว้นว่างจากรางวัลนั้น ๆ
๕) คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุดคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์และนักวิชาการ

๒.๖ ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดระดับภาค จะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๒.๗ การเผยแพร่ผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะนำภาพยนตร์สั้นที่ชนะการประกวด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสื่อ และให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ฯ เห็นสมควรต่อไป


หัวข้อ: Re: วัฒนธรรมความปลอดภัย
เริ่มหัวข้อโดย: santi ที่ มิถุนายน 01, 2010, 06:28:04 pm
การประกวดระดับประเทศ มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
การประกวดระดับประเทศ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค
มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้
การประกวดภาพยนตร์สั้น ระดับประเทศ มีรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท

๓. การประกวดการ์ตูนแอนิเมชั่น
การประกวดระดับภาค มีรายละเอียดการประกวดดังนี้
๓.๑ หัวข้อการประกวด
หัวข้อ ?ไทยรวมพลัง ป้องกันภัย?
๓.๒ เนื้อหา   มีเนื้อหาในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยในด้านสุขนิสัย ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
และด้านการป้องกันอุบัติเหตุ
๓.๓ วิธีการสมัครและเงื่อนไขการผลิตผลงาน
๑) วิธีการสมัคร  ผู้เข้าสมัครต้องเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือประชาชนทั่วไป  
มีรายละเอียดดังนี้
- ขอใบสมัครได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือที่กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายทางวัฒนธรรม ๓
สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐  โทรศัพท์๐๒ ๒๔๗ ๐๐๑๓ ต่อ ๑๔๒๐, ๑๕๑๗ โทรสาร๐๒ ๖๔๕ ๒๙๕๘ หรือดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้)
        ๒) เงื่อนไขการผลิตผลงาน
-  เนื้อหาการ์ตูนแอนิเมชั่น ๓ มิติ ความยาว ๕ - ๑๐ นาที (รวม title และ End credit)
- ผลิตผลงานโดยใช้โปรแกรมประเภท 3D animation หรือ Flash Animation โดย
บันทึกลงในแผ่น VCD หรือ DVD ให้เป็นไฟล์ .exe หรือไฟล์ที่สามารถเปิดดูกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นมา มิได้ลอกเลียนแบบมาจาก
ที่ใดที่หนึ่ง
- เนื้อหาของการ์ตูนแอนิเมชั่น ต้องไม่เสนอในรูปแบบที่ขัดต่อศีลธรรม ระเบียบ จารีต ประเพณี
ของสังคม  
- ผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การผลิต และดำเนินการผลิตเอง
- ถ้ามีการนำผลงานหรือ ผลผลิตอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หรือ เสียงอื่นใดมาประกอบใน
เนื้อหาการ์ตูน ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้น ๆ อย่างถูกต้อง (แจ้งข้อมูลยืนยันกับเจ้าหน้าที่โครงการ) ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น หากพบในภายหลังว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
- ผลงานที่เข้ารอบการประกวด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ใน
การนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

๓.๔ วิธีการส่งผลงาน

      - ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด สามารถจัดส่งผลงานไม่เกิน ๑ ชิ้น
- ให้ส่งผลงานโดยบันทึกใส่แผ่น VCD หรือ DVD  รวม ๓ ชุด  พร้อมเอกสารอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้  
ชื่อเรื่อง  วัตถุประสงค์  และเรื่องย่อของการ์ตูน  ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ เอ ๔  ทั้งนี้ ขอความร่วมมือในการส่งภาพนิ่งจากการ์ตูนมาพร้อมด้วย (จำนวน  ๒ รูป)
     - ส่งผลงานด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓

๓.๕ เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน ใช้เกณฑ์การตัดสินในคะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาประกอบ
ไปด้วยประเด็นดังต่อไปนี้

๑) ความคิดสร้างสรรค์             ๓๐    คะแนน
๒) เนื้อหา                  ๓๐   คะแนน
๓) การออกแบบ หรือ คุณภาพของภาพ และความสวยงาม   ๒๐   คะแนน
๔) การใช้ประโยชน์ของเสียงเพลง และเสียงประกอบ      ๒๐   คะแนน
๕) หากไม่มีผลงานใดที่ส่งเข้าประกวดเหมาะสมจะได้รับรางวัลคณะกรรมการ ฯ ขอสงวนสิทธิ์ให้เว้นว่างจากรางวัลนั้น ๆ
๖) คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุดคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น

๓.๖ ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดระดับภาค จะได้รับรางวัลดังนี้

- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๓.๗ การเผยแพร่ผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะนำการ์ตูนแอนิเมชั่นที่ชนะการประกวด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสื่อ และให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ฯ เห็นสมควรต่อไป

การประกวดระดับประเทศ มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
   การประกวดระดับประเทศ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้
การประกวดการ์ตูนแอนิเมชั่น ระดับประเทศ มีรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท

กำหนดการตัดสิน ประกาศผล และการมอบรางวัล
๑) คณะกรรมการระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานครดำเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
๒) คณะกรรมการระดับภาค ดำเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๓) คณะกรรมการตัดสินระดับประเทศดำเนินการตัดสินการประกวดให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
๔) จัดพิธีมอบรางวัลระดับประเทศทุกประเภทการแข่งขัน ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม  ๒๕๕๓      

            

หมายเหตุ สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.sunti-apairach.com/letter
http://www.lovekpp.com
http://province.m-culture.go.th/kamphangphet