หัวข้อ: การเตรียมความพร้อมสู่ ชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี การท่องเที่ยวแบบใหม่ ที่ประ เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ กรกฎาคม 09, 2018, 05:43:38 pm การเตรียมความพร้อมสู่ ชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี
การท่องเที่ยวแบบใหม่ ที่ประสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ผู้คนจะสามารถอยู่ที่บ้านได้ มีอาชีพโดยใช้ทรัพยากร วัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ และวิถีชีวิตในชนบท ความเชื่อ และภูมิปัญญา ทำมาหากินอยู่กับท้องถิ่น ไม่ต้องทิ้งถิ่นไปทำมาหากินในเมือง ปล่อยให้ผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน อยู่กับเด็กๆในทุกชุมชน ในประเทศไทย การท่องเที่ยวโดยชุมชน มีความวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑.การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภูมิปัญญา และผลผลิต ให้สามารถประสานกันได้อย่างลงตัว ๒.กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน เพื่อเพิ่มรายได้หลักและความภูมิใจในท้องถิ่นของตน องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๑.ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความเชื่อ อัตตลักษณ์ของท้องถิ่น o ชุมชนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ o ชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น ๒. องค์กรชุมชน o ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกัน o มีปราชญ์ หรือผู้มีความรู้ และทักษะในเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย o ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา การจัดการ ๓.การจัดการในชุมชน • มีกฎ-กติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว • มีองค์กรหรือกลไกในการทำงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว และสามารถเชี่อมโยงการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยรวมได้ • มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม • มีกองทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนด้านการเรียนรู้ • ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง • มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน • สร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งในส่วนของชาวบ้านและผู้มาเยือน ๔.เรียนรู้ชุมชน • ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง • มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน • สร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ทั้งในส่วนของชาวบ้านและผู้มาเยือน หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน • ชุมชนเป็นเจ้าของ • ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ • ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง • ยกระดับคุณภาพชีวิต • มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม • คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น • ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม • เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ • เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น • มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ได้เกิดจากการตอบคำถามว่า “ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการท่องเที่ยว” แต่เป็นการสร้างโจทย์ใหม่ว่า “การท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร” กระแสโลก กระสไทย ในการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน 1. กระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ 3. กระแสความต้องการในการพัฒนาคนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นความพยายามหนึ่งของการสร้างทางเลือกในการพัฒนาใน ประเด็นการท่องเที่ยวที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จาก ท่องเที่ยว และมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนา อาจเรียกเป็น ๔ ชื่อ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ให้เลิกพูดว่า “ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการท่องเที่ยว” แต่ให้พูดใหม่ว่า “การท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร” |