จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ กรกฎาคม 04, 2022, 12:19:08 pm



หัวข้อ: องก์ที่ ๓ พระพุทธเจ้าหลวง ปกเกล้า ชาวไตรตรึงษ์ (๒๐ นาที) เช้าวันที่ ๑๘ สิง
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ กรกฎาคม 04, 2022, 12:19:08 pm
องก์ที่ ๓  พระพุทธเจ้าหลวง ปกเกล้า ชาวไตรตรึงษ์  (๒๐ นาที)
    เช้าวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๔๙   เสียง เกราะ ดังสนั่นคุ้งน้ำ ที่ลานวัดวังพระธาตุ  ชาวบ้านต่างทยอยกันมา  เพียงไม่กี่นาที ชาวบ้าน ต่างมาประชุมเต็มลานวัด มีทั้งชายหญิง เด็กผู้ใหญ่ และภิกษุสงฆ์ เสียง อึงคนึงไปหมด ต่างคนต่างวิพากย์วิจารณ์ ว่าเกิดอะไรขึ้น จึงตีเกราะเสียงดังขนาดนี้  หลายปีแล้วที่ไม่ได้ยินเสียงเกราะ ดังไปทั่วหมู่บ้านเพียงนี้
ผู้ไหญ่บ้าน  (ยืนขึ้น) นั่งลงพี่น้อง ลูกหลาน ชาววังพระธาตุ ข้ามีเรื่องสำคัญจะแจ้งให้ทุกคนได้ทราบเรื่องของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จะเสด็จมาโปรดพวกเราชาวบ้านวังพระธาตุ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ต่อพวกเราชาวบ้านธรรมดาๆยิ่งนัก
พระภิกษุ (เจ้าอาวาสวัดวังพระธาตุ) พระองค์ได  เสด็จละผู้ใหญ่ จึงดูตื่นเต้นมากขนาดนั้น คงไม่ใช่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   กระมัง เพราะพระองค์คงไม่เสด็จมาแดนบ้านป่าอย่างบ้านเราชาววังพระธาคุแน่ๆ
ผู้เฒ่า  ผู้อาวุโส   ข้าได้ยินมาว่า ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จมาด้วยพระองค์เอง วันนี้ ถึงบ้านแสนตอแล้วละ ข้าว่า ประมาณวันที่ ๒๒ สิงหาคม คงมาถึงบ้านเรา  แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า พระองค์จะเสด็จแวะบ้านวังพระธาตุไหม
ผู้ใหญ่บ้าน   ข้าได้รับแจ้งข่าว  จาก พระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรว่า คืนวันที่ ๒๑ สิงหาคม พระองค์ จะประทับแรม ที่เกาะขี้เหล็ก หน้าบ้านวังพระธาตุเราของเรา และเช้าวันที่ ๒๒ จะเสด๊จขึ้นมาที่ ท่าน้ำวัดวังพระธาตุ  และจะเสด็จ เข้าในเมืองโบราณไตรตรีงษ์ เห็นพวกในเมือง ยกพวกมาถากถาง ทำทาง เข้า เมืองไตรตรึงษ์ ของเรา นับว่า น่ายินดีอบ่างยิ่ง เป็นบุญของพวกเรา ที่รอยพระบาท จะประทับ อยู่เมืองไตรตรึงษ์ ตลอดไป ข้ามีความสุขอย่างที่สุด
ผู้เฒ่า   ผู้อาวุโส  ข้าจะจัดกลองยาว ชุดใหญ่รับเสด็จ  ผู้ใหญ่ จะว่าประการใด จะเอาได้ยินถึงเทพนคร เลยทีเดียว ต้องดีที่สุด และวิเศษที่สุด ที่เราเคยเล่นกันมา ว่าอย่างไรพวกเรา
ชาวบ้าน    ต่างยกมือแสดงความยินดีทั่วกัน ข้าเห็นด้วยๆๆๆๆๆ ดังสนั่นไปทั่วลานวัด
ผู้ใหญ่บ้าน   ดีมากเลย  เราจะแสดงความจงรักภักดี ต่อพระเจ้าอยู่หัว ให้ร่ำลือ ไปชั่วลูกหลานหลายร้อยปี ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ได้เข้าเฝ้า อย่างใกล้ชิด ข้าได้ข่าวว่า พระอวค์จะเสด็จ มาอย่างสามัญชน ไม่ประสงค์ให้ใครต้อนรับ และเดือดร้อน แต่เราจงรักภักดี  จะต้อนรับพระองค์ อย่างสมพระเกียรติยศ
พวกผู้หญิง เตรียม อาหาร เพื่อการรับเสด็จด้วย เป็นอาหารพื้นบ้านของเรา  พระองค์จะประทัยใจพวกเรามากที่สุด พวกเราพร้อมไหม,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
ชาวบ้าน     ยกมือชึ้นท่วมหัว และพูดพร้อมๆกันว่า ขอพระองค์ ทรงเจริญ   (ปิดไฟ)
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จขึ้นวัดวังพระธาคุ
(บรรยาย ) เรือหางแมงป่อง ค่อยๆแล่นเข้ามา  พระเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่หัวเรือหางแมงป่อง  ทรงบันทึกไว้ว่า..............
วันที่ ๒๒ เมื่อคืนนี้ฝนตกพร่ำเพรื่อไปยันรุ่ง แรกนอนรู้สึกว่าจะเย็น ต่อหลับไปตื่นขึ้นจึงรู้สึกเย็นเยือกไปทั้งตัว ท้องก็แข็งขลุกขลักอยู่เป็นนาน จนเอาสักหลาดขึงอุดหมดจึงนอนหลับ ตื่น ๒ โมงครึ่งออกเรือจวน ๓ โมง มาจากท่าขี้เหล็กเลี้ยวเดียวก็ถึงวังพระธาตุ ..................
.......วันนี้แลเห็นเขาประทัดซึ่งปันแดนยืนเป็นแถว ที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั้นคือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น จอดเรือที่ที่เหนือวังพระธาตุนิดหนึ่ง พระธาตุนี้มีแท่นซ้อน ๓ ชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศเรียกว่าทนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉน ๗ ป้อง ปลี แล้วปักฉัตร ไม่ผิดกับพระเจดีย์เมืองฝางที่เห็น ซึ่งแก้เป็นพระเจดีย์มอญเสีย เขาว่าสุโขทัยสวรรคโลกเป็นรูปนี้ทั้งนั้น ของแผ่นดินฝ่ายเหนือเห็นจะไม่แปลกกันมาก องค์พระเจดีย์ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร ๔ ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญอยู่ทิศตะวันออก เยื้องไม่ตรงกลาง เขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งยืนทั้งนั่งหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เป็นช่างได้ทำได้ถ่ายรูปที่เหล่านี้ไว้ เวลานี้มีพระซึ่งขึ้นมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาอยู่ในที่นี้ คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิซึ่งอยู่เยื้องหน้าพระธาตุ ห่างจากศาลามุงกระเบื้องเดิมซึ่งอยู่ข้างริมน้ำใต้ลงไป.................................. (เมื่อประทับนั่ง ชาวบ้านเล่นกลองยาวถวาย  คนัง เงาะติดตาม ลงมาสนุกกับชาวบ้าน อย่างสนุกสนาน ทุกคนมีความสุขร่วมกัน...................

เสด็จเข้านครไตรตรึงษ์  พระองค์เสด็จลงจากที่ประทับ เสด็จไปทางด้านหลัง วิหาร
.......เดินจากวังพระธาตุไปตามลำน้ำข้างเหนือ ทาง ๒๖ เส้น ถึงคูด้านใต้ของเมืองไตรตรึงษ์ คูนั้นใหญ่กว้างราว ๑๕ วา ลึกลงเสมอพื้นหาด แต่น้ำแห้งยืนเข้าไปจนถึงเชิงเทิน หลังเมืองไปมีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่กลางย่านด้านใต้ แต่ด้านเหนือไม่มีถนน มีแต่ลำคูมาบรรจบด้านใต้ กำหนดเชิงเทินยาวตามลำแม่นำ ๔๐ เส้น ยืนเข้าไปทางตะวันตกตะวันออก ๓๗ เส้นเห็นเป็นเมืองใหญ่โตอยู่ พื้นพื้นดินไปทั่วทั้งนั้น ในท้องคูก็เป็นแลง เข้าไปในเมืองหน่อยหนึ่งก็พบโคก เห็นจะเป็นวิหาร เจดีย์หักพังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยเรียกว่าเจดีย์ ๗ ยอด จะเป็นด้วยผู้ที่มาตรวจตราค้นพบสามารถจะถางเข้าไปได้แต่ ๗ ยอด แต่ที่จริงคราวนี้เขาได้ถางดีกว่าที่ได้ถางมาแต่ก่อน จึงได้ไปพบว่ากว่า ๗ คือพระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์ราย  ด้าน วิหารด้านเหนือวางเลอะๆทำนองนี้ นอกนั้นพระเจดีย์ล้อม ๑๔ องค์ ที่เขาค้นถากถางเข้ามาให้ดูได้เพียงเท่านี้ นอกนั้นยังเป็นป่าทึบอยู่มากไม่ใช่รกอย่างกรุงเก่า เป็นป่าสูงไม้ใหญ่ ข้างล่างโปร่ง ทั้งในเมืองนอกเมือง เหตุด้วยทิ้งร้างเป็นป่ามาช้านานกว่ากันมาก
เสด็จเที่ยวชม ทั่วเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์  แล้ว
 ประทับเรือพระที่นั่ง ทรงโบกพระหัตถ์ ให้ราษฎร เรือค่อยๆแล่นออกจากท่าไป  ( ทุกคนก้มกราบกับพื้น เสียงทรงพระเจริญ ดังทั่ว คุ้งน้ำวังพระธาตุ เราจะจดจำความประทับใจนี้ ไปทั่วชีวิตของเรา...............................
ตัวละคร
      พระพุทธเจ้าหลวง    กรมพระยาดำรง  กรมพระนริศ  นายอ้น  คนัง  ผู้ใหญ่  พระ   ผู้อาวุโส  (ชาวบ้าน ชายหญิง เด็ก ประมาณ ๓๐ คน ใช้ทหาร องก์หนึ่งได้ )