จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2011, 09:58:22 am



หัวข้อ: ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๕๓ ออกอากาศ อสมท รายการลั่นเมือง ๒๖ กพ. ๕๔
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2011, 09:58:22 am
วันที่ ๒๔  กุมภาพันธ์ ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธ  เลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) แล้ว คณะรัฐมนตรียังได้มีมติให้วันนี้ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติด้วย ทั้งนี้ เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในฐานะที่ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระปรีชาสามารถล้ำเลิศในศิลปกรรมหลายสาขา อีกทั้งเพื่อประกาศเกียรติคุณแก่ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นจนได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางให้เป็น ?ศิลปินแห่งชาติ? โดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะดำเนินการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมตามเกณฑ์การพิจารณาของโครงการศิลปินแห่งชาติ และประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้มีศิลปินแห่งชาติสาขาต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๒๑๒ คน เสียชีวิตไปแล้ว ๘๗ คน มีชีวิตอยู่ ๑๒๕ คน            สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาตินั้น  ประกอบด้วย ๓ หลักเกณฑ์ด้วยกัน  คือ

            เกณฑ์ที่ ๑.  คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ

            ซึ่งมี ๖ ประการ  ได้แก่ เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน / เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น / เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นๆ / เป็นผู้ผดุง ถ่ายทอดหรือเป็นต้นแบบศิลปะแขนงนั้น / เป็นผู้มีคุณธรรม และมีความรักในงานศิลปะของตน / และเป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

            เกณฑ์ที่ ๒. คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ  

            เช่น  ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี  ความงาม  คุณค่าทางอารมณ์  สะท้อนความเป็นธรรมชาติ  หรือสถานภาพทางสังคม และวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย  ค่านิยม จริยธรรม เอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของชาติ/ผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตนไม่ลอกเลียนแบบจากผู้อื่นหรือมีกลวิธีเชิงสร้างสรรค์  เป็นต้น

            เกณฑ์ที่ ๓. การเผยแพร่และยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ  

            ประกอบด้วย ผลงานที่ได้รับการจัดแสดงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานอ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด / ผลงานได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ

            และจะดำเนินการคัดเลือกใน ๓ สาขา คือ

            ๑. สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา  แบ่งเป็น วิจิตรศิลป์  และประยุกต์ศิลป์  ส่วนที่เป็น วิจิตรศิลป์ ได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  สื่อผสม และภาพถ่าย ส่วนประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบประเพณีและร่วมสมัย / มัณฑศิลป์ / การออกแบบผังเมือง / การออกแบบอุตสาหกรรม และประณีตศิลป์

            ๒. สาขาวรรณศิลป์  หมายถึง บทประพันธ์ที่แต่งอย่างมีศิลปะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความรู้สึกสะเทือนใจ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกลวิธีเสนอเรื่องที่น่าสนใจ

            ๓. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง  ศิลปะที่มีการแสดง  ซึ่งเป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์  ประยุกต์ศิลป์ รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดง  ดนตรี  และการแสดงพื้นบ้าน โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย, ดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล, ภาพยนตร์และละคร

            เมื่อทำการคัดเลือกและประกาศผลแล้ว ศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

            ความหมายของเข็มเชิดชูเกียรติ หมายถึง ความเป็นปราชญ์ในความรู้ความสามารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง  

            การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น ๙ คน ได้แก่
            ๑. สาขาทัศนศิลป์  ได้แก่

                   ๑.๑ นายธงชัย  รักปทุม  (จิตรกรรม)

                   ๑.๒ นายเผ่า  สุวรรณศักดิ์ศรี  (สถาปัตยกรรมไทย)

                   ๑.๓ นางประนอม  ทาแปง  (ประณีตศิลป์- ศิลปะผ้าทอ)                            

            ๒. สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่

                   ๒.๑ นายสมบัติ   พลายน้อย  (สารคดี  เรื่องสั้น)

                   ๒.๒ นายสุรชัย  จันทิมาธร  (เรื่องสั้น  สารคดี  กวีนิพนธ์ )

            ๓. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่

                   ๓.๑ นายควน  ทวนยก  (ดนตรีพื้นบ้าน)

                   ๓.๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  พันเอกพิเศษชูชาติ  พิทักษากร  (ดนตรีสากล)

                   ๓.๓ นางสาวพิศมัย  วิไลศักดิ์  (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์- นักแสดง)

                   ๓.๔ นายสุประวัติ  ปัทมสูต  (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ? ผู้กำกับ นักแสดง)

            ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ที่ได้รับการคัดเลือก จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ผู้แทนพระองค์) ในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

            นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยังได้จัดกิจกรรมสัปดาห์ศิลปินแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ? ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติแต่ละท่าน เริ่มจาก

            - วันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๓๐ น. จะเป็นพิธีเปิดนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน และงานเลี้ยงเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ พร้อมกับชมการแสดงของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓

            - วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. ? ๑๗.๐๐ น. ร่วมเสวนาภาษากวีกับศิลปินแห่งชาตินายสุรชัย จันทิมาธร (สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์) และนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ และนายธนิสร์  ศรีกลิ่นดี และชมการแสดงมินิคอนเสิร์ต โดย วงคาราวาน

            - วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. ? ๒๑.๓๐ น. ร่วมสนทนากับศิลปินแห่งชาติ  พันเอก ชูชาติ พิทักษากร (สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีสากล) และชมการแสดงวงออร์เคสตรา บรรเลงเพลงคลาสสิกและเพลงไทยที่เรียบเรียงและอำนวยเพลงโดย พันเอก ชูชาติ พิทักษากร พร้อมชมการบรรเลงเดี่ยวไวโอลินประชันกับวงออร์เคสตรา

            - วันจันทร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น. ร่วมรายการจิบน้ำชาสนทนาในหัวข้อ ?การแสดงพื้นบ้าน? กับศิลปินแห่งชาติ นายควน ทวนยก (สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีพื้นบ้าน) และชมการแสดงโนราตัวอ่อน รำยั่วปี่

            - วันอังคารที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น. ร่วมรายการจิบน้ำชาสนทนาในหัวข้อ ?ชีวิต งานเขียน และลมหายใจของ ส.พลายน้อย? กับศิลปินแห่งชาติ นายสมบัติ พลายน้อย (สาขาวรรณศิลป์ ด้านสารคดี เรื่องสั้น) และนายประวิตร สุวณิชย์ อาจารย์นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ และอาจารย์วัฒนะ บุญจับ และการออกร้านหนังสือ

            - วันพุธที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น. ร่วมรายการจิบน้ำชาสนทนากับศิลปินแห่งชาติ นายธงชัย รักปทุม (สาขาทัศนศิลป์ ด้านจิตรกรรม) และอาจารย์เฉลิมศักดิ์ รัตนจันทร์ คณบดีคณะศิลปะวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และอาจารย์สมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงศ์ ในหัวข้อ ?ศิลปะ ศิลปิน ถึงศิลปินแห่งชาติ? และชมการแสดงการรำหน้าม่านของศิลปินแห่งชาตินางสาวพิสมัย วิไลศักดิ์ (สาขาศิลปะการแสดง ด้านภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ? นักแสดง) และละครดึกดำบรรพ์เรื่อง ?ศรีปราชญ์? จากนายสุประวัติ ปัทมสูต (สาขาศิลปะการแสดงด้านภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ - นักแสดง)

            - วันพฤหัสบดีที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น. ร่วมรายการจิบน้ำชาสนทนาในหัวข้อ ?เผ่า สถาปนิกไทย สถาปัตยกรรมไทย? กับศิลปินแห่งชาตินายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี (สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมไทย) และนายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ นายเกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ (เกี๊ยง วงเฉลียง ดำเนินรายการโดย สัญญา คุณากร

            - วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น. ร่วมรายการจิบน้ำชาสนทนาในหัวข้อ ?ดิน ดาว สู่ศิลปินแห่งชาติ? กับศิลปินแห่งชาติ นางสาวพิสมัย วิไลศักดิ์ และนายสุประวัติ ปัทมสูต (สาขาศิลปะการแสดงด้านภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ - นักแสดง) ดำเนินรายการโดย นายพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ และในเวลา ๑๙.๐๐ น. ? ๒๑.๐๐ น. จะมีการแสดงผลงานเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยของศิษย์ พันเอก ชูชาติ พิทักษากร (สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีสากล)

            - วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น. สนทนาในหัวข้อ ?ผ้าทอสู่ชีวิต? กับศิลปินแห่งชาติ นางประนอม ทาแปง (สาขาทัศนศิลป์ ด้านประณีตศิลป์ ศิลปะผ้าทอ) ร่วมกับอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ อาจารย์โกมล พานิชพันธ์ อาจารย์ทรงสิทธิ์ พูนลาภ และอาจารย์นิตยา มหาชัยวงศ์ พร้อมชมการแสดงแฟชั่นโชว์

            จึงขอเชิญชวนเยาวชน ประชาชนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ และเข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ศิลปินแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ? ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้ และยังเป็นการให้กำลังใจแก่ศิลปินแห่งชาติทุกท่าน ในการสร้างสรรค์ผลงานอันมีค่า เนื่องจากศิลปินแห่งชาติทุกท่านล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า เป็นปราชญ์ด้านศิลปะ และที่สำคัญผลงานของศิลปินแห่งชาติ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในงานด้านศิลปะทุกแขนง ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าได้ต่อไปในอนาคต

 

**************************


"พิศมัย - สุประวัติ ? หงา คาราวาน" ขึ้นแท่นศิลปินแห่งชาติ ปี 53  พร้อมชู ?ชวน?ผู้มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ  เมื่อวันทื่ 4 ก.พ. ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายสุเทพ   เทือกสุบรรณ  รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง   เป็นผู้แทน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการเป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.)  เพื่อพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ปี 2553  โดยภายหลังการประชุมร่วม 3 ชั่วโมง  นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  ได้แถลงผลการคัดเลือกเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปิน ผู้มีความสามารถ และอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน  เป็นศิลปินแห่งชาติ  พุทธศักราช 2553 ดังนี้  1.สาขาทัศนศิลป์  ได้แก่  นายธงชัย  รักปทุม  (จิตรกรรม) นายเผ่า  สุวรรณศักดิ์ศรี  (สถาปัตยกรรมไทย) และ นางประนอม  ทาแปง  (ประณีตศิลป์- ศิลปะผ้าทอ)
 2. สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่  นายสมบัติ   พลายน้อย  (สารคดี  เรื่องสั้น) และนายสุรชัย  จันทิมาธร  (เรื่องสั้น  สารคดี  กวีนิพนธ์ )  3.สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายควน  ทวนยก  (ดนตรีพื้นบ้าน) ผศ. พันเอกพิเศษชูชาติ  พิทักษากร  (ดนตรีสากล) นางสาวพิศมัย  วิไลศักดิ์  (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์- นักแสดง) และนายสุประวัติ  ปัทมสูต  (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ? ผู้กำกับ  นักแสดง)นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังได้มีการรับทราบผลการประชุม ของมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ที่มีมติเอกฉันท์ยกช่องเชิดชูเกียรติให้ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ อีกด้วย    
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาตินี้ ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น เป็นผู้มีคุณธรรม มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ โดยศิลปินแห่งชาติปี 2553 จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาเมื่อปีพุทธศักราช  2527  และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อพุทธศักราช 2528 จนปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่างๆที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 212 คน เสียชีวิต 87 คน ยังมีชีวิตอยู่ 125 คน สำหรับการช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติ รัฐบาลได้มอบเงินอุดหนุนผ่านกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการจัดสวัสดิการศิลปินและผู้มีผลงานทางวัฒนธรรม  ดูแลในเรื่องของค่าตอบแทนเดือนละ 20,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 40,000 ต่อปี เงินช่วยเหลือเมื่อประสบภัยไม่เกินคนละ 50,000 ต่อปี ค่าของเยี่ยม ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ค่าเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 300,000 บาท เมื่อเสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท ค่าเครื่องเคารพศพ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท และค่าจัดพิมพ์หนังสือไม่เกินคนละ 120,000 บาท

 ประวัตินักเขียน ชื่อ : ส.พลายน้อย

 ประวัติย่อ
 นายสมบัติ พลายน้อย เกิดวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2472  ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ภรรยาชื่อ นางจงกล พลายน้อย มีบุตรชาย 1 คน

 

นามปากกา

ส.พลายน้อย

 

ประวัติการศึกษา

                ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดประดู่ทรงธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย

ประกาศนียบัตร เปลื้อง  ณ นคร นายสมบัติเริ่มเขียนสารคดีอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา

ในขณะที่รับราชการครูอยู่นั้น อาจารย์เปลื้องได้เชิญให้มาทำงานด้านวารสารของกระทรวงศึกษาธิการหลายฉบับ มีประโยคครูพิเศษประถม (พ.ป.)

 

ประวัติการทำงาน

รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนสรรพากรและเปลี่ยนอาชีพไปรับราชการครูเป็นเวลา 5 ปี สนใจเขียนหนังสือมาตั้งแต่ครั้งเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยได้สมัครเรียนวิชาการประพันธ์และการหนังสือพิมพ์ทางไปรษณีย์ของอาจารย์เปลื้อง ณ นคร ส.พลายน้อย จึง ริเริ่มเขียนสารคดีอย่างจริงจังนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ในระหว่างที่รับราชการครูอยู่นั้น อาจารย์เปลื้องได้เชิญให้ ส.พลายน้อย มาทำงานด้านวารสารของกระทรวงศึกษาธิการหลายฉบับ มีผลงานเขียน ประเภทบทความ บทละคร สารคดี และเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ได้จัดรายการวิทยุศึกษาไปพร้อม ๆ กันด้วย

พ.ศ. 2522 นายสมบัติได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และเอกสารสิ่งพิมพ์ กองส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และเป็นบรรณาธิการวารสารวัฒนธรรมไทย

พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ 2 ปี ได้ลาออกจากราชการ เพื่อเขียนหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว

นายสมบัติเป็นนักเขียนที่มีความสามารถเขียนหนังสือได้หลายประเภท ปัจจุบันมีงานเขียนรวมเล่มแล้ว ประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นงานเขียนประเภทสารคดี นิทานและปกิณกะอื่น ๆ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

 
งานเขียนประวัติบุคคลสำคัญ เช่น
1. เจ้าพระยาวิชาเยนทร์

2. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา

3. พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งชาติไทย

4. เจ้าฟ้าจุฑามณี พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

5. ชาวต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย เช่น หมอปลัดเล

ฯลฯ

 

ประวัติศาสตร์และเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เช่น

1. สารคดีน่ารู้สารพัดนึก

2. เล่าเรื่องบางกอก

3. ๑๐๐ รอยอดีต

4. พระราชวัง

5. เล่าเรื่องพม่ารามัญ

6. กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

7. เรื่องเล่าจากข้าวของเครื่องแต่งกาย

8. สิบสองนักษัตร

9. โป๊ยเซียน    

10. พืชพรรณไม้มงคล

11. ลางเนื้อชอบลางยา (พิมพ์ครั้งแรกในหมอบ้านนอก 2527 , พิมพ์รวมเล่ม ครั้งแรก มีนาคม                          

ฯลฯ

 

สารานุกรม เช่น

1. สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย

2. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย

ฯลฯ

 

วรรณคดี ประวัติศาสตร์และความเชื่อ เช่น

1. เทวนิยาย

2. สัตวนิยาย

3. พฤกษนิยาย

4. อมนุษยนิยาย

5. อัญมณีนิยาย

6. สัตว์หิมพานต์

7. มังกร

8. จันทรคตินิยาย

                9. วรรณคดีอภิธาน

ฯลฯ

 

นิทาน เช่น

1. นิทานไทย

2. นิทานไทยแสนสำราญ

3. นิทานวรรณคดี

4. นิทานมหัศจรรย์

5. นิทานพม่า

6. นิทานลาว

7. นิทานมาเลเซีย

8. นิทานมอญ

                                ฯลฯ

 

เรื่องอื่น ๆ เป็นสารคดีเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น

1. แลไปข้างหลัง

2. เกิดในเรือ

3. โลกแสตมป์

4. สรรพสารคดี

5. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง

ฯลฯ

 

นอกจากนั้นยังมีผลงานเขียน ที่เป็นสารคดี เรื่องเขียนตามที่ได้รับการร้องขอจากองค์กรภาครัฐและเอกชนในโอกาสต่าง ๆ และได้เผยแพร่ในวารสารหลายฉบับ เช่น ศิลปวัฒนธรรม, สารคดี, เมืองโบราณ, วัฒนธรรมไทย, ต่วย?ตูน, ความรู้คือประทีป ฯลฯ ปรากฏผลงานออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

 

เกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. 2517 หนังสือเรื่อง ?พฤกษนิยาย?  ได้รับรางวัลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2532 หนังสือเรื่อง ?ยาขอบ ชีวิตและงานของผู้แต่งอมตนิยายผู้ชนะสิบทิศ? ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2536 หนังสือเรื่อง ?สัตว์หิมพานต์? ได้รับรางวัลของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2535 หนังสือเรื่อง ?อัญมณีนิยาย? ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2538 หนังสือเรื่อง "เกิดในเรือ" ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2539 ได้รับประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (สารคดี ) ประจำปีพ.ศ. 2539

พ.ศ. 2551 ได้รับประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจำปีพ.ศ. 2551

พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัล ?นักเขียนอมตะ? คนที่ 4 ประจำปีพุทธศักราช 2551

 

ปัจจุบัน                

นายสมบัติ พลายน้อย อายุ 79 ปี และยังคงสร้างสรรค์งานเขียนอย่างสม่ำเสมอ

 สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน เป็นนักร้องนำและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวาน สุรชัยเป็นนักแต่งเพลงชั้น
แนวหน้าคนหนึ่งของวงการเพลงไทย. ผู้คนในวงการเพลงเพื่อชีวิตมักเรียกเขาว่า อาจารย์ใหญ่เพลงเพื่อชีวิต  หรือ
น้าหงา หรือ  สหายพันตา ซึ่งเป็นการแสดงถึงความนับถือ    
ประวัติ
       สุรชัยเกิดที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2491  เป็นบุตรคนที่  4  ของครอบครัว
ครูยุทธ  จันทิมาธร  และแม่เล็ก  ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายเขมร โดยมีพ่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนเทศบาล ดังนั้น
จึงเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสุรชัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ที่เมื่อโตขึ้นมาได้เข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อในด้าน
ศิลปะที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ และได้รู้จักกับนักคิด นักเขียนคนอื่น ๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นนักเขียนชั้นแนวหน้า
คนอื่น ๆ ของประเทศ เช่น สุวรรณี สุคนธา, สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นต้น ซึ่ง การเป็นนักเขียนของสุรชัยเริ่มต้นขึ้นที่นี่
          ก่อนที่จะมาเป็น ?สุรชัย  จันทิมาธร?   เดิมทีน้าหงา  ชื่อ  องอาจ จันทิมาธร   และในตอนเด็กได้ไป
ดูมวยที่ชื่อ  ?สุรชัย  ลูกสุรินทร์?  ด้วยความชอบและอยากเป็นนักมวยบ้าง  ก็เลยเป็นชื่อเป็น  ?สุรชัย?            
การขึ้นชกมวยของน้าหงาครั้งแรก  ได้ใช้ชื่อว่า  ?หล่อนิด  ศิษย์รัตน์?  เป็นการขึ้นชกในงานวัด  ผลออกมา  เสมอ  ,  
การขึ้นชกครั้งที่  2  เป็นการชกในงานประจำอำเภอ  ใช้ฉายาว่า  ?เปลวสุริยา?   ผลออกมาเสมอ  
และครั้งที่  3  ใช้ฉายาว่า ?สายชล ศิษย์พระพิรุณ?  ปรากฏว่า  ชนะ ในปี พ.ศ. 2516 สุรชัยได้ร่วม
กับ วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) ได้ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรี ท.เสนและสัญจร ขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2517
ได้ตกลงที่จะรวมวงกับบังคลาเทศแบนด์ ของมงคล อุทก (หว่อง) และทองกราน ทานา เพื่อก่อตั้ง
วงดนตรีคาราวาน. สุรชัยได้แต่งเพลงเพื่ออุทิศให้กับบุคคลสำคัญของไทยหลายคน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์,
ปรีดี พนมยงค์, สืบ นาคะเสถียร และ รงค์ วงษ์สวรรค์หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา สุรชัยและพรรคพวกบางส่วน
ได้หลบหนีเข้าป่าไปอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเฉกเช่นนักศึกษาและปัญญาชนคนอื่น ๆ
โดยสุรชัยทำหน้าที่คอยให้ความบันเทิง ร้องเพลง โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายพันตา"เมื่อสถานการณ์ทาง
การเมืองสงบลง สุรชัยและพรรคพวกได้เดินทางออกจากป่า และได้แต่งเพลงซึ่งเป็นเพลงอมตะของ
คาราวานและสุรชัย บอกเล่าถึงสภาพจิตใจที่ออกจากป่ามาสู่เมือง คือเพลง คืนรัง
ผลงานหนังสือ
เรื่องสั้น
"มาจากที่ราบสูง", "เดินไปสู่หนไหน", "ความบ้ามาเยือน", "ข้างถนน" และรวมเล่มเป็น "ก่อนเคลื่อนคาราวาน"
รวมเรื่องสั้น
"ดวงตะวันสีแดง", "ดอกอะไรก็ไม่รู้" (รวมเรื่องสั้นคัดสรรเน้นฉากเมือง)
บทกวี
"จารึกบนหนังเสือ", "เมดอินเจแปน" และ "เนื้อนัย (เพลง)"
นวนิยายเล่มเดียว คือ "ก่อนฟ้าสาง"
บันทึกและความเรียง
"จากราวไพร สู่ป่าคอนกรีต", "คือคนลำเค็ญ ดนตรีคาราวาน" และ "ผ่านตา พันใจ"
ผลงานเพลงเด่นๆ
"กุลา", "สานแสงทอง", "คนกับควาย" (สมคิด สิงสง, วิสา คัญทัพ), เปิบข้าว (จิตร ภูมิศักดิ์), "นกสีเหลือง" (วินัย อุกฤษณ์), "ความแค้นของแม่", "บ้านนาสะเทือน", "คนตีเหล็ก", "ดอกไม้ให้คุณ"
     รางวัล
รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบสำหรับศิลปิน นักคิดนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่ามีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง มาทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2531
นามปากกาที่ใช้ในการเขียนหนังสือ   สุรชัย  จันทิมาธรใช้นามปากการในการเขียนหนังสือ  ท. เสน

 
คลิ้กที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

ตอนหนุ่ม ๆ กับสมาชิกวงคาราวาน
งานคอนเสริ์ตโลกร้อน
ปัจจุบัน
 

พิศมัย เกิดที่ย่านบางลำพู เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็ก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการเลี้ยงดูโดยครูจำเรียง พุทธประดับ ศิลปินแห่งชาติ นำไปเลี้ยงดูในวังหลวงระหว่างปี 2494-2498 พิศมัยจบการศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา และโรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
[แก้] งานแสดงพิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นนางเอกเรื่อง การะเกด เมื่อ พ.ศ. 2501 คู่กับลือชัย นฤนาท และชนะ ศรีอุบล เป็นที่รู้จักจากฉากรำฉุยฉายในเรื่อง และได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกประมาณ 300 เรื่อง ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่เรื่อง สองฝั่งฟ้า (2503), ดรรชนีนาง (2504), จำเลยรัก (2506), ดวงตาสวรรค์ (2506), โนราห์ (2509) ในจำนวนหลายเรื่องพิศมัยได้ใช้ความสามารถพิเศษในการรำไทย รับบทรำในเรื่องด้วย เช่น โนราห์ (2509), เมขลา (2510), สีดา (2511), หนึ่งนุช (2514), ค่าของคน (2514), สักขีแม่ปิง (2516), ระห่ำลำหัก (2518)

ระยะหลัง พิศมัย วิไลศักดิ์ หันมารับงานแสดงละคร และเป็นครูสอนศิลปะการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นหลัง และปัจจุบันกำลังมีผลงานละครที่ออนแอร์อยู่ในขณะนี้คือละครเรื่อง มงกุฎดอกส้มทางช่อง 3 (กิ๊บซี่ - วนิดา, อั๋น - วิทยา) โดยรับบทเป็น อาอึ้ม (พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554) และอาจจะเล่นเรื่องดอกส้มสีทอง (มงกุฎดอกส้มภาค 2) โดยรับบทอาอึ้มต่ออีกหนึ่งเรื่อง

[แก้] รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2506 - ดวงตาสวรรค์
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2524 - ค่าน้ำนม (เข้าชิง)
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2521 - ไร้เสน่หา
นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2526 - เงิน เงิน เงิน
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2542 - กำแพง
รางวัลสุพรรณเกียรติยศ ในฐานะที่อุทิศตนให้กับวงการภาพยนตร์ไทยและสังคมสม่ำเสมอ บุคคลในวงการให้การยอมรับ และมีจิตวิญญาณรักวงการบันเทิง ในฐานะ บุคคลเกียรติยศ ในงานประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ ประจำปี พ.ศ. 2550 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์-นักแสดง) ประจำปี พ.ศ. 2553
[แก้] ผลงาน