หัวข้อ: ๑๓ มีนาคม วันช้างไทย ช้างเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณต่อแผ่นดินไทย คู่บารมีพระมหากษัตริย เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ มีนาคม 09, 2011, 10:40:59 am วันช้างไทย
ทุกวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย ที่มาของวันช้างไทย วันช้างไทยเกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ ความสำคัญของช้างไทย ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็น รูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ช้างเป็นผู้ปกป้องเอกราชแห่งชาติไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ จารึกไว้ว่าช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราชและความเป็นชาติให้แก่ชาว ไทยหลายยุคหลายสมัย ในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงรวบรวมชายไทยให้เป็น ปึกแผ่นและมั่นคงบนหลังช้างทรงพระที่นั่ง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ได้ทรงประกาศเอกราชและความเป็นชาติ ของคนไทยบนหลังช้างทรงพระที่นั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรนับว่าเป็นช้างไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด โดยจากความกล้าหาญในสมรภูมิรบ ทำให้ช้างไทยเชือกนี้ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี" ช้างใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ ดีงามของชาติไทยในอดีตกาลนั้นล้วนแต่ได้ช้างเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้ง สิ้น เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ได้ช้างเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญอีกเช่นกัน เมื่อแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นช้างคือพาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระ พุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตมาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุข ของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระ ที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ และเบตาเวีย (จาการ์ตา) ประเทศอินโดนีเซีย ได้พระราชทานช้างสำริดให้แก่ทั้ง 2 ประเทศนี้ ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม ในยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้างคือพาหนะที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาดและมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้ การใช้ช้างทำไม้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การทอนไม้ซุง การขนส่งไม้จนถึงโรงงานหรือตลาดการค้า ในแง่ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และระบบการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย การใช้ช้างชักลากไม้ นับว่าเหมาะสมมาก เพราะช้างสามารถเดินไปได้โดยไม่ทำลายกล้าไม้ต้นเล็กๆ ไม่ทำให้ดินแน่น ไม่ต้องตัดถนนหนทางให้มากเส้น นอกจากนี้ช้างยังขึ้นเขาได้ดี และมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี ในปัจจุบัเมื่อมนุษย์ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรและ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ความนิยมในการใช้แรงงานจากช้างจึงค่อยๆ ลดลง แต่ช้างก็ยังคงเป็นสัตว์ที่คนไทยทั้งชาติให้ความสำคัญเสมอดังนั้นรัฐบาลไทย จึงได้กำหนดให้ช้างเผือกเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดให้ทุกวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย ความสำคัญของช้างต่อประวัติศาสตร์ ชาติไทย ข้อความที่ปรากฎอยู่ในศิลาจารึก สุโขทัยหลักที่หนึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น "ช้าง" คือขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทรงประทับช้างนำ ราษฎรไปบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิก จะเห็นได้ว่าทั้งในยามศึกและยามสงบช้างอยู่คู่แผ่นดินสุโขทัยเรื่อยมา ช้างมีความสำคัญมากถึงเพียงนี้ จึงมีการสอนวิชาขับขี่ช้างซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับเจ้านายและลูกผู้ดีเพื่อ ยังประโยชน์ในการใช้ช้างเป็นพาหนะและเตรียมการเพื่อศึกสงคราม ช้างใช้ในการศึกสงครามในอดีต ในสมัยโบราณ ช้างเป็นยุทธปัจจัยสำคัญของกองทัพเปรียบได้กับรถถังประจัญบานของนักรบใน ปัจจุบัน ทว่าชัยชนะที่ได้รับนั้นจะดูสง่างามกว่าหลายเท่า เพราะมนุษย์ที่นั่งอยู่บนคอช้างต้องเชี่ยวชาญอาวุธของ้าว ใช้ความกล้าหาญไสช้างแต่ละเชือกพุ่งตรงเข้ารบปะทะกันตัวต่อตัว ช้างต่อช้างเข้าชนกันนั้น หากช้างของผู้ใดมีความสามารถมากกว่าก็จะงัดช้างศัตรูขึ้นด้วยงาจนแหงนหงาย หรือเบนบ่ายจนได้ที เพื่อให้แม่ทัพบนคอช้างส่งอาวุธเข้าจ้วงฟันคู่ต่อสู้ ช้างกับนักรบบนคอช้างจึงต้องมีกำลังแข็งแรงฝีมือเข้มแข็ง ทั้งคู่จึงจะได้ชัยชนะมาประดับเป็นเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน การรบบนช้างหรือที่เรียกว่า ยุทธหัตถี นั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์ไทย แต่ครั้งสำคัญที่สุด ซึ่งคนไทยยังกล่าวขวัญจดจำไม่รู้ลืม คือ การยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หรือกว่า 400 ปีล่วงมาแล้ว กิจกรรมวันช้างไทย กิจกรรมวันช้างไทยทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิเช่น การจัดสะโตกช้าง หรือขันโตกช้าง โดยช้างจะรับประทานอาหารของช้างที่ทางปางช้างได้จัดหาไว้ให้เป็นอย่างดี ในวันนี้เด็กนักเรียนจะสามารถข้าชมได้ฟรีเพื่อเป็นการส่งเสริม ให้เด็ก เห็นคุณค่าของช้างไทยและความสำคัญของวันช้างไทย ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก - สมาคมช้างไทย - บ้านฝันดอทคอม - รวมข่าวประชาสัมพันธ์ภาษาไทย - ฟ้าล้านนาเน็ต ยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย การกระทำยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ไทยที่เลืองลือ ปรากฏทั้งหมด 4 ครั้ง คือ 1. การชนช้างระหว่างพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนรามคำแหงชนะ 2. การชนช้างที่สะพานป่าถ่าน ระหว่างเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา เพื่อชิงราชสมบัติ ปรากฏว่าสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ 3. ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระสุริโยทัยกับพระเจ้าแปร ในปี พ.ศ. 2091 ที่ทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง 4. ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชามังสามเกียด ในปี พ.ศ. 2135 ที่ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ชัยชนะ ความเชื่อเกี่ยวกับช้างเผือกตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ กล่าวถึงต้นกำเนิดของช้าง ในเรื่องการสร้างโลกว่าพระวิษณุ (พระนารายณ์) ขณะที่ทรงบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร ได้ทรงแสดงเทวฤทธิ์อธิษฐาน ให้มีดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภี 1 ดอก ดอกบัวนี้มี 8 กลีบ และมีเกสร 173 เกสร พระวิษณุได้ทรงนำดอกบัวนี้ไปถวายแด่พระศิวะ (พระอิศวร) ซึ่งพระองค์ได้ทรงแบ่งดอกบัวและเกสรดอกบัวนั้นออกเป็น 4 ส่วน และทรงแบ่งให้กับเทวะองค์อื่นๆ อีก 3 องค์ คือ ทรงเก็บไว้เอง ,ทรงแบ่งให้พระวิษณุ,ทรงแบ่งให้พระพรหม และทรงแบ่งให้พระอัคนิ (พระเพลิง) โดยองค์เทวะทั้งสี่ได้ทรงสร้างช้างขึ้นองค์ละตระกูล ดังที่ปรากฏในตำราคชลักษณ์ จึงมีช้าง 4 ตระกูล และช้างทั้ง 4 ตระกูลเหล่านี้ยังถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ เช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคนอินเดียด้วย คือ อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะ ทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติกษัตริย์ พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติพราหมณ์ วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้างจั้ดเป็นช้างชาติแพศย์ อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูที่พระอัคนิหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติศูทร ความเชื่อของคนไทยกับช้างเผือก เป็นช้างที่เกิดขึ้นเพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์ แต่อันที่จริงช้างเผือก หรือช้างสำคัญ มี 3 ชนิดดังกล่าว ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีจำนวนมาก ก็จะถือว่าเป็นมงคล บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสำนักพระราชวังตรวจคชลักษณ์ว่าเป็นช้างเผือกหรือช้างสำคัญแล้ว ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ พระมหากษัตริย์องค์ใดได้พบช้างเผือกเป็นจำนวนมาก แสดงว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงถึงพร้อมด้วยบุญญาภินิหารบารมีมากและมักถวายพระนามพระองค์ว่า พระเจ้าช้างเผือก ดังเช่น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ในตำนานพุทธประวัติ กล่าวว่าช้างเผือกนั้นคือสัญลักษณ์แห่งความรู้ และ การเกิด คืนก่อนวันประสูติของพระพุทธเจ้า พระมารดาของพระองค์ทรงสุบิณท์ ถึงช้างเผือก มอบดอกบัวให้พระนาง ดอกบัวอันหมายถึงความบริสุทธิ์และความรู้ ตำนานไตรภูมิ มีบทหนึ่งกล่าวถึงช้างเผือกว่า: " มหาราชมีครบซึ่งสิ่ง 7 ประการ ภริยาที่สมบูรณ์ ขุมสมบัติคณานับ ผู้ปรึกษาแผ่นดินที่ดี ม้าที่วิ่งเร็ว กฎการปกครองที่ดี แก้วแหวนอันเป็นสิ่งสำคัญ และช้างเผือกที่สง่างาม" ขนช้างเผือกโดยเฉพาะขนหางถือว่าเป็นเครื่องรางของคลังชนิดหนึ่งสามารถป้องกันเสนียดจัญไรแก่ผู้ที่มีไว้ครอบครองได้ จึงนิยมนำมาทำเป็นแหวนติดตัว และพระแส้หางช้างเผือกของพระมหากษัตริย์ก็ทำมาจากขนหางช้างเผือกเช่นกัน เชื่อกันว่าเด็กคนใดที่มักจะเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แข็งแรง หรือเลี้ยงยาก ถ้านำเด็กคนนั้นไปลอดใต้ท้องช้างเผือกคร 3 รอบ จะกลับมาแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆอีก และเลี้ยงง่าย หากมีเหตุต่างๆแกช้าง เกิดขึ้นแก่ช้างเผือก เช่น เจ็บ งาหักหรือล้มถือว่าเป็นรางร้ายของแผ่นดิน จะเกิดอาเพศภัยร้ายแรงขึ้นแก่บ้านเมืองและประชาชนหรือเมื่อบ้านเมืองจะเกิดวิกฤตการณ์ ช้างเผือกจะมีอาการประหลาดๆ ให้เห็นดังเช่นในประเทศพม่าในตอนที่แม่ทัพอังกฤษเข้าเฝ้าพระเจ้าสีป่อ เพื่อเชิญเสด็จไปจากประเทศพม่า ช้างเผือกก็ส่งเสียงร้องเหมือนคนร้องไห้และดินรนมิได้หยุด หมอควาญจะปลอบอย่างไรก็มิได้สงบ ซึ่งหลังจากที่พระเจ้าสีป่อเสด็จออกไปนอกประเทศและชาวอังกฤษเข้ามาปกครองแทนแล้ว ช้างเผือกก็ล้มโดยมิได้เป็นโรคอะไร ช้างไทยในจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะ เกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการ นับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและใน ประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ ช้างนาฬาคิรีเป็น ช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬา คิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่ เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ จิตรกรรมฝาผนังในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี ภาพ ช้างนาฬาคิรี จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรมหน้า 75 ช้างคิรีเมขล์เป็น ช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระ พุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี แสดงภาพมารผจญ ภาพ ช้างคิรีเมขล์ จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม ช้างปาลิไลยกะเป็น ช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้าน ปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย ? ช้างเอราวัณ เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชา แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ? ช้างไอราวัณ เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ? ช้างพลายมงคล เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้า เชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและ คอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่น ชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้ ช้างไทยในแต่ละรัชกาล ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วย เสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้ กรุงสุโขทัย ใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อ รุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุง สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ? ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก ? ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น ? ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร ? ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ ? ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ ? ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร ? ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์ กรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย กรุงรัตนโกสินทร์ ? รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์ ? รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์ ? รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ ? รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ ? รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ ? รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ ? รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก ? รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ ************************************** บรรณานุกรม สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. 2530. ช้างไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ อมรา ศรีสุชาติ. 2550. ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่ม 17. 2537. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์. ภาพ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่ม 17. 2537. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์. อมรา ศรีสุชาติ. 2550. ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" . 2551. http://www.thungyai.org/thai/activities/48/kingnaresuan/king07.htm "ช้างเผือก". 2551. http://www.thailandelephant.org/elephant1.php3 "ช้างต้น". 2551. http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter1/t17-1-s.htm "ช้างเอราวัณ". 2551. http://www.businesscenterbkk.com/arawan.jpg "ช้างเผือก". 2551. http://www.dnp.go.th/multi_prov_forest/pic/66.jpg "ช้างต้น".2551. http://www.csd.go.th/news/31012007/ |