หัวข้อ: วีรสตรีไทย จามเทวี นางเสือง นางนพมาศ ศรีสุดาจันทร์ สุริโยทัย สุพรรณกัลยา เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ มีนาคม 12, 2012, 12:05:29 pm พระนางจามเทวี
เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติพ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญชัย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญ พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญชัย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาดในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้ อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก มหาสัตตาราม ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้ มหาวนาราม ปัจจุบันคือ วัดมหาวัน เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุดโดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญชัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า ?...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...? คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือนางเสืองนั่นเอง สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ (กษัตริย์) จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์ ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้ ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง ทางจังหวัดสุโขทัยจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย นางนพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)หรือพระร่วงเจ้าสุโขทัย จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก ปรากฏในพงศาวดารว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน นำไปถวายพระร่วงเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ามาก ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้ นางนพมาศ ได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อว่า หนังสือ นางนพมาศ นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า ?กวีหญิงคนแรกของไทย? ดังที่เขียนไว้ว่า ?ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน ? ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นพระสนมเอกของพระไชยราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอยุธยา ทรงเป็นพระราชมารดาของพระยอดฟ้า กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งอยุธยา และทรงเป็นพระมเหสีของขุนวรวงศาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 15 แห่งอยุธยา แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ เป็นเพียงพระนามที่ระบุว่าในพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา และ แม่ยั่วศรีสุดา ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ และพระนาม ?ศรีสุดาจันทร์? ไม่ใช่พระนามจริงของพระองค์แต่เป็นชื่อตำแหน่งสนมเอกของกษัตริย์อยุธยาตามที่ปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ของกฎหมายตราสามดวงระบุว่า ?นางท้าวสนมเอกทั้ง 4 คือ ท้าวสุเรนทร ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี ท้าวศรีจุฬาลักษณ์? พระไชยราชาธิราช ซึ่งขึ้นบัลลังก์กษัตริย์อยุธยา โดยการ ?ยึดอำนาจ? จากพระรัฏฐาธิราชกุมาร กษัตริย์องค์ที่ 12 ที่มีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา ถูกยึดอำนาจหลังการครองราชย์ได้ 5 เดือน และถูกนำตัวไปสำเร็จโทษ การยึดอำนาจครั้งนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนสายครองราชของโอรสของพระรามาธิบดีที่ 2 เท่านั้น คือ จากสายของ ?เจ้าฟ้า? (พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร กษัตริย์องค์ที่ 11 ซึ่งมีพระโอรสคือพระรัฏฐาธิราชกุมาร กษัตริย์ที่ 12 มาเป็นสาย ?โอรส? อันเกิดแต่พระสนมก็คือ พระไชยราชาธิราช) สมัยของพระไชยราชาธิราชเป็นยุคสมัยที่การค้ากับต่างประเทศเริ่มเฟื่องฟู ดังจะเห็นจากการการขุดคลองลัดบางกอก การมี ชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสา หรือ ทหารรักษาพระองค์ และยังเป็นยุคสมัยที่เปิดฉากสงครามครั้งแรกกับพม่าในกรณีปัญหาหัวเมืองมอญ คือศึกเชียงกราน การขึ้นครองราชย์ของพระยอดฟ้า ซึ้งเป็นโอรสที่เกิดแก่พระสนมเอก ?ศรีสุดาจันทร์? เมื่อพระชนมายุ 11 พรรษา ในช่วงที่พระสนมเอก ?ศรีสุดาจันทร์? มีสถานะเป็น ?นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์? พระยอดฟ้า กษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ครองราชสมบัติโดยมี พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ จึงได้ ?ราชาภิเษกขุนวรวงศาขึ้นเป็นเจ้าพิภพ? เป็นกษัตริย์องค์ที่ 15 ของอยุธยา หลังขุนวรวงศาได้เป็นกษัตริย์จึงเกิดเหตุการณ์นำเอาพระยอดฟ้าที่ยังทรงพระเยาว์ไปประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา ขุนวรวงศาธิราชเป็นคนจากหัวเมืองฝ่ายเหนือแว่นแคว้นสุโขทัย การปรากฏตัวของขุนวรวงศาธิราชในนาม ?พันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ(ข้างหน้า)? ในพระราชวัง และมีสื่อสัมพันธ์กับพระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์โดยผ่านสัญลักษณ์ ?เมี่ยง? และ ?ดอกจำปา? กระทั่งได้รับการเปลี่ยนให้เป็น ?ขุนชินราช? ตำแหน่งผู้ ?รักษาหอพระข้างใน? ซึ่งการที่ ?หอพระข้างใน?พระราชวังหลวงมีตำแหน่ง ?ขุนชินราช? ขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์อยู่ 45 วัน หลังจากถูกยึดอำนาจ ทั้ง ขุนวรวงศาธิราช พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชนัดดาที่มีพระชนม์ 1-2 พรรษา ทั้งสามพระองค์ถูกฝ่ายยึดอำนาจ ?ฆ่าแล้วเอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพและคณะผู้ยึดอำนาจได้ถวายบัลลังก์คืนแก่ ?พระเทียนราชา? เชื้อพระวงศ์สุพรรณบุรี ซึ่งก็คือ พระมหาจักรพรรดิสำหรับ ?พระศรีศิลป์? โอรสอีกพระองค์ของ พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์กับพระไชยราชาธิราชนั้นจะถูกประหารชีววิตในระยะถัดมาในข้อหาซ่องสุมคิดกบฎต่อพระมหาจักรพรรดิ (พระมหาจักรพรรดิทรงเลี้ยงพระศรีศิลป์ไว้ 13-14 ปี) จึงจบวงศ์ของพระแม่เจ้าอยู่หัวสุดาจันทร์กับพระไชยราชาธิราชและขุนวรวงศาธิราช สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง[ต้องการอ้างอิง] ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์ [แก้]พระราชโอรสและพระราชธิดา สมเด็จพระสุริโยทัย มีพระราชโอรส-พระราชธิดา 5 พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้ ? พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี ? พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 ? พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ? พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท ? พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศพระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี ในพ.ศ. 2535 ได้มีการก่อสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยไท ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยไท [แก้]พระวีรกรรม ดูบทความหลักที่ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เจดีย์พระสุริโยทัย บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก[1] สมเด็จพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้[2][3] พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์[1] พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน[4][5][6] พระสุพรรณกัลยา สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี[2] ทรงเป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่นางใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก[3] เชื่อว่าพระนามเดิม คือ องค์ทอง ชีวิตในกรุงหงสาวดี พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี พ.ศ. 2112 เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวารและนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง[4] โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นพระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ[5] พระนางทรงมีพระธิดา 1 พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้าภุ้นชิ่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม เมงอทเว ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก[6] โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดี ด้วยเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งพระมเหสีองค์อื่นทรงดำเนินชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เส็ดจออกงานหรือเห็นโลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดีจึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือนมีนาคม พ.ศ. 2116 มีงานบูชาพระมหาเจดีย์ชเวดากอง พระสุพรรณกัลยาพร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน 5 วัน นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานานว่า 3 ปี หลังจากงานบูชามหาเจดีย์จบสิ้นลง พระเจ้าบุเรงนองได้นิมนต์พระสงฆ์พม่า มอญ เชียงใหม่ และไทใหญ่ 3,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เงิน สำริด และปัญจโลหะ อย่างละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น พิษณุโลกเมียวซา เนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำปีที่ได้จากพิษณุโลก นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า เจ้าหญิงพิษณุโลก[7] เนื้อหา [ซ่อน] 1 กรณีการสิ้นพระชนม์ 1.1 หลักฐานพงศาวดารของไทย 1.2 หลักฐานที่ขัดแย้งกัน 2 การพบหลุมพระศพพระสุพรรณกัลยา 3 พระนามต่างๆ 4 สถานที่เกี่ยวกับพระองค์ 5 ราชตระกูล 6 อ้างอิง [แก้] กรณีการสิ้นพระชนม์ ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2135 จากการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งการสิ้นพระชนม์นั้นในพงศาวดารรวมถึงคำให้การต่างๆ ทั้งของไทยและพม่าต่างก็ให้ข้อมูลต่างกันออกไปเกี่ยวกับการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา [แก้] หลักฐานพงศาวดารของไทย คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พระเจ้ากรุงหงสาวดีพิโรธมาก รับสั่งให้เอาแม่ทัพนายกองที่แพ้กลับมาในครั้งนั้นใส่คาย่างไฟให้ตายสิ้น แต่ก็ยังไม่หายพิโรธ ได้เสด็จไปสู่พระตำหนักพระสุพรรณกัลยาเอาพระแสงดาบฟันพระนางและพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ และได้ประมาณการว่ามีพระชนมายุได้ 39 พรรษา คำให้การขุนหลวงหาวัด ได้กล่าวใกล้เคียงกัน แต่ต่างที่เป็นพระราชโอรสมิใช่พระราชธิดา ความว่า "ฝ่ายพระเจ้าหงสา ทรงพระพิโรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐานเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศวรนั้นบรรทมให้พระราชโอรสเสวยนมอยู่ในพระที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่พิราลัยด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วยพระเจ้าหงสาวดีทรงโกรธยิ่งนัก มิทันจะผันผ่อนได้" พงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ที่แต่งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของกษัตริย์พม่าเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2372 (ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์)[8] ได้กล่าวถึงพระสุพรรณกัลยาว่า พระองค์มีคนสนิทคนหนึ่ง มีนามว่า พระองค์จันทร์ ภายหลังพระอุปราชาสิ้นพระชนม์ในการกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น พระเจ้านันทบุเรงมิได้ประหารพระสุพรรณกัลยาทันทีที่ทราบข่าว หากแต่ได้เสวยน้ำจัณฑ์จนเมามายอยู่เป็นเวลานาน แต่ละวันก็พาลหาเรื่องพระสุพรรณกัลยาและขู่อาฆาตบ่อยๆ จนพระนางสังหรณ์พระทัย ได้ทรงเรียกพระองค์จันทร์มาปรับทุกข์หลายครั้ง ท้ายที่สุดพระองค์ได้ตัดปอยพระเกศาใส่ผอบเครื่องหอมประทานแก่พระองค์จันทร์ เตรียมนำไปถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่กรุงศรีอยุธยา เผื่อพระองค์จะไม่มีพระชนม์ชีพต่อไป ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้านันทบุเรงทรงเมามายไม่ได้พระสติ ได้เสด็จไปถึงห้องพระบรรทมของพระสุพรรณกัลยาแล้วใช้พระแสงดาบฟันแทงพระสุพรรณกัลยาสิ้นพระชนม์อยู่บนพระที่นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วได้ระบุว่าพระนางมีพระราชโอรสกับพระเจ้าบุเรงนองหนึ่งพระองค์ และในครรภ์อีก 1 พระองค์ เมื่อพระเจ้านันทบุเรงทรงคืนพระสติแล้ว ก็ได้มีพระราชโองการจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพแก่พระสุพรรณกัลยาอย่างสมพระเกียรติ ส่วนพระองค์จันทร์นั้นได้ลักลอบออกจากวังโดยนำผอบพระเกศาไปกับนายทหารมอญโดยทำทีเป็นสามีภรรยากันตลอดเป็นเวลาสามเดือนเศษจนถึงกรุงศรีอยุธยา และได้นำความกราบบังคมทูลแก่พระญาติวงศ์ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจ ในครั้งนั้น พระองค์จันทร์ได้รับการสถาปนาเป็น ท้าวจันทร์เทวี หลังจากได้พระราชทานเพลิงพระศพพระวิสุทธิกษัตรีย์ (ซึ่งทางไทยได้กล่าว่าสิ้นพระชนม์เนื่องจากทรงตรอมพระทัยในการสูญเสียพระสุพรรณกัลยา) สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยกทัพไปตีหงสาวดีและตองอูแต่ไม่สำเร็จ ระหว่างที่พระองค์ได้รับพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาจากมอญผู้หนึ่งในช่วงที่พระองค์ประทับ ณ เมืองปาย ทรงพระสุบินถึงพระสุพรรณกัลยาได้เสด็จมาพบและตรัสว่าพระนางเปรียบเสมือนคนสองแผ่นดิน มีความผูกพันทั้งไทยและพม่า จึงมีพระประสงค์ที่จะพำนักเมืองปายนั่นเอง จากการพระสุบินดังกล่าวสมเด็จพระนเรศวรจึงหยุดทัพไว้ที่เมืองปาย เป็นเวลา 32 วัน และโปรดฯให้ม้าเร็วเข้ามารับตัวท้าวจันทร์เทวีขึ้นไป และนำผอบบรรจุพระเกศาขึ้นไปด้วย จากนั้นก็โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง และพระเจดีย์เพื่อจะประดิษฐานพระเกศาและพระอัฐิไว้ ณ เมืองปาย ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนนั่นเอง[9] อย่าไงรก็ตามจากหลักฐานของไทยและพม่าก็ต่างแสดงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหงสาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 17 ปี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2135 ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระชันษา 40 ปี และหากมีพระโอรส-ธิดากับพระเจ้าบุเรงนอง พระโอรสธิดาก็ควรมีพระชันษาราว 8 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งดูจะขัดแย้งกับคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่กล่าวถึงการ ให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่..[10] ส่วนกรณีที่ถูกพระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรงเช่นเดียวกัน เนื่องจากหากพระเจ้าแผ่นดินจะประหารชีวิตใครก็จะบันทึกเรื่องราวไว้โดยละเอียด แต่ในเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยากลับไม่ปรากฏไว้เลย[10] [แก้] หลักฐานที่ขัดแย้งกัน แม้การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยานั้นจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากแรงโทสะของพระเจ้านันทบุเรง ซึ่งตรงกันทั้งในหลักฐานของไทยและพม่า (บางฉบับ) แต่มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างออกไป โดยกล่าวถึงเจ้าภุ้นชิ่หรือเจ้าหญิงพิษณุโลกได้ตามเสด็จพระราชมารดาออกมาประทับนอกพระราชวังกัมโพชธานี โดยเจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมืองตะลุป ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 พระสุพรรณกัลยามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่ในอังวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้านยองยันจังได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดาอาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้านยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความคุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด จึงคาดได้ว่า ภายใต้การปกครองของพระเจ้านยองยันพระสุพรรณกัลยารวมถึงเจ้าหญิงพิษณุโลกก็ยังทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุขจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด[11] [แก้] การพบหลุมพระศพพระสุพรรณกัลยา เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 มีการขุดพบหลุมแห่งหนึ่งซึ่งมีทั้งพระโกฎทองคำและเครื่องใช้ในราชสำนักจำนวนมากรวมทั้งโครงกระดูกบางส่วนรวมอยู่ด้วย ในระหว่างที่กำลังมีการปรับพื้นดินเพื่อสร้างเมืองใหม่ของพม่าใกล้กับเมืองปีนมานา ในภาคกลางของพม่า โดยมีการพูดคุยในหมู่นายทหารระดับสูงของพม่าว่า หลุมดังกล่าวคาดว่าเป็นหลุมพระศพของพระสุพรรณกัลยา เนื่องจากเครื่องใช้ราชสำนักบางส่วนมีลักษณะคล้ายลวดลายไทย แหล่งข่าวดังกล่าวเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ทางกองทัพพม่าได้สั่งระงับการสร้างเมืองดังกล่าวไว้ชั่วคราว และพยายามปิดข่าวนี้อย่างมิดชิด เนื่องจากเกรงว่าจะมีการขอเข้าไปตรวจสอบและทวงทรัพย์สมบัติล้ำค่าจากทางการไทย[12] พระสุพรรณกัลยา จากละครเรื่อง กษัตริยา (พ.ศ. ๒๕๔๗) รับบทโดย วรัทยา นิลคูหา[แก้] พระนามต่างๆ สุวรรณกัลยา จากคำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง จันทรกัลยา จากคำให้การชาวกรุงเก่า พระสุวรรณ จากพงศาวดารฉบับอูกาลา มะเมี้ยวโหย่ แปลว่าผู้จงรักภักดีในเผ่าพันธุ์ตน จากพงศาวดารของมหาสีหตู พระสุวรรณเทวี จากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระสุพรรณกัลยาณี จากพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ [แก้] สถานที่เกี่ยวกับพระองค์ พระราชานุสาวรีย์พระสุพรรณกัลยาณี ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (กองทัพภาคที่ 3) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พระบรมรูปพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ วัดลาดสิงห์ ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระเจดีย์ ณ วัดบ้านน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระสุพรรณกัลยาไว้ด้วย[13] [แก้] ราชตระกูล พระราชตระกูลในพระสุพรรณกัลยา สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) พระวิสุทธิกษัตรีย์ สมเด็จพระสุริโยทัย [แก้] อ้างอิง ^ http://www.vcharkarn.com/vcafe/36379 ^ http://aco.psru.ac.th/400year/prasupan.htm ^ http://aco.psru.ac.th/400year/prasupan.htm ^ อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์, หน้า 183 ^ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 271 ^ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 273 ^ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 275 ^ ถั่นทุน (เขียน) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (แปล)."ชาวอยุธยาในพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์พม่าในปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17)".ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. อยุธยาประวัติศาสตร์และการเมือง ^ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 283-287 ^ 10.0 10.1 อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์, หน้า 184 ^ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 293-295 ^ http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=209&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai ^ http://writer.dek-d.com/Blink-wizarD/story/view.php?id=148186 ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์. พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2550 สุเจน กรรพฤทธิ์. สารคดีพิเศษ:จากพิษณุโลกสู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราชนอกกรอบประวัติศาสตร์ "ชาตินิยม". อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ. สมุทรปราการ:มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553 ISBN 978-616-7202-06-8 มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart). โยเดียกับราชวงศ์พม่า:เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, พ.ศ. 2550 กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตำนานนางกษัตริย์. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553. หน้า 259-307 ISBN 978-974-341-666-8 ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2&oldid=3625183". หมวดหมู่: บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2095บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2135ราชวงศ์สุโขทัยบุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาสตรีในประวัติศาสตร์ไทยพระราชบุตรในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เครื่องมือส่วนตัว ล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้ เนมสเปซ บทความ อภิปราย สิ่งที่แตกต่างดู เนื้อหา แก้ไข ประวัติ การกระทำสืบค้น ป้ายบอกทาง หน้าหลัก ถามคำถาม บทความคัดสรร บทความคุณภาพ เหตุการณ์ปัจจุบัน สุ่มบทความ มีส่วนร่วม ศาลาประชาคม ปรับปรุงล่าสุด เรียนรู้การใช้งาน ติดต่อวิกิพีเดีย บริจาคให้วิกิพีเดีย วิธีใช้ พิมพ์/ส่งออก สร้างหนังสือ ดาวน์โหลดในชื่อ PDF หน้าสำหรับพิมพ์ เครื่องมือ หน้าที่ลิงก์มา การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง อัปโหลด หน้าพิเศษ ลิงก์ถาวร อ้างอิงบทความนี้ |