จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มกราคม 28, 2025, 11:14:30 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: มกราคม 23, 2025, 07:07:58 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
คู่รักสมรสเท่าเทียม คู่แรกของจังหวัดกำแพงเพชร เข้าจดทะเบียนสมรสด้วยความชื่นมืน มีเพื่อนร่วมแสดงความยินดีกับทั้งคู่ เผยหลังจดทะเบียนมีแผนจะไปเที่ยวญี่ปุ่น เพื่อฉลองความรักของทั้งสองที่มีมายาวนาน 14 ปี
เนื้อข่าว
 วันที่ 23 ม.ค. 68 ที่ว่าการการอำเภอเมืองกำแพงเพชร(หลังใหม่) ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร “หมอเจ” นายอนุศักดิ์ เพชรัตน์ อายุ 31 เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน และ “หมอแล้วแต่” นายสิทธิกร สุดลอด อายุ 31 พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านไตรตรึงษ์ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ทั้งคู่จับมือกันเดินทางมาจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมกัน เป็นคู่แรกของจังหวัดกำแพงเพชร คู่แรกของอำเภอหลังใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จเปิดทำการไม่นานมานี้ โดยมีเพื่อนร่วมเดินทางมาแสดงความยินดีกันอย่างคึกคัก มอบช่อดอกไม้ให้กับทั้งคู่ ท่างกลางสักขีพยานมากมายที่มาร่วมยินดีด้วยเช่นกัน
 หลังจากทั้งคู่ได้ยื่นหลักฐานในการสมรส เจ้าหน้าที่ได้ทำการบันทึกและจดทะเบียนสมรสให้โดยมีนายโชคชัย รักเกื้อ นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นผู้ลงนามในทะเบียนสมรส จากนั้นนายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวความยินดี เพื่อเป็นเกียรติให้กับทั้งคู่ พร้อมกับมอบทะเบียนสมรสให้ โดยทั้งสองมีความตื่นเต้นมากหลังจากรอคอยความรักที่สมหวังมานานถึง 14 ปี
 เพื่อเป็นการฉลองความรักของทั้งคู่ มีแผนที่จะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายปีนี้ จากนั้นได้โชว์ฉลากกินแบ่งรัฐบาลโดยเลยท้าย 123 ทั้งคู่เชื้อว่าเป็นเลขมงคล เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ส่วนเรื่องบุตรทั้งคู่เปิดเผยว่า หมากมีโอกาส และมีความพร้อมที่จะรับบุตรบุญธรรมมาเป็นครอบครัว มีความยินดีแต่ต้องขอปรึกษาวางแผนชีวิตก่อน
ส่วนเรื่องของความรักนั้นเจอกันตอนมัธยม สมัยนั้นคุยผ่านแอพพลิเคชั่น “เอ็มเอสเอ็นออนไลน์(msn online)คุยกันสองเดือนแบบไม่เห็นหน้า จนนัดมาเจอกันตอนงานลอยกระทง จากนั้นก็คุยกันอยู่อีกหกเดือน จึงตกลงคบหากัน และใช้ชีวิตคู่กันมาจนปัจจุบันเป็นระยะเวลาถึง 14 ปี
ส่วนอุปสรรคหรือการไม่ยอมรับจากครอบครัว คนรอบข้างหรือสุงคมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ค่อนข้างที่จะเข้าใจไม่มีปัญหาอะไรเข้ามาเลย โดยเฉพาะพ่อแม่เข้าใจเราทั้งสองดีมาก
ในส่วนการติดตามในเรื่องพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม ก็ติดตามกันมานานตั้งแต่มีการเริ่มพูดถึง ที่สำคัญในเรื่องนี้ทั้งสองเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จะเจอกับเรื่องนี้เสมอว่า เวลาตัดสินใจอะไรในทางการแพทย์ จะต้องเป็นญาติสายตรงหรือพ่อแม่ในการตัดสินใจ โดยเฉพาะคู่สมรส การมีสมรสเท่าเทียมมันจะเอื้อประโยชน์ในการรักษาได้
ส่วนความรู้สึกที่จะต้องได้เป็นคู่รักคู่แรกของจังหวัดกำแพงเพชร ที่จะได้รับการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมนั้น คือตอนแรกตนพูดเล่นๆว่าอยากเป็นคู่แรกของจังหวัดของประเทศ ทำให้พี่ๆที่เป็นข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ช่วยดำเนินการให้ทันที จนได้เป็นคู่แรกจริงๆตอนนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นแล้ว*****

 2 
 เมื่อ: มกราคม 20, 2025, 11:48:45 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา

เนื้อหา
1   บทนำ
2   ข้อมูลทั่วไป
3   ชีวประวัติ
4   การดำเนินชีวิต
5   ความชำนาญ
6   ช่องทางการเผยแพร่ผลงานในปัจจุบัน
7   ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง
8   ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัล อื่นๆ
9   ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม (ระดับชุมชน/ท้องถิ่น/อำเภอ/ประเทศ)
10   เครื่องราชอิสริยาภรณ์/ เกียรติคุณ / รางวัลที่เคยได้รับ
บทนำ
         บทความมีวัตถุประสงค์กล่าวถึงเรื่องราวของ นายสันติ อภัยราช การทำงานครูภูมิปัญญาไทย เป็นงานที่มีเกียรติยิ่งนัก เพราะวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญานับวันที่จะไม่มีผู้ดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟู เหตุผลที่สำคัญคือ คนในชาติขาดจิตสำนึก ในความเป็นไทย ยกย่องเชิดชูต่างชาติ มากกว่าชาติของตนเอง รากเหง้าความรู้และภูมิปัญญานับวันจะหายไปจากสังคมไทย ภูมิปัญญาที่อยู่ทั่วแผนดินต่างอ่อนล้า ขาดคนสนับสนุนเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างที่สุดที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตระหนักในความสำคัญในข้อนี้ จึงได้ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทย ในด้านต่างๆขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม และยังมอบทุนในการดำเนินการทำงานวิจัยครูภูมิปัญญา จึงทำให้ครูภูมิปัญญามีกำลังใจในการดำเนินงานมากขึ้น กว่าที่เคยปฏิบัติ ครูสันติ อภัยราช เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 6 ด้านภาษาและวรรณกรรม ทำหน้าที่สืบสานสร้างสรรค์ทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย ในการจัดการศึกษาอันเป็นเกียรติภูมิของแผ่นดินมาโดยตลอดกว่า 40 ปี
         การรวบรวมผลงานทั้งหมดของครูสันติ อภัยราช อันมีตำรา ภาษาและวรรณกรรมกว่า 100 เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ นำเสนอในระบบวีดีทัศน์ ทางอินเทอร์เน็ต อีกกว่า 600 เรื่อง รวมทั้งบทความและการออกอากาศ ทางวิทยุ อีกกว่า 10 สถานี และการออกบรรยาย สอนสาธิต และอภิปราย อีกนับร้อยครั้งต่อปี เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างสมเหตุผล
คำสำคัญ : อาจารย์สันติ,ปราชญ์ท้องถิ่น

ข้อมูลทั่วไป
         ชื่อ นายสันติ  อภัยราช 
         ตำแหน่ง ข้าราชการบำนาญ อดีต ครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ
         เกิดวันที่ 4 เดือน ตุลาคม  พ.ศ. 2490  ภูมิลำเนา ตำบลในเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
         ที่อยู่ บ้านเลขที่  202 /14 หมู่ที่ 3 ซอยอภัยราช  ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ชีวประวัติ
         ชีวิตวัยเด็ก นายสันติ อภัยราช เป็นบุตรของนายเสรี อภัยราช  และ นางเสงี่ยม อภัยราช ในวัยเด็กมีความสนใจและชอบศึกษา ด้านภาษาและวรรณกรรม จากการอ่านวรรณคดี และวรรณกรรมตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือออก และเรียนรู้จากการฟังการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ประเภทมุขปาฐะ จากปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่ พระภิกษุ และชอบท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ร่วมศึกษาจารึกที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ภาษาถิ่นของทุกอำเภอในเมืองกำแพงเพชร ขณะเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร มีนายอั๋น  ทิมาสาร เป็นครูใหญ่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ท่านมอบหมายให้ทำงานในโรงเรียนดูแลเอกสารหนังสือ จัดห้อง จัดหนังสือ แจกหนังสือ ดูแลกระดานชนวน ที่เด็ก ๆ ส่งมาตรวจสอบและเป็นผู้ตรวจสอบว่ามีใครส่งบ้าง ใครเขียนถูกเขียนผิดอย่างไร เมื่อพุทธศักราช 2496 บิดาได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ขณะนั้นกำแพงเพชรมี 4 อำเภอ คืออำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอพรานกระต่าย อำเภอขาณุวรลักษบุรี มารดาเป็นแม่ค้าขายขนมหวาน ในตลาดคลองขลุง ตอนเช้าต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน เพื่อช่วยทำขนมหวาน เช่น วุ้น ตะโก้ ขนมฟักทอง ถั่วแปบ เป็นต้น ออกไปขายด้วยตนเองตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ เมื่อได้เวลา แปดนาฬิกา จะต้องเดินไปโรงเรียน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นผู้ตั้งใจเรียนรู้ ได้รับความเมตตาจากครูทุกคนให้เป็นหัวหน้าห้องมาโดยตลอด ในเวลาเย็นเมื่อกลับจากโรงเรียนก็จะมาขายขนมที่มารดาทำในตอนกลางวันไปขายในตลาดและตามบ้านผู้คน ในตอนค่ำคุณย่าซึ่งในอดีตเป็นนางเอกละครของพระยาสุจริตรักษา เจ้าเมืองตาก มีความสนใจในวรรณคดีไทย แต่ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ท่านจึงจ้างให้อ่านให้ฟังทุกวัน จึงส่งผลให้นายสันติ อภัยราช สามารถจำวรรณคดีไทยได้หลาย ๆ เรื่อง และก่อให้เกิดความสนใจวรรณคดีไทยและวรรณกรรมไทยทุกเรื่องตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ
         เมื่อปีพุทธศักราช 2500 คุณพ่อได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร ทั้งครอบครัวได้ย้ายตามมาอยู่เมืองกำแพงเพชร คุณพ่อได้มอบหมายให้มีหน้าที่ซ่อมสามล้อรับจ้าง ซึ่งพ่อมีให้เช่าจำนวนหลายสิบคัน ปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน เป็นเวลา 6 ปี ทำให้ชำนาญ คนปั่นสามล้อนั้นมีหลายคนที่มีความรู้มาก มีทั้งนักขุดพระ นักเลงเก่า นักมวย ทำให้ได้พบผู้คนอย่างหลากหลาย และด้วยมีบ้านติดกับ ลุงหอม รามสูต ลูกชายหลวงพิพิธอภัย (หวน) หลวงพิพิธอภัยเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ท่านให้ความเมตตามากพาไปเที่ยวชมไร่ในเมืองเก่าด้วย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เล่าเรื่องในอดีตให้ฟังตลอดการเดินทาง ทำให้มีโอกาสทราบเรื่องเมืองกำแพงเพชรในอดีตอย่างละเอียด
ด้านการศึกษา

         ระดับประถมศึกษา เริ่มเรียนก่อนประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 4
         ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัชรราษฎร์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
         อนุปริญญา วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
         ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตรถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
         ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
ด้านชีวิตครอบครัว

         สมรสกับนางจันทินี อภัยราช (จารุวัฒน์) อดีตอาจารย์ 3 ระดับ 8 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม มีบุตร 1 คน ชื่อนายอรรถ อภัยราช อดีตพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดกำแพงเพชร
ด้านการทำงาน

         เริ่มรับราชการในตำแหน่ง ครูตรี โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และดำรงตำแหน่งวิทยฐานะที่สำคัญดังนี้
         1 พฤศจิกายน 2520    อาจารย์ 1 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี
         1 กุมภาพันธ์ 2535    อาจารย์ 2 โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
         24 กันยายน 2543   อาจารย์ 3 โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
         1 เมษายน 2548      ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4) โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
การดำเนินชีวิต
         นายสันติ อภัยราช เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดที่บ้านพักปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ปัจจุบันอายุ 60 ปี เนื่องจากบิดา นายเสรี อภัยราช มาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร มารดาชื่อนางเสงี่ยม อภัยราช ทำหน้าที่แม่บ้าน เมื่ออายุได้ขวบเศษ บิดาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จึงได้ไปเติบโตที่อำเภอคลองขลุง โดยเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง ในระดับประถมปีที่ 1-4 เมื่อวัยเยาว์ได้ศึกษาวรรณคดี วรรณกรรมภาษา จากพ่อและแม่ ซึ่งเป็นผู้ทรงความรู้ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างดียิ่ง ศึกษาจากตำราที่หาได้จากอำเภอคลองขลุงทุกเล่ม จนมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น เมื่อว่างจากการเรียนรู้ ได้ขายขนมในตลาดสดคลองขลุงทุกวันโดยตื่นตั้งแต่ตี 4 ทุกวันช่วยมารดาทำขนมหวานทุกชนิด เมื่อเสร็จราว 6 โมงเช้า ได้นำไปขายด้วยตนเอง ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ถึง 12 ขวบ ทุกวัน เมื่อมีรายได้จากการ  แบ่งให้ของมารดานำไปซื้อหนังสือนิทาน ของเสรี เปรมฤทัย มาอ่านทุกเรื่อง นอกจากอ่านหนังสือ ได้ตามผู้ใหญ่ในละแวกบ้านไปท่องเที่ยวทุกตำบล หมู่บ้าน ในวันหยุดทุกสัปดาห์ ในวันพระทุกวันพระ ได้ตามยายและแม่ไปวัดทุกวันพระ จนเข้าใจในเรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ตามประสาเด็กๆ
         เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 บิดาได้ย้ายกลับมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร อีกครั้ง ได้กลับมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัชราษฎร์วิทยาลัย โรงเรียนชายประจำจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นเมื่อมาอยู่กำแพงเพชร เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่า ในวันหยุดทุกสัปดาห์ได้ตามผู้ใหญ่ไปศึกษาเมืองโบราณอย่างเข้าใจ โดยละเอียด ได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆจากเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นเนื่องจากไปเป็นลูกศิษย์ของท่านอย่างละเอียด ทุกเรื่องจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระหว่างเรียนเนื่องจากเป็นคนพูดน้อย แต่ชอบเล่านิทาน ในระหว่างพักเที่ยงจึงมีเพื่อนมานั่งล้อมวงฟังนิทานกันทุกวัน จนครูประจำชั้นให้ทำหน้าที่สอนแทน เมื่อครูติดธุระเป็นเหตุให้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าชั้นทุกปี
         เมื่ออายุได้ราว 14 –15 ปี ได้ศึกษาดนตรีสากล ดนตรีไทย และมวยไทย อย่างละเอียด จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จัดว่าเป็นคนเรียนหนังสือเก่งมากคนหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อจบการศึกษาโรงเรียนและจังหวัดกำแพงเพชร ได้คัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครู และเรียนเก่งที่สุด ไปเรียนครูที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เรียนอยู่ 4 ปี โดยเลือกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย เป็นวิชาเอก ระยะเรียนได้ออกค่ายชนบทบ่อยมาก ไปฝึกสอนโรงเรียนที่ไกลที่สุด เป็นหัวหน้าหน่วยฝึกสอน ทั้งประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ผลการเรียนอยู่ระดับค่อนข้างดี
         เมื่อจบระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงจากวิทยาลัยครูพิบูลสงครามแล้ว บิดาซึ่งปลัดอำเภอเสียชีวิต จึงไปหางานทำในกรุงเทพตามแบบฉบับของเด็กบ้านนอก และไปสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในภาคค่ำ ในสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทยเหมือนเดิม ตอนเช้าไปสอนหนังสือโรงเรียนเอกชนที่โรงเรียนศึกษาวิทยา สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตอนเย็นไปเรียนที่ประสานมิตร ที่นี้ให้อะไรมากมายทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ เปลี่ยนโรงเรียนมาสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา คลองตัน กรุงเทพมหานคร ให้ใกล้วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรมากขึ้น เพื่อสะดวกในการเดินทาง โดยเดินทางโดยเรือในคลองแสนแสบ เมื่อจบการศึกษาได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณคดีไทย
         ไปสอนที่โรงเรียนพณิชยการมักกะสัน ดินแดง กรุงเทพ 3 ปี ไปสอนโรงเรียนช่างกลสยาม ท่าพระ กรุงเทพ อีก 3 ปี จึงสอบบรรจุเข้ารับราชการในปีการศึกษา 2518 ที่โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพ ได้ปีเศษ เกิดเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถูกย้ายมาอยู่ชานเมืองนนทบุรี โรงเรียนเล็กๆในขณะนั้น คือโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี ทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนรัตนาธิเบศร์จนกระทั่งพุทธศักราช 2535 ขณะทำงานได้ศึกษาด้วยตนเองที่หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุเกือบทุกวัน ในระหว่างนั้นได้ศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เป็นรุ่นแรก 3 ปีจบ ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต อย่างภาคภูมิใจ
         ได้ตั้งใจไว้ว่าเมื่อมีประสบการณ์ พอสมควรแล้วจะกลับมาพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง เมื่อถึงเวลาจึงขอย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 6 ที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงพื้นที่ ทำงานด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างจริงจังและเต็มความสามารถ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้รู้ในเมืองกำแพงเพชร
         ในปีพุทธศักราช 2539 ทำงานได้รับผลดีมากมาย จึงได้รับคัดเลือก จากกรมสามัญศึกษา ให้ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ณ ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
         ได้เลื่อนระดับเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 8 ในปีการศึกษา 2539 และได้เลื่อนเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 9 ในวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น ในปีการศึกษา 2542 และได้รับเกียรติคุณอย่างมากมายในที่สุดหลังจากการทำงานอย่างหนัก
ความชำนาญ
         ด้านการวิจัยส่งเสริมวรรณกรรม มีการสำรวจศึกษา สังเคราะห์  วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ถ่ายทอด ส่งเสริม เอตทัคคะ แลกเปลี่ยน ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรและรวบรวมสร้างเป็นองค์ความรู้ ตีพิมพ์เพื่อให้ผู้อื่นได้ศึกษา   
         การอนุรักษ์วรรณกรรม มีการนำวรรณกรรมมาศึกษาไว้ในระบบออนไลน์ ให้คนมีความรัก ความหวงแหน และความเข้าใจ และภูมิใจในความเป็นคนไทย มีกิจกรรมศึกษาอย่างมีหลักการทำให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
         ด้านงานฟื้นฟูวรรณกรรม มีการเลือกสรรวรรณกรรมที่สูญหาย หรือกำลังเสื่อมสลาย ให้ความหมายและให้ความสำคัญ ต่อการดำเนินชีวิต ของผู้เกี่ยวข้อง  โดยมีกิจกรรมที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์ต่อสังคม
         นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย  ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง
ช่องทางการเผยแพร่ผลงานในปัจจุบัน
         1. ได้จัดรายการในเฟสบุ๊คไลฟ์ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความรู้ทั่วไป ด้วยการคำนึงถึงช่องทางสื่อออนไลน์ที่สำคัญในปัจจุบัน
         2. การจัดกายการวิทยุ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และข้อมูล ดังนี้
             2.1 รายการรักไทย รักถิ่น รักแผ่นดินกำแพงเพชร ทุกวันอังคาร ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกำแพงเพชร เวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น.
             2.2 รายการสนทนา ประสาคนกำแพงเพชร  ทุกวันพุธ เวลา 15.00 – 17.00 น. ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร
             2.3 รายการลั่นเมือง ทุกวันเสาร์ เวลา 11.00 – 12.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท.กำแพงเพชร
         3. เรือนจันทน์ แหล่งเรียนรู้  เป็นการเปิดใช้บ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมให้แก่ผู้สนใจ มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ครู อาจารย์ สื่อมวลชนจากสำนักต่าง ๆ เข้ามาขอความรู้อย่างหลากหลายเกือบทุกวัน
ภาพที่ 1 การสัมภาษณ์อาจารย์สันติ.jpg
ภาพที่ 1 การสัมภาษณ์อาจารย์สันติ อภัยราช วันที่ 23 มีนาคม 2562

ภาพที่ 2 การสัมภาษณ์อาจารย์สันติ.jpg
ภาพที่ 2 การสัมภาษณ์อาจารย์สันติ อภัยราช วันที่ 23 มีนาคม 2562

ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง
         นายสันติ อภัยราช ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชร และจัดสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม หรือผลงานที่มีคุณภาพ สามารถนำไปเผยแพร่ในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
         นายสันติ  อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ที่ตกผลึกจากการศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเองและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เกิดชิ้นงานนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์และตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม โดยมีการเผยแพร่ให้รับรู้รับทราบได้ในหลายช่องทางทั้งด้วยตนเอง เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ สามารถเปิดอ่านเพื่อการเรียนรู้ได้ทั่วโลก ผลงานสำคัญมีดังนี้
         1) การวิจัยและพัฒนา ตีพิมพ์เผยแพร่ การบรรยายในด้านภาษาและวรรณกรรม กว่า 30 เรื่อง
         2) จัดการแสดง แสง สี เสียง ในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานประเพณีลอยกระทง นำวรรณกรรมท้องถิ่นมาเสนอในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง มากกว่า 10 ปี ในตำแหน่งผู้เขียนบท และผู้กำกับการแสดงทุกปี
         3) การเป็นวิทยากร นำเสนอเรื่องของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นในทุกระดับการศึกษาต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี
         4) การดำเนินรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางเคเบิลท้องถิ่น ต่อเนื่องมากว่า 6 ปี จำนวนหลายร้อยเรื่อง
         5) การดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งระบบ เรื่อง ภาพ และวิดีโอ เพื่อเผยแพร่ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นหลายร้อยเรื่อง
         6) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
         7) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 11 อำเภอ
         เจ๋ง การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมตำบล 28 ตำบล
         9) การสร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย จังหวัดกำแพงเพชร
         10) การสร้างเครือข่ายสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
         11) การสร้างเครือข่ายชมรมนักกลอนนครชากังราว
         12) การสร้างเครือข่ายองค์การอาสาประชาธิปไตยกำแพงเพชร
         13) แผนการสอนและเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาการพูด ผลงานทางวิชาการระดับ 8
         14) แผนการสอนและเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น ผลงานทางวิชาการระดับ 9
         15) เอกสารและตำราทางวิชาการ จำนวน 107 เล่ม ซึ่งทุกเล่มสามารถเปิดอ่านได้จากเว็บไซต์
         16) จดหมายเหตุทางวัฒนธรรมกำแพงเพชร ซึ่งรวบรวมเรื่องราวของจังหวัดกำแพงเพชรและเรื่องทั่วไปที่มีประโยชน์ต่อสังคม
         17) โทรทัศน์วัฒนธรรม เป็นการบันทึกวีดีทัศน์เรื่องราวสำคัญต่างๆ จำนวน 708 เรื่อง ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร วัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร บุคคลดีเด่นเมืองกำแพงเพชร การแสดงแสงสีเสียง การแสดงของนักเรียน เพลงกับเมืองกำแพงเพชร มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เป็นต้น
ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัล อื่นๆ
         ผลงาน (ความเชี่ยวชาญภูมิปัญญาด้านภาษา วรรณกรรม และ วัฒนธรรม ประเพณี) เป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม
         - ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชร โดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้ง จำนวน 351 หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นจากหลายสถาบัน
         - ผลงานเรื่อง งานวิจัยและถ่ายถอด เอกสารจดหมายเหตุเรื่องเมืองกำแพงเพชร ใบบอกในสมัยรัชกาลที่ 5 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เล่มที่ 1 จำนวน 85 หน้า พิมพ์ 1,000 เล่ม เล่มที่ 2 จำนวน 68 หน้า พิมพ์ 1,000 เล่ม
         - ผลงานเรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกำแพงเพชร (ทำหน้าที่บรรณาธิการ) จำนวน 307 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาวิจัย เรื่อง ประวัติความเป็นมาของศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จวางศิลาฤกษ์ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2540 จำนวน 57 หน้า พิมพ์จำนวน 3,000 เล่ม
         - ผลงานศึกษา วิเคราะห์วิจัย ถ่ายทอด จารึกที่พบในเมืองกำแพงเพชร ปีพุทธศักราช 2545 จำนวน 104 หน้า จำนวนพิมพ์ 500 เล่ม จำหน่ายจ่ายแจกไปทั่วประเทศ
         - ผลงานศึกษาวิจัย เรื่องเดินเท้าสำรวจถนนพระร่วง ด้วยระบบ GPS. สำรวจด้วยดาวเทียม จำนวน 133 หน้า จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม เผยแพร่ ไปทุกชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร และผู้สนใจทั่วไป
         - ผลงานประมวลภาพ ฝีพระหัตถ์ เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อครบร้อยปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเมืองกำแพงเพชร 120 หน้า พิมพ์จำนวน 500 ฉบับ เผยแพร่ไปทั่วประเทศ
         - ผลงานวิจัย ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร จำนวน 149 หน้า พิมพ์จำนวน 1,000 เล่ม เป็นแบบเรียนรายวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน 97 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องคณฑี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณฑี จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน 103 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน 120 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอพรานกระต่าย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอพรานกระต่าย จำนวน 140 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอลานกระบือ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอลานกระบือ จำนวน 170 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่ เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศและทั่วโลก ความยาวประมาณ 15 – 30 นาที ในเรื่องของ
             - พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน 11 ตอน
             - แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 52 ตอน
             - คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 ตอน
             - วัฒนธรรม ประเพณี ในจังหวัดกำแพงเพชร 22 ตอน
         - ผลงานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน หลายร้อยเรื่อง
         - ผลงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ นำภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอทางรูปแบบ วิดีโอ และ อินเตอร์เนต ทำให้ผู้สนใจทั่วโลกได้ชมเรื่องราวของความเป็นไทย
ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม (ระดับชุมชน/ท้องถิ่น/อำเภอ/ประเทศ)
         ระดับชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ
          - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัยเรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน 97 หน้า จำนวน 1.000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องคณฑี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณฑี จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน 103 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน 120 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         ระดับประเทศ
         - ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชร โดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้ง จำนวน 351 หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัย ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นจากหลายสถาบัน
         - ผลงานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่น ทั่วประเทศ และทั่วโลก ความยาวประมาณ 15 – 30 นาที ในเรื่องของ
             - พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน 11 ตอน
             - แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 52 ตอน
             - คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 ตอน
             - วัฒนธรรม ประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร 22 ตอน
         - ผลงานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน หลายร้อยเรื่อง
ภาพที่ 3 เว็บไซต์รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม.jpg
ภาพที่ 3 เว็บไซต์รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม, 2562, ออนไลน์

ภาพที่ 4 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร.jpg
ภาพที่ 4 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์

ภาพที่ 5 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร.jpg
ภาพที่ 5 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์

ภาพที่ 6 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร.jpg
ภาพที่ 6 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์

ภาพที่ 7 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร.jpg
ภาพที่ 7 จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์/ เกียรติคุณ / รางวัลที่เคยได้รับ
         เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ
             - ป.ม. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
             - ป.ช. ประถมาภรณ์ช้างเผือก
         เกียรติคุณ ที่ได้รับ
             - อาจารย์ 3 ระดับ 9 กรมสามัญศึกษา (สพท.กำแพงเพชร)
             - ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติ
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานการศึกษากำแพงเพชร เขต 1
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
             - รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
             - ครูต้นแบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
         รางวัลที่เคยได้รับ ที่ได้รับ
             - ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ครูแม่แบบภาษาไทยดีเด่นระดับประเทศ
             - คนดีศรีกำแพงเพชร
             - ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมกำแพงเพชร
             - ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม
             - บุคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
             - บุคคลดีเด่นแห่งปี 2543 จากหนังสือพิมพ์ไท สยาม
             - บุคคลเกียรติยศ จากหนังสือพิมพ์ประชาไทย
             - ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา) จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
             - ได้รับรางวัลไปศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรม ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
รายการเลือกการนำทาง
ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบพูดคุยส่วนร่วมสร้างบัญชีเข้าสู่ระบบ
หน้าอภิปรายอ่านแก้ไขดูประวัติค้นหา
ค้นหา KPPStudies
หน้าหลัก
เปลี่ยนแปลงล่าสุด
สุ่มหน้า
Help about MediaWiki
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
รุ่นพร้อมพิมพ์
ลิงก์ถาวร
สารสนเทศหน้า
หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 เวลา 10:49
นโยบายความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับKPPStudiesข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
Powered by MediaWiki

 3 
 เมื่อ: มกราคม 20, 2025, 11:27:39 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
=== การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบบทการแสดงแสง สี เสียง “ปฐมบทแห่งศรัทธา ตามรอยจารึกทรงคุณค่า นบพระ-เล่นเพลงคงคู่ฟ้า เทิดทูนบูรพกษัตริย์ไทย” ในงานประเพณี “นบพระ-เล่นเพลง และงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๘ ===

วันจันทร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๘  เวลา ๐๙.๐๐ น.
นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบบทการแสดงแสง สี เสียง “ปฐมบทแห่งศรัทธา ตามรอยจารึกทรงคุณค่า นบพระ-เล่นเพลงคงคู่ฟ้า เทิดทูนบูรพกษัตริย์ไทย” ในงานประเพณี “นบพระ-เล่นเพลง และงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๘ ด้วยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินโครงการสร้างกิจกรรมรองรับการท่องเที่ยว กิจกรรมหลัก ส่งเสริมกิจกรรมงานประเพณีของจังหวัด (กำแพงเพชรเมืองสร้างสรรค์ วัฒนธรรมสร้างสุข) กิจการย่อย งานประเพณี “นบพระ-เล่นเพลง และงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๘ โดยการแสดงดังกล่าวจะจัดระหว่างวันที่ ๒๑ และ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ บริเวณวัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งการเป็นจัดการแสดง แสง สี เสียง ที่สื่อถึงอัตลักษณ์ รูปแบบ ประเพณีวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และความยิ่งใหญ่ของงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยที่มีต่อปวงชนชาวจังหวัดกำแพงเพชร อีกทั้งยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร สู่สายตานักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมงานประเพณีของจังหวัดกำแพงเพชร และนำต้นทุนทางวัฒนธรรมนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสร้างรายได้แก่ชุมชน และปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันทรงคุณค่า และร่วมกันธำรงรักษา สืบสานไว้ให้มั่นคง โดยใช้ชื่อการแสดงแสง สี เสียง ครั้งนี้ว่า “ปฐมบทแห่งศรัทธา ตามรอยจารึกทรงคุณค่า นบพระ-เล่นเพลงคงคู่ฟ้า เทิดทูนบูรพกษัตริย์ไทย” เพื่อให้ตอบโจทย์และตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ภายในที่ประชุมได้มีการพิจารณารายละเอียดบทการแสดง เพื่อให้การแสดงมีความสมบูรณ์ และถูกต้องตามประวัติศาสตร์
ในการนี้ นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางสาวระวีวรรณ โตวารี ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ดำเนินการจัดประชุมฯ โดยมีนายปริญญา ถวัลย์อรรณพ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร นายบัณฑิต ทองอร่าม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นางสาวเบญจวรรณ จันทราช หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร

ขอเชิญกดถูกใจและกดติดตามแฟนเพจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรได้ที่
https://www.facebook.com/KPPProvincialCulturalOffice

 4 
 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2024, 05:17:24 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
สกู๊ปข่าว มรดกโลก งานสั่ง บก.ดำ
     ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร มีมาก กว่า700ปี พบหลักฐานว่า  กำแพงเพชรมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของแคว้นสุโขทัย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระองค์ท่านทรงสันนิษฐานว่าคือเมือง ” เมืองชากังราว”ในอดีต และมีเมืองบริวารรายล้อมเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก

       ภูมิศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชร เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง มีเนื้อที่กว่า5ล้านไร่ แบ่งการปกครอง 11 อำเภอ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวมากมาย อาทิ น้ำตกคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน , ช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เหมาะสำหรับ เดินป่าธรรมชาติ  อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และมีแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอำเภอลานกระบือ มี่แหล่งหินอ่อนคุณภาพดีในอำเภอพรานกระต่าย
  
 ประวัติศาสตร์ของเมืองมีมาอย่างยาวนานร่วมสมัยกับสุโขทัย ซึ่งยูเนสโกโด้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม

โดยอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย และ ศรีสัชนาลัย


สันติ อภัยราช ปราชญ์ท้องถิ่นแผ่นดินกำแพงเพชร กล่าวว่า

ปัจจุบันเมืองโบราณกำแพงเพชรแบ่งเป็น 2 ส่วน คือโบราณสถานฝั่งตะวันออกคือฝั่งเมืองกำแพงเพชร และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงคือเมืองนครชุม

ภายในกำแพงเมืองกำแพงเพชรมีเนื้อที่ 503 ไร่ และนอกกำแพงเมืองเขตอรัญญิกมีเนื้อที่ 1,611 ไร่ โบราณสถานจึงกระจายรอบเมือง และร่มรื่นด้วยป่าไม้ ร่มเย็นและงดงามมาก เวลาตอนเช้าและตอนเย็น มีประชาชนมาออกกำลังเป็นจำนวนมาก

ด้านนอกกำแพงเมืองมีโบราณสถานจำนวนมาก ทั้งวัดในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ กำแพงเมือง และป้อมปราการเมือง ส่วนใหญ่สร้างจากศิลาแลงยิ่งใหญ่ งดงามและแข็งแรง จนมีตำนานว่า พระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง   ทำให้คงทนและเหลือให้เห็นจนถึงปัจจุบัน

โบราณสถานมีวัดสำคัญภายในกำแพงเมือง คือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เป็นศูนย์กลางชองเมือง และเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย จัดแสดงได้อย่างน่าสนใจยิ่งนัก

ส่วนเขตอรัญญิกของเมือง(วัดป่า) เป็นที่ตั้งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดสำคัญ เช่น วัดสิงห์ วัดพระนอน วัดพระสี่อริยบถ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดกำแพงงาม วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ และวัดขนาดใหญ่อีกจำนวนมาก

เขตฝั่งตะวันตกแม่น้ำปิง ตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร เรียกเมือง "นครชุม" เป็นวัดในเขตอรัญญิกเมืองมีวัดสำคัญๆ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ และวัดหนองลังกา และวัดอื่นๆอีกหลายวัด

สำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เป็นอาคารแสดงโบราณวัตถุ ที่ขุดค้นได้ในเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงเรื่องราวของเมืองตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จัดได้อย่างงดงาม และน่าชม
แบ่งยุคเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่
สมัยทราวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน โบราณวัตถุ สำคัญ เช่น พระอิศวร สำริด (ศิลปะอยุธยา) พระพุทธรูปลีลา พบที่วัดกรุสี่ห้อง (ศิลปะสุโขทัย)

วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางเมือง วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสามองค์ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานมีสิงห์ล้อมรอบ 32 ตัว และยังมีเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างรอบฐาน 32 เชือก (วัดช้างเผือก)

วัดพระธาตุ อยู่ติดกับวัดพระแก้ว เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง บนฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังค่อนข้างเล็กเป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร

วัดพระนอน เป็นวัดขนาดใหญ่นอกกำแพงเมือง จุดเด่นของวัดคือเสาวิหารใช้ศิลาแลงแท่งเดียวมีนาดสูงใหญ่ปักเรียงราย

วัดพระสี่อิริยาบถ ตั้งอยู่ทางเหนือวัดพระนอน สิ่งก่อสร้างสำคัญ คือวิหารด้านหลังสร้างเป็นมณฑปแบบจตุรมุขยื่นออกมา 4 ด้าน ผนังแต่ละด้านของแท่งสี่เหลี่ยมเว้าและประดิษฐานพระพุทธรูปแตกต่างกัน คือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือเฉพาะพระยืนทางทิศตะวันตก พระพักตร์มีลักษณะศิลปะสุโขทัย

วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนเนินสูงสุดของเขตอรัญญิก สิ่งก่อสร้างสำคัญสุด คือเจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมยกสูง ฐานล่างประดับปูนปั้นช้าง 68 เชือก พบงานปูนปั้นเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ และงานดินเผารูปเทวดา นางฟ้า กินนร กินรี และหงส์ ด้านหน้าวิหารยังพบสระที่ขุดลงไปเห็นชั้นของศิลาแลง
 
 เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่และงดงามมาก นอกจากจะเป็นเมืองมรดกโลกด้านวัฒนธรรมแล้ว ธรรมชาติยังงดงาม ผุู้คนกำแพงเพขร ยังมีอัธยาศัยที่น่ารัก เป็นกันเอง กำแพงเพชรเป็นเมืองที่สงบ ค่าครองชีพถูก ที่พักมากมาย ราคาจับต้องได้ และที่สำคัญที่สุุด คือผู้หญิงกำแพงเพชรสวย พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่๕ เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๔๙ ทรงชมว่า "ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ามีรูปพรรณสัณฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือ" เชิญมาเที่ยวกำแพงเพชรกันนะครับ


 5 
 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2024, 04:27:51 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
 ความงดงาม แห่งน้ำปิง ประกายแสง
ระยิบระยับ  งานแสดง ฝั่งข้างขวา
แสงไฟจับ ลำน้ำ ตระการตา
พวกเรามา ด้วยรัก ประจักษ์ใจ
 
ขอต้อนรับ เหล่านางฟ้า มหาศาล
งามตระการ กว่าน้ำปิง แสนสดใส
ระรื่นรัก ระรื่นจิต ประทับใจ
จากกันไป  เนิ่นนาน พานพบกัน
  
วิทยาลัย พยาบาล อุตรดิตถ์
ยิ่งมิ่งมิตร ศรัทธา แสนสุขสันต์
รุ่นที่หก เสน่หา สุดรำพัน
มาพบกัน ครั้งที่เก้า  เร้าหัวใจ

กำแพงเพชร เจ้าภาพ แสนมีสุข
เมื่อเพื่อนรัก ไร้ทุกข์ สุขสดใส
จากทุกทิศ หลายจังหวัด ทั้งใกล้ไกล
มีหัวใจ เดียวกัน.อย่างมั่นคง

เราร่วมรัก สามัคคี เป็นที่สุด
ชุดสีขาวบริสุทธิ์ จิตประสงค์
หลายสิบปี เราประกาศ เจตน์จำนง
เรารียนรักร่วมบรรจง กับการงาน

ช่วยชีวิต เพื่อนมนุษย์ สุดประเสริฐ
งามพริ้งเพริศ พยาบาล งานสมาน
แสนชื่นฉ่ำ ราวลำน้า เกริกตระการ
ขอเพื่อนเพื่อน สุขสำราญ  เบิกบานเอย..


 6 
 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2024, 11:38:27 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
   ท่านผู้มีเกียรติ ผู้ยืนหยัดในการต่อสู้และต่อต้าน
การฉ้อราษฎร์บังหลวง  ที่เคารพรักทุกท่่าน
 
      ประเทศไทย ที่เป็นที่รักยิ่ง ของพวกเราทุกคน
กำลังถูกทำลาย ด้วยการคอร์รับชั่น อย่างน่ากลัว
อย่างน่ารังเกียจ  และอย่างน่าสมเพช เวทนาอย่างที่สุด
ถ้าเราเปรียบประเทศไทยเป็นบ้านเป็นเรือนไทยที่งดงาม
 มีศิลปวัฒนธรรมที่อ่อนช้อย และมีภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่่
เป็นที่ยกย่องของคนทั้งโลก คอร์รัปชั้น
อุปมาดังปลวก ที่กัดกินและทำลายบ้านของเรา
 ให้ค่อยๆ พังทลายลง อย่างที่เราไ่ม่รู้ตัว นับวันจะหนักหน่วง
 อย่างที่แทบไม่มีใครใส่ใจ อย่างจริงจัง ทำเป็นไม่เห็นบ้าง
 ทำเป็นยอมรับได้ ถ้าตนเองได้รับผลประโยชน์บ้าง
 ชื่นชม ยกย่อง คนร่ำรวย คนมีตำแหน่ง คนมีหน้้าที่การงานสูง
 ให้ที่ยืน แก่พวกทุจริตคอร์รับชั่นเช่นนี้ เคารพ เรากราบไหว้
 เรายกย่อง เราสรรเสริญ เราเยินยอ ถ้าสังคมไทยเป็นเฉกเช่นนี้
  ไม่มีทางที่จะแก้ไข ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่นได้ และในที่สุด
เรือนไทยของเราก็พังทลายลง  ลูกหลานของเราทุกคน จะอยู่กันได้ฉันใด

    ท่านที่รัก ในความถูกต้องและความเป็นธรรม พี่น้อง ชาวชมรมสตรอง
 ต่อต้้านการทุจริตที่เคารพทุกท่าน
 เราจะแก้ปัญหา พวกปลวกที่บ่อนทำลายชาติของเราได้อย่างไร  
เราจะมีวิธีแก้ไช ปัญหาคอร์รับชั่น ในบ้านเราได้อย่างไร วิธีที่ดีที่สุดในปัจุบันขณะคือ

    " สู้ให้สุด หยุดการโกง "

พวกเรา มาตั้งปณิธาน ร่วมกัน
        
  ๑.เราจะไม่ทำ การโกงการทุจิตในทุกรูปแบบ
 อีกต่อไป แม้มีโอกาส และช่องทางที่จะทำ
 
  ๒. เราจะไม่ทน ต่อการทุจิตที่พบเห็นหรือได้เบาะแส
 อย่างจริงจัง และเชื่อมั่นในสิ่งถูกต้องทั้งขีวิต

  ๓.เราจะไม่เฉย เราจะรายงาน การทุจริต การโกง
 ให้ปปช, ทราบ ในทุกช่องทาง


 ชาวสตรองที่เคารพ ครับ
   คนโกงเราสามารถ หยุดการโกงได้ ด้วยวิธีการอีกรูปแบบหนึ่ง ในระดับชาติคือ
  
    ๑ แก้กฎมายให้มีประสิทธิภาพ แก้ ตราชั่งให้เที่ยงตรง
    ๒ ให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนตระหนักในตวามพอเพียง
ถ้ายังกินหรู อยุู่่สบายรายได้ไม่พอ ต้อง โกงแน่นอน
    ๓ สร้่างจิตสำนึก สาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวม
มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว
    ๔ เลิกยกย่อง คนโกง เลิกเคารพนับถือ คนโกง
เลิกยอมรับและให้ที่ยืนแก่คนโกง

 ถ้าทำเช่นนี้ได้ เราจึงได้ชื่อว่า  "สู้ให้สุด  หยุดการโกง"





    

 7 
 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2024, 07:57:05 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
อาจารย์สันติ อภัยราช
อาจารย์สันติ อภัยราช
ติดต่อ อาจารย์สันติ อภัยราช
รายการต่างๆ
1
การแสดงของนักเรียนการแสดงของนักเรียน
การแสดงพื้นบ้านการแสดงพื้นบ้าน
การแสดงแสงเสียงการแสดงแสงเสียง
คหกรรมศิลป์คหกรรมศิลป์
บุคคลดีเด่นบุคคลดีเด่น
พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชรพระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร
พระเครื่องเมืองกำแพงเพชรพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร
มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ
วัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชรวัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร
วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชรวัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร
เพลงกับเมืองกำแพงเพชรเพลงกับเมืองกำแพงเพชร
แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชรแหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร
Recent Posts
ตำนานถ้ำกระต่ายทอง
พระชุ้มกอ
วัดมหาธาตุ
วัดท้ายเกาะ
วัดตาเถรขี่เกวียน
ต้นไม้ของพ่อ
by admin, on 4666 days ago , under พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร
ต้นไม้ของพ่อ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกต้นสัก หน้าศาลากลาง
จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510 เวลา 14.30 น.

นานมาแล้ว พ่อได้ปลูกต้นไม้ไว้ให้เรา
เพื่อวันหนึ่งจะบังลมหนาว
และคอยเป็นร่มเงา ปลูกไว้ให้พวกเรา ทุกทุกคน
พ่อใช้เหงื่อแทนน้้ารดลงไป เพื่อให้ผลิดอกใบออกผล
ให้เราทุกทุกคนเติบโตอย่างร่มเย็นในบ้านเรา
ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต ……
โดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิ
พลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัต ิสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึง
ต้องทรงอ าลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชด าเนินกลับไปยังประเทศ สวิตเซอร์แลนด ์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช
๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม ในครั้งนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช
๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาล
ทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ
ว่า เราจะครองแผ่นดิน โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา
เฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
ความหมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางรากฐานของประเทศไว้เพื่อประชาชนชาวไทยในอนาคต อยู่อย่างมี
ความสุขและอุดมสมบูรณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายหรือรุนแรง ผลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงงานไว้ จะขจัดโพยภัยทั้งหมด
ประชาชนจะอยู่อย่างเป็นสุขใต้ร่มพระบารมี เพื่อประชาชนไทยทุกคน ทรงเหน็ดเหนื่อยกับภารกิจ ราวกับใช้พระเสโทรดลงไปที่

ต้นไม้ที่ทรง ปลูก เพื่อให้ต้นไม้นั้นได้งอกงาม ประชาชนได้อยู่ในร่มเงา อย่างร่มเย็นในประเทศของเรา
ผ่านมาแล้ว ห้าสิบปี ต้นไม้นั้นสูงใหญ่ ลมแรงเท่าไรก็บรรเทา
ออกผลให้เก็บกินแตกใบเพื่อให้ร่มเงา คอยดูแลเรา ให้เรายังมีวันต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ ศาลากลางจังหวัดก าแพงเพชร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510 เวลา 12.00 น
ความหมาย เหตุการณ์ผ่านมา 50 ปี (ปัจจุบันหกสิบปี) พระราชกรณียกิจที่ทรงกรุณาต่อปวงชนชาวไทย ได้เกิด
ประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่อประชาชนสักเพียงใด ก็สามารถบรรเทาลงได้ ด้วยต้นไม้ของพ่อและผลจากการด าเนิน
โครงการต่างๆท าให้สามารถเก็บผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และประชาชน ได้อย่างถาวรและยั่งยืนตลอดไป ท าให้คนไทยทุกคนมี
อนาคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จจังหวัดก าแพงเพชรครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510

จนวันนี้ ใต้เงาแห่งต้นไม้ต้นใหญ่ ลูกได้อยู่ได้คอยอาศัย
แผ่นดินอันกว้างไกล แต่เหมือนว่าหัวใจพ่อกว้างกว่า
ลูกที่เกิดตรงนี้นั้นยังอยู่และยังอยู่เพื่อคอยรักษา
จะรวมใจเข้ามา จะมีเพียงสัญญาในหัวใจ
ความหมาย ในปัจจุบัน ประชาชนได้อาศัยอยู่ภายในใต้ร่มพระบารมี อย่างร่มเย็นเป็นสุข ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้แผ่นดินไทยของเราจะกว้างใหญ่ไพศาลสักเพียงไทยพระบารมีของพระองค์แผ่ไพศาลไปทั่วทุกอณู
แห่งปฐพี พระราชหฤทัยของพระองค์กว้างใหญ่ไพศาล ยิ่งใหญ่กว่าแผ่นดินไทย ..เราชาวไทยทุกคน จะรวมใจรวมพลังและมีสัญญาใจ
ร่วมกัน ที่จะจงรักภักดีต่อพระบารมีแห่งพระเจ้าอยู่หัว ตราบชีวิตจะหาไม่ชั่วนิจนิรันดร์
บรรดาข้าราชการ เข้าเฝ้ารับเสด็จ คราประพาส เสด็จก าแพงเพชรครั้งที่ 1 จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก ต้องสวยต้องงดงามและยิ่งใหญ่

สืบสานและติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ เหงื่อเราจะเทไป
ให้ต้นไม้ของพ่อยังงดงาม
พระราชจริยวัตรอันงดงามเพื่อปลูกต้นไม้ เพื่อคนไทยทั้งชาติ

ความหมาย
ในอนาคตจากนี้อีกหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูกไว้ ให้กับปวงชนชาวไทย ต้นไม้แห่งสัญลักษณ์ประจ าชาติ รากแก้ว รากเหง้าแห่งแผ่นดิน
เจริญงอกงามในแผ่นดินไทยได้นานแสนนาน นานเท่านาน ทุกสรรพสิ่งในแผ่นดินต่างมาพึ่งพาอาศัย เราต้องด าเนินการดูแลต้นไม้ของ
พ่ออย่างดีที่สุด เราต้องท างานหนักขึ้น ดูแลตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เสมือนกับที่พระองค์ทรง
ปลูกต้นไม้ไว้เพื่อคนไทยทุกคน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนัก ตลอดกว่า 60 ปี ท าให้ประเทศของเราอยู่ได้อย่างร่มเย็น ราษฏรทุก
คนมีความสุขทั้งๆที่ทุกประเทศทั้งโลกประสบภัยพิบัติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนธรรมชาติอันแสน
โหดร้าย แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลท าให้ประเทศไทย คนไทย อยู่รอดปลอดภัยอย่างมีความสุข รอดพ้นจาก
ภยันตรายจากทุกสิ่ง ขณะที่พระองค์ทรงชราภาพมากแล้ว พระพลานามัย ยังไม่แข็งแรง แต่คนไทยเป็นจ านวนมากยัง
ไม่ระลึกพระคุณและยังไม่ตอบแทนพระคุณต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ เราต้องร่วมมือกัน ท าให้พ่อ
ของเรา สบายพระทัยมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น พวกเราคนไทยสามารถท าให้พระเจ้าอยู่หัวสบายพระทัยได้โดยดูแล
ต้นไม้ ที่พ่อปลูกไว้ รักต้นไม้เหมือนที่พ่อดูแลต้นไม้มาตลอด ต้นไม้ของพ่อ จะยั่งยืนนับหมื่นปี เราคนไทยจะอยู่ใต้ร่ม
พระบารมีและร่มเย็นใต้ ต้นไม้ของพ่อ ตลอดไป41 ปีต้นไม้ของพ่อ

นายสันติ อภัยราช
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดก าแพงเพชร
รองประธานสภาวัฒนธรรม 16 จังหวัดภาคเหนือ
เพลงต้นไม้ของพ่อ เป็นเพลงที่ขับร้องโดยธงไชย แมคอินไตย์เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน
วโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 จัดท าโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จ ากัด (มหาชน)ปกหลัง
ต้นไม้ของพ่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนัก ตลอดกว่า 60 ปี ท าให้ประเทศของเราอยู่ได้อย่างร่มเย็น ราษฏรทุกคนมี
ความสุขทั้งๆที่ทุกประเทศทั้งโลกประสบภัยพิบัติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนธรรมชาติอันแสนโหดร้าย แต่
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลท าให้ประเทศไทย คนไทย อยู่รอดปลอดภัยอย่างมีความสุข รอดพ้นจากภยันตรายจาก
ทุกสิ่ง ขณะที่พระองค์ทรงชราภาพมากแล้ว พระพลานามัย ยังไม่แข็งแรง แต่คนไทยเป็นจ านวนมากยังไม่ระลึก
พระคุณและยังไม่ตอบแทนพระคุณต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ เราต้องร่วมมือกัน ท าให้พ่อของเรา
สบายพระทัยมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น พวกเราคนไทยสามารถท าให้พระเจ้าอยู่หัวสบายพระทัยได้โดยดูแลต้นไม้ ที่
พ่อปลูกไว้ รักต้นไม้เหมือนที่พ่อดูแลต้นไม้มาตลอด ต้นไม้ของพ่อ จะยั่งยืนนับหมื่นปี เราคนไทยจะอยู่ใต้ร่มพระ
บารมีและร่มเย็นใต้ร่มแห่ง ต้นไม้ของพ่อ ตลอดไป



Related posts:
ทดสอบการโพสข้อความเพื่อโชว์หมวดหมู่ต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2
คนผมแดง


© All Rights Reserved อาจารย์สันติ อภัยราช  2024Web Design by WPDevThai

Uses wordpress plugins developed by www.http://www.sunti-apairach.com

 8 
 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2024, 08:47:26 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
เจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เฉพาะเท่าที่สามารถตรวจสอบได้จากจารึกพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเท่านั้น มีดังนี้
      (1) พระยางั่ว                                            ก่อน พ.ศ. 1890
      (2) พระยาคำแหง                                       ราวปี พ.ศ. 1916
      (3) พระยาญาณดิศ                                     ราวปี พ.ศ. 1921
      (4) เจ้านครอินทร์                                       ราวปี พ.ศ. 1940
      (5) พระยาบาลเมือง                                    ราวปี พ.ศ. 1962
      (6) พระยาแสนสอยดาว                                ราวปี พ.ศ. 1963
      (7) พระยาศรีธรรมโศกราช                             ราวปี พ.ศ. 2053
      (เจ๋ง ออกญารามรณรงค์สงครามอภัยพิรียะพาหะ      ราวปี พ.ศ. 2178

หลักฐานแสดงความเป็นมา
       1. พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาลิไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย
       2. พระยาคำแหง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งกรุงสุโขทัย ปรากฎหลักฐานในประชุมพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ในปี พ.ศ.1916 และ พ.ศ. 1919 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) เสด็จไปตีชากังราว พระยาคำแหง เจ้าเมืองซากังราว สามารถยกพลเข้าต่อสู้จนกองทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับทั้งสองคราว แสดงว่า พระยาคำแหงเป็นเจ้าเมืองชากังราวอยู่ระหว่าง พ.ศ.1916-1919 อย่างชัดเจน
       3. พระยาญาณดิศ ในปี พ.ศ.1921 ตามพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกทัพมาตีชากังราว พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมแพ้และออกมาถวายบังคม กรุงสุโขทัยต้องขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้จัดแบ่งสุโขทัยออกเป็น 2 ภาค โดยให้พระมหาธรรมราชาที่ 2 ปกครองอาณาเขดทางลำน้ำยมและน่าน โดยมีพิษณุโลกเป็นเมืองเอกภาคหนึ่ง ส่วนด้านลำน้ำปิงให้พระยายุทิษฐิระราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครอง คือบริเวณตากและกำแพงเพชร โดยมีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก และเข้าใจว่าเมืองชากังราว เมืองนครชุม ตลอดจนเมืองอื่นคงจะรวมกันเป็นเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่นั้นมา พระยายุทิษฐิระ หรือที่เรียกกันว่าพระยาญาณดิศก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองกำแพงเพชร ในราวปี 1921
       4. เจ้านครอินทร์ในเรื่องเจ้านครอินทร์เป็นเจ้าครองเมืองกำแพงเพชร อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมคิลปากร ได้นำเสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 บทความเรื่องความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชรว่า…."พ.ศ. 1940 ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือกฎหมายลักษณะโจะได้แสดงความยิ่งใหญ่ทางการปกครองของกษัตริย์ผู้เสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร ทรงพระนาม...จักรพรรดิราชผู้นำหลักกฎหมายหลักนี้มาประกาศไว้ ท่ามกลางเมืองสุโขทัย" และได้ให้ข้อคิดเห็นว่า "กษัตริย์กำแพงเพชรผู้นี้คือ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองกรุงศรีอยุธยา...มีเหตุผลชักจูงให้คิดว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองราชย์สมบัติที่เมืองกำแพงเพชรนั้น คือ.... พระนามจักรพรรดิ์ ปรากฎว่าเป็นพระนามอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ในสุพรรณบัฏ พบที่พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี" ความจริงอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอเหตุผลไว้หลายข้อ แด่เฉพาะข้อนี้ก็พอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระนามจักรพรรดิราช คือพระนามสมเด็จพระนครินทราชาธิราช และพระนามนี้ ก็คือ พระนามของเจ้านครอินทร์ก่อนขึ้นเสวยราชย์ที่กรุงศรีอยุธยา และเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940
       5. พระยาบาลเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บันทึกเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ของพระยาบาลเมืองไว้ ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ.1962 พระอินทรราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นไปปราบจลาจลเมืองเหนือ แล้วโปรดเกล้าฯให้พระยารามคำแหง ครองเมืองสุโขทัยให้พระยาบาลเมือง ครองเมืองชากังราว พระยาบาลเมือง จึงเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1962
       6. พระยาแสนสอยดาว เรื่องราวความเป็นมาของเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้นี้ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เรื่อง ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร “จารึกสมเด็จพระมหารัตนโมลี" ซึ่งพบที่พระเจดีย์เก่า วัดพระยืนกำแพงเพชร และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ.2529 ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้หนึ่ง ชื่อว่า"สมเด็จพระญาสอย" ได้ขึ้นเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพซร เมื่อ พ.ศ. 1963 สมเด็จพระญาสอย ผู้นี้น่าจะตรงกับชื่อ พระยาแสนสอยดาว เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งปรากฎฏชื่อพร้อมเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 3 เมือง ในแควันสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1983 ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ : เลขที่ 222.2/ก 104 จ.ศ.801-803 มัดที่ 27 และจารึกลานเงินที่มีผู้ได้ที่วัดพระมหาธาตุ ในบริเวณวัดพระแก้วระบุว่า เจ้าแสนสอยดาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ พระยาแสนสอยดาวคือเจ้าเมืองกำแพงเพชรตามจารึก
       7. พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้สร้างพระอิศวร บูรณะซ่อมแชมและพัฒนาบ้านเมือง มีการทำชลประทานไปถึงเมืองบางพาน ในปี พ.ศ. 2053 ตามจารึกที่ฐานพระอิศวร พระญาศรีธรรมโศกราช จึงน่าจะเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในสมัยนั้น
       8. ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะ เมืองกำแพงเพชร ตามหลักฐานในกฎหมายตามสามดวง ที่ ตร.ประเสริฐ ณ นคร เสนอไว้ในรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร วิทยาลัยครูกำแพงเพชร 7-9 กุมภาพันธ์ 2527 หน้า 266-267 กล่าวถึงกฎหมายดราสามดวงที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองของท่านผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองกำแพงเพชร พิชัย..หน้า 175 นายทหารหัวเมือง (ควรเป็น พ.ศ.2021) ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะเมืองกำแพงเพชร เมืองโท 10,000 ขึ้น ประแฎงเสนาฎขวา" เจ้าเมืองท่านนี้ จึงน่าจะเป็นผู้ครองเมืองในปี พ.ศ. 2178

คำสำคัญ : ทำเนียบ กำแพงเพชร เจ้าเมืองชากังราว

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

 9 
 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2024, 09:22:55 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
    
       ลมหนาวโชย โบยโบก ใบไม้ร่วง      เกลื่อนกล่นช่วง  ใกล้หนาว  คราวใจหาย
สุภาพบุรุษ ผู้เชี่ยวชาญ ่จากใจกาย           พ่อตือช่างไม้ใหญ่  ในปากคลอง
    
   มีฝีมือ สุูงล้ำ น้ำใจซื่อ                   คนเล่าลือ ความซื่อสัตย์ ไม่มีสอง
สอนลูกหลาน ยีดมั่น ความปรองดอง          แต่พ่อต้อง จากไป  ใจอาวรณ์
  
     พ่อมาลัย  สุขสำราญ ผู้หาญกล้า        มีชีวิต คนศรัทธา อนุสรณ์
เก้าสิบสี่ ปีปลาย ใจอาวรณ์                     เอื้ออาทร ต่อทุกคน ชนเชื่อใจ
 
      พ่อมีลูก หกคน ทนลำบาก               ผ่านทุกข์ยาก เกือบร้อยปี อย่างสดใส
นามสมพิศ  ธนกฤต แสนห่วงใย                ชลิดา ธนัญภัสส์ ใจ  แสนสุขดี
  
     ประพันธ์   เฉลิมศักดิ์ ประจักษ์จิต       หกชีวิต พ่อทุ่มเท ให้สุขขี
พ่อเข้มแข็ง กายจิต และวจี                     มีชีวี เพื่อลูกเมีย อย่างแท้จริง

     พ่ออารมณ์ดี มีน้ำใจ ใจเอื้อเฟื้อ          พ่อชอบเกื้อหนุนคน ทนทุกสิ่ง
พ่ออ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ประวิง                ใจบุุญยิ่ง ตักบาครพระ  ละมั่นตง

    พ่อขยัน   ขันแข็ง  งานไม้ยิ่ง              เป็นทุกสิ่ง ของผู้คน ดังประสงค์
เป็นที่รัก  ผุ้รู้จัก เจิดบรรจง                     เมื่อปลดปลง คนอาลัย  ในความดี

    บ้านปากคลอง เงียบงัน พลันวิเวก         ่ช่างไม้เอก  จากไป ด้วยศักดิ์ศรี
สะอื้นไห้  อาลัย ในชีวี                          พ่อมาลัย คนดี มาจากไป

    ขอพ่อสู่ สรวงสวรรค์ ั่ ชั้นดุสิต             พบมิ่งมิตร ไมตรี  อย่างผ่องใส
ขอพ่อสูู่่สัมปรายภพ โลกแสนไกล             อยู่กลางใจ ผู้คน จนนิรันดร์.....  
  
      
        

 10 
 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2024, 10:20:32 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
   รักผุ้ใด ไหนเล่า จะเท่าแม่            เฝ้าดูแล เฝ้าถนอม เจ้าจอมขวัญ
เลี้ยงลูกรัก ดูแล สารพัน                 จำจากกัน ในวันปลื้ม ลืมไม่ลง
  
   แม่สุขใจ เมื่อลูกได้ ย้ายกลับบ้าน    แม่สำราญ สุขสม ความประสงค์
แม่ปลื้มจิต เลี้ยงลูกได้ อย่างมั่นคง      เก้าอี้ใหญ่ แม่บรรจง นั่งประเดิม

    เสี่้ยวเวลา ผ่านไป ให้หมองจิต      พรากชีวิต แม่ไป ไม่ส่งเสริม
รักแสนรัก ห่วงแสนห่วง เคยตวงเติม    อยากริเริ่ม งานใหญ่ ให้ภูมิใจ

   อยากมีเวลา ให้กับแม่ ชะแง้หา       ทุกเวลา แสนหมองเศร้า ไม่สดใส
ลูกกลับมา ครานี้  แม่ภูมิใจ                ่ช่างแสนไว แม่จากลา ลูกอาวรณ์

   แม่เติบใหญ่ ที่สุรินทร์ ถวิลเศร้า       เลี้ยงลูกเต้า เฝ้าถนอม แม่สั่งสอน
พบพ่อกิ้ม โตทองสุข รักบวร              ไม่สั่นคลอน ที่โคราช ราวขาดใจ

   แม่เลี้ยงลูก  ห้าคน บนทุกข์ยาก         แสนลำบาก พ่อไม่อยู่ รักหลงใหล
พ่อกิ้มไป ซาอุ เก้าปีไกล                    แม่เลี้ยงลูก อย่างยิ่งใหญ่  เพียงคนเดียว

   อพยพมาอยู่ กำแพงเพชร อย่างกล้าแกร่ง  แม่แข็งแรง ขายอาหาร ไม่ท่องเที่ยว
แม่ทำงาน โรงน้ำตาล ตัวเป็นเกลียว           แม่ไม่เกี่ยว ข้องกับใคร ใจมั่นคง

    แม่เลี้ยงเดี่ยว ลูกห้าคน แสนจนยาก        ทนลำบาก  ส่งลููกเรียน  ดังประสงค์
จนลูกลูก  ได้งานดี  ดังเจาะจง                  แม่วรรณาคง ชื่นใจ ในวันดี

    เมื่อพ่อพรากจากไป แม่ใจหาย              อยู่เดียวดาย แสนคิดถึง  ทุกวิถี
แม่ตามพ่อไปสวรรค์  ชั้นรุจี                      พ่อรับแม่ไปดิถี ที่ดีงาม

     ไม่เคยติด ว่าจะจาก  พรากลูกแล้ว          แม่ดั่งแก้ว สว่างไสว ไร้ใครหยาม
แม่ลำบาก ค่อนชีวิต  เป็นนิยาม                   ภูมิใจตาม ความสำเร็จ  ลูกทุกคน

     ขอแม่สู่ สรวงสวรรค์  ชั้นดุสิต                พบมิ่งมิตร พ่อกิ้ม   ประสบผล
เสวยสุข  สรวงสวรรค์  ในบันดล                   ลูกทุกคน  แสนรักแม่ รักแท้เอย                                                             ........ง

      

  

หน้า: [1] 2 3 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!