จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 29, 2024, 12:36:08 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การทอผ้า เมืองกำแพงเพชร มีการทอผ้าหลายหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านล้วนแต่มีภูมิปัญญ  (อ่าน 5793 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 10:32:32 pm »

การทอผ้า

   เมืองกำแพงเพชร มีการทอผ้าหลายหมู่บ้าน  แต่ละหมู่บ้านล้วนแต่มีภูมิปัญญาของตนเอง
 มีทั้งความคิดใหม่ และที่จดจำมาจากบรรพบุรุษ ที่อพยพมาจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ทำให้การ
ทอผ้าเกิดหลากหลาย  งดงาม มีรูปแบบที่ดัดแปลงเป็นของตนเองและยังมีเค้าของการทอผ้าในท้องถิ่นเดิมที่อพยพมาอย่างน่าชมยิ่ง
   ที่ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยจังหวัดกำแพงเพชร..มีการจัดงาน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ได้มีโอกาสเข้าไปชม การทอผ้า การย้อมสีผ้า ในความดูแลของอาจารย์รุ่งธรรม ธรรมปรียานันท์
ที่มีการสาธิตการทำผ้าอย่างครบวงจร โดยเริ่มจากการเลี้ยงไหม  การสาวไหม การทอผ้า การย้อมสี
จนกระทั่งถึงการตัดเย็บ นับว่าเป็นการสาธิต และส่งเสริมชาวบ้านได้อย่าง จริงจัง และชาวบ้านที่นำมาแสดงดูมีความสุขกับการ ที่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ
   การทอผ้าพื้นเมืองมักทอด้วยกี่กระตุก   ผ้าไหมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่ สามประเภทคือ
   ผ้าไหมพื้น   ผ้าไหมพิมพ์   ผ้าไหมมัดหมี่  ความหนาบางของผ้าไหมขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นพุ่งที่ใช้ทอ เช่นผ้าไหม 1 เส้น  ผ้าไหม 2 เส้น 3 เส้นและ 4 เส้น ผ้าไหมหนึ่งเส้นและ 2เส้น เป็นผ้าเนื้อบาง เหมาะสำหรับใช้ทำเสื้อ ส่วนผ้าไหม 4 เหมาะสำหรับตัดกางเกง ผ้าไหม 6เส้นเหมาะสำหรับตัดเสื้อสูท ผ้าไหมมีคุณสมบัติพิเศษไม่ลุกเป็นเปลวไฟ เหมือนใยสังเคราะห์
   เนื่องจากผ้าไหมเป็นสิ่งทอที่มีราคาแพง การเลือกซื้อจึงต้องรอบคอบและต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี
   ผ้าที่ผลิตในกำแพงเพชร มีคุณค่าไม่แพ้การผลิตในแหล่งในในประเทศไทย ในฐานะคนในท้องถิ่นควรให้การสนับสนุนตั้งแต่ เริ่มต้นจนถึงการทำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายหรือการแปรรูปที่สมบูรณ์แบบ ประชาชนที่ทอผ้าในกำแพงเพชร จึงสามารถ ยืนอยู่ด้วยอาชีพการทอผ้าที่น่าภูมิใจ ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจารย์รุ่งธรรม ธรรมปรียานันท์ ที่ได้ชุบชีวิตและต่ออายุ ชาวบ้านที่มีอาชีพในการทอผ้า ให้ได้มีความหวังที่มิต้องทิ้งอาชีพ ที่น่าภูมิใจ อันเป็นภูมิปัญญาที่น่ายกย่อง ไม่ซื้อผ้าต่างประเทศมา ทั้งที่ผ้าไทยแสนประณีตและงดงามนัก


                        
   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!