จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 21, 2024, 09:37:37 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน  (อ่าน 37558 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 07, 2010, 11:39:34 am »

การสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ
เพื่อให้มีพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์มีจิตสำนึกพร้อมที่จะปฏิบัติงานเพื่อประชาชนและสังคม
และ
การทำงานที่ต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

บรรยายโดย
อาจารย์สันติ อภัยราช
นิติศาสตรบัณฑิต  การศึกษาบัณฑิต  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
อาจารย์ ๓ ระดับ ๙   ผู้เชี่ยวชาญการพูดในที่ชุมชน
คนดีเมืองกำแพงเพชร     ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมกำแพงเพชร
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
ครูต้นแบบแห่งชาติ     ครูภูมิปัญญาไทย

อบตท่าขุนราม กำแพงเพชร ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓




การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับองค์กร ผู้บริหารจึงต้องคำนึงถึงการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายในการทำงานชัดเจน มีความรับผิดชอบในการทำงาน งานที่ทำออกมาก็จะเป็นงานที่มีคุณภาพสูงสุด อีกทั้งพนักงานก็ยังมีจิตสำนึกที่ดีในการช่วยดูแลทรัพยากรและทรัพย์สินของบริษัทเสมือนหนึ่งเป็นของตนเอง คนที่เป็นผู้จัดการจึงต้องมีความอดทน รอบคอบ มีทักษะในการฝึกและสอนคนให้เป็น รู้จักที่จะติดตามผลงานกับพนักงาน เมื่อคุณได้มอบความรับผิดชอบในการทำงานเป็นที่เรียบร้อยและชัดเจน ควรตรวจสอบความคืบหน้าของงานที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งก็เท่ากับว่าได้กระตุ้นให้พนักงานเกิดความคิดริเริ่ม และรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด สุดท้ายองค์กรของคุณก็จะเข้าสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน ประโยชน์ที่จะได้รับก็คือจะสามารถลดภาระในการควบคุมงานลง พนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความคิดริเริ่มใหม่ๆในการทำงาน องค์กรจะมีพนักงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และมีศักยภาพที่จะพัฒนาองค์กรของให้ประสบความสำเร็จ

การสร้างจิตสำนึกที่ดีทำอย่างไร

? ให้พนักงานมีอิสระในการทำงานในแบบของเขามากที่สุด หมายถึงให้พนักงานเป็นผู้ตั้งเป้าหมายในการทำงาน และกำหนดวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายโดยพนักงานผู้นั้นเป็นผู้ระบุขึ้นมาตามสายงายของตนเอง รวมทั้งกระบวนการในการแก้ปัญหาในการผลิต และข้อเสนอแนะต่างๆในการทำงาน โดยไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และระเบียบของการทำงาน

? มอบอำนาจให้กับพนักงานในการตัดสินใจตามกรอบงานที่เขารับผิดชอบ จะเป็นการพัฒนาความมั่นใจและความเคารพนับถือในตัวเอง นั่นเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความคิดริเริ่มที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างไรโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้จัดการคุณก็ต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นต่อผู้ใต้บังคับบัญชา โดยการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เขาได้ทำงานได้สำเร็จลุล่วง



? การจัดการต้องมีระบบที่ระบุถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อให้พนักงานรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน พนักงานจะต้องทราบว่าความรับผิดชอบของตนคืออะไร
อำนาจของตนเองมีแค่ไหนและต้องสามารถระบุถึงความสำเร็จในงานที่ตนเองรับผิดชอบได้

? สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้วิธีการของตัวเองในการตัดสินใจ เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าคุณพร้อมที่จะสนับสนุนในการตัดสินใจและการกระทำของเขา เขาก็พร้อมที่จะทุ่มเทแรงใจและแรงกายให้กับการทำงาน เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุด

? มอบหมายให้เขาเรียนรู้งานในหน้าที่ที่สูงขึ้น โดยเรียนรู้จากหัวหน้างาน และพยายามให้เขาได้ฝึกหรือมีโอกาสในการทำงานนั้นให้มากที่สุด รวมถึงการมอบหมายความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาจะเป็นการทำให้พนักงานมีจิตสำนึกต่อการทำงานได้มากขึ้น ขณะเดียวกันจะทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีความสามารถหลากหลายและมีองค์ความรู้จากการเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
พฤติกรรมในการทำงานที่ดี
1. พฤติกรรมในการทำงาน พฤติกรรมในการทำงานที่ดี จะ เป็นพฤติกรรมที่เราสมควรที่จะทำในการทำงานเช่น การตรงต่อเวลา ไม่โต้เถียงเจ้านายโดยไม่ใช้เหตุผล แก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยดี นั่งฟังการประชุมอย่างตั้งใจ พฤติกรรม ในการทำงานที่ไม่ดี จะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในองค์กร เช่น เล่นเกมส์ในที่ทำงานหรือพูดคุยกันเสียงดัง นอนหลับในที่ประชุม ไม่มีความรับผิดชอบและไม่ตรงต่อเวลา
2. จริยธรรมในการทำงาน จริยธรรม ในการทำงานที่ดี จะเป็นหลักการเหตุผลที่ดีที่พึงปฏิบัติในการทำงาน เช่น การทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ไม่นำความลับของทางบริษัทไปเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรู้ ไม่ยักยอกเงินบริษัทไปเป็นของตนเอง จริยธรรม ในการทำงานที่ไม่ดี จะทำให้ส่งผลเสียต่อองค์กร เช่น การขายความลับให้บริษัทคู่แข่งเพราะมันอาจจะทำให้บริษัทของเราถึงกับล้ม ละลายก็ได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อทุกฝ่ายและทุกคนอาจจะตกงานได้

3. การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่นในทางที่ดี จะเป็นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เช่น เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย ชอบ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยกัน แบ่งปันสิ่งของให้กัน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันได้ ยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายเพื่อนร่วมงานเสมอที่เข้ามาทำงาน การ ทำงานร่วมกันผู้อื่นที่ไม่ดี เป็นการที่ไม่มีความมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น การไม่ทักทายเพื่อนร่วมงาน ไม่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยกัน หลีกหนีปัญหาหรือแก้ปัญหาเพียงลำพังไม่ปรึกษาเพื่อนร่วมงาน ชอบทำงานคนเดียวคือเข้ากับผู้อื่นไม่ได้

4. บุคลิกภาพในการทำงาน บุคลิกภาพ ในการทำงานที่ดี คือ จะเป็นการแสดงบุคลิกภาพในการทำงานที่ดี เช่น การนั่งอย่างสำรวมในห้องประชุม ไม่เดินหลังค่อม ไม่กัดแทะเล็บต่อหน้าผู้อื่น ไม่นั่งเอามือเท้าคางในที่ประชุม บุคลิกภาพ ในการทำงานที่ไม่ดี คือ การแสดงกิริยาไม่สุภาพในการทำงาน เช่น นั่งไขว้ห้าง แต่งตัวสกปรก ไม่รีดเสื้อผ้า เมามาทำงาน นั่งเอามือเท้าคางในที่ประชุม นอนในเวลาทำงาน

การสร้างจิตสำนึกที่ดีทำอย่างไร

          ? ให้พนักงานมีอิสระในการทำงานในแบบของเขามากที่สุด หมายถึงให้พนักงานเป็นผู้ตั้งเป้าหมายในการทำงาน และกำหนดวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายโดยพนักงานผู้นั้นเป็นผู้ระบุขึ้นมา ตามสายงายของตนเอง รวมทั้งกระบวนการในการแก้ปัญหาในการผลิต และข้อเสนอแนะต่างๆในการทำงาน โดยไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และระเบียบของการทำงาน

          ? มอบอำนาจให้กับพนักงานในการตัดสินใจตามกรอบงานที่เขารับผิดชอบ จะเป็นการพัฒนาความมั่นใจและความเคารพนับถือในตัวเอง นั่นเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความคิดริเริ่มที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างไรโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้จัดการคุณก็ต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นต่อผู้ใต้บังคับบัญชา โดยการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เขาได้ทำงานได้สำเร็จลุล่วง

          ? การจัดการต้องมีระบบ ที่ระบุถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อให้พนักงานรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน พนักงานจะต้องทราบว่าความรับผิดชอบของตนคืออะไร อำนาจของตนเองมีแค่ไหนและต้องสามารถระบุถึงความสำเร็จในงานที่ตนเองรับผิดชอบได้

          ? สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้วิธีการของตัวเองในการตัดสินใจ เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าคุณพร้อมที่จะสนับสนุนในการตัดสินใจและการกระทำของเขา เขาก็พร้อมที่จะทุ่มเทแรงใจและแรงกายให้กับการทำงาน เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุด

          ? มอบหมายให้เขาเรียนรู้งานในหน้าที่ที่สูงขึ้น โดยเรียนรู้จากหัวหน้างาน และพยายามให้เขาได้ฝึกหรือมีโอกาสในการทำงานนั้นให้มากที่สุด รวมถึงการมอบหมายความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาจะเป็นการทำให้พนักงานมีจิตสำนึกต่อการทำงานได้มากขึ้น ขณะเดียวกันจะทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีความสามารถหลากหลายและมีองค์ความรู้จากการเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น




พฤติกรรม "ยี้" ในที่ทำงาน (Lisa)

         ทำไมบางคนทำงานมาเกือบ 10 ปี แต่ตำแหน่งยังแป๊กอยู่ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่บางคนรุ่งเอารุ่งเอา ไม่พ้น 5 ปี ได้ขึ้นเป็นผู้จัดการซะแล้ว พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง ให้ไกล ๆ ต่อไปนี้ อาจส่งให้คุณเป็นดาวรุ่งอนาคตสดใสในที่ทำงานยิ่งกว่าเดิม

พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงเพื่อความรุ่ง

         1. อย่าใช้อารมณ์กับหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน เป็นธรรมดาเหลือเกิน ที่จะต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้างในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้ากับลูกน้องหรือระหว่างเพื่อนร่วมงาน แต่ "อย่าใช้อารมณ์" มาตัดสินปัญหาเป็นดีที่สุด ทางที่ดีเมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นให้สงบใจประมาณ 10 นาทีถึงครึ่งชั่วโมง แล้วค่อยจัดการกับปัญหาตรงหน้าจะเป็นการแก้ปัญหาได้ดีกว่า

         2. อย่าเกี่ยงว่าไม่ใช่งานของเรา โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะเป็นทีมเวิร์ก เพราะบางครั้งการได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตงานของเราบ้าง ก็เป็นความท้าทายและโชว์ให้เห็นถึงสปิริตของการทำงานร่วมกันเป็นทีม

         3. เลี่ยงการซุบซิบนินทามากเกินไป คงเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ในการห้ามเสียงซุบซิบนินทาในที่ทำงาน เพราะนั่นถือเป็นกิจกรรมทางสังคม และการสร้างความสนิทสนมอย่างหนึ่งเหมือนกัน ร่วมวงพอหอมปากหอมคอ แต่อย่ากลายเป็น "ยายขาเมาท์" ซะเอง เพราะอาจถูกแทงข้างหลังได้ทุกเมื่อ

         4. ประจบสอพลอแต่ไม่เคยทำงาน อาจจะมีบางคนที่ได้ดีเพราะการประจบสอพลอเจ้านาย แต่เขาอาจไม่ได้ประจบเพียงอย่างเดียว หากมีผลงานควบคู่ไปด้วย เพราะเจ้านายฉลาด ๆ ต้องดูออกว่านี่คือการเลียแข้งเลียขา เพราะพฤติกรรมแบบนี้ นอกจากจะแสดงถึงความไม่นับถือตนเองแล้ว เพื่อนร่วมงานจะพาลรังเกียจซะเปล่าๆ

         5. สูบบุหรี่หรือดื่มของมึนเมา สาวๆ สมัยใหม่ บางคนเห็นว่าการสูบบุหรี่ในที่ทำงาน แม้จะไปสูบในโซนที่จัดให้ก็เถอะ เป็นเรื่องโก้เก๋ หนักกว่านั้นอาจมีการดื่มแม้จะเป็นช่วงการทำงานล่วงเวลาแล้วก็ตาม ถ้ายังอยากก้าวหน้าก็หยุดพฤติกรรมเหล่านี้ดีกว่า เพราะกลายเป็นแฟชั่นเก่า ๆ ที่สาวอินเทรนด์ตัวจริง เขาเลิกไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว

         6. ใช้เครื่องใช้สำนักงานในการรับจ๊อบนอก ผิดมหันต์นะคุณขา แค่รับงานไซด์ไลน์ในเวลางานก็เป็นเรื่องที่แสนจะคอรัปชั่นบริษัทอยู่แล้ว นี่ยังจะมาใช้คอมพิวเตอร์ของเขาพิมพ์งาน แถมใช้โทรศัพท์โทรออกอย่างกระหน่ำแบบไม่เกรงใจอีก หากใครทำอยู่ขอร้องให้เลิกเสียที ถึงแม้ไม่มีใครรู้แต่คุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจตัวเองดี

         7. ใส่สายเดี่ยว เกาะอก โนบรา แต่งกาย ล่อแหลมเสี่ยงสูง คงไม่งามแน่ ๆ ถ้าต้องไปพบผู้ใหญ่ เพราะจะดูไม่น่าเชื่อถือ หมดเครดิตกันทันที แต่ถึงจะอ้างว่าอยู่แต่ในออฟฟิศก็เถอะ คุณต้องเตรียมพร้อมรับมือกับงานทุกอย่างอยู่เสมอ และชุดแบบนี้ ถ้าฝนตก เสื้อผ้าแนบเนื้อ หรือเกิดเอ็กซิเดนต์ เกาะอกลื่นหลุด คงหยุดสายตาชาวบ้านไม่อยู่แน่ๆ เลย

         หากรักตัวเองก็ต้องให้เกียรติตัวเองมาก ๆ แล้วคนอื่นเขาก็จะต้องทึ่งในความสวย สง่า ทั้งภายนอกและภายในของคุณ
                                               คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ
      คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ
         ๑.   ทักษะการใช้ความคิด
            ๑.๑      คิดภาพรวม  ลุ่มลึก  และกว้างไกล  ไม่หยุดความคิด
            ๑.๒      รู้จักปรับยืดหยุ่น  ไม่ว้าวุ่นเป็นเถรตรง
            ๑.๓      คิดทำงานเชิงรุก  ไม่ขลุกอยู่กับที่
            ๑.๔      คิดป้องกันดีกว่า  อย่าวัวหายจึงล้อมคอก
         ๒.   การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
            ๒.๑      กระบวนทัศน์ต้องรู้ปรับ  ไม่อยู่กับกระบวนเดิม
            ๒.๒      สร้างเครื่องมือไว้ชี้วัด  ดีกว่าหัดนั่งดูเทียน
            ๒.๓      เช้าชามเย็นชามขอให้งด  จงกำหนดเวลาแล้วเสร็จไว้
            ๒.๔      อุทิศซึ่งเวลา  ไม่แสวงหาประโยชน์ตน
            ๒.๕      สัมพันธ์กับลูกค้า  อย่าทำหน้าไม่บอกบุญ
         ๓.   การบริหารทรัพยากร
            ๓.๑      คำนึงถึงต้นทุน  ไม่คุ้มทุนจงอย่าทำ
            ๓.๒      บริหารแบบประหยัด  จงอย่าหัดเป็นหนี้เขา
            ๓.๓      สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ  อย่าเป็นทองไม่รู้ร้อน
            ๓.๔      รู้จักบำรุงและรักษา  อย่าดีแต่ใช้เครื่องเป็น
         
      ๔.   ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร
            ๔.๑      ใช้เทคโนโลยีใหม่  ไม่ล้าสมัยไดโนเสาร์
            ๔.๒      สร้างเครือข่ายให้กว้างขวาง  อย่าปล่อยวางเรื่องทีมงาน
            ๔.๓      รู้จักพูดให้ได้ผล  อย่าทำตนเป็นเบื้อใบ้
            ๔.๔      อดทนต่อถ้อยคำ  ไม่จดจำมาต่อกร
            ๔.๕      แถลงเรื่องลึกล้ำได้  อย่าตอบง่ายไม่ศึกษา
         ๕.   ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ
            ๕.๑      ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่คิดคอรัปชั่น
            ๕.๒      พร้อมรับผิดชอบ  ตรวจสอบได้
            ๕.๓      สร้างศรัทธาประชา  เงินตราไม่รับ
            ๕.๔      ไม่เป็นอภิสิทธิชน  เป็นคนของรัฐและประชาชน
            ๕.๕      บริการยอดเยี่ยม  คุณภาพเปี่ยมล้น
      ๖ .   การมุ่งเน้นให้บริการ
             ๖.๑     บริการแบบโปร่งใส  พ้นสมัยเป็นความลับ
            ๖.๒      คำนึงถึงลูกค้า  ให้มากกว่าคำนึงตน
            ๖.๓      มุ่งผลอันสัมฤทธิ์  คือผลผลิตและผลลัพธ์
            ๖.๔      เสมอภาคและเป็นธรรม  ไม่ห่วงย้ำแต่พวกพ้อง
             ๖.๕      บริการประชาชน  ไม่ทำตนเป็นนายเขา
         ๗.   จริยธรรม
            ๗.๑      มีศีลธรรม  พฤติกรรมเป็นแบบอย่าง
            ๗.๒      คำนึงประโยชน์ราษฎร์  อย่าฉลาดเอาแต่ได้
            ๗.๓      ร่วมทำกิจ  ขจัดจิตเห็นแก่ตัว
            ๗.๔      ตระหนักถึงครอบครัว  ไม่พึงมั่วด้วยโลกีย์
            ๗.๕      ไม่ก่อมลภาวะ  แต่ควรจะพิทักษ์และรักษา
         ๘.   ความสามารถในการปฏิบัติงาน
            ๘.๑      รู้จริง  รู้ลึก  รู้กว้าง  ไม่รู้อย่างงู ๆ ปลา ๆ
            ๘.๒      ทำงานวางแผนได้  ไม่ทำตามอำเภอใจ
            ๘.๓      อธิบายชี้แจงได้  ไม่ผลักไสให้ผู้อื่น
            ๘.๔      สร้างองค์ความรู้ใหม่  ไม่ใส่ใจแต่ของเดิม
      

         ๙.   การแก้ปัญหา
            ๙.๑      ยิ้มสู้ปัญหา  ไม่เบือนหน้าหนี
            ๙.๒      แก้ปัญหาด้วยปัญญา  ไม่รอช้าหาคนช่วย
            ๙.๓      พบปัญหาก็รู้แก้  ไม่ยอมแพ้วิ่งหาแพะ
            ๙.๔      เห็นปัญหาเป็นโอกาส  ไม่ขลาดเห็นเป็นอุปสรรค
         ๑๐.   การทำงานเป็นทีม
            ๑๐.๑   มีมนุษย์สัมพันธ์  ไม่แบ่งกันเป็นก๊กเหล่า
            ๑๐.๒   ร่วมคิดร่วมทำ  ไม่นำตนไปโดดเดี่ยว
            ๑๐.๓   แบ่งปันซึ่งความรู้  ไม่ใส่ตู้รู้ผู้เดียว
            ๑๐.๔   ให้อภัยเมื่อพลั้งพลาด  ไม่คาดโทษให้แก่กัน
         ๑๑.   ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
            ๑๑.๑   ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ  ไม่รำคาญหาความรู้
            ๑๑.๒   คุ้มค่าด้วยการใช้  ไม่เก็บไว้ประดับห้อง
            ๑๑.๓   ถนอมใช้ด้วยระวัง  ไม่ตึงตังให้แตกหัก
            ๑๑.๔   บำรุงและรักษา  ไม่เรียกหาแต่ของใหม่









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2010, 11:41:56 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!