จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 22, 2024, 06:28:59 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เจ้าแม่วัดดุสิต" ขัตติยะนารีผู้เป็นต้นราชวงศ์จักรี  (อ่าน 11076 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 10:12:49 pm »

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติที่โด่งดังและเป็นที่ถกเถียงเป็นอย่างมากในช่วงเกือบ 3-4 ปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่องราวของ "เจ้าแม่วัดดุสิต" ขัตติยะนารีผู้เป็นต้นราชวงศ์จักรี ซึ่งนักวิชาการและผู้สนใจทางด้านประวิติศาสตร์หลาย ๆ คนกว่าวกันว่าเป็นผู้เชื่อมโยงสาแหรกสายพระราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้น กับพระราชวงศ์จักรีเข้าไว้ด้วยกัน

ในช่วงนั้นมีการถกเถียงกันมากถึงความีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ของเจ้าแม่วัดดุสิต ก็ได้ข้อสรุปมาว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เป็นทั้งพระนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง และเป็นทั้งแม่ของพระยาโกษา (เหล็ก) ขุนศึกคนสำคัญแห่งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชฑูตคนสำคัญในสมัยนั้น

ส่วนอีกหัวข้อหนึ่งที่นักวิชาการถกเถียงกันก็คือ เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นเจ้าหรือเป็นสามัญชนกันแน่ ฮืม ข้อนี้ผมคงไม่ขอกล่าวถึง เพราะสิ่งที่ผมจะเรียบเรียงให้อ่านกันนั้นก็เป็นข้อสรุปเกี่ยวกับชีวิตของ "เจ้านายหญิง" หรือ "ขัตติยะนารี" ท่านนี้จากที่ผมได้อ่านมาจากเอกสาร และบทความหลาย ๆ ฉบับ และนำมาสรุปตามที่ผมมีปัญญาพอที่จะเข้าใจ และเข้าถึงได้ ซึ่งผมได้นำมาสรุปไว้ ณ ที่นี้ เพื่อมิให้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าต้องถูกปล่อยให้ผ่านเลยไป

เอกสารที่ผมนำมาสรุปนั้น เป็นเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้องในระดับทุติยภูมิ ทั้งหนังสือ "โครงกระดูกในตู้" ของพล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช บทความของปรามินทร์ เครือทอง เรื่อง "ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต เจ้า หรือสามัญชน" บทความของจุลดา ภักดีภูมินทร์ เรื่อง "พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย" เป็นหลัก ซึ่งพอจะสรุปเกี่ยวกับชีวิตของเจ้าแม่วัดดุสิตได้ดังนี้

ในช่วงปฐมวัยของเจ้าแม่วัดดุสิตยังคงเป็นที่คลุมเครืออยู่มาก เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่ารัชสมัยรัชกาลที่ 4 มิได้กล่าวถึงประวัติของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้เลย จะมีก็ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเจ้าแม่วัดดุสิตในพงศาวดารของไทยและจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเท่านั้น หลักฐานที่พอจะศึกษาประวัติของเจ้าแม่วัดดุสิตอย่างละเอียดก็คงมีแต่บันทึกจากคำบอกเล่า หรือหลักฐานในชั้นทุติยภูมิ จึงมีนักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นแตกต่างกันไปดังนี้

1) สันนิษฐานกันว่า เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นราชธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรส ผู้ที่มีความเห็นเช่นนี้มีทั้ง ก.ศ.ร.กุหลาบ ที่ได้กล่าวว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ฟังคำบอกเล่าจากพระวันรัตน์ (ฉิม) เปรียญธรรม 9 ประโยค ว่า เจ้าฟ้าหญิงรัศมี และเจ้าฟ้าจีกเคยเล่าว่า สมเด็จพระเอกาทศรสแห่งราชวงศ์พระร่วง ได้อภิเษกสมรสกับราชธิดาของพระยาเกียรติ์ (ขุนนางชาวมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มีราชธิดา คือ เจ้าครอกบัว(หม่อมเจ้าบัว) และเจ้าครอกอำภัย (หม่อมเจ้าอำไพ) แต่ในหนังสือนี้ยังมีข้อความที่คลุมเครือระหว่างเจ้าครอกบัวและเจ้าครอกอำไพอยู่มาก ซึ่งทำให้สับสนว่า เจ้าแม่วัดดุสิตมีชื่อเดิมว่าอย่างไรกันแน่ ?

หรือในหนังสือ "ราชินิกุล บางช้าง" ตีพิมพ์แจกเมื่องานฉลองพระราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 และหนังสือ "อิศรางกูร" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แจกในงานศพของ ม.ล.ปุย อิศรางกูร เมื่อปี พ.ศ. 2517 ก็ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นราชธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรส แต่จะมีชื่อเดิมว่า หม่อมเจ้าบัว หรือหม่อมเจ้าอำไพ ก็ยังไม่แน่ชัด

2) สันนิษฐานว่า เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นราชธิดาของขุนพิเรนทรเทพ หรือพระมหาธรรมราชาผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ผู้ที่มีความเห็นในทิศทางนี้ก็คือ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือ "โครงกระดูกในตู้" โดยมีเนื้อหาที่เขียนขึ้นตามคำบอกเล่าจากญาติผู้ใหญ่ของพล.ต. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เองโดยไม่มีการบันทึกวัน เดือนและปีที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ว่า "เจ้าพระยาโกษาปานเป็นบุตรเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย"

3) สันนิษฐานกันว่า เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นราชธิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่เกิดแต่พระมเหสีพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง อาจจะเป็นพระสุวัฒน์มณีรัตนา (เจ้าขรัวมณีจันทร์ ) ฮืม พระเอกกษัตรี (ทรงรับเป็นมเหสีภายหลังยกทัพตีเขมร) ฮืม หรือพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่ (ทรงรับเป็นมเหสีภายหลังศึกเมืองเชียงใหม่) ฮืม แต่ข้อสันนิษฐานนี้ไม่มีหลักฐานและน้ำหนักมากพอ จึงมิได้รับการกล่าวถึงในยุคหลัง

เจ้าแม่วัดดุสิตได้รับการแต่งตั้งเป็นพระนมเอก ดำรงพระอิศริยยศ "กรมพระเทพามาตย์" แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปแล้ว ทั้งพระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์(สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ) ต่างนับถือเจ้าแม่วัดดุสิตเหมือนพระราชชนนี เพราะว่าได้กินนมร่วมกับพระยาโกษา (เหล็ก) และพระยาโกษาธิบดี (ปาน) บุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต ดังที่ปรากฏในบทความของจุลดา ภักดีภูมินทร์ เรื่อง "พระบัณฑูรใหญ่ - พระบัณฑูรน้อย" เมื่อครั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าเสือ ที่เจ้าแม่วัดดุสิตขอพระราชทานอภัยโทษแก่ราชบุตรทั้งสองของพระพุทธเจ้าเสือ ซึ่งเจ้าแม่วัดดุสิตมีฐานะเสมือนย่าของราชบุตรทั้งสอง คือ พระบัณฑูรใหญ่ (ต่อมาก็คือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และพระบัณฑูรน้อย (เจ้าฟ้าอุทุมพร หรือขุนหลวงหาวัด) ที่ถูกพระราชบิดาสั่งเฆี่ยนวันละ 60 ทีเนื่องจากอุบัติเหตุล้อมช้างป่า ซึ่งทำให้ช้างทรงของพระพุทธเจ้าเสือติดหล่ม และทำให้พระพุทธเจ้าเสือเข้าพระทัยว่าเจ้าฟ้าทั้งสองจะทำปิตุฆาตเพื่อแย่งราชสมบัติ ดังนี้

"พระเจ้าเสือนี้ตามพระราชพงศาวดาร ว่าเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แต่ทรงยกให้พระเภทราชา แต่ครั้งยังเป็นขุนนางผู้ใหญ่ รับไว้เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม พระอัครมเหสีเดิมของพระเพทราชา คือที่เจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพรตรัสเรียกว่า สมด็จพระอัยกี จึงทรงคุณูปการใหญ่หลวงแก่พระเจ้าเสือ ทงเคารพนับถือเป็นอันมาก พระอิสริยยศกรมพระเทพามาตย์ แผ่นดินพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์นี้ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" เพราะเสด็จไปประทับทรงศีล(บวชชี)อยู่ ณ พระตำหนักริมวัดดุสิต

กรมพระเทพามาตย์ทรงทราบก็ทรงตกพระทัย รีบร้อนเสด็จลงมาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวถึงที่ค่าย ขอพระราชทานอภัยโทษ ก็โปรดยกให้ ให้กรมพระเทพามาตย์นำทั้งสองพระองค์เสด็จกลับไปด้วย ต่อมาไม่ช้านาน เมื่อพระราชบิดาสิ้นความพิโรธแล้ว ก็เข้าเฝ้ารับราชการโดยปกติ" (จุลดา ภักดีภูมินทร์ , 2544)

ในเรื่องชีวิตครอบครัวของเจ้าแม่วัดดุสิตก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่เช่นกัน นักวิชาการทราบแต่เพียงว่า เจ้าแม่วัดดุสิตมีบุตร 2 คน คือ พระยาโกษา (เหล็ก) และพระยาโกษาธิบดี (ปาน) แต่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งสันนิษฐานว่า เจ้าแม่วัดดุสิตยังมีธิดาคนเล็กอีก ซึ่งมีชื่อว่า แช่ม ฮืม หรือฉ่ำ ฮืม หรือศรีจุฬาลักษณ์??? ก็ยังเป็นเรื่องที่คลุมเครืออีกเช่นกันว่า เจ้าแม่วัดดุสิตมีธิดาหรือไม่

สิ่งที่ยังเป็นเรื่องคลุมเครืออีกประการหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวของเจ้าแม่วัดดุสิตก็คือ สามีของท่านเป็นใคร มาจากไหนก็ยังคงไม่แน่ชัด นักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งสันนิษฐานว่าสามีของเจ้าแม่วัดดุสิตชื่อ หม่อมเจ้าเจิดอุภัย ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่า ฝ่ายสามีของเจ้าแม่วัดดุสิตเป็นรุ่นลูกหลานของพระยาเกียรติ แม่ทัพมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกลับมาสู่กรุงศรีอยุธยา ดังเช่นในบทความของปรามินทร์ เครือทอง เรื่อง "ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต เจ้า หรือสามัญชน" ดังที่ว่า

"นอกจากนี้ยังมีเอกสารของ ม.ล. มานิจ ชุมสาย ที่กล่าวว่าเป็น "บันทึกของบรรพบุรุษ" ตกทอดมายังท่าน มีเรื่องราวของเจ้าแม่วัดดุสิตอีกสายหนึ่งที่ค่อนข้างพิสดารว่า "แม่ทัพมอญคนหนึ่งมีนามว่า พระยาเกียรติ ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรเข้ามารับราชการกับไทย ลูกหลานคนหนึ่งของพระยาเกียรติ (ไม่ได้บอกว่าชื่ออะไร) ได้แต่งงานกับเจ้าแม่วัดดุสิต (ไม่ได้บอกชื่อเดิมอีกเช่นเดียวกัน) ซึ่งเป็นพระนาง มีตำแหน่งสูงในพระราชวัง" (ประวัติโกษาปานและบันทึกการเดินทางไปฝรั่งเศส. คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ๒๕๓๐, น. ๑๓)"

นอกจากนี้ นักวิชาการยังได้กล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างสาแหรกสายพระราชวงศ์พระร่วง ที่มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยและได้ครองราชสมบัติในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาหนึ่ง กับพระราชวงศ์จักรี โดยมีเจ้าแม่วัดดุสิตเป็นผู้เชื่อมโยง โดยกล่าวกันว่า บุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต คือ พระยาโกษาธิบดี (ปาน) มีบุตรคือ นายขุนทอง ซึ่งนายขุนทองได้รับพระราชทางพระอิศริยยศจากพระพุทธเจ้าเสือเป็น พระยาวรวงศาธิราชสนิท ท่านก็มีบุตรชายคนโตคือ นายทองคำ

ต่อมาราชวงศ์นี้ได้ย้ายนิวาสถานไปอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งต่อมานายทองคำก็ได้รับพระราชทานตำแหน่งจากพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระให้เป็น "พระยาราชนิกูล" ซึ่งท่านมีบุตรชายคนโต คือ ท่านทองดี หรือที่นักวิชาการ และผู้สนใจประวัติศาสตร์เรียกท่านว่า "พระปฐมบรมมหาชนก"

ท่านทองดีย้ายนิวาสถานจากบ้านสะแกกรังมารับราชการในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยมีนิวาสถานอยู่ที่ย่านป้อมเพชร อยุธยา ต่อมาท่าได้สมรสกับท่านดาวเรือง (เอกสารบางเล่มก็ว่าท่านชื่อหยก) หญิงสาวบุตรีคหบดีชาวจีน ท่านทองดีได้รับพระราชทานยศครั้งสุดท้ายก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกเป็น "พระยาจักรีศรีองครักษ์" หลังกรุงแตก ท่านก็พาครอบครัวย้ายหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองต่าง ๆ จนท่านพระยาจักรีศรีองครักษ์ถึงแก่อนิจกรรม ภรรยาของท่านก็พาลูก ๆ กลับมาตั้งรกรากในกรุงธนบุรี

โดยบุตรคนที่สี่ของท่านก็คือ นายทองด้วง ซึ่อต่อมาท่านได้เป็นยกกระบัตรเมืองราชบุรี และเป็นแม่ทัพคนสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี และดำรงตำแหน่งเป็น "เจ้าพระยาจักรี" และ "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" ตามลำดับ และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์


ที่มา

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. "โครงกระดูกในตู้"
จุลดา ภักดีภูมินทร์ . พระบัณฑูรใหญ่ - พระบัณฑูรน้อย ใน สกุลไทย ฉบับที่ 2436 วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2544.
ปรามินทร์ เครือทอง. "ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต เจ้า หรือสามัญชน" ใน ศิลปวัฒนธรรม

kai1981.multiply.com/reviews/item/12

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2011, 09:02:26 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!