จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 24, 2024, 05:29:03 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วันเสาร์ห้า ในความเชื่อของสังคมไทย  (อ่าน 47380 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 26, 2011, 12:36:34 pm »

วันเสาร์ห้า ในความเชื่อของสังคมไทย
        วันเสาร์ ๕ ซึ่งตามโบราณกาล ถือเป็นวันแรง และวันที่แข็งที่สุด ในตำราโหราศาสตร์ ของไทย  บุคคลที่เกิดในวันเสาร์นั้น จะมีเทพพระเสาร์พิทักษ์ คุ้มครองและรักษา     เทพพระเสาร์นั้น เกิดจากพระศิวะ หรือพระอิศวร เทพพระเจ้าสูงสุด ของศาสนาพราหมณ์ ทรงนำเอาเสือพยัคฆราช สิบตัวมาป่นให้เป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีม่วง สีดำ ประพรมด้วยน้ำอมฤตทำให้เกิดเทพเจ้าอีกองค์มีพระนามว่า พระเสาร์เทวราชอันเป็นเทพเจ้าสำหรับคนเกิดในวันเสาร์
    
http://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2010/03/bud01240353p1.jpg
  
วันเสาร์ห้า คือ วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่ง โอกาสที่จะเกิดวันเสาร์ห้า นั้นเกิดได้ยาก ตามคติความเชื่อของโบราณเชื่อว่า ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด มากกว่าวันปกติ   ?ถือว่าเป็นวันธงไชย เป็นฤกษ์งามยามดี มีดาวบนท้องฟ้าโคจรในตำแหน่งที่สวยงาม เป็นวันที่ควรจะได้มีกิจกรรมอันเป็นมหามงคลร่วมกัน หรือได้ไปอยู่ในพิธีอันเป็นมงคลจะได้อำนวยอวยสุข อำนวยอวยพรให้เกิดสุข และผล เป็นมิ่งมงคลแก่ทุกท่าน  ตามโบราณกาลที่มีมา เราถือว่าเป็นวันแรง และวันที่     ผู้ที่เกิดวันเสาร์มีดาวเสาร์เป็นดาวประจำตัว มีพระเสาร์เป็นเทพเจ้าประจำวัน ดังนั้น ความแข็ง หรือความแรงของพระเสาร์นั้นปรากฏเด่นชัด ชีวิตของท่านที่เกิดในวันเสาร์ มักจะเหนื่อยยากมีภารกิจ หรือกิจการงานต่างๆ ที่ผ่านมาให้ได้รับผิดชอบอยู่ตลอดเวลา แต่นั่นแสดงถึงคุณูปการ หรือ บารมี ที่สามารถรับเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้น และสร้างให้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แก่คนโดยทั่วไปว่า มีความเป็นผู้มีบุญวาสนาบารมี
         ความสำคัญของวันเสาร์ห้าแต่โบราณกาลมา พระเกจิอาจารย์มักจะปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ทำพิธีอันเป็นมงคลในวันนั้น เพื่อเสกของ และ เสกคน  คือ ศิษย์ยานุศิษย์ ประชาชนที่ร่วมในพิธี ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ให้เกิดความเป็นสิริมงคล  ในวันเสาร์ที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ ๒๕๕๔  ตรงกับวันแรม ห้าค่ำเดือนห้า ตรงกับวันเสาร์ห้า   / ผู้คนในพิธีเชื่อว่า ในวันที่ทำพิธีนี้จะมีลาภใหญ่ในไม่ช้า การงานที่ริเริ่มในวันเสาร์ ห้า จะจีรังยั่งยืนไปนานๆ  เป็นความเชื่อ ของสังคมไทย การสระผมและอาบน้ำมนต์ก็ให้ผลดีเป็นพิเศษ แต่ผู้ที่หวังโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองจากปาฏิหาริย์ของ "เสาร์ห้า" ให้ได้ผลดี โบราณจารย์ ได้ซ่อนภูมิปัญญาไว้ว่า  ต้อง ทำดี พูดดี คิดดี จริงๆ อานิสงส์จึงจะเกิดขึ้น ถ้าไม่กระทำตามที่กล่าวคือ ทำดี พูดดี คิดดี  อานิสงส์ จะเกิดไม่ได้
                 วันเสาร์ห้าปีนี้ ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕  ปีเถาะ จากนั้นก็เว้นไปอีก ๓ ปี คือวันเสาร์ห้าถัดไปจะตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๗ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ จึงจะเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง วันเสาร์ห้าจึงเชื่อกันว่าสำคัญ นัก สำคัญกว่าวันใดๆ ในวันทำพิธีปลุกเสกของขลัง
เสาร์ห้าต้องตามตำรา
 โบราณจารย์ทางโหราศาสตร์กล่าวว่า  ที่เรียกว่า เสาร์ห้า นั้น คือ วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดวันเสาร์ห้านั้น ประมาณ ๒-๓ ปีครั้ง ตามคติความเชื่อของโบราณาจารย์เชื่อว่า ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด  เมตตามหานิยม
         โดยจะเห็นได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีการประกอบพิธีในวันดังกล่าว วัตถุมงคลส่วนใหญ่มักได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบระหว่างการประกอบพิธีในวันข้างขึ้นกับข้างแรม การประกอบพิธีในวันข้างขึ้นจะดี ๑๐๐% ส่วนข้างแรมจะดีประมาณ ๘๐% โดยเสาร์ห้าที่ผ่านมานั้น มี ๓ ฤกษ์สำคัญๆ ราชาฤกษ์ โสภณ และ ลาภะ ซึ่งเป็นฤกษ์ที่เป็นมงคล และดีเลิศทุกอย่าง   สาเหตุ นี้จึงเป็นสา เหตุที่วัดส่วนใหญ่ นิยมจัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้พิธีพุทธาภิเษกที่เข้มขลังจะมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ ดีมาก แต่ถ้าวันเสาร์ ๕ สมบูรณ์เต็มสูตรได้นั้น จะต้องเป็นวันเสาร์ ๕ ขึ้น หรือ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕
            ในวันเสาร์ห้า คือวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔ พระอธิการสะอาด ธีรปัญโญ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งสำคัญ ในรอบ ๑๐๐ ปี ของเมืองกำแพงเพชร วัดเสด็จได้จัดสร้างและพุทธาภิเษก พระกำแพงสามขา พระกำแพงเชียงแสน และพระกำแพงลีลา  สุดยอดพระบูชาแห่งยุค และจัดว่าเป็นสุดยอดแห่งพระบูชาในอดีตของเมืองกำแพงเพชร มีพุทธศิลป์ที่งดงามหาที่เปรียบได้ยาก ทรงไว้ด้วยพุทธคุณที่ทุกบ้านควรไว้บูชาสักการะเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันผู้ที่อยากได้มาไว้บูชาก็หาของเก่าหรือที่มีความสมบูรณ์งดงาม หาได้ยาก ยิ่ง จึงยังเป็นที่ต้องการของผู้เลื่อมใสศรัทธาอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุผลดังกล่าว    การจัดสร้างด้วยเวลาอันยาวนาน พยายามที่จะให้ถูกต้องตามแบบพระโบราณมากที่สุด มีลักษณะเนื้อทองเหลืองผสมทองแดง ผิว ๓ ลักษณะ ผิวสนิมแดง, สนิมเขียว และผิวย้อนยุค หรือผิวเก่า มีพุทธคุณทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์เพิ่มพูน อยู่เย็นเป็นสุข เมตตามหานิยม ค้าขายดี วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อสมทบทุนในการสร้างวิหาร และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด จะกระทำพิธีพุทธาภิเษกอย่างเข้มข้น ร่วมกับการฉลองวิหารใหม่ของทางวัดเสด็จด้วย  
   วันเสาร์ห้า จึงเป็นวันสำคัญ ในความเชื่อของคนไทย เมื่อจะประกอบพิธีอันเข้มขลังอันใด เรื่องใดจะกระทำการในวันเสาร์ห้า ความเชื่อนี้ได้ตกทอดมาแต่โบราณกาล เพราะ หลายปี จึงจะมีครั้งหนึ่ง นับว่าเป็นภูมิปัญญาของสังคมไทยประการสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ด้วยเหตุด้วยผล ที่เหมาะสม ต่อไปในสังคมไทย    แม้จะเป็นเพียงความเชื่อ แต่นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ในการให้กำลังใจแก่ผู้คน แก่ประชาชน ในสังคมไทย อย่างดีที่สุด คือวันเสาร์ห้า ที่ประทับใจกันอย่างไม่มีวันลืมเลือน
                                                                                               สันติ อภัยราช
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 26, 2011, 01:19:23 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!