ประวัติความเป็นมา ของ การสร้าง อนุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่ วัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ภาพยนตร์ชุด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จาก คุณอดุลย์ โพธิ์อ่วม นายกอบต.คณที กำแพงเพชร
? เมื่อ: วันนี้ เวลา 04:50:05 pm ?
ประวัติความเป็นมา ของ การสร้าง อนุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่ วัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
[/color]
http://www.youtube.com/watch?v=i4hk-PLhawEพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ : เจ้าเมืองสุโขทัยเชื้อสายเมืองกำแพงเพชร
สืบค้นโดย นายรุ่งเรือง สอนชู
ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1
หน้าที่ 37-39 อธิบายว่าก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองสุโขทัยนั้น
พ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชชนาลัยมาก่อน แต่ถูกขอมขยายอำนาจมาครอบครอง พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม ได้นำทหารเข้าร่วมวางแผนกับพ่อขุนบางกลางหาว ที่เมืองบางยาง เพื่อขับไล่ขอมออกไป โดยพ่อขุนบางกลางหาวยึดได้เมืองศรีสัชชนาลัย พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองร่วมกันไล่ขอม
สมาดโขลญลำพง แตกหนีไป พ่อขุนผาเมืองได้เข้าเมืองสุโขทัยและได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า ?ศรีอินทรบดินทราทิตย์?
ข้อความในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ในหนังสือประชุมศิลาจารึก
ภาคที่ 1 หน้า 17 ได้กล่าวถึงราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ว่า มีมเหสีชื่อนางเสือง โอรสองค์โตเสียชีวิตเมื่อยังเล็ก โอรสองค์ที่ 2 พ่อขุนบานเมือง โอรสองค์ที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง หรือรามราช องค์ที่ 4 และ 5 เป็นราชธิดา
จากจารึกหลักที่ 2 และ 1 นั้นไม่ได้กล่าวถึงเชื้อชาติตระกูล หรือถิ่นฐานของ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ว่ามาจากที่ใด
การขื้นครองราชย์และสิ้นรัชกาลของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเอกสารต่าง ๆ ที่มีผู้มีความรอบรู้ทางประวัติศาสตร์นำข้อมูลมาเสนอลงในเอกสารดังต่อไปนี้
ในหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกจนถึงสิ้นอยุธยา หน้าที่ 85-86 กล่าวถึงบุคคล 2 ท่านที่เกี่ยวข้องกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
1 นายตรี อมาตยกุล เสนอว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขี้นครองราชย์ เมื่อ
พ.ศ. 1781 ไม่ระบุว่าสิ้นรัชกาล เมื่อใด
2. ดร. ประเสริฐ ณ นคร เสนอว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ
พ.ศ. 1762-1781 ไม่ระบุว่าสิ้นรัชกาล เมื่อใด
ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 371 ทำตารางเสนอว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1792 ไม่ระบุสิ้นรัชกาล แต่ระบุสิ้นรัชกาล
ของพ่อขุนบานเมืองว่า พ.ศ. 1822 และพ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1822
ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 108 ไม่ระบุการขึ้นครองราชย์ และสิ้นรัชกาลของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่ระบุว่าพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1821 และพ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ในปีเดียวกันคือ พ.ศ. 1821
2
ตามหลักฐานของการขึ้นครองราชย์และสิ้นรัชกาลนั้น ผู้เขียนพอจะสรุปได้ว่า
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 1762-1792 และสิ้นรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 1821
พระร่วงเจ้าเมืองสุโขทัยมีเชื้อสายเป็นชาวเมืองกำแพงเพชร
จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 177-188 ได้กล่าวถึงพระร่วงองค์หนึ่งซึ่งภายหลังได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย โดยมี อัยกา(ปู่) และ ชนก (พ่อ) เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร โดยจะขอนำเรื่องราวโดยย่อมาเสนอดังนี้
เมื่อ จุลศักราช 536 พระเจ้าสุริยราชาเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยวงษ์ได้มาครอบครองเมืองพิจิตรปราการแล้วขึ้นครองราชย์ หลังสิ้นพระชนม์ลง โอรสคือพระเจ้าจันทกุมาร ขึ้นครองราชย์ต่อมาเมื่อจุลศักราช 570 ทรงพระนามว่าพระเจ้าจันทราชา ในเวลาต่อมาทรงทิ้งเมืองกำแพงเพชรไปสร้างเมืองสุโขทัย
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าจันทราชาเสด็จประพาสป่าพร้อมด้วยทหารจำนวนมาก พบหญิงสาวนางหนึ่งมีรูปโฉมงดงาม พระองค์มีความเสน่หา รักใคร่และได้นางนั้น ชักชวนให้เข้าไปอยู่ในวังเพื่อให้เป็นเอกอัครนารี แต่นางปฏิเสธ ทำให้พระเจ้าจันทราชากลับคืนสู่พระราชวังโดยไม่มีหญิงงามนั้นติดตามไปด้วย ต่อมาหญิงนั้นตั้งครรภ์และคลอดออกมาเป็นบุตรชาย ทิ้งไว้ในไร่อ้อย ตากับยายเจ้าของไร่อ้อยมาพบเข้าจึงนำไปเลี้ยงไว้ เมื่อโตขึ้นอายุได้ 15 ปี มีรูปโฉมลักษณะงดงาม มีอานุภาพมากจะออกปากสิ่งใดก็เป็นไปตามนั้น และได้ตั้งชื่อว่า พระร่วง
กิตติศัพท์อันนี้ทราบไปถึงพระเจ้าจันทราชาผู้ปกครองกรุงสุโขทัย จึงเกิดสงสัย
ตรัสสั่งทหารให้ไปหาตายายเจ้าของไร่อ้อยพร้อมเด็กหนุ่มนั้นเข้าเฝ้า ตาและยายได้เล่าถึงการได้มาของเด็กหนุ่มนั้นตามลำดับ พระเจ้าจันทราชาจึงเชื่อว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นโอรสของพระองค์เองที่เกิดกับหญิงสาวในคราวที่ออกประพาสป่าและนางนั้นไม่ยอมที่จะเข้าไปอยู่ในวังด้วย จึงให้รับพระร่วงนั้นเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ในพระราชวัง
ในช่วงระยะนั้นเมืองสุโขทัยได้ถูกขอมขยายอำนาจมาครอบครอง จำเป็นต้องส่งส่วยน้ำให้กับขอม พระร่วงได้ทูลให้พระเจ้าจันทราชา งดส่งส่วยน้ำ ทางฝ่ายขอมเห็นว่าสุโขทัยเริ่มแข็งข้อกระด้างกระเดื่อง จึงยกทัพมาปราบปราม พระร่วงได้นำกองทัพเข้าต่อสู้จนสามารถขับไล่กองทัพขอมออกไป และได้ช่วยดูแลเมืองสุโขทัยตลอดมา พระเจ้าจันทราชาขึ้นครองราชย์ได้ 30 ปี ก็สิ้นพระชนม์ พระร่วงได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองสุโขทัยต่อมา
ในปลายรัชกาลนั้น มีชาวมอญชื่อมะกะโท้ เข้ามาค้าขายในเมืองสุโขทัย แล้วเลิก
เข้าไปฝากตัวอยู่กับนายช้างพระที่นั่งโรงใน ช่วยดูแลรักษาเก็บกวาดมูลช้างทำให้โรงช้างสะอาด
3
อยู่เสมอ นายช้างให้ความเมตตารักใคร่ นายมะกะโท้ทำความดีเรื่อยมาจนเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้า จนได้เลื่อนให้มะกะโท้ขึ้นเป็นขุนวัง ตำแหน่งกรมวัง
เกิดขบถขึ้นตามชานเมือง พระร่วงทรงเสด็จกรีฑาทัพไปปราบปรามด้วย
พระองค์เอง ตรัสสั่งให้มะกะโท้ผู้เป็นกรมวังเฝ้ารักษาพระนคร มะกะโท้ซึ่งมีความรักใคร่ต่อนางสุวรรณเทวีพระราชธิดาของพระร่วงอยู่แล้ว ก็ลอบรักใคร่กับพระราชธิดานั้น ข้าราชการทั้งหลายในวังนั้นรู้เรื่องทั้งหมด ทำให้มะกะโท้กลัวพระราชอาชญาสมเด็จพระร่วงเจ้า จึงตัดสินใจพาพระราชธิดานั้นหนีออกจากสุโขทัยไปอยู่ที่บ้านตะเกาะวุนซึ่งเป็นบ้านเดิมของตน
เมื่อพระร่วงเจ้าได้ปราบปรามชาวขบถตามชายแดนจนราบคาบแล้วก็เสด็จกลับเมืองสุโขทัย ข้าราชการได้รายงานเรื่องการกระทำของมะกะโท้ให้พระร่วงเจ้าทรงทราบ
พระร่วงเจ้าทรงโปรดปรานมะกะโท้อยู่ก่อนแล้ว จึงไม่ทรงพิโรธแต่ประการใด แต่กลับทรงอวยพรให้ไป ทั้งนี้ด้วยอำนาจบุญบารมีของมะกะโท้ จะได้เป็นกษัตริย์ใหญ่ในประเทศรามัญ
ในเวลาต่อมา ด้วยอำนาจวาสนาของมะกะโท้ ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์เมือง
เมาะตะมะ ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว
พระร่วงได้ครองราชย์สมบัติเป็นเป็นสุขมาช้านาน เมื่อแรกขึ้นครองราชย์สมบัติ
มีพระชนม์ได้ 35 พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ 40 พรรษา รวมพระชนมายุ 75 พรรษาก็เสด็จสวรรคต
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เขียน
ผู้เขียนได้สืบค้นหาชื่อเมืองพิจิตรปราการที่พระเจ้าสุริยราชาเชื้อสายเขมร
มาครอบครอง เมื่อจุลศักราช 536 หรือ พ.ศ. 1717 ได้พบในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า
หน้า 11, 180 และ201 ได้อธิบายว่าเมืองพิจิตรปราการนั้นคือเมืองกำแพงเพชร
จากเรื่องราวที่นำมาเสนอนั้น สรุปได้ว่าพระร่วง มีอัยกาและชนก เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร จริง พระร่วงได้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1781 และสิ้นรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 1821
หนังสือคำให้การกรุงเก่า หน้า 180 พระเจ้าจันทราชาได้ไปครอบครอง
เมืองสวรรคโลกด้วย ผู้เขียนเชื่อว่าคงทิ้งเมืองกำแพงเพชรไปสวรรคโลกก่อนที่จะมาครอบครองสุโขทัยในคราวหลัง
จากการตรวจสอบเรื่องราวของมะกะโท้ ในระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ที่เมืองสุโขทัย
ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 10 หน้า 14 ซึ่งเป็นพงศาวดารของพม่ารามัญ พบว่ามะกะโท้ได้เข้ามารับราชการที่กรุงสุโขทัยในรัชกาลของพระร่วง
4
เมื่อ จุลศักราช 634 (พ.ศ. 1815) ในคราวหลังได้หลบหนีกลับไปอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เมื่อถึงจุลศักราช 643 (พ.ศ. 1824) คิดขบถจับอลิมามางเจ้าเมืองเมาะตะมะฆ่าเสีย มะกะโท้ก็ได้เป็นใหญ่ในเมืองเมาะตะมะ ครั้นต่อมามีอานุภาพมาก แล้วตั้งตัวข้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ?สมิงวาโร? แต่คนไทยเรียกว่า ?พระเจ้าฟ้ารั่ว?
เมื่อมะกะโท้เข้ามารับราชการที่เมืองสุโขทัย เมือจุลศักราช 643 (พ.ศ. 1815) นั้นแสดงว่ามาในปลายสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ก่อนที่พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงจะขึ้นครองราชย์ 6-7 ปี
หลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ 2 และหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงการขึ้นครองราชย์
เมืองสุโขทัย ใช้พระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ส่วนประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม1
ใช้พระนามว่า พระร่วง ระยะเวลาการขึ้นครองราชย์นั้นมีทั้งตรงกันและแตกต่างกัน ส่วนวัน
สิ้นรัชกาลนั้นตรงกัน
ดังนั้น เจ้าเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า ?พ่อขุนศรีอินทราทิตย์? จากศิลาจารึก และ ?พระร่วง? จากประชุมพงศาวดารฯ ย่อมเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้
1.เป็นไปได้ยากที่เจ้าเมืองสุโขทัยจะมีเจ้าเมืองสองพระองค์ ขึ้นครองราชย์ ในเวลา
เดียวกันหรือใกล้เคียง และสั้นรัชกาลในปีเดียวกัน
2.พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงคงไม่ยอมที่จะให้ผู้อื่นเป็นเจ้าเมืองคู่กับ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
3. พงศาวดารพม่าได้บันทึกว่า มะกะโท้ เข้ามารับราชการที่กรุงสุโขทัยกับพระร่วง
เมื่อ พ.ศ. 1815 พระร่วงยกกองทัพไปปราบขบถที่ชานเมือง โดยมอบมะกะโท้ อยู่รักษาพระราชวัง ย่อมหมายถึงไม่มีเจ้าเมืองสุโขทัยอีกแล้วถึงต้องมอบอำนาจ ให้กับมะกะโท้
4. จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 112 เจ้าเมืองสุโขทัยมีพระนามได้ 3 พระนาม คือพระโรจราช หรือพระร่วง หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วงประสูติที่ใด
จากชินกาลมาลีปกรณ์ ในหน้า 112-113 ตอนหนึ่งมีข้อความถึงการประสูติ
? ได้ยินว่า ที่ตำบลที่บ้านโค ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น จึงเกิดบุตรชายหนึ่ง
และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้น ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า
โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง?
ผู้แปลหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายว่า บ้านโค อาจเป็น บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร
ผู้เขียนเชื่อว่า บ้านโค ก็คือ บ้านโคน อันเป็นที่เกิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เพราะมีอัยกาและชนกเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่แล้ว และพระร่วงนั้นเกิดก่อนที่พระเจ้าจันทราชาจะขึ้นเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร 6-7 ปี
ประชุมศิลาจารึก ภาค 1 ในหน้า 144-146 เป็นจารึก หลักที่ 13 จารึกบนฐานรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ สร้างเมื่อพ.ศ. 2053 โดยเจ้าเมืองกำแพงเพชร คือเจ้าพระยาศรีธรรมมาโศกราช ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดกำแพงเพชร เรื่องราวที่จารึกนั้นข้อความตอนหนึ่งเมื่อแปลแล้วได้ความว่า ? อนึ่งท่อปู่พระยาร่วงทำเอาน้ำไปถีงเมืองบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้นและเขาย่อมทำนาทางฟ้า และหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา?
แสดงว่า พระร่วงองค์นั้นจะต้องเป็นชาวกำแพงเพชรด้วย เพราะมี ปู่เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร จึงมีความสามารถที่สั่งให้ขุดคลองส่งน้ำจากกำแพงเพชรไปถึงเมืองบางพานได้ และอาจเป็นเป็นไปได้ว่า ปู่พระยาร่วงองค์นั้น คือ พระเจ้าสุริยราชา พระอัยกาของ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั่นเอง
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร, คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และ พระราชพงสาวดารกรุงเก่า ฉบับ
หลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คลังวิทยา,2515.
คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1.
กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
ภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
ภิเษก เล่ม 10. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
ถนอม อานามวัฒน์และคณะ,ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยเริ่มแรงจนถึงสิ้นอยุธยา.
กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2528.
แสง มนวิทูร, ร.ต.ท. ชินกาลมาลีปกรณ์.(พิมพ์อนุสรณ์นายกี่ นิมมานเหมินทร์) มิตรนราการพิมพ์,
2510.