จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 28, 2024, 01:29:20 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาและความหมายของเมือง ?กำแพงเพชร? สืบค้นโดยอาจารย์ รุ่งเรือง สอนชู  (อ่าน 5415 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 02:32:13 pm »

ที่มาและความหมายของเมือง ?กำแพงเพชร?
สืบค้นโดยอาจารย์ รุ่งเรือง  สอนชู
            การตั้งชื่อสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสัตว์  ชื่อสถาน หรืออื่นๆ  ก็มักจะมีสาเหตุของการตั้งชื่อของสิ่งนั้นๆ  เด็กเมื่อเกิดมามีผิวดำ รูปร่างอ้วน ก็ตั้งชื่อเล่นว่าหมี  เพราะคล้ายหมี  ลูกแมวมีผิวลายคล้ายสัตว์อื่น ก็ตั้งชื่อเป็นสัตว์อื่น  อาจเรียกชื่อ เสือ หรือ สิงโต   ชื่อบ้านเทพนคร ปัจจุบันมีพื้นที่อยู่ที่หมู่ 4      และ 15 ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร เดิมชาวบ้านเรียกว่า บ้านปางหรั่ง หรือปางฝรั่งเพราะนายเค จี แก็ตเนอร์ ซึ่งเป็นชาวอังกฤษได้ย้ายครอบครัวพร้อมทั้งคนงานมาทำนาบริเวณนี้ ประมาณ 30 ปี  แต่หลังจากนายเค จี แก็ตเนอร์  ได้เลิกกิจการและขายที่นาพร้อมทั้งอาคารและเครื่องจักรกลซึ่งนำมาจากประเทศอังกฤษคืนให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บ้านปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ค่อย ๆหายไป  แล้วเรียกชื่อใหม่ตามชื่อเมืองโบราณคือเมืองเทพนคร ว่า บ้านเทพนคร   เช่นเดียวกับจังหวัดของเราย่อมจะต้องมีเรื่องราวหรือที่มาจึงเรียกว่า ?กำแพงเพชร? 
            จากการสืบค้น พบข้อความในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7  เรื่อง ?ตำนานเมืองเชียงแสน? เรื่อง ?พงศาวดารโยนก?  และในหนังสือ ?ตำนานสิงหนวติกุมาร?  มีเรื่องราวตรงกันว่า  เมื่อจุลศักราช 298  หรือพุทธศักราช  1479  พระเจ้าพรหมได้ยึดเมืองโยนกคืนจากขอมได้แล้ว  ไล่ปราบขอมตั้งแต่เมืองโยนกล่องลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร ตั่งค่ายพักค้างคืนที่เมืองแปบ   ในคืนนั้นพระเจ้าพรหมได้ทรงนิมิตไปว่า  พระอินทร์ได้เล็งดูรู้เหตุการณ์ทั้งหมด ก็รำพึง พระเจ้าพรหมได้กำจัดขอมดำไปถึงที่ใดก็ฆ่าเสีย  ถ้าปล่อยไว้ก็จะตายกันทั้งหมด  จึงคิดที่จะช่วยป้องกันชีวิตของพวกขอมไว้  โดยมอบให้เทวบุตรมาเนรมิตกำแพงหินขวางกั้นเจ้าพรหมไว้  เพื่อไม่ให้ฆ่าขอมอีกต่อไป 
           จากการนิมิตนั้น พระเจ้าพรหมจึงทรงหยุดไล่ฆ่าขอมและรี้พลทหารกลับเมืองโยนก  ให้พระราชบิดาครองเมืองโยนกตามเดิม  ส่วนพระเจ้าพรหมนั้นได้ทรงสร้างเมืองขึ้นใหม่ คือเมืองไชยปราการ(ปัจจุบันเป็นเมืองร้างอยู่ระหว่างเมืองเชียงราย-แม่น้ำโขง) เพื่อป้องกันการรุกรานจากขอมไปตีเมืองโยนกอีก  เมื่อสิ้นพระเจ้าพรหมแล้ว  พระเจ้าไชยศิริซึ่งเป็นโอรสได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อ   
           พระเจ้าไชยศิริ ครองราชย์ได้  7  ปี   เมื่อ่จุลศักราช 366 (พ.ศ. 1547 ) ถูกกองทัพพม่าจากเมืองสุรรมวดี(เมืองสเทิม)  เข้ามารุกราน  ไม่สามารถจะป้องกันได้  จึงตัดสินพระทัยเผาเมืองไชยปราการทั้งหมด แล้วนำประชาราษฎร์พร้อมหมู่ทหารหนีมาถึงบริเวณที่พระเจ้าพรหมทรงตั้งค่ายค้างคืนเมือคราวไล่ฆ่าขอม(เมืองกำแพงเพชรในปัจจุบันนี้)  เมื่อครบ 3  วัน   ถึง  ณ  วันอังคาร  เดือน ๙  แรม  ๔  ค่ำ  ได้สถาปนาสถานที่แห่งนี้ขึ้นเป็นเมือง ?กำแพงเพชร? 
              เพื่อให้รู้ถึงที่มาและความหมายของการตั้งชื่อเมือง ?กำแพงเพชร? จึงขอคัดลอกข้อความเป็นบางส่วนดังนี้
              เรื่อง ?ตำนานเมืองเชียงแสน?  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า  106-107 มีข้อความว่า
         ?  ส่วนว่าพระองค์ชัยสิริเจ้าก็ป้องเอาคนครัวลูกหนีไปไปหาเวียงโยนกนครชัยบุรีศรีเชียงแสนหลวงนั้น  ก็ไปบ่ได้  เหตุว่าฝนตกแม่น้ำกุกนทีนั้นนองนักก็พากันย้ายหนีไปทางตะวันออกล่องใต้ไปทางผาหมื่นผาแสนแล้วล่องไปทางตะวันออกเขาชุมพู  คือว่าดอยขวัญนั้น  ก็อยู่บ่ได้กลัวข้าเสิกตามทัน  ก็เอากันหนีไปทั้งวันออกไจ้ ๆ นานได้เดือนหนึ่ง  ก็ล่วงล้ำที่พระยาพรหมกุมารตนพ่อแห่งท่านไล่ขรอมไปเทิกนั้นวันหนึ่งแล  เมื่อนั้นก็ร้อนแผวที่นั่งแห่งพระยาอินก็ลงมาเนรมิตตนเป็นผ้าขาวตน ๑  แล้วก็มายืนอยู่ที่ใกล้  ส่องหน้าช้างที่นั่งท่าน  แล้วก็กล่าวว่า  ดูรามหาราช  ท่านจุ่งตั้งเมืองอยู่ถานที่นี้เทอะ เป็นชัยภูมิดีบ่มีข้าเสิกสัตรูสังจักมาบีบเบียฬสักอันแลว่าอั้น  แล้วก็อนทรายกลับหายไปหั้นแล  เมื่อนั้นท่านก็ยั้งหมู่อยู่ที่นั้น ๓ วันนั้นแล้ว  เดือน  ๙  แรม ๔ ค่ำ  ท่านก็สร้างเวียงอยู่ที่นั่น แล้วก็เรียกชื่อว่าเมืองกำแพงเพกว่าอั้น  เหตุเอานิมิตพระยาอินเนรมิตกำแพงหินเกิ๊ดพรหมกุมารพ่อท่านเมื่อไล่กรอมนั้นแล  มีคนแสนครัวก็ตั้งบ้านอยู่ชอมริมน้ำแม่ระมิงตราบแถวสบแล  ลวดเบิกนามกรว่า พระองค์ชัยสิริเชียงแสนว่าอั้นแล?
           เรื่อง ?พงศาวดารโยนก?  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า  490-491  มีข้อความว่า
           ?ลุศักราช ๓๖๖ ปีมะเส็ง  ฉสก  วันพฤหัสบดี  เดือน ๘  แรม ๑ ค่ำ  พระเจ้าไชยศิริราชก็ยกรี้พลครอบครัวราษฎรอพยพออกจากนครไชยปราการ  ครั้นจะขึ้นไปทางเมืองไชยบุรีเชียงแสน  ทางต้องข้ามแม่น้ำกก  เป็นฤดูฝนน้ำหลากข้ามยาก  จีงได้ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ทางผาหมื่นผาแสน  แล้วไปถึงเขาชมภูคือดอยด้วน  ซึ่งภายหลังเป็นที่ตั้งเมืองพะเยา  พักพลอยู่ดอยด้วนนั้นพอหาอิดโรยแล้วก็ยกล่วงมาทางทิศใต้  เดินทางพักผ่อนรอนแรมมาได้  ๑  เดือนก็บรรลุถึงแดนเฉลี่ยง  ซึ่งพระเจ้าพรหมราชพระราชบิดาของพระองค์ได้ปราบขอมลงไปถึงถิ่นที่นั้นแต่กาลก่อน  จึงพักพลอยู่  ณ  ที่ใกล้เมืองร้างตรงกับฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร(คือเมืองแปบ) มีปะขาวคนหนึ่งมาชี้ที่ให้ตั้งพระนครว่า  ขอมหาราชเจ้าจงตั้งพระนคร  ณ    สถานที่นี้เถิดเป็นชัยภูมิดี  บ่มีข้าศึกศัตรูจะมาเบียดเบียนได้  แล้วปะขาวนั้นก็อันตรธานหายไปเฉพาะหน้าพระที่นั่ง  พระเจ้าไชยศิริราชก็แจ้งประจักษ์ในพระทัยว่า  สมเด็จอมรินทราธิราชเสด็จชี้ที่ให้ตั้งพระนคร  มีพระทัยโสมนัสปรีดายิ่งนัก  จึงให้ตั้งชมรมพักพลอยู่  ณ  ที่นั้นถ้วน ๓ วัน ถึง  ณ  วันอังคาร  เดือน ๙  แรม  ๔  ค่ำ  จึงให้ฝังหลักเมืองตั้งพระนคร  ล้อมระเนียดค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทั้งพระราชนิเวศน์มนเทียรสถาน  ครั้นสำเร็จจึงเสด็จขึ้นครองนครนั้นขนานนามว่าเมืองกำแพงเพ็ชร  เหตุเอานิมิตที่สมเด็จอมรินทราธิราชให้วิษณุกรรมเนรมิตกำแพงศิลากั้นกันแดน  เมือครั้งพระเจ้าพรหมราชไล่ปราบขอมลงมานั้น?
             ในหนังสือ ?ตำนานสิงหนวัติกุมาร?  หน้า 90-93  มีข้อความว่า
             ?  ศักราชได้  ๓๖๖  ตัวปีเมิงไส้  ศาสนาพระพุทธเจ้าล่วงไปพ้นเต็มบริบูรณ์นั้น  เดือน ๙  แรมค่ำ   ๑  วันพฤหัสบดี  ท่านก็มีอาชญาให้ไปปองเอาตนครัวหนีไปนั้นแล้ว   กาลนั้นส่วนว่าพระยาสุธรรมวดีก็มาได้เวียงเปล่าหามีผู้คนไม่  เห็นแต่เท่าไฟไหม้ข้าวและเรือนนั้น  ก็บ่อาจจักตามไปได้  ก็พารี้พลโยธาหนีกลับคืน  เมื่อหาบ้านเมืองนั้นแล  ส่วนพรองค์ไชยสิริเจ้าก็ปองเอาคนครัวหนีไป  จักหนีไปหาเวียงโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสนหลวงนั้นก็ไปบ่ได้  เหตุว่าฝนตกน้ำแม่กุกกุฎนทีนองมากนัก  ก็พากันหนีไปทางตะวันออก  ล่องใต้ไปทางเมืองผาหมื่นผาแสน  แล้วล่องไปทางตะวันออกเข้าชมพู  คือว่าดอยด้วนนั้นอยู่บ่ได้  กลัวข้าศึกจะติดตามมาก็พากันหนีไปทางตะวันออกนานได้เดือนหนึ่ง  ก็ไปถีงที่พระยาพรหมราชตนพ่อแห่งท่านไล่ขอมไปถึงที่นั้น   ครั้งนั้นก็ร้อนถึงที่นั่งพระยาอินทร์  ครั้นพระยาอินทร์ได้ทราบเหตุการณ์ดังนั้น  ก็ลงมาเนรมิตเป็นตาผ้าขาวตนหนึ่ง  แล้วก็มาอยู่ใกล้ช้างที่นั่ง  กล่าว่า ดูกรมหาราช  ท่านจงตั้งเมืองอยู่ฐานะที่นี้เทอญ  เป็นชัยภูมดี  บ่มีข้าศึกสัตรูจักมาเบียดเบียนท่านแด่  ว่าดังนั้นแล้ว  พระยาอินทร์ก็กลับหายไปในกาลนั้น  พระองค์ก็ยับยั้งหมู่บริวารอยู่ที่นั้นสามวัน  แล้วเดือน  ๙  แรม  ๔ ค่ำ  วันอังคารท่านก็สร้างเวียงอยู่ที่นั้น  แล้วเรียกชื่อว่า เมืองกำแพงเพ็ชร์นั้นแล  เหตุเอานิมิตต์พระยาอินทร์กำแพงหินกั้นพรหมกุมารผู้เป็นราชบิดาของท่านครั้งเมื่อไล่พระยาขอมดำไปนั้นแล  มีคนแสนครัว ก็ตั้งอยู่ริมน้ำแม่ระมิงตราบแถวสบแลก็เปลี่ยนนามว่า  พระองค์ไชยสิริเชียงแสนนั้นแล?
                จากข้อความที่ได้คัดลอกทั้ง 3 เรืองนั้น ทำให้รู้ที่มาของการตั้งชื่อเมือง ?กำแพงเพชร? ว่า พระเจ้าไชยศิริทรงนำนิมิต(ความฝัน)ของพระเจ้าพรหมมาตั้งเป็นชื่อเมือง
               ?กำแพงเพชร? เป็นคำประสมของคำสองคำ  คือ?กำแพง? กับ ?เพชร?    ตามพจนานุกรมนั้น ?กำแพง? เป็นคำนามหมายถึง ?เครื่องกั้น? หรือ ?เครื่องล้อม?  คำว่า ?เพชร?  เป็นคำนาม เป็นชื่อแก้วที่แข็งที่สุด  ส่วนในภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต  หมายถึง ?อาวุธของพระอินทร์?
                 ดังนั้นเมือง ?กำแพงเพชร?   จึงมีความหมายว่า ?เป็นเมืองที่ถูกพระอินทร์สร้างกำแพงล้อมไว้? และอาจจะหมายถึง ?เมืองที่มีกำแพงแข็งแกร่งดังเพชร?  เพราะแม้แต่พระเจ้าพรหมก็ยังไม่สามารถที่จะผ่านกำแพงออกไปฆ่าขอมได้



อ้างอิง
         คณะกรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ตำนานสิงหนวัติกุมาร  ฉบับสอบค้นของ มานิต 
                       วัลลิโภดม.  สำนักนายกรัฐมนตรี: 1516
         คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                       ภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2541

           
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!