จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 28, 2024, 12:56:02 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพลงพื้นบ้าน กำแพงเพชร  (อ่าน 10886 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 09:50:15 pm »

ระบำก.ไก่

   ริมน้ำปิงตอนที่งดงามที่สุด ตอนหนึ่ง เราเรียกกันว่า?.บ้านวังพระธาตุ ?..หมู่ที่ 4 ของตำบล ไตรตรึงษ์  อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร
   บ้านวังพระธาตุ  เป็นชุมชนโบราณ ที่มีประชาชนตั้งถิ่นฐานสืบต่อกันมาหลายร้อยปี ทำให้สามารถ
สั่งสม วัฒนธรรมอย่างหลากหลาย และ ร่วมกันจรรโลงและฟื้นฟู วัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านสู่วิถีชีวิตของคน
วังพระธาตุให้มีความสุขได้อย่างวิเศษสุด???.
   ระบำก.ไก่ เป็นการแสดงชุดใหญ่?ที่สืบทอดกันมานับร้อยปี  บุคคลที่ควรกล่าวถึงคือ แม่เสนอ สิทธิ เป็นผู้สืบทอดงานวัฒนธรรมสำคัญนี้  สู่ประชาชน บ้านวังพระธาตุ และน่าภูมิใจที่ อาจารย์สุขศรี   สิทธิ  ลูกสาวของคุณแม่เสนอ ได้ร่วมถ่ายทอดเจตนารมณ์ ทางวัฒนธรรม ของคุณแม่ไว้ทั้งสิ้น ??เพลงพื้นบ้านระบำ ก.ไก่ไม่สูญจากบ้านวังพระธาตุอย่างแน่นอน???..
   ระบำก.ไก่ ดัดแปลงมาจากเพลงกลางบ้าน ที่เดิมมีเนื้อหาบทร้องเป็นการโต้ตอบ  เกี้ยวพาราสี ระหว่างชาย หญิง เป็นการด้นสดๆ เมื่อมีการเรียนการสอนในโรงเรียน คงมีผู้รู้แต่งบทระบำก.ไก่ ให้นักเรียนเรียนได้อย่างไพเราะและกลมกลืนอย่างที่สุด
   ระบำก.ไก่ แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรม ของบ้านวังพระธาตุ อย่างเด่นชัด  มีบทไหว้ครู ที่ตรงตามแบบฉบับ ของการแสดงพื้นบ้าน ว่า?ฮืม. ก่อนเล่นระบำก.ไก่ นั้นต้องไหว้ครูก่อน เพราะจะต้องมีครูฝึกสอนจึงจะมาเล่นได้?? ขอไหว้พระครูสูงสุด   คือองค์พระพุทธ พระธรรม อีกทั้งสงฆ์ ชี้นำ   ทางสดใส ทั้งครูร้อง ครูรำ ที่ท่านดังมากล่าว  ลูกขอกราบไหว้วอน ซึ่งพระคุณทั้งหลาย ลูกจะร้องจะรำ ขออย่าให้ขัดข้อง ขอให้พระคุณทั้งผองจงช่วยอวยชัย??. แล้วนำตัวอักษรทั้ง 44 ตัว  มาร้อยเรียงได้อย่างไพเราะ โต้ตอบกันจนครบตัวอักษร อย่างไพเราะ เป็นภูมิปัญญาไทย  ภูมิปัญญาวังพระธาตุอย่าง น่าสนใจเป็นที่สุด  อาทิ
 ฝ่ายชายร้อง???.. แม่ก.ไก่งามเกิน พี่ร้องเกริ่นทำไมไม่กลับ แม่การะเกด ซ่อนอาบ  ช่างส่งกลิ่นหอมไกล
ฝ่ายหญิง ร้อง??? พ่อก.ไก่งามเกิน  เห้นจะไม่ได้เกลี้ยกล่อม  อย่าทำหน้าเก้อ อกกรอม  ไปเลยนะพ่อหนุ่มบ้านไกล
   ชาย แม่  อ.อ่างเอออวย   เหมือนน้ำเอ่อปากอ่าว  ถ้าน้องจะเอาก็เอา  อย่าทำเป็นคนขี้อาย
   หญิง พ่อ อ.อ่าง โอ้อวด  พี่อย่างมาทำออดอ้อน น้องไม่ใช่คนใจอ่อน หรอก นะคนหน้าไม่อาย
ทุกตอนจะมีคำสร้อย ว่า???. เอ่อะระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
   ตอนจบ มีบทจบและบทลาจาก ที่ไพเราะและถ้าทายผู้ชมเป็นอย่างมาก?ฮืม จบแล้วระบำก.ไก่ เป็นอย่างไรท่านผู้ชม ถ้าท่านเห็นเหมาะสม ช่วยกันอนุรักษ์เพลงไทย ครบตัวอักษร 44 พวกผมขอหนีจากท่านผู้ชม ทั้งหลายขอให้โชคดีมีชัย?ฮืม??.
   ระบำ ก.ไก่ มีคุณค่าทางวัฒนธรรม อย่างหลากหลาย และทรงคุณค่าอย่างที่สุด ได้แก่
      คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์  แสดงการใช้ถ้อยคำ สัมผัสทั้งสระและสัมผัสอักษร  ที่มีชั้นเชิงแพรวพราว  แสดงถึงปฏิภาณและไหวพริบของผู้แสดง ในการร้องโต้ตอบกัน ใช้โวหารอุปมาอุปไมยโต้ตอบกัน ตรงไปตรงมาเห็นภาพพจน์อย่างชัดเจน
      คุณค่าทางสังคม  สะท้อนให้เห็นสภาพสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ แนวคิด  และความเชื่อ อาหารการกิน สภาพภูมิศาสตร์  การติดต่อคมนาคม  แนวคิดในการเลือกหาคู่ครอง ความรัก ตลอดจนการถ่ายเทวัฒนธรรมใหม่ เขามาในบทร้อง

      คุณค่า ทางจิตใจ ต่อประชนชาววังพระธาตุ  ที่ได้มีโอกาสสนุกสนาน รื่นเริง ร่วมพบปะพูดคุยระหว่างหนุ่มสาว  โดยไม่ผิดประเพณี และศีลธรรม  เพราะเป็นงานรื่นเริง  เช่นงานสงกรานต์ ซึ่ง ในหนึ่งปีมีครั้งเดียว
ให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน
   สมควรที่จะได้ยกย่องพ่อเพลง แม่เพลง และสืบทอดการแสดงดังกล่าวไปสู่ลูกหลาน เมื่อมีโอกาสที่จะสนับสนุน ให้ศิลปินพื้นบ้านมาแสดงออกในงานประเพณีต่างๆ ของชาวกำแพงเพชร  แม้จะไม่ทันสมัย หรือมิใช่กระแสนิยม ควรให้โอกาส การแสดงพื้นบ้านของกำแพงเพชร ได้อยู่คู่กำแพงเพชรตลอดไป

 
รำโทน

   รำโทนเป็นการแสดงพื้นบ้านที่พัฒนา มาจากรำวงกลางบ้าน เป็นการละเล่นทางวัฒนธรรมของประชาชนในภาคกลาง  เริ่มในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม  ในยุคชาตินิยม  ได้สนับสนุนการรำโทน  โดยมีการแต่งเพลง รำโทนขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วภาคกลาง  เนื้อเพลงบรรยายความรักท้องถิ่น ความเข้าใจในท้องถิ่น สอดแทรกวัฒนธรรมประเพณี เข้าไว้อย่างลึกซึ้ง  ประชาชน นำเนื้อร้องมาใส่ท่ารำ เน้นความสนุกสนาน และการแสดงออกที่เป็นธรรมชาติของสังคมเป็นหลัก??
   ที่จังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมอำเภอเมือง  ได้อนุรักษ์และสืบทอดไว้ได้อย่างดี
เป็นตัวอย่างในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไว้    รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ มีกลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ และผู้เล่นจะร้องเพลงประสานเสียงกัน ผู้รำหนุ่มจะมาโค้งสาว ออกมารำ ทำท่าทางตามที่ประดิษฐ์ขึ้น
 มีมาตรฐานที่ชัดเจน แน่นอน ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่น สวมเสื้องดงาม  ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขายาว เสื้อคอกลมลายดอก มีผ้าขาวม้าคาดเอว?. ดังเนื้อเพลงที่ว่า?
   ดังเพลงสายน้ำปิงที่ว่า?..
      สายน้ำแม่ปิงไหลนอง?.น้ำเหนือไหลเซาะตลิ่ง  ไหลดิ่งวิ่งเอ่อฝั่ง เย็นสองเรามานั่ง เย็นสองเรามาสั่ง ฝากความหวังไว้ให้แก่กัน สายน้ำคือสายสัมพันธ์  เอ้า เธอกับฉันเป็นชาวฝั่งปิง
   แสดงถึงสายน้ำปิงอันอุดมสมบูรณ์ที่ไหลผ่าน ตัวเมืองกำแพงเพชร ทำให้ชาวนครชุมประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ประกอบเพลงได้อย่างน่าชม
   เพลงดอกกุหลาบ??.ดอกกุหลาบดอกน้อยหนามคม อยากจะชมว่าชื่นอุรา หนามเหน็บ
ทำไมถึงเจ็บหนักหนา ทุกคืนวันมาพาให้สุขใจ อยากรู้จักแม่มายเดลี่ แม่ยอดสตรีแห่งดวงดารา
ข้านี้เปรียบเสมือนกระต่ายน้อย จะมาคอยดวงจันทรา  ฟังดู ฟังดูคารม ชายจะชมไม่ชื่นอุรา ใจชายเชื่อไม่ได้ดอกหนา ใจหญิงเชื่อไม่ได้ดอกหนา ทุกคืนวันมาพาให้สุขใจ??
ซึ่งสอนให้มีความรอบคอบในความรัก  ให้รู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน สุจริตต่อความรัก จริงใจซึ่งกันและกัน
   เพลงดอกบัวไทย?.. ดอกบัวไทยนั้นช่างงามผุดผ่อง แต่ฉันมอง ฉันว่าเธอสวยกว่า เธอนั้นสวยจริงๆ สวยยิ่งกว่าเทพธิดา รักเธอ รักเธอ หนักหนา รักกว่าชีวิตของฉัน หากเธอตายฉันต้องวายชีวัน มาตายด้วยกัน ขึ้นสวรรค์กับฉันและเธอ??
   เพลงดอกบัวไทย แสดงความรัก ของหนุ่มสาว ที่สาบานต่อกัน ไม่สามารถขาดความรักต่อกันได้ เป็นความรักที่แสน อมตะ และลึกซึ้ง
   เพลงหงส์???. หงส์ หงส์   หงส์  อย่าทะนงไปนัก เดี๋ยวปีกของเจ้าจะหัก หักลงอยู่ตรงกลางหนอง  อย่างทะนงถือดีว่าเป็นหงส์ทอง  ยามเมื่อฉันแลมอง หงส์เอย หงส์ทองขยับปีกบิน?
   แสดงถึงการเจียมเนื้อเจียมตัวไม่อวดดี  ไม่ดูถูกซึ่งกันและกัน ระวังตัวผู้ที่หยิ่งจองหองจะเสียใจเสมอ
   เพลงชากังราว??.
      ชากังราววัยคะนอง เราจะต้องไว้ ชื่อ ให้โลกเล่าลือ ขึ้นชื่อว่าชากังราว ใครจะรำก็เชิญ เราไม่เมินหน้าหนี พวกเรายินดี เชิญซิมาเล่นฟ้อนรำ ขอเชิญสาวงามมารำถวายเจ้าพ่อ อนิจจารูปหล่อ คิ้วต่อข้างเดียว พายเรือมารับ ขากลับกระไรน้ำเชี่ยว พายเรือคนเดียว น้ำเชี่ยวอุตส่าห์พายมา


   แสดงถึงสภาพภูมิศาสตร์ของลำน้ำปิงที่ ที่ไหลเชี่ยวและกว้างใหญ่ ประชาชนพายเรือจากฝั่งนครชุมมารำถวายเจ้าพ่อหลักเมืองหลักใจของชาวกำแพงเพชร
   เพลงรำโทนเป็นเพลงพื้นบ้านที่ใหม่ที่สุด การรำ การเล่น สนุกสนาน เป็นต้นแบบแห่งการรำวง
มาตรฐาน ของกรมศิลปากร?. จังหวัดกำแพงเพชรมีเพลงรำโทนจำนวนมาก แต่ยังไม่มีผู้รวบรวมไว้ทั้งหมด ควรที่มีผู้สนใจรวบรวม และวิเคราะห์วิจัย เพลงรำโทนไว้ ให้อนุชนได้ทราบสภาพบ้านเมือง ประเพณี วัฒนธรรมและแนวคิด ที่ชัดเจนของกำแพงเพชร ในช่วง  60 ปี ที่ผ่านมา เพลงรำโทนฉายภาพเหล่านี้ได้ชัดที่สุด น่าศึกษาและอนุรักษ์ไว้ เพื่อชาวกำแพงเพชรของเรา??..

                  
 
เพลงพวงมาลัย

 เพลงพวงมาลัย    เป็นเพลงพื้นบ้าน ภาคกลาง ที่ดัดแปลงมาจาก ระบำกลางบ้าน พัฒนามาสู่ กำแพงเพชร ราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ประชาชนจะนิยมเล่นกัน หลังเกี่ยวข้าว เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่าง หนุ่มสาว  เพลงพวงมาลัย  หาย ไปราว 50ปี  ได้มีการฟื้นฟู ขึ้นมาใหม่ โดยประชาชนกลุ่มแม่บ้านนครชุมหมุ่ที่ 3
วิธีเล่นเหมือนระบำกลางบ้านทั่วไป โดยผู้เล่นมาล้อมวง ครึ่งวงกลม  หนุ่มสาวจะเดินออกมา ร้องโต้ตอบกัน เป็นบทกลอน  โดยมีท่ารำประกอบการร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวง จะร้องรับ เป็นลูกคู่ สลับกันไปจนครบทุกคู่
การแต่งกาย ชายหญิงพัฒนามาสุ่การนุ่งโจงกระเบน  และสวมเสื้อลายดอก เมื่อเริ่มร้องจะมีบทไหว้ครู
ที่ไพเราะและกินใจ แล้วจึงเริ่มการเล่น
   โดยมีสร้อยที่ร้องว่า
เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
ชาย ร้อง      เจ้าฉุยฉายเอย เจ้าเยื้องย่างกราย  กระเดียดกระทาย กะทัดรัด  มือหนึ่งก็เด็ดใบบอน  มือ   
                           หนึ่งก็ ซ้อนปลากัด แม่อุ่นเรือนเพื่อนรัก รักเสมอใจเอย??..
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
หญิงร้อง      พ่อพวงมาลีเอย พี่อย่าโศกี ว่าน้องไม่รัก ถ้าแขนพี่ตกน้องจะยกใส่ตัก พ่ออุ่นเรือนเพื่อนรัก
                            รักเสมอใจเอย
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
ชายร้อง   เจ้าแขนอ่อนเอย เอาแขนไปซ่อนไว้ที่นอนของใคร เวลากลางคืน เจ้าจะสะอื้นร้องไห้ รำพึงรำพลอย รำเสียหน่อยเดียวเอย
สร้อย      เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย
ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
หญิงร้อง   เจ้าพวงมะโหดเอย  เจ้าอย่าถือโกรธว่าน้องไม่รัก  ไม่ใช่ลูกอ่อนจะมานอนหนุนตัก พ่ออุ่นเรือนเพื่อนรักรักเสมอใจเอย
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
ชาย   เจ้ามณฑาเอย แม่หน้ามน รับรักพี่สักคน จะเป็นไรไป  น้องจะให้พี่ฉุด  หรือให้พี่มาขอ ให้รีบบอกพี่มาไวไวเอย?..
สร้อย      เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย
ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
หญิง      เจ้าดอกมะลิลาเอย คำว่ารักน้องขอพักเอาไว้ก่อน  จะว่าแสนงอนนั้นไม่ได้ ถ้าพี่จะฉุดก็มาฉุด
ระวังสะดุด ตอตายเอย
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
ชาย   เจ้าดอกรักเอย  เอ่อระเหยลอยมา พี่รักจริงพี่ถึงได้มา ไม่ว่าแดดกล้าหรือทางไกล
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
หญิง   เจ้าดอกปีบเอย อย่ามารักน้องเลย นะพ่อเตยต้นเตี้ย ถ้าพี่มีเมียแล้วน้องจะทำอย่างไรเอย
   หรือพี่มีแกลบมีรำ พี่จะเอาไปเลี้ยงเอย ขอรับไว้เพียงน้องชายเอย
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
ชาย   เจ้าดอกรักเร่เอย ลุยหล่มมาหา  จระเข้ขวางคลอง เสือนอนขวางหน้า พี่ยังอุตส่าห์มาหาจนได้
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
หญิง   เจ้าการะเกดเอย เจ้าขี่ม้าเทศ จะไปท้ายวัด ชักกริชแดงๆ จะออกมาแทงฝรั่ง  เมียห้อมก้ไม่ฟังสุดกำลังของเมียเอย
สร้อย   เจ้าพวงมาลัยเอย เอ่อระเหยลอยไป ลอยมา          สักเมื่อไหร่จะได้เห็นหน้า เจ้าพวงมาลัย ใจพี่จะขาดแล้วเอย??..
เพลงพวงมาลัยเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ฉายให้เห็นภาพทางวัฒนธรรม และ
ประเพณีที่สำคัญ อันได้ซ่อนภูมิปัญญาไทยไว้อย่างลึกซึ้ง  ถ้ามีโอกาสจัดการแสดง หรือการกำหนดหลักสูตร ควรไห้โอกาสการแสดงพื้นบ้านเหล่านี้  ได้แสดง และเข้าสู่หลักสูตรท้องถิ่น เพื่อดำรงรักษาวัฒนธรรมที่สำคัญของเราไว้ให้นานแสนนาน
 
ระบำร้องแก้

เมืองนครชุม เป็นชุมชนโบราณ ที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง มีอายุต่อเนื่องกันมากว่า 600 ปี แม้บางยุคสมัยอาจขาดตอนไปบ้าง  แต่สามารถรักษาเอกลักษณ์ของนครชุมไว้ได้ตลอด ในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมา ชาวนครเวียงจันทน์ ได้อพยพมาอยู่นครชุม ด้วยเหตุผลทางการเมือง ทำให้เกิดการผสมผสาน ระหว่างคนพื้นเมืองกับชาวเวียงจันทน์ กลายเป็นบ้านปากคลองในปัจจุบัน
วัฒนธรรมท้องถิ่นได้ผสมผสานกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ระบำร้องแก้ เป็นการแสดงพื้นบ้านนครชุม อย่างหนึ่ง ที่นำระบำกลางบ้านมาปรับปรุงเป็นระบำร้องแก้ คือร้องแก้กันระหว่างชายหญิง โต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน กลายเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวนครชุม ระบำร้องแก้ หายสาบสูญไปเกือบ 50ปี  แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ  ผู้นำประชาชนหมู่ที่ 4 นครชุม ได้รวบรวมผู้คนดำเนินการ จัดการแสดงพื้นบ้านระบำร้องแก้ขึ้น  พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน???
มีเนื้อร้องที่น่าสนใจ ที่จดจำกันมาดังนี้ ฮืมฮืม?
   ชาย   นักจะเล่น ให้น้องเต้นออกมา อย่ามัวระอาแกมอาย
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   หญิง   นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยื่นหน้าลอยนวล เถิดพ่อพวงมาลัย
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   ชาย   แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   หญิง   พ่อสูงระหงโปร่งฟ้า  มาแลดูหล่อกว่าใครเอยใคร??
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   ชาย   พี่รักน้องจริง เหมือนปลิงเกาะขา ยืดไปยาวมาเหมือนปลิงเกาะควาย
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   หญิง   อย่ามารักน้องเลย นะพ่อเตยต้นต่ำ รักน้องไปทำเอยไม??
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   ชาย   พี่รักน้องแท้ๆ เหมือนผ้าแพรแถบ พี่รักน้องเอาเสียแทบขาดเอ๋ยใจ..
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
   หญิง   พี่รักน้องจริง หรือพี่รักน้องเล่น น้องยังไม่เห็นน้ำเอ๋ยใจ
   ลูกคู่   ชะเอ่อระเหย ลอยมา หงส์เอยลอยมาลอยไป?ฮืม.
ระบำร้องแก้มีลักษณะคำประพันธ์ ที่ได้มาตรฐาน เหมือนเพลงปฏิพากย์ทั่วไป สภาพสังคมและวัฒนธรรมปรากฏในบทร้องจำนวนมาก  อาทิ ผู้หญิงนิยมห่มผ้าแพรแถบ คือผ้าคาดอก ต่างเสื้อ ฝ่ายชายจึงอยากเป็นผ้าแพรแถบ ดังเนื้อร้องที่ว่า?.พี่รักน้องแท้ๆ เหมือนผ้าแพรแถบ พี่รักน้องเอาเสียแทบขาดเอ๋ยใจ.. คงทำให้สาวๆสมัยนั้น หน้าแดงด้วยความเขินอาย??เพลงพื้นบ้านระบำร้องแก้  จึงเป็น  เพลงพื้นบ้านที่น่าสนใจ ที่ควรศึกษาและอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่ไว้ เพื่อแสดงถึงวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นที่ไม่รู้ลืม???ขอบคุณศิลปินพื้นบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมที่ยังรวมตัวกัน อย่างเหนียวแน่นเพื่ออนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นภูมิปัญญาที่ชนรุ่นหลังมิควรลืมเลือน??รักษาไว้ ให้อยู่คู่กำแพงเพชรตลอดไป???.

         
 
ลิเกป่า

การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณนครชุม มีหลายประเภท  หมู่ 3 มีรำแม่ศรี  รำโทน ระบำคล้องช้าง เพลงพวงมาลัย  ดังได้นำเสนอไปแล้ว ฮืม.หมู่ที่ 4 ตำบลนครชุม มีการแสดงพื้นบ้านที่น่าสนใจหลายชนิด ที่น่าสนใจมากคือ ลิเกป่า  เป็นเพลงพื้นบ้านชนิดปฏิพากย์ คือการร้องรำแก้กันระหว่างชายหญิง มีบทร้องโต้ตอบกันที่น่าสนใจมาก นิยมเล่นกัน ในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรืองานในประเพณีบวชพระ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้นคือ แม่แฉล้ม บุญสุข  แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ   แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา  ปัจจุบันมีการร้องเล่นในเทศกาลสำคัญเสมอ?
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นคำคล้องจอง ที่ใช้ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่วงทำนองลีลา มีน้ำเสียงของลิเก ที่ร้องโต้ตอบกันอย่างไพเราะและกินใจ น่าสนใจมาก?  ดังตัวอย่าง?.
ชาย    แม่คิ้วโก่งเหมือนวงฆ้อง   พี่อยากได้นวลน้อง เข้ามาพาที  แม่กลิ่นเอย กลิ่นธูป ที่เขาจุดฟังเทศน์ มาตัดสวาทขาดเด็ด ช่างไม่เหลียวหลัง  ทำให้พี่หลงรอ เชียวนักแม่ช่อดอกรัง?.
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง   พ่อคิ้วโก่งเหมือนวงพระจันทร์ คิ้วน้องนี้ไม่ต้องกัน มันก็โก่งอยู่เอง  พ่อผมแหวก
หว่าง หวี  ทำให้น้องนี้วังเวง
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย   พี่รักน้องมานาน ไม่รู้จะไปไหว้วานใครเขามาเป็นสื่อ  พี่ก้มหน้าเขียนสาร จนชาวบ้านเขาลือ
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง   อย่ามารักน้องเลย เดี๋ยวชาวบ้านเขาจะเย้ย เอานะพ่อปูก้ามเก จงถอยหลังลงรู เถิด นะพ่อปูทะเล
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย   แม่ปลาปิ้งข้าวปั้น น้องอย่ามาทำป่วนปั่น ว่าพี่เกี้ยวไม่เป็น  พี่เอามือเข้าไปแปะ น้องก็ป่ายมือปัด มือพี่ไม่กัดเนื้อน้อง  น้องจะเว้าก็เว้า แม่นกกาเหว่าเสียงเย็น
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง   พ่ออ้อยลำโอน ปล่อยให้ใครเขาโหน เอาเสียจนลำเอน  ไม่กลัวแฟนๆพี่ว่า  จะสู้ก้ม
หน้ารับเดน
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย    แม่ทับทิม ริมตลิ่ง ขอให้พี่ตอนสักกิ่ง พี่จะเอาไว้ทำพันธุ์  ถ้าทับทิมไม่ตาย  ลงคงไม่วายรักกัน
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง    พ่อทับทิมริมสระ  ให้พี่ไปบวชเป็นพระ ไปเถิดนะพี่ไป พี่อย่ามาหลงรักน้อง เดี๋ยวจะไม่ได้ครองผ้าไตร
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย   อนิจจาแม่ยาใจ พี่มีความรักใคร่กับแม่  พอถึงวันดีพี่จะมาหมั้น  พอถึงวันจันทร์พี่จะมาขอ ขอแม่แขนอ่อนท่อนจันทร์ ถ้ารักฉันน้องจงรอ..
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง   พ่อ ร เรือ รุ่งริ่ง พ่อล ลิงจับหลัก พี่อย่าพะวงหลงรัก เลย นะพ่อร เรือรูปหล่อ  พ่อร เรือหลุดหลัก ถึงมาบอกรักน้องก็ไม่รอ?.
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย   แม่ฝรั่งข้างรั้ว   น้องจะสุกคาขั้ว เอาไว้คอยใคร น้องจะหล่นก็หล่น  ขอให้พี่คนละใบ
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง   พ่อฝรั่งข้างรั้ว น้องไม่สุกคาขั้ว เอาไว้คอยใคร รักน้องไม่หล่นไม่เล็ด แม่แต่เท่าเม็ดพริกไทย ..
ลูกคู่ .. โย้นๆจัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสีย ดอกกระมัง  ก็ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย

ในบทที่ว่า แม่ปลาปิ้งข้าวปั้น  จะเห็นว่า อาชีพหลักของประชาชน คือการหาปลา ปลูกข้าวเหนียว เพราะชาวนครชุมนั้น เป็นชาว เวียงจันทน์  คำประพันธ์ ชี้ให้เห็นที่มาของชาวนครชุมอย่างชัดเจน??..
ค่านิยมเรื่องความรัก ?.ผู้ชายมือไว ถือโอกาส จับต้องเนื้อตัวของผู้หญิงเสมอ ดังบทร้องที่ว่า  พี่เอามือเข้าไปแปะน้องก็ป่ายมือปัด?
เพลงลิเกป่ามีเนื้อร้องที่น่าสนใจฉายภาพภูมิปัญญาของกำแพงเพชรอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง ถ้าพิจารณาที่ละบทละบาท ผู้อ่านผู้ฟังจะสามารถซึมซับ ประเพณีและวัฒนธรรม นครชุมได้อย่างลึกซึ้งและกินใจ??? เมื่อมีโอกาส ขอให้เปิดโอกาสให้ ประชาชนชาวนครชุมหมู่ที่ 4  ได้นำเสนอภูมิปัญญาของพวกเขา อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับโอกาสการนำเสนอที่งดงาม??..อย่างหาที่เปรียบมิได้ ถ้ามีการพิจารณาที่ลึกซึ้ง?.นี่แหละลิเกป่า ของศิลปินพื้นบ้านนครชุม???
 
 
รำวงพื้นบ้าน บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์
   รำวงพื้นบ้านของไทย มีวิวัฒนาการมาจาก  เพลงพื้นบ้านของไทย   ไม่มีท่ารำที่ชัดเจนตายตัวหรือ
แน่นอน ชาวบ้านจะประดิษฐ์ท่ารำกันเอง เป็นภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น   เพลงรำวง เริ่มฟื้นฟู          ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  ในช่วง ปีพุทธศักราช 2485- 2500  ได้ดำเนินการ สร้างลัทธิชาตินิยม ขึ้นในชนชาติไทย โดยนำรำวงพื้นบ้านภูมิปัญญาดั้งเดิม มาใส่เนื้อร้อง ให้คนไทย มีคุณสมบัติชาตินิยม ขึ้น เนื้อเพลงจะบอกความเป็นคนไทย และปลุกใจให้รักชาติ ให้เข้าใจในชาติไทย และจงรักภักดีต่อชาติไทย และสอนให้หญิงไทยรักนวลสงวนตัว   ให้ชายไทย มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามประจำใจ  อาทิ
เพลงเคารพธง  ได้ปลุกใจให้ประชาชน  รักชาติ  และกล่าวถึงนายควง อภัยวงค์  มารั้งตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี  แทน จอมพล ป.พิบูลสงคราม  ดังเนื้อเพลง?ฮืม  ( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
ไทยเราจะต้องยืนตรง       เคารพธงสีเลือดไทย
ห้าริ้วปลิวอยู่ไสว(ซ้ำ)      นั่นคือธงไทย ในสมรภูมิ
ควง อภัยวงศ์       ท่านดำรงเป็นนายกใหม่
      พวกเราชาวไทย         พร้อมใจกันให้ไพบูลย์ (ซ้ำ)
         ป.พิบูลสงคราม      ท่านผู้นำคนก่อน
      ท่านได้ลาพักผ่อน         ราษฎรอย่าได้ร้อนใจ (ซ้ำ)
               
   เมื่อปีพุทธศักราช 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สิ้นพระชนม์  กะทันหัน มีพระชนมายุ เพียง 20 พรรษา  มีการแต่งเพลง อานันทมหิดล เพื่อไว้อาลัย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ขึ้น ด้วยเพลงที่ไพเราะ และง่ายๆเพื่อบอกถึงความรักและความอาลัยต่อพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ฮืม??( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
         พอศอสองสี่แปดเก้า   ไทยเราเงียบเหงากันหมดทุกคน
      สมเด็จอานันทมหิดล      สิ้นพระชนม์เสียยังเยาว์เยาว์
      
เพลงสวัสดี  เป็นเพลงที่เชิญหนุ่มสาว มาร้องรำเล่น  เพื่อให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ความรักที่มีต่อกันเป็นความรักที่เสียสละ และการมีศีลธรรมจรรยา ไม่ชิงสุกก่อนห่าม เข้าตามตรอกออกทางประตู ให้ผู้ใหญ่รับรู้  ในความรักของหนุ่มสาว ( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
      สวัสดีเชิญซิมารำ      ทุกคำฉันได้มาร้องเชิญ
   ฉันมองแล้วเธออย่าเมิน      ฉันร้องเชิญเธอไม่อยากรำ
      รำหน่อยพอได้เป็นขวัญตา   ฉันได้มาอ้อนวอนแต่หัวค่ำ
   ขวัญใจสั่งไว้ไม่ให้รำ (ซ้ำ)      เธอมาทำกระบิดกระบวน (ซ้ำ)
      สวัสดีเธอจ๋า      พี่มาด้วยความรักน้อง      
   จิตใจหมายปอง         รักน้องฉันจึงได้มา
      การร้องการรำอย่าทำซิให้เป็นอื่น  คืนนี้ทั้งคืน ทั้งคืนสว่างคาตา
   มืด มืด ค่ำ ค่ำ อย่ารำซิเข้ามาใกล้   หากพี่พอใจ ผู้ใหญ่ท่านไม่พอตา
      ไม่เป็นไรหรอกน้อง      รับรองมิให้ชอกช้ำ
   พี่มีศีลธรรม         ศีลธรรมประจำกายา
เพลงรำวงแม่ปิง  เป็นเพลงรำวงที่ชาวกำแพงเพชร ได้แต่งขึ้น  โดยใช้ลำน้ำปิง เป็นฉากสำคัญ ในการแสดงความรักต่ออัน ให้อารมณ์และความรู้สึกที่งดงามและเป็นไทย อย่างงดงาม???.. ( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
   แม่ปิงไหลมา ยังไม่เท่าวาจาสาวเอย      ไม่รักแล้วยังมาออดอ้อน (ซ้ำ)
ดวงสมรริมฝั่งปิง               โย้น โย้น โยทิง โยทิง โยทิง

เพลงทึม ทึ่ม ทึม  เป็นเพลงที่ชาวบ้าน วังพระธาตุกำแพงเพชร แต่งขึ้นแสดงถึงความสัมพันธ์ ของลำน้ำปิงระหว่าง จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ มีการค้าขายกันทางน้ำ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทางลำน้ำปิง  กล่าวถึงการกินข้าวที่เมืองกำแพง แต่ไปซดน้ำแกงที่ปากน้ำโพ  แสดงถึงความหมายมีนัยยะที่อาจไม่เข้าใจในช่วง 60-70 ปีที่ผ่านมา??.. ( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
   ทึม ทึ่ม ทึม         อย่ามาลืมกันเสียเลย
รับรักเอาไว้เถิดเหวย         เราไม่เคยรักใคร
   เอ้าทึม ทึ่ม ทึม         อย่ามาลืม ลำตัดสิงโต
สิงโต มันเป็นสัตว์ร้าย         มันกัดคนตายที่ปากน้ำโพ
   กินข้าวที่เมืองกำแพง      ไปซดน้ำแกงที่ปากน้ำโพ

เพลงเสียดายตัว เป็นเพลงที่สอน  ให้ผู้หญิง ไม่หลงระเริง ในความรัก เนื้อเพลงบอกว่าความรักคือไฟ
อย่าเข้าไปใกล้ เป็นเพลงที่สอนให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัว ฮืม?( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
   เสียดายตัว อย่ามัวไปหลงระเริง   รักเรานั้นคือเพลิง อย่าระเริงหลงเข้าไปใกล้
รักเอาไฟเข้าไปจี้ กลัวจะมีรอยไหม้      รักเรานั้นคือไฟ ฉันยังจำได้ ไม่ลืม ไม่ลืม

เพลงเกิดเป็นหญิง   สอนให้ผู้หญิงรักเดียวใจเดียว  ให้เสงี่ยมเจียมตัว ความสาว มีเพียงหนเดียว ถ้าเสียสาวแล้วไม่สามารถ ที่จะแก้ไขได้ ถ้าไม่ระมัดระวังตัวให้ดี น้ำตาจะเช็ดหัวเข่า???.( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
   เกิดเป็นหญิง นะแม่ทูนหัว      จงเสงี่ยมเจียมตัว ไว้เถิดนารี
เธอเป็นหญิงเกิดมาทั้งที         จะชั่วหรือดี ก็มีหนเดียว
   อย่าพะวงหลงแต่ในเรื่องรัก      มากนักจักพาให้หลง
ชายใดหัวใจไม่ตรง (ซ้ำ)         อีกหน่อยโฉมยง น้ำตาจะไหลนอง

เพลงลาก่อน  เป็นเพลงสุดท้าย สำหรับการร้องเล่น แสดงความรักที่มีต่อกัน การพูดถึงเวรกรรมที่ทำให้ทั้งสองต้องลาจากกัน?ฮืม( ปล่อยภาพและเสียงทั้งหมดไม่ต้องบรรยาย)
   ลาก่อนนะเธอ???วันหน้าค่อยเจอกันใหม่ อยู่ด้วยไม่ได้ อยู่ได้ฉันจะขออยู่
เป็นเวรเป็นกรรม  โดยต้องจำจากคู่ อยู่ได้ก็จะขออยู่ จะอยู่เป็นคู่ฟ้อนรำ???.



เพลงรำวงพื้นบ้าน ได้ หายไปจากสังคมไทย นานนับครึ่งศตวรรษ  สิ่งที่หายไปกับเพลงคือ การสอนให้รักชาติ สอนให้เป็น หญิงที่รักนวลสงวนตัว สอนชายให้ เป็นผู้มีศีลธรรม  รักชื่อเสียงและวงศ์ตระกูล  เข้าใจในธรรมชาติ มีความเป็นอยู่สมถะอย่างเรียบง่าย?ฮืม  น่ายินดียิ่งที่ประชาชนชาววังพระธาตุ แม่เสนอ สิทธิ และอาจารย์สุขศรี  สิทธิ   รักษาและสืบทอด รำวงพื้นบ้านไว้ให้ลูกหลาน น่าสรรเสริญ และส่งเสริม เป็นตัวอย่างที่ดีงาม ไม่ทำตามกระแสสังคมที่สมควรต้านทาน?ฮืม?.
 
แคนหรือเก้งของชาวม้ง

   ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง  ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน
ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง  คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ
เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขา ผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์
จากการสัมภาษณ์  นายหวั่งเซ้ง  จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง  อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า
   ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ มีเพลงประกอบหลายเพลง เพลงที่น่าสนใจได้จัดลำดับไว้ ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
   เพลงที่ 1 เป็นเพลงสำหรับไหว้ครู
    เพลงที่ 2  ท่วงทีและทำนอง แนะนำให้คนตายเดินทางขึ้นสวรรค์
เพลงที่ 3 แนะให้ขึ้นม้าขี่ไปเมืองผี หรือเมืองสวรรค์ แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา
เพลงที่ 4 จะนำไปฝังศพ แนะนำให้ใช้ชีวิต ในเมืองผี

ปัจจุบัน วัฒนธรรมการเป่าแคนเปลี่ยนแปลงไป   ใช้เป่าในหลายงาน แม้งานรื่นเริงก็ใช้เป่า
อาจเป็นเพราะมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง ในปัจจุบัน     เสียงแคนไพเราะมาก น้ำเสียง ลีลาทำนอง ให้อารมณ์ ความรู้สึกที่บอก ถึงความรักอาลัย และความสูญเสีย???.
   นายหวั่งเซ้ง  จังเจริญกุล สอนถึงวิธีการทำแคนโดยละเอียด เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวม้ง ไปสู่ลูกหลานของชาวม้ง ท่านบอกว่า ขณะนี้ทั้งประเทศมีผู้ทำแคนชาวม้ง ได้ไม่กี่คน มีความตั้งใจที่อยากจะถ่ายทอด สู่เยาวชน หรือผู้สนใจ แต่ยังขาดทุนทรัพย์ในการดำเนินการ ร้องขอผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยลงทุนในการดำเนินการตั้งโรงเรียนการทำแคนและเป่าแคน เพื่อสืบทอดวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งอีกแนวทางหนึ่ง  ใครเล่าจะช่วยภารกิจอันสำคัญ ของนายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล?
   การเป่าแคนหรือเก้ง ของชาวม้งนี้ มีท่าเต้นประกอบการเป่าแคนด้วย มีลีลาและอารมณ์ที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้และน่าสืบทอด
   การบันทึกเรื่องราวของการทำแคน การเป่าแคน การเต้นตามทำนองแคน สู่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม จึงการบันทึกวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามารับใช้วัฒนธรรม??
อาจทำให้วัฒนธรรม การเป่าแคน การทำแคน และการเต้นตามทำนองของแคน อยู่คู่วัฒนธรรมชาวม้งต่อไป อย่างนิจนิรันดร์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!