จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:45:22 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึก สำรวจบึงน้อย บ้านน้ำดิบ กลางป่าแม่ระกา กำแพงเพชร วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗  (อ่าน 5780 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2023, 09:19:16 pm »

บันทึก สำรวจบึงน้อย บ้านน้ำดิบ กลางป่าแม่ระกา กำแพงเพชร

   วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗  ได้นัดหมายกับ ดร.เอ (ดร.ลักษณ์ภัทรเกตุ  ชนประชา ชาญเชี่ยว ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งท่านร้องขอให้ช่วยไปสำรวจ บึงน้อย หลังศูนย์เพาะกล้าพันธุ์ไม้ บ้านน้ำดิบ ว่าใช่เมืองโบราณหรือไม่ รับปากไว้กว่าเดือน ด้วยความเต็มใจ(เคยนัดสำรวจไว้เมื่อปีที่แล้วแต่บังเอิญสามีดร.เอเสียชีวิต กะทันหันจึงไม่ได้ไปสำรวจ) เพราะเคยไปสำรวจเมืองโบราณอย่างละเอียดแล้วทุกเมืองในกำแพงเพชร วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นวันอังคาร ดร.เอ มารับ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. แปลกฝนตกหนักมาก จนคิดว่าไม่ได้ไปแล้ว แต่ดร.เอ ไม่ละความพยายาม มารับพร้อมกับคุณน้า วนิดา  ชาญเชี่ยว (มีศักดิ์เป็นแม่สามีดร.เอ) มีฟาร์โร หลานชาย ดร.เอเป็นสารถี  เราไปพร้อมกับอาจารย์จันทินี อภัยราช โดยนัด อ.รุ่งเรือง สอนชู  ไว้ที่หน้า ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร
   เมื่อพบกัน ครบถ้วนทุกคน เดินทาง เลี้ยวเข้าไปทางศูนย์เพาะพันธุ์พืช น้ำดิบ ซึ่งเป็นป่าแม่ระกา ทึบ รก ตลอดทางมี กิ่งไม้ ต้นไม้ล้มข้างทางหลายจุด เลาะเลี้ยว ไปสัก สิบนาที  ดร.เอ พาไปจุดที่เป็นบึงน้ำใหญ่  ชาวบ้านเรียกกันว่า บึงน้อย  เป็นบึงน้ำใหญ่เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๕๐ ไร่ เป็นรูปวงรี  ข้างๆ บึงน้อย มีร่องรอยของคูเมือง ยาวเป็นรูป สี่เหลี่ยม  เนื้อที่ น่าจะอยู่ราว ๒๐๐ ไร่ จัดไว้อย่างเหมาะสม ( ดูหาพิกัดจากแผนที่ทางอากาศในกูเกิล) 
 
บริเวณจุดสีเหลือง สันนิษฐานว่า อาจเป็นแนวกำแพงเมือง(ซึ่งเป็นกำแพงดินเหมือนกำแพงเมืองสมัยสุโขทัย) เป็นรูปสี่เหลี่ยม คางหมู เหนือขึ้นไปเป็นบึงน้อย และเหนือขึ้นมาเป็นคลองแม่ระกา เชื่อต่อจากบึงน้อย ไหลขึ้นเหนือ มุ่งหน้าสู่สุโขทัย (ต้องสำรวจต่อไปว่า คลองแม่ระกาไหลไปถึง สุโขทัยในช่วงใด ดูในแผนที่กูเกิล ไหลขึ้นเหนือ ไป และหายไป ในช่วงสุโขทัย  ส่วนน้ำที่ไหลมา เข้าบึงน้อย ไหลมาจากคลองลำทวน หรือ คลองบางทวน  (เนื่องจากน้ำไหลทวนขึ้นเหนือ เพราะระดับแผ่นดิน สุโขทัย ต่ำกว่ากำแพงเพชร นับสิบเมตร (จีพีเอส)
คลองบางทวน จากปากคลอง ค่ายลูกเสือ วัดหนองปลิง ไหลเข้าสู่บึงน้อย
 
คลองแม่ระกา น้ำไหลออกจากบึงน้อย
ในบึงน้อย ได้สัมภาษณ์ กำนันชูชาติ กรัดแพ (กำนันจ็อก) กำนันตำบลบ้านนาเหนือ  ถึงความเป็นมาของบึงน้อย อย่างละเอียด ได้ความว่า
    หมู่บ้านนาเหนืออพยพมาจากบ้านหนองหัววัว  เกือบร้อยปี เดิมเป็นหมู่ที่ ๕ บ้านน้ำดิบ ปัจจุบันแบ่งแยกออกเป็น  บ้านคลองห้วยทราย และบ้านนาเหนือ  ท่านเล่าต่อไปว่า ในบึงน้อย มีความมหัศจรรย์เกิดขึ้นหลายเรื่อง  ตั้งแต่สมัยท่านเป็นเด็กๆ เมื่อน้ำลด พบหัวเรือ อาจเป็นเรือเรือสำเภาล่ม พบหลักฐานหลายชิ้น  เช่นเครื่องถ้วยชาม สมัยสุโขทัย และพระเครื่อง จำนวนมาก ได้นำพระเครื่องมาให้ชม เมื่อพิจารณาแล้ว มีส่วนที่จะ เป็นจริง บ้าง เพราะพระมีลักษณะพระสมัยสุโขทัย เกือบทั้งสิ้น มันเป็นไปได้อย่างมากว่า การติดต่อค้าขาย ในสมัยสุโขทัย ได้ใช้ลำน้ำ และใช้คลองลำทวน บึงน้อย คลองแม่ระกา หนองจระเข้ ติดต่อจนกระทั่งไปถึงสุโขทัย เป็นทางลัด ระหว่างเมืองสุโขทัย กับกำแพงเพชร มีความเป็นไปได้สูงทีเดียว แต่บางส่วนของลำน้ำอาจตื้นเขิน เหลือใช้ไม่ได้แล้ว
   และข้อสันนิษฐานว่า กษัตริย์สุโขทัย เคยเสด็จมาบริเวณนี้  ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่าพญาลิไท กษัตริย์แห่งสุโขทัย เคยเสด็จมากำแพงเพชร หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พุทธศักราช ๑๙๐๐ ได้ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ  และพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐ์ที่วัดพระบรมธาตุนครชุมนั้น เมื่อเสด็จมากำแพงเพชร ระยะต้นอาจเสด็จทางถนนพระร่วง  และเปลี่ยนมาเสด็จทางน้ำต่อ ตามคลองแม่ระกา ผ่านบึงน้อย และมาออกคลองลำทวน ตรงไปวัดพระบรมธาตุ ซึ่งอาจเป็นไปได้เช่นกัน เมื่อพระองค์เสด็จมาที่บึงน้อย อาจประทับที่บึงน้อยหลายราตรี เพราะ มีหลักฐาน ในป่า แม่ระกา พบว่า มีกองศิลาแลงคล้ายเจดีย์  มีแนวศิลาแลง เป็นอาคารจำนวนมาก บริเวณนี้  เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับหลายเพลา อาจพบบาทบริจาริกา เป็นสตรีเมืองบึงน้อย อาจถึงขั้นสถาปนา เป็นพระสนมเอกได้เช่นกัน (ตามข้อกังขาของดร.เอที่ขอให้เราไปสำรวจถึงความเป็นไปได้ ในกรณีที่พิเศษเกินกว่าที่จะเขียนถึง)  เมื่อสำรวจไปถึงแนวกำแพงเก่า คูน้ำเก่า ตามคำบอกเล่าของผู้คน  ประกอบชมภาพถ่ายทางอากาศ แทบจะเชื่อได้เต็มที่ว่า  บริเวณบึงน้อย อาจเป็นเมืองโบราณ สำคัญเมืองหนึ่ง ที่มีหลายชื่อที่เรายังไม่สามารถค้นพบได้ 
 
กำนันชูชาติ กรัดแพ (กำนันจ็อก) กำนันตำบลบ้านนาเหนือ
 
แนวกองแลงที่พบบริเวณ เมืองโบราณ
 พระเครื่องที่พบ บริเวณ สำเภาล่ม
สำรวจแนวที่มีลักษณะคล้าย กำแพงโบราณ
ข้อสรุปในการสำรวจ     บริเวณบึงน้อย
   บึงน้อย เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ ที่เชื่อมต่อกับ คลองลำทวน และคลองแม่ระกา น้ำไหลทวนขึ้นไป ถึงเขตสุโขทัย  จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า เมื่อคราวพญาลิไท เสด็จเมืองนครชุมเมื่อปีพุทธศักราช  ๑๙๐๐ เพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานที่เมืองนครชุม ตามจารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุมนั้น (เป็นตำนานประเพณีนบพระเล่นเพลง) พระองค์อาจมาประทับที่แห่งนี้ บริเวณบึงน้อย อาจสร้างตำหนักไว้เช่นกัน เพราะบริเวณนี้ มีบัวหลวงงดงามมาก ทั่วบริเวณ
   จากการสำรวจ ภูมิประเทศและภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ พบติดกับบึงน้อยมีแนว กำแพงเมืองขอบเขตกำแพงเมืองโบราณ มีคูน้ำคันดินที่ชัดเจน อาจสันนิษฐานได้ว่า อาจเป็นเมืองบางจันทร์  ที่ยังไม่ได้สรุปว่าอยู่ที่ใด ในเขตกำแพงเพชรนี้
   จากคำบอกเล่าของกำนัน และผู้นำชมนั้น อาจสรุปได้ว่าที่บึงน้อยนี้ มีอาถรรพณ์ ค่อนข้างลึกลับ ตามแบบฉบับของเมืองโบราณกำแพงเพชรโดยทั่วไป ซึ่งหาข้อพิสูจน์ได้ยากมากเพราะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล และมิอาจดูแคลนว่า เป็นเรื่องเหลวไหลแต่ประการใด
   หลักฐานที่พบตาม ชัยภูมิ อาจสรุป ตามความเชื่อและหลักฐานของผู้เขียน ( อ.สันติ อภัยราช) ได้ว่า บริเวณบึงน้อย อาจเป็นเมืองโบราณสำคัญเมืองหนึ่ง คู่กับบางพาน นครชุม บางจันทร์ และเป็นเส้นทางเสด็จของพญาลิไท คราวเสด็จเมืองนครชุม ในปีพศ .๑๙๐๐ อาจประทับที่นี่หลายราตรี  หรืออาจมาอยู่ที่นี่ หลังจากสุโขทัย หมดอำนาจ อาจมามีบาทบริจาริกาที่นี่ ตามความเชื่อของดร.เอ  ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐาน ยังมิสามารถสรุปได้อย่างชัดเจน คงต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป



หมายเหตุ
   มีพระภิกษุ ระดับเจ้าอาวาส วัดสำคัญวัดหนึ่งในกำแพงเพชร  ได้รับนิมนต์เข้าไปในเขต บึงน้อยแห่งนี้ เพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา ท่านกลับออกมาอย่างรวดเร็ว โดยมิได้ทำพิธีใดๆ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ท่านสัมผัสกับสิ่งที่ไม่เคยพบ เห็นและจะไม่เข้าไปรบกวน สิ่งที่สัมผัสอีกต่อไป เราจึงสนใจไปสำรวจบึงน้อย ว่าที่นี่คืออะไรกันแน่

                     สันติ อภัยราช
                     ๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
                     เวลา ๙.๐๐ น.



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!