จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 27, 2024, 07:44:20 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การพูดในโอกาสพิเศษ บรรยาย ให้ นศ ราชภัฏกำแพงเพชร  (อ่าน 5860 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:27:12 am »

การพูดในโอกาสพิเศษ
      
     จุดมุ่งหมาย
            โอกาสที่จะต้องกล่าวคำปราศรัย  หรือพูดต่อที่ชุมนุมชน มีมากมายเหลือเกิน  ทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ   ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องการพูด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง  ตราบใดที่ยังอยู่กับสังคม
            ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้หลักทั่วไปของการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ  แล้วเลือกเตรียมสุนทรพจน์สักแบบหนึ่งมากล่าวในที่ประชุม  โดยสมมุติสถานการณ์ขึ้นว่าจะกล่าวในโอกาสอะไร  ผู้ฟังในห้องประชุมเป็นใคร  และตนเองกล่าวในฐานะอะไร   จะเป็นเรื่องจริงหรือเลียนแบบ      โดยสมมุติสถานการณ์แปลก ๆ ขึ้นก็ได้  แต่ต้องสมเหตุสมผล  ถ้าเป็นเรื่องทีเล่นทีจริงต้องระวัง   อย่าให้ผู้ใดเสียหายโดยไม่จำเป็น
            ในการกล่าวรายงานหรือแถลงเป็นทางการ  อาจมีต้นร่างมาอ่านเพื่อไม่ให้ผิดพลาดตกหล่น  แต่ผู้พูดจะต้องรักษาบุคลิกภาพในการพูดให้เหมาะสม  ไม่ก้มหน้าดูบทตลอดเวลา  ต้องใช้สายตาดูบทเพียง ๑ ใน ๓ อีก ๒ ใน ๓ มองผู้ฟัง
 
 
     ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่าง ๆ
            
เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พูดในโอกาสใดก็ตาม  ที่มิใช่เป็นงานประจำหรือมิใช่งานปาฐกถาธรรมดาทั่ว ๆไป  ผู้พูดควรสำรวจวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้ก่อน
๑.      จุดมุ่งหมายของการประชุม
-           การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร
-           ผู้ฟังเป็นใคร  มาประชุมในฐานะอะไร
-           สาระสำคัญของการประชุมอยู่ตรงไหน
๒.      ลำดับรายการ
-           มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร
-           ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร  กล่าวในนามใคร
-           เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด  หรือควรจะนานเท่าใด
-           ก่อนหรือหลังรายการพูดมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจพิเศษอย่างใดหรือไม่
๓.      สถานการณ์
-           ผู้ฟังกำลังใจจดใจจ่อ  อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่
-           ผู้ฟังมาด้วยใจสมัคร  หรือถูกขอร้อง  ถูกบังคับให้มาฟัง
-           ผู้ฟังรู้จักผู้พูดหรือไม่  เลื่อมใสอยู่แล้วหรือไม่ชอบหน้า
 
     เมื่อใดควรอ่านจากร่าง
            โดยทั่วไปการพูดที่จืดชืดน่าเบื่อหน่ายที่สุด   คือ  การอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้   เพราะเป็นการพูดที่ไม่ได้ออกมาจากความรู้สึกอย่างจริงใจของผู้พูด   ผู้อ่านไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาได้ดีเท่ากับการพูดปากเปล่า    ดั้งนั้น การอ่านจึงเหมาะสำหรับกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
๑.      ในโอกาสพระราชพิธี
๒.      ในการเปิดประชุม  หรือเปิดงานต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ
๓.      การรายงานทางวิชาการ  หรือสรุปการประชุม
๔.     การอ่านข่าวหรือบทความทางวิทยุ  โทรทัศน์  ที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว
๕.     โอกาสสำคัญอื่น ๆ  ซึ่งไม่ต้องการให้มีการพูดขาดหรือเกิน
 
นอกจากการอ่านทุกคำจากต้นฉบับที่สมบูรณ์แล้ว  ยังมีการอ่านอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งอาศัย  หลักเดียวกัน แต่ไม่ได้อ่านทั้งหมด  อ่านแต่เพียงข้อความบางตอนที่ยกมาประกอบ   เช่น  ตัวเลข สถิติ  วันเดือนปี  จดหมายเหตุในประวัติศาสตร์  ข้อความในอัญญประกาศ  คำประพันธ์  สุภาษิต  คำสอนทางศาสนา  เป็นต้น
    
ข้อควรระวังในการอ่าน
๑.      ควรซ้อมอ่านต้นฉบับให้คุ้นกับจังหวะ วรรคตอนเสียก่อน
๒.      ต้นฉบับต้องเขียนหรือพิมพ์ให้อ่านง่าย
๓.      ไม่ควรเย็บติดกัน  ควรวางซ้อนกันไว้  เรียงลำดับเลขหน้าให้เรียบร้อย                        เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาพลิกหน้าต่อไป
๔.     ในเมื่อจะต้องอ่าน ควรวางต้นฉบับไว้บนแท่น                           หรือถือด้วยมือทั้งสองข้าง   ถ้าไม่มีแท่นให้วาง
๕.     อย่าก้มหน้าก้มตาอ่านตลอดเวลา  ถ้าได้ซักซ้อมกันมาแล้ว  เพียงแต่เหลือบสายตา           ก็อาจอ่านได้ตลอดบรรทัดหรือทั้งประโยค
๖.      ใช้สายตามองต้นฉบับเพียง  ๑ ใน ๓  ที่เหลือมองที่ประชุม
๗.     ระวังอย่าให้ขาดตอนเมื่อจะขึ้นหน้าใหม่
๘.     รักษาท่วงทำนองการพูดใหม่  อย่าให้เป็นสำเนียงอ่าน
 
 
โอกาสต่าง ๆ ในการพูด  
            การพูดในโอกาสพิเศษ  อาจแบ่งออกได้เป็น  ๗  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ
๑.      กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ
๒.      กล่าวไว้อาลัย
๓.      กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ
๔.     กล่าวสดุดี
๕.     กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ
๖.      กล่าวต้อนรับ
๗.     กล่าวแนะนำผู้พูด องค์ปาฐก
 
หลักทั่วไป
๑.   พยายามคิดค้นหาลักษณะเฉพาะของโอกาสหรือบุคคลที่กล่าวถึง
                   อย่าพูดเหมือนกันทุกงาน
๒.       อย่าลืมการขึ้นต้น  เรียบเรียงเรื่องกระชับ และการลงท้ายที่ดี
๓.       อย่าพูดนานเกินไป  ควรรวบรัดที่สุด
๔.      ใช้อารมณ์ขันบ้าง  ถ้าเหมาะสม  (ถ้าเป็นงานพิธีการไม่ควรพูดเล่น)
 
ตัวอย่างสถานการณ์และหัวข้อการพูด
 
๑.      กล่าวแสดงความยินดี
ก.      แสดงความยินดีในโอกาสรับตำแหน่งใหม่
-           ผู้กล่าว  กล่าวในนามของใคร
-           ยกย่องในความวิริยะอุตสาหะและคุณความดี
-           อวยพรหรือมอบของที่ระลึก
-           อย่าชักชวนผู้ฟัง ปรบมือ  ควรปล่อยให้ผู้ฟังตัดสินใจเอง หรือปรบมือนำ
ข.      กล่าวตอบ
-           ขอบคุณ  
-           ปวารณาตัวรับใช้ ยืนยันในความเป็นกันเองเหมือนเดิม
-           อวรพรตอบ

๒.     กล่าวไว้อาลัย
ก.      กล่าวให้เกียรติผู้ตาย
-           ยกย่องคุณความดีของผู้ตาย
-           ให้เกียรติและให้ความอบอุ่นแก่ญาติมิตรผู้ตาย
-           ชักชวนให้ยืนไว้อาลัย
ข.      กล่าวแสดงความอาลัยในการย้ายงาน
-           ชมเชยในผลงานที่ปฏิบัติ
-           กล่าวถึงความรักความอาลัยของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทุกคน
-           หวังว่าจะก้าวหน้าและทำประโยชน์ต่อไป
-           อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพและประสบความสำเร็จ
๓.      กล่าวอวยพร
ก.      อวยพรขึ้นบ้านใหม่
-           ความสำเร็จในครอบครัวอยู่ที่การมีบ้านช่องเป็นหลักฐาน
-           ความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียรของเจ้าของบ้าน
-           อวยพรให้ประสบความสุข(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)

ข.      อวยพรวันเกิด
-           ความสำคัญของวันนี้
-           คุณความดีของเจ้าภาพ
-           ความเจริญเติบโต ก้าวหน้า  หรือเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
-           อวยพรให้อายุยืนนาน (ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
ค.      อวยพรคู่สมรส
-           ความสัมพันธ์ของตนต่อคู่สมรส  หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
-           ความยินดีที่ทั้งสองครองชีวิตคู่
-           อวยพร(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
ง.       กล่าวตอบรับพระ(ทุกอย่าง)
-           ขอบคุณในเกียรติที่ได้รับ
-           ยืนยันจะรักษาคุณงามความดี และปฏิบัติตามคำแนะนำ
-           อวยพรตอบ(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)


๔.     กล่าวสดุดี
ก.      กล่าวมอบประกาศนียบัตรสดุดี
-           ความหมายและความสำคัญของประกาศนียบัตร
-           ความเหมาะสมของผู้ได้รับประกาศนียบัตร
-           มอบ  สัมผัสมือ และปรบมือให้เกียรติ
ข.      กล่าวสดุดีบุคคลสำคัญที่ล่วงลับไปแล้ว
-           ความสำคัญที่มีต่อสถาบัน
-           ผลงานและมรดกตกทอด
-           ยืนยันจะสืบต่อมรดกนี้อย่างเต็มความสามารถ
-           แสดงคารวะ/ปฏิญาณร่วมกัน
๕.     กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง
ก.      มอบตำแหน่ง
-           ชมเชยความสามารถและความดีเด่นของผู้ที่ได้รับตำแหน่ง
-           ความหมายและเกียรตินิยมของตำแหน่งนี้
-           ฝากความหวังไว้กับผู้ดำรงตำแหน่งใหม่
-           มอบของที่ระลึกหรือเข็มสัญญลักษณ์
-           สัมผัสมือและปรบมือให้เกียรติ
ข.      รับมอบตำแหน่ง
-           ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติ
-           ชมเชยกรรมการชุดเก่า(ส่วนดีเด่น)ที่กำลังจะพ้นไป
-           แถลงนโยบายโดยย่อ
-           ให้คำสัญญาจะรักษาเกียรติและปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่ง
-           ขอความร่วมมือจากกรรมการและสมาชิกทุกคน
 
๖.      กล่าวต้อนรับ
ก.      ต้อนรับสมาชิกใหม่
-           ความสำคัญและความหมายของสถาบัน
-           หน้าที่และสิทธิที่สมาชิกจะพึงได้รับ
-           กล่าวยินดีต้อนรับ
-           มอบเข็มสัญญลักษณ์(ถ้ามี) สัมผัสมือ

ข.      ต้อนรับผู้มาเยือน
-           เล่าความเป็นมาของสถาบันโดยย่อ
-           ความรู้สึกยินดีที่มีโอกาสต้อนรับ
-           มอบหนังสือหรือของที่ระลึก
-           แนะนำให้ที่ประชุมรู้จัก และเชิญกล่าวตอบ
๗.    กล่าวแนะนำผู้พูด- องค์ปาฐก
-           เหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้
-           ความรู้ ประสบการณ์ และความสำคัญของผู้พูด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้
-           สร้างบรรยากาศเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ทำให้ผู้พูดอยากพูดและ
ผู้ฟังอยากฟัง
-           อย่าแนะนำยาวเกินไป และอย่ายกยอจนเกินความจริง
      -        แนะนำชื่อผู้พูด หลังสุด ด้วยน้ำเสียงน่าฟัง
                                                        ------------------------------
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!