จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 25, 2024, 02:18:09 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สตรีไทยผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนแรกของไทย คือนางเสือง  (อ่าน 16814 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 08, 2012, 09:54:43 am »

สตรีไทยผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนแรกของไทย คือนางเสือง
 


"พ่อกูชื่อขุนศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง" "มีกษัตริย์พระองค์ใดในโลกที่บอกชื่อพ่อกูด้วยความภาคภูมิใจ มีกษัตริย์พระองค์ใดในโลกที่บอกชื่อแม่กูด้วยการให้เกียรติสตรี ยกย่อง เชิดชู มีพ่อขุนรามคำแหงเท่านั้นที่บอกด้วยภาษาไทยแท้ที่เป็นภาษาของพ่อกู"ดังนั้นแม่กูชื่อนางเสือง จึงบ่งบอกว่านางเสือง เป็น  สตรีไทยผู้ทรงอิทธิพลที่สุดสตรีไทยคนแรกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อ 700 กว่าปีมาแล้ว

พระนามสลักอยู่บนหิน แต่ไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระนางไว้เลย
ราชินีองค์แรก ผู้เคยร่วมสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1800 ได้รับความสนใจน้อยเหลือเกิน ประวัติศาสตร์บันทึกไว้เพียงไม่กี่บรรทัด ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้อุ้มมหาราชมาก่อนใคร ๆ ทั้งหมดมัวแต่คำนึงถึงกษัตราธิราช จนไม่สนใจว่า สตรี คือ ครึ่งภาคของบุรุษ
นักเรียนท่องจำว่า กษัตริย์ไทยพระองค์แรก คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่มิได้จดจำว่า พระราชินีคู่พระทัยของพ่อขุนพระองค์นั้นทรงพระนามเต็มว่ากระไรทำไมจึง ?นางเสือง? พระนามนี้ได้จากศิลาจารึก และตั้งแต่นั้นมา ก็ยังไม่เคยปรากฏว่ามีนักประวัติศาสตร์คนไหนเรียกชื่อเต็มของพระนางเลย ซึ่งตามความเหมาะสมอย่างน้องควรจะเป็น ?สมเด็จพระนางเจ้าเมือง พระบรมราชินี?ถ้าจะอ้างว่าภาษาไทยสมัยนั้นมักใช้คำโดดเป็นคำไทยแท้ ก็แล้วเพราะเหตุใดคำว่า ?ศรีอินทราทิตย์? จึงมิใช่คำไทยแท้ หากแต่เป็นคำสันสกฤต ถึงแม้จะอ้างถ้อยคำตามจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า ?แม่กูชื่อนางเสือง? แล้วเลยถือว่า ?เสือง? คือพระนามเต็มแล้วก็ยังไม่ถูกต้องนัก เพราะนั่นเป็นเรื่องของลูกเรียกแม่ เรียกด้วยความรัก เรียกด้วยความเคารพ พ่อขุนรามคำแหงเรียกชื่อที่เรียกติดมาแต่ยังทรงพระเยาว์ เรียกแบบที่ง่ายที่สุด และรู้จักกันอย่างแพร่หลายที่สุด บางท่านว่า คำว่า?นาง? เป็นศักดิ์สูงสุดที่จะเรียกสตรีในสมัยสุโขทัยสูงกว่า ?อ้าย? สูงกว่า ?อี?



นางเสืองเป็นใคร มาจากไหน
ข้อแรก ราชินีพระองค์นี้ คงเป็นชาวเมือง ?บางยาง? เพราะก่อนที่พ่อขุนบางกลางท่าวจะมาครองกรุงสุโขทัย ก็เคยเป็นเจ้าเมืองบางยางมาก่อนและเมื่อเป็นเจ้าเมือง ก็ย่อมมีพระอัครชายา และต้องเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกันด้วย เพราะเป็นสมัยที่สร้างตัวสร้างเมือง และสร้างประเทศ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ก็คงไม่เลือกเอาชาวสุโขทัยเป็นพระบรมราชินี แต่คงแต่งตั้ง
นางเสืองๆไม่ใช่ชาวสุโขทัย ที่พระองค์มาอุปภิเษกขึ้นใหม่ ก็คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมว่าที่ ??พ่อขุนบางกลางท่าวจึงเข้าเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองสุโขทัยให้ตั้งชื่อตนแก่พระสหายเรียกชื่อ ศรีอินทรบดินทราทิตย์ นามเดิมกมรเตงอัยผาเมือง เมื่อก่อนผีฟ้า เจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ให้ลูกสารชื่อนางสีขรมหาเทวี กับขันไชยศรี ให้นามเกียรติแก่พ่อขุนผาเมืองเหียมพ่อขุนบางกลางท่าวได้ชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์ เพื่อพ่อขุนผาเมือง เอาชื่อตนให้แก่พระสหาย?
จากข้อความนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าหากพ่อขุนบางกลางท่าวไม่มีพระอัครชายามาก่อน ก็คงจะกล่าวถึงการอุปภิเษกราชาสมรสในครั้งนี้ด้วยเป็นแน่
ข้อสันนิษฐานอันดับต่อไป ก็คือนางเสืองต้องเป็นคนสวย และเป็นการสวยที่เด่นและล้ำหน้าคนอื่น ๆ แน่ เพราะเจ้าเมืองมีอำนาจมาก ย่อมมีโอกาสที่จะเลือกได้เต็มที่ เนื่องจากในสมัยโบราณถือว่า หญิงมีความสำคัญน้อยกว่าชาย ดังนั้นรูปสมบัติฃองสตรีสมัยสุโขทัยจึงทรงคุณค่ายิ่ง โดยเฉพาะผู้จะเป็นอัครชายาของเจ้าเมือง
ในด้านคุณสมบัติ นางเสืองก็เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด รอบรู้ สังเกตได้จากราชบุตร คือพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงความเป็นปราชญ์อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นมหาราชองค์แรก และเมื่อพระองค์เป็นโอรสของนางเสือง พระองค์ฉลาด พระราชมารดาก็ย่อมฉลาดด้วย ทำนองลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สมัยนั้นกษัตริย์ต้องกรำอยู่กับการศึกและการปกครอง ต้องปล่อยให้งานบ้านงานเรือนตกเป็นหน้าที่ของมเหสี
นางเสืองเป็นพระราชินีที่รักโอรสธิดาเป็นพิเศษ มีความชำนาญในเรื่องการครองเรือนเป็นอย่างดี ข้อยืนยันสนับสนุนก็คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า
 



อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช


?เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อย กินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหน้าวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ป่าวได้นาง ได้เงินได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู?
ข้อความเหล่านี้ แสดงว่า นางเสืองได้อบรมพระราชโอรสให้มีความกตัญญู เคารพบิดามารดา หรืออย่างน้อยก็เคารพผู้อาวุโส เช่นพระเชษฐา
 

อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
?พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม?
นอกจากนี้ นางเสืองยังสอนราชบุตรให้เป็นคนกล้าหาญ เป็นคนกล้าที่ยอมเสี่ยงชีวิตได้เสมอ ถ้าเพื่อความกตัญญู ท่านคงจำจารึกนี้ได้

?เมื่อกูขี้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับใสหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่าย กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เมื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน?
นางเสืองสอนราชบุตร ให้ตั้งอยู่ในธรรม เลิ่อมใสในพระบวรศาสนา ตอนนี้ศิลาจารึกว่า

?คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักมักทานมักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวยเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน์ ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว?
 


อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่ เมืองคณฑี กำแพงเพชร


นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า ?...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...?
คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือนางเสืองนั่นเอง สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ (กษัตริย์) จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์
ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้
ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง ทางจังหวัดสุโขทัยจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี ปัจจุบันมีการ
พระแม่ย่า เป็นรูปสลักหินชนวน สูงประมาณ ๑ เมตรเศษ ประทับยืน ทรงพระภูษา แต่ไม่ได้ทรงฉลองพระองค์ ทรงถนิมพิมพาภรณ์แบบนางกษัตริย์ ประวัติและที่มาอันแน่นอนของแม่ย่านั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าเป็นใคร ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นเทวรูปพระอุมาในยุคขอมเรืองอำนาจก่อนกรุงสุโขทัย
 บางท่านก็ว่าน่าจะเป็น "พระนางเสือง" พระมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 ส่วนเหตุที่เรียกว่า "แม่ย่า" นั้น เนื่องจากชาวเมืองสุโขทัยเชื่อกันว่า พระแม่ย่านี้คือพระนางเสือง พระมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชาวเมืองเคารพสักการะ และถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ใครบนบานศาลกล่าวสิ่งใดมักจะได้สมปรารถนา จึงมีผู้ไปแก้บนที่ศาลเป็นประจำ
  เดิมนั้นเทวรูปแม่ย่าประดิษฐานอยู่ ณ ถ้ำแม่ย่า ต.นางเชิงคีรี อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ห่างจากเมืองเก่าสุโขทัย ประมาณ ๗ กิโลเมตร ปัจจุบันองค์พระแม่ย่าถูกอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลพระแม่ย่า ณ บริเวณ ต.ธานี จ.สุโขทัย ทั้งนี้ ในราว พ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพยายามค้นหาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเขตเมืองเก่าสุโขทัย
 เนื่องจากบรรยากาศทางด้านการศึกษาความเป็นมาของสยามประเทศในยุคนั้น ดำเนินไปอย่างคึกคัก เช่น มีการตั้ง "สมาคมสืบสวนของบุราณแห่งสยามประเทศ" ซึ่งต่อมาเรียกว่า "โบราณคดีสโมสร" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร และเป็นอุปนายกโบราณคดีสโมสรด้วย
  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพยายามสืบสวนเรื่องราวของอาณาจักรสุโขทัย โดยเปรียบเทียบกับศิลาจารึกหลักต่างๆ โดยเฉพาะหลักที่ ๑ ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงเทพารักษ์ประจำเมือง ซึ่งสถิตปกปักรักษาอยู่ ณ เขาหลวง ปรากฏชื่อในศิลาจารึกว่า "พระขพุงผี" ดังปรากฏความว่า
 "เบื้องหัวนุอนเมืองสุโขทัยทนี้...มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง..เมืองนี้หาย"
 และในคราวที่ค้นหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมืองนี้ ก็ได้พบเทวรูปเทวสตรีสลักจากหินชนวน อยู่ในลักษณะการยืนสูงราวหนึ่งเมตร ลักษณะคล้ายประติมากรรมพระแม่อุมาเทวี ทรงภูษานุ่งยาวเป็นริ้ว มิได้ทรงพัสตราภรณ์ ซึ่งสถานที่พบคือ บริเวณถ้ำพระแม่ย่า เขตตำบลนางเชิงคีรี เมืองสุโขทัย
  
 พ.ศ.๒๔๕๘ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้โปรดให้เจ้าเมืองสุโขทัย พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมภ์) อัญเชิญรูปสลักนั้นมาประดิษฐานที่เค้าสนามหลวง หรือศาลากลาง
                   ต่อมาชาวสุโขทัยเชื่อว่า เทวสตรีดังกล่าวก็คือ "นางเสือง" ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพ่อขุนบานเมือง และพ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นเอกอัครมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย และทรงเป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมืองแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม ผู้ช่วยกันกับพระสหายกอบกู้บ้านเมืองให้พ้นจากอำนาจของขอมอีกด้วย ชาวสุโขทัยจึงอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลแก่เมืองและเรียกกันสืบต่อมาว่า "พระแม่ย่า" อันหมายถึงสตรีที่มีฐานะสูงสุด เป็นทั้งพระมารดา และพระอัยยิกาแห่งเมืองสุโขทัย
นางเสือง จึงเป็นสตรีคนแรก ของไทย เป็น สตรีไทยผู้ทรงอิทธิพลที่สุด คนแรกของไทย
  
                                       .............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2012, 10:14:49 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!