จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มกราคม 09, 2025, 03:08:55 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของลาวคั่ง (ครั่ง) ในประเทศไทย และในกำแพงเพชร  (อ่าน 13547 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1445


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 23, 2012, 10:21:13 am »

ความเป็นมาของลาวคั่ง (ครั่ง) ในประเทศไทย และในกำแพงเพชร    
 
                                     
 การเข้าทรงนางกวัก ของลาวคั่ง
  
   จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์  และหลวงพระบางพร้อมกับเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยได้กล่าวว่าลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสายลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี กำแพงเพชร ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง" ความหมายของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมาย
ที่แน่ชัดบางท่านสันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆัง
อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อัน
เป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่าชาวลาวครั่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปีพุทธศักราช 2321 และในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในปีพุทธศักราช 2334 ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะไทยยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง และกวาดต้อนครอบครัวของชาวลาวมาในช่วงนั้น เนื่องจากแพ้สงคราม ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง คือมีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อนข้างเหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมากจมูกมีสันผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าสิ้นคลุมเข่า นุ่งซิ่นมัดหมี่ดอก ลาวครั่งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะ

วัฒนธรรมของชาวลาวครั่ง
     คนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้แก่ ภาษา การแต่งกาย ประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อ ต่างๆโดยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
 ภาษาที่ใช้ คือภาษาลาวครั่ง นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาลาวครั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กะไดการแต่งกายของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง จะมีแบบฉบับเป็นของตนเองซึ่งนำวัสดุจากธรรมชาติ       ในท้องถิ่นคือ ฝ้าย และไหม ที่เป็นวัสดุในการทอ เทคนิคที่ใช้มีทั้งการจกและมัดหมี่   ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวลาวครั่งคือ   ผ้าซิ่นมัดหมี่ ต่อตีนจก   ซึ่งมีลายผ้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และ ผ้าขาวม้า 5 สี มีลวดลายหลากหลายและสีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่นสีเหลืองนำมาจากหัวขมิ้น สีดำนำมาจากมะเกลือ + เทา (ตะไคร่น้ำ) สีครามได้มาจากต้น ครามผสมกับปูนกินหมาก   สีแดงได้มาจากครั่ง    นอกจากจะทอไว้เพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว   ยังทอเพื่อการจำหน่าย เป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก และอาชีพหลัก ก็คือ เกษตรกรรม     เนื่องจากสภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมาก
ความสามัคคีของลาวครั่ง ชาวลาวครั่งจะมีความสามัคคีกันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือ
กันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของเครือญาติหรือเพื่อนบ้าน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ หรือแม้แต่งานบุญ งานศพ งานรื่นเริงต่างๆ ชาวบ้านก็จะมาช่วยงานกันเป็นจำนวนมากตั้งแต่เริ่มจนเสร็จเรียบร้อย        



พระเจดีย์แบบพระธาตุพนม ที่วัดแสนสุข บ้านหนองเหมือด กำแพงเพชร

ประเพณีของชาวลาวครั่ง  มีประเพณีที่หลากหลายดั่งนี้
1.       ประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อ

  พิธีกรรมและความเชื่อ
            ชาวลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก    แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวิตประจำวัน  ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ
เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง   คือการทำนา  จึงมีประเพณีความเชื่อ  ที่ถือปฏิบัติกันมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์  คือ  พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี  และแม่โพสพ    ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่า    จะทำนาแล้วขอให้คนและ ควายอยู่ดีมีสุขสบาย   คราดไถอย่าให้หัก บ่ได้มาแย่งดิน ขอเพียงแค่ทำกิน     พิธีนี้ภาษาถิ่นเรียกว่า พิธี    แฮกนา  
 





                  พิธีที่เกี่ยวกับความเชื่ออีกวิธีหนึ่งคือ พิธีศพ   เมื่อนำศพผู้ตายใส่ลงหีบ ถ้าเป็นชายก็จะใช้ผ้าขาวม้าของผู้ตายคลุมทับผ้าขาวบนฝาหีบ ถ้าเป็นหญิงก็จะคลุมหีบด้วยสไบของผู้ตาย และจะเผาเครื่องนุ่งห่มต่างๆของผู้ตาย เช่น ผ้าขาวม้าไหม   โสร่งไหม ผ้าพุ่งไหม ผ้าม่วงโรง หรือผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าสไบ เสื้อฯลฯ เผาไปด้วย พิธีนี้จึงเป็นสาเหตุแห่งความสูญเสียผ้าโบราญที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีไป
                 พิธีกรรมมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ      เพราะพิธีกรรมต้องมีความเชื่อเป็นพื้นฐานของการกระทำไม่ว่าจะเป็นความเชื่อต่อสิ่งใด ฉะนั้นความเชื่อจึงเป็นรากฐานการกระทำ    ความเชื่อเรื่องการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม่งาม ก็เช่นเดียวกันชาวลาวครั่ง  
มีความเชื่อเหมือนกับชุมชนโดยทั่วไปโดยเชื่อว่าภายในสถานที่แห่งนี้ เป็นที่อยู่ของวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่คอยให้ความคุ้มครอง  และ    ยังได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่เกี่ยวกับเรื่องการแบ่งแยก ระหว่างโลกของวิญญาณ และ โลกของมนุษย์  และ วิญญาณที่ดี
สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้โดยผ่านคนทรง การเซ่นสรวงศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในชีวิตและการนับถือต่อผีวิญญาณบรรพบุรุษ ยังเป็นการควบคุมความประพฤติของคนในสังคมของหมู่บ้านบ่อกรุ แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้ยังพลว่าชาวบ้าน
แห่งนี้ยังมีความเชื่อเรื่อง ภูตผีวิญญาณ อย่างเหนียวแน่น   ถึงแม้พระพุทธศาสนาจะเข้ามามีบทบาทต่อสังคมชาวลาวครั่ง ก็ไม่ทำให้ความ
เชื่อนี้ลบล้างไป  (ธวัช ปุณโณทก 2530 : 390 ? 392) จากความเชื่อดังกล่าวชาวบ้านบ่อกรุ ได้มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อนั้น
โดยมีความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆเกี่ยวกับวิญญาณของบรรพบุรุษของชาวลาวครั่ง
ความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
 

                                               
   สัมภาษณ์ สตรีขาวคั่ง
           
 ในการศึกษาถึงความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ซึ่งเป็นความเกี่ยวกับวิญญาณเจ้านายหรือวิญญาณของบรรพบุรุษที่บ้านบ่อกรุ ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาจากการสอบถามจากกวนจ้ำและผุ้อาวุธโส
ในหมู่บ้านพบว่าชาวบ้านบ่อกรุ นี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ซึ่งอพยพมาจากหมู่บ้านหนองเหียนใหญ่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีได้พากันอพยพด้วยสาเหตุที่เกิดความแห้งแล้งไม่มีแหล่งน้ำ จึงได้ย้ายมาตั้งที่บ้านบ่อกรุ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีอายุการตั้งบ้านมานาน
นับ 140 ปีมาแล้ว ซึ่งในการอพยพมาของชาวบ้านนั้น ชาวบ้านได้อัญเชิญวิญญาณของเจ้านายและวิญญาณบรรพบุรุษของตนเองมาด้วย เพื่อให้ท่านคอยดูแลรักษา ปกป้องคุ้มภัยให้ชาวบ้านเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สภาพพื้นที่ในช่วงแรกเดิมที่ของบ้านบ่อกรุนั้นจะเป็นป่าดงขนาด
ใหญ่มีอาณาบริเวณประมาณ 130 ไร่ นับได้ว่าเป็นบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่มีอายุหลายร้อยปีแห่งหนึ่งในหมู่บ้านบ่อกรุ ในครั้งนั้นสภาพป่าจึงเป็นทางผ่านของทหารในการเดินทัพเพื่อไปทำสงครามมีกองทหารมาถึงบริเวณบ้านบ่อกรุ ผู้คุมจึงได้ทำการเซ่นสรวงเจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อ
ให้ช่วยคุ้มครองจึงได้พักกำลังที่บริเวณป่าไม้ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดกับ       ห้วยกุดเข้ พิธีเซ่นไหว้เจ้าป่าเจ้าเขาหรือบวงสรวงของฤกษ์เอาชัยจากเจ้าทหาร นายทหารที่เคารพนับถือ เครื่องเซ่นไหว้จะต้องมีไก่ต้น 1 ตัว อ้น 4 ตัวเหล้าต้ม 1 ไหหมากพลู 1 คำธูปเทียน
ยามวน ใบตอง 1 มวน ขณะที่ผู้ประกอบพิธีเซ่นไหว้บนศรีษะก็จะโพกผ้าสีแดงหนึ่งผืน หลังจากนั้นนายกองผู้คุมทหารก็สั่งเดินทัพ
                                                                                                                                                                                                                 [/color] 4
ต่อไป ต่อมาชาวบ้านต่างให้ความเคารพ    สถานที่แห่งนี้จึงได้ตั้งศาลเจ้าขึ้นจึงเรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม และมอบให้ตาจำปา (นายจำปา) เป็นตาเจ้าบ้านหรือกวนจ้ำ ดูแลรักษาปฏิบัติที่ตรงนั้นและได้สร้างศาลขึ้นครั้งแรกจำนวน 7 หลัง แต่ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 หลังตั้งหัน
หน้าไปทางทิศตะวันตก โดยลักษณะการตั้ง

   ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามในปัจจุบัน
ศาลจะปลูกเป็นหลังเล็กๆ เรียงกันตามลำดับใต้ต้นไม้ใหญ่ บริเวณทั่วไปจะปกคลุมไปด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี เป็นจำนวนมากและมีต้นไม้ขนาดเล็กปะปนบ้าง ในการเลือกทำเลตั้งศาลนั้นคาดว่าชาวบ้านบ่อกรุ ได้เลือกตามความเหมาะสมสอดคล้องตาม
ความเชื่อที่มีมาแต่สมัยก่อนและได้มีการอนุรักษ์ดูแลรักษา สอดส่องดูแลช่วยกันทั้งหมู่บ้านจึงทำให้สภาพที่ตั้งศาลมีสภาพที่ดีอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยทั่วไปชาวบ้านมีความเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิงสถิตอยู่ในบริเวณป่าดงไม้งามแห่งนี้ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองชาวบ้านให้
อยู่เย็นเป็นสุขภายในศาลที่ปลูกเป็นเรือนหลังเล็กๆ ประกอบไปด้วย   เครื่องเซ่นบูชา เช่น พวงมาลัย ตุ๊กตารูปเสือม้า และดอกไม้ธูปเทียน
ชาวบ้านถือว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครองไปถึง ไร่ นา วัว ควาย และทรัพย์สินของคนในหมู่บ้าน คอยควบคุม ความประพฤติให้ชาวบ้านอยู่ในทำนองคลองธรรม ไม่ทำผิดประเพณีกระทบต่อความสุขของส่วนรวม และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตาม
ในหมู่บ้านชาวบ้านมักจะบอกกล่าวต่อวิญญาณของบรรพบุรุษที่บริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งามก่อนทุกครั้ง การที่ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปทำสิ่งไม่ดีภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม เช่น ไม่เข้าไปตัดต้นไม้ และล่าสัตว์ จึงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชาวบ้านที่มีต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
 แห่งนี้ รวมถึงความร่วมมือความสามัคคีของชาวบ้านในการรักษาบริเวณป่าไม้แห่งนี้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์เช่นเดิมและ   ชาวบ่อกรุส่วนใหญ่ถือว่า
การดูแลรักษาป่าไม้บริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งามเป็นหน้าที่ของทุกคน
 
            นายทำ กาฬภักดี ( กวนจ้ำ )บางคนเล่าให้ฟังว่าเคยสอบถามจากปู่ ย่าคนแก่สมัยก่อนว่าชาวลาวซี ? ลาวครั่งได้อพยพมาจากบ้านลำเหย อ.กำแพงแสนตอนที่อพยพมาได้อัญเชิญผ้าเหลือชิ้นเล็กๆของศาลที่นับถืออยู่ที่กำแพงแสนมาหนึ่งชิ้นและได้อัญเชิญมาโดยการ
ใส่หีบมาอย่างดีและ มาตั้งไว้ที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามในปัจจุบันเพื่อสักการบูชาและปกปักรักษาตนเองและครอบครัว
 


  
           
 
การแต่งกายของสตรีและบุรุษสูงศักดิ์ชาวคั่ง

      สำหรับบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะต้องคอยปฏิบัติในการประกอบพิธีกรรมคือ กวนจ้ำ   สำหรับกวนจ้ำนั้น จะเป็นบุคคลที่ชาวบ้านเลือก โดยเลือกเอาบุคคลผู้ที่มีความรู้ทั้งด้านเกี่ยวกับพิธีกรรม   มีคุณงามความดี เป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับว่ามีความเหมาะสมที่
จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆได้เป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านบ่อกรุนอกจากนี้ยังเป็นผู้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้รับการ ถ่ายทอดจากรุ่นปู่อีกทอดหนึ่งด้วย
                       อาณาจักรลาวคั่งในกำแพงเพชร
..ทางใต้  โนนปอแดง หนองเหมีอด ดงดำ ท่าแต้ ดอนแตง ดอนเหียง ดอนโค้ง บ้านไร่ดอนแตง โคกเลาะ โค้งตาเถร (โค้งวิไล) แม่ลาด หนองเต็งหัวรัง ดอนสมบูรณ์ หนองหล่ม ทุ่งเชียก  กะโดนเตี้ย ทุ่งมน หนองเม่น หนองแห้ว โนนดุม โนนทัน ปรึกมะกรูด ทุ่งเศรษฐี ทุ่งตาพุก บ่อสามแสน ทางฝากแม่น้ำตะวันออก บ้านชายเคืยง บึงบ้าน ทุ่งรวงทอง ไทรงาม แม่ยื้อ นับไม่ถ้วน เป็นซุมที่เป็นบ้านเก่าแก่ (บ้านที่อายุเก่ากว่า70 ปี- 150 ปี ขึ้น)
 นี้คือนามสกุลคนลาวคั่งกำแพงเพชรที่เจอบ่อย
พิมพา สบายเมือง เหล่าเขตกิจ เขตกัน บุญมาสอน มีศรี สุวรรณ  พิลึก จันทร์ศรี
     พิลึกนั้นเป็นสายบ้านโคกหม้อเด้อ สายแฮ่ออกเป็นขุนพิลึกก่ามี พิลึกเรืองเดชก่ามี ถ้าคิดเลี้ยงเก่าคาวหลังแล้วอ่อนซอนหลาย วัฒนธรรมจารีดประเพณีมีหลาย อย่างงานเทดมหาซาติแห่ข้าวหนมต้มอยู่ในความซงจำบ่อมีลืม บ้านใดมีเทศก่าไปเอาแฮงกันเดินไปนอนวันทันคืน สงกรานต์ถีบลดถีบจากหนองเหมียดไปเล่นสงกรานต์เป็นเดียน กับบ้านก่าเกียมตัดแอกตัดไถลงไฮ่ใส่นาเลย ทางใต้เริ่มต้ังแต่โนนปอแดง ท่าแรต หนองกะดูกเนี้ย เขาหลวง มาบแก โนนพอง ท่ากกแดง โนนเพ็ก โนนหวาย หนองยายดา หนองกะดี่ อีกหลายๆบ้าน ทางเหนียเริ่มจาก โนนตารอด(หนองอี้ม้า) โคกเลาะ ดอนแตง โนนดุม โนนทัน กะโดนเตี้ย ซุมลุมลาวคั่งเฮาเป็นตูบน้อยๆ อยู่หัวไฮ่ซายเขาฮิมอุทยานน้ำตกคลองลาน ยินดีต้อนฮับทุกท่านครับ ส่วนระเบียบข้อบังคับถ้าทุกอย่างเรียร้อย ก่าซิตีฆ้องฮ้องป่าวให้ซุมเฮาฮู้ในเร็วๆนี้เด้อ
ข้อเสนอแนะ
มีของดีบ่อฮู้จักรักษา ฝรั่งญี่ปุ่นเขามาเบิ่งเขายังทึ่ง การใซ้ภาษาถ้าบ่อมีผู้สืบทอดกะบ่องอกงาม คนเก่าคนแก่เขามีวิธีแต่งคำกลอนเอาไว้ถ่อง ผู้บางคนเฮ็ดนาเก่งกาสมควรให้ปริญญาไปเลย เรียนไปกาอย่าเป็นลูกไล่ฝรั่ง เฮียนไห้ฮู้ให้สร้างเทคโนโลยีขึ้นมา อันใดมีแล้วกามาปรับไซ้ เอามาใซ้ให้พอดี เคยอยู่โรงงานญี่ปุ่น มันกาเอาหลักศาสนาพุทธเฮาไปใซ้ เช่น หลักการไคเซ็น เวลาเฮ็ดเวียกก่าหว่า ต้องรู้จักปกครองตัวเอง อันนี้กา อิทธิบาทสี่ ของของเฮาเทิงนั้น ต่างซาติเอาไปพัฒนาเป็นของมันสู่ขวัญเข้า กินดอง เล่นนางด้งนางกวัก แต่งแก๊ ประเพณีอย่างซี้บ่องมงายปัญญาอ่อนดอก มันเป็นเอกลักษณ์ แต่ต้องประยุกต์ให้เข้ากับวิถีซีวิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่เลี้ยงเว็ปเซียงหำรอจักหน่อยแด่เด้อ ตอนนี้มีภาระงานสอนหลายอยู่ บ่อข่อยว่างต้องรอไกล้ปิดเทอมก่อนเด้อ ถ้าผู้ได๋เริ่มได๊ก่อนกาเฮ็ดไปก่อนกาได๊สุดท้ายนี้ขอบอกหว่าให้บอกลูกสอนหลานเด้อหว่า สิ่งไดดีกาเอามา ของดีการักษาไว้ ประวัติศาสตร์กาต้องฮู้ไว้ซิบ่อได๊เสียเปรียบซาติอื่น บุญถ่อไดแล้วมีโอกาสอยู่แดนดินถิ่นสยาม อาหารการกินกาสมบูรณ์ ผิวพรรณกาดีกว่าซาติอื่น คันถ้าแหม่นอยู่ถีเก่ากาคงบ่อพัฒนาได๊อย่างี๊ดอกเด้อ (อยู่ที่อาหารละกะของทะเล)


                           
ชาวคั่งกับการแสดงฟ้อนแคน
อ.ทองคำ ดิษสละ ลูกลุงน้อย กับน้องชายเผิ่นอ้ายเงินนั้นฮุ้จักกันดี เคยไปรับจ้างดายหญ้าเฮ็ดให่ กับบ้านเผิ่นอยู่เป็นปี หน้าบั๊กหม่วงการับจ๊างขึ้นบั๊กหม่วงกับผ่อเผิ่น ทางดงดำนั้นเขาเอิ้นข้อยหว่า บักเฒ่า แม่อ้ายเขากาเป็นรุ่นเดียวกับอีผ่อข้อย หมู่เขาเฮียนเก่งกันทั้งตระกูลนะ ดิษสละนี้รวยๆเจียบทุกบ๊านบ๊านนะ เป็นผู้ดีนำ ละกะเป็นรุ่นผี่เรียนโรงเรียนซาย ปากนำโพ แต่ผมบ่อทันเขาดอก ตอนเด็กน้อยผมมาขึ้นโรงเรียนอุทิศ โค้งไผ่ พร้อมๆกับลูกครูมนูญ ละกะอาจารย์สมบูรณ์ ครูลิ อายุกาบ่อน้อยแล้ว ซิเข้า 40 บ่อกี่มื้อนี้แล้วอยู่ปทุมกาแถวเซียร์ รังสิต ติดทหารอากาศ กาอยู่เรื่อยๆกับลูกกับเมีย นั้นนะ
  อันที่จริงแล้วคนลาวครั่ง แต่ปู่แต่ปู้นั้นเว้าภาษาลาวอีสานได้อยู่ดอกเวลาเว้าเจรจากับคนอีสาน เป็นการพึ่งพาทางวัฒนธรรมนะครับ แม้แต่พระสงฆ์ก็ไปนิมนต์ท่านมาจากอีสาน อาหารการกินก็คล้ายกับทางอีสาน แต่กินข้าวเจ้า ในความคึดของข้อยนั้นคิดว่า ลาวครั่งไม่มีวัฒนธรรมในเรื่องหมอลำ คิดว่ามาจากอีสาน ข้อยอาจจะคึดผิดก็ได้ ถ้ามีผู้รู้ช่วยบอกจักหน่อยเด้อ หว่าลาวครั่งมีกลอนหมอลำเป็นของโตเองบ่อ ท่านพี่ตาเทือง ท่านเซียงหำมีควมคิดจังได๋ ซ่อยบอกแด่เด้อ
เวลามีงานบุญเมื่อก่อนก็จ้างหมอลำคู่มาเล่นส่วนใหญ่เป็นงานทำบุญให้กับคนตาย ส่วนงานระดับชุมชนก็เป็นหมอลำกลอน หมอลำหมู่หมอลำเพลิน ลาวครั่งมาเบิ่งก็ฮู้เรื่อง บานเย็นรากแก่น แม่นกน้อยนี่เมื่อก่อนก็เคยเป็นลูกวงหมอลำมาเล่นแถวบ้านคือกัน
เจริญพรทุก ๆ คนเด้อ ช่วงนี้หม่อมงานยุ่งนิดหน่อยหลังจากเสร็จงานกฐินพระราชทานที่วัดเสร็จกะงานลอยกระทง แต่บ่ได้ลอยกับเขาดอก ได้แต่เบิ่งเขาไปลอยกัน แถวราชบุรีมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่าน เลยจัดงานกันครึกครื้นเสร็จแล้วกะถึงงานสอบนักธรรม ต้องไปเป็นกรรมการ ทำหน้าที่หลายอย่าง เพราะหม่อมเป็นเลขาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี (ธรรมยุต)งานเลยหลายหน่อย แต่พอดีมื้อนี้ว่างหน่อยหนึ่ง กะเลยลองเข้ามาเบิ่ง เห็นคนทักทายมาหลายคน ทั้งโยมยศขจร ขันสิงหา (ตาเทือง) ประธานชมรมลาวคั่งจังหวัดกำแพงเพชร หม่อมกะเพิ่งฮู้ว่ามีชมรมนี้นำ จั๋งใด๋กะขอสมัครเป็นสมาชิคนำแด่เด้อ แล้วกะโยมโกวิทย์ กัลยาทอง หม่อมได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่พิมพา แต่ว่าตอนผมยังโตน้อยบ่ทันฮู้ภาษา เลยจำหน้าเพิ่นบ่ได้แล้วได้แต่มาเบิ่งรูปถ่าย กับเหรียญที่ระลึกของเพิ่นที่ได้มากว่า 20 ปีแล้ว เดี๋ยวนี้อยู่ใด๋กะบ่ฮู้ละ แต่มั่นใจว่ายังเก็บไว้อยู่เสร็จงานสอบนักธรรม กับธรรมศึกษาแล้วอิมาใหม่เด้อ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2012, 10:57:41 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!