จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ธันวาคม 05, 2024, 09:06:12 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุดยอดผ้าไหมไทย ที่ปางศิลาทอง กำแพงเพชร  (อ่าน 7722 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1442


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 07:35:27 pm »

สุดยอดผ้าไหมไทย ที่ปางศิลาทอง กำแพงเพชร ..
  



.ไหมเป็นแมลงประเภทผีเสื้อตัวหนอนไหมกินพืชได้หลายชนิด แต่ชอบกินใบหม่อนมากที่สุด ทว่าหม่อนจัดเป็นพืชยืนต้นซึ่งเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่เลี้ยงไหม จึงมักปลูกสวนหม่อนควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอ เชื่อกันว่ามนุษย์เริ่มเลี้ยงไหมเป็นครั้งแรก ในประเทศจีนเมื่อประมาณ5,000ปีมาแล้ว วงจรชีวิตของไหมประกอบด้วย ระยะที่เป็นไข่ระยะตัวหนอนระยะดักแด้ และระยะผีเสื้อคุณสมบัติพิเศษของตัวไหมคือ ช่วงระยะซึ่งเป็นดักแด้ ตัวหนอนจะสร้างรังไหมห่อหุ้มตัวเอง และรังไหมนี่เองที่สามารถสาวออกมาเป็นเส้นใยเส้นเล็กๆ ซึ่งมีความเหนียว และเป็นมันวาวสวยงาม เหมาะต่อการนำไปทอเป็นผืนผ้าพันธุ์ไหม ในประเทศไทยที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. ไหมพันธุ์ไทย เป็นไหมพื้นเมือง ชาวบ้านเลี้ยงเพื่อใช้ทอผ้าไหมพื้นบ้าน รังไหมของไหมพันธุ์ไทยสีออกเหลืองตุ่น มีขนาดเล็ก หัว ท้ายแหลม คล้ายกระสวยให้ผลผลิตต่ำ เส้นไหมมีขนาดโต แต่ก็ความแข็งแรงเหนียวแน่น 2. ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นพันธุ์ไหมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับไหมพันธุ์ต่างประเทศ รังไหมพันธุ์นี้มีสีเหลืองสด ขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตสูงกว่าไหมพันธุ์ไทย และเส้นใยมีขนาดเล็กกว่าไหมพื้นเมือง 3. ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม เป็นพันธุ์ไหมจากการผสมระหว่างพันธุ์ญี่ปุ่นและพันธุ์จีน รังไหมมีสีขาว ขนาดใหญ่ ลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่เปลือกรังหนา ให้ผลผลิตสูง เส้นใยละเอียดเหนียวแน่น นิยมเลี้ยงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังโรงงานสาวไหม. ที่ในหมู่บ้านเริงกะพงษ์ อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นหมู่บ้าน ที่น่าสนใจมาก เรามีโอกาส ได้พบกับตุณกองนาง กองเกิด ครูภูมิปัญญาไทย ผู้อนุรักษ์ วัฒนธรรม การทอผ้าไหม ที่งดงาม ไม่แพ้ที่แห่งใด ในประเทศไทย คุณกองนางได้สาธิต การทอผ้าไหม บ้านเริงกะพงษ์ อย่างละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้น การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม การทอผ้า อย่างละเอียด เริ่มจาก 1. การสาวไหม ทำได้โดยการต้มตัวไหม โดยใช้หม้อขนาดวัดโดยรอบประมาณ 25 นิ้ว ปากหม้อนั้นครอบด้วยไม้โค้งคล้ายห่วงของถังไม้และใช้ไม้ลักษณะแบนเจาะรูตรงกลางพาดระหว่างห่วงทั้งสองข้าง และเหนือไม้แบนๆ นี้ มีไม้รอกคล้ายจักรที่ให้หนูถีบ ซึ่งจักรมีลักษณะเป็นรูปกลมๆ จากนั้นเอาฝักไหมที่จะสาวใส่ลงไปในหม้อ ประมาณ 30 - 50 นาที ระหว่างที่รอให้คน ประมาณ 2 - 3 ครั้ง ให้รังไหม สุกทั่วกัน แล้วเอาแปรงชะรังไหมเบาๆ เส้นไหมก็จะติดแปรงขึ้นมา จึงนำมาสอดที่รูตรงกลางของไม้ระหว่างห่วงทั้งสองข้าง และสาวให้พ้นรอก 1 รอบ จากนั้นเวลาสาวไหม จะใช้มือทั้งสองข้าง โดยมือหนึ่งสาวไหมจากรอกลงภาชนะที่รองรับเส้นไหม ส่วนอีกมือหนึ่งถือไม้อันหนึ่งเรียกว่า "ไม้ขืน" ซึ่งมีลักษณะเป็นง่ามยาวประมาณ 1 ศอกเพื่อเพื่อใช้ในการกดและเขย่ารังไหมที่อยู่ในหม้อเพราะรังไหมที่อยู่ในหม้อนั้นจะลอยถ้าไม่กด และเขย่าก็จะเกาะกันแน่นสาวไม่ออก หรือออกมาในลักษณะที่เส้นไหมมีขนาดไม่สม่ำเสมอกัน เครื่องสาวไหมทั้งหมดเรียกว่า "เครื่องพวงสาว" การสาวไหมนี้ต้องหมั่นเติมน้ำเย็นลงไปเป็นระยะระวังอย่าให้น้ำถึงกับร้อนและเดือด เครื่องมือในการสาวไหมประกอบด้วย 1. เครื่องสาวไหม หรือ พวงสาว คือ รอกที่ใช้ดึงเส้นไหมออกจากหม้อ 2. เตาไฟสำหรับต้มรังไหม อาจเป็นเตาถ่านหรือเตาที่ใช้ฟืนก็ได้ 3. หม้อสำหรับต้มรังไหมจะเป็นหม้อดินหรือหม้อเคลือบก็ได้ ที่นิยมใช้หม้อนึ่งข้าวเหนียว เรียกว่าหม้อนึ่งเพราะมีขอบปากบานออกรับกับพวงสาวได้พอดี 4. แปรงสำหรับชะรังไหมทำด้วยฟางข้าว 5. ถังใส่น้ำ เพื่อเอาไว้เติมน้ำในหม้อต้มเมื่อเวลาน้ำร้อนเดือด 6. ไม้ขืน สำกรับเขี่ยรังไหมในหม้อให้เป็นไปตามต้องการและให้เส้นไหมผ่านขึ้นไปยังรอก 7. กระบุงหรือตะกร้า สำหรับใส่เส้นไหม 2. การฟอกไหม หลังจากที่สาวไหมจนหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ต้องนำไหมที่ได้นั้นมาฟอกให้นิ่มและเป็นสีขาว วิธีฟอกไหม ชาวบ้านไม่ได้ใช้สารเคมี แต่จะใช้ของที่หาง่ายอยู่ใกล้ตัว เช่น กาบกล้วย ใบกล้วย ต้นกล้วย ผักโขมหนาม ต้นตัง ไก่น้อย งวงต้นตาล ก้านตาล ฝักหรือเปลือกเพกา ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งนำมาฝานให้บาง ผึ่งแดดให้แห้ง และเผาไฟจนเป็นเถ้า นำเถ้าที่ได้ไปแช่น้ำไว้ให้ตกตะกอน ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใส นำไหมที่จะฟอกลงแช่โดยก่อนจะนำไหมลงแช่จะต้องทุบไหมให้อ่อนตัว เพื่อที่น้ำจะได้ซึมเข้าได้ง่าย แช่จนไหมนิ่มและขาว จึงนำไปผึ่งแดดให้แห้ง หากไหมยังไม่สะอาดก็นำไปแช่ตามวิธีเดิมอีก จากนั้นการดึงไหมออกจากลุ่มไหมจะต้องทำโดยระมัดระวังไม่ให้พันกัน เส้นไหมที่ฟอกแล้วจะอ่อนตัวลง เส้นนิ่ม 3. การย้อมสีไหม สีไหมที่นิยมใช้ย้อมมี 2 ชนิด คือ 3. 1. สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติ ได้จากต้นไม้ ใช้ได้ทั้งใบ เปลือก ราก แก่นและผล ชาวอีสานรู้จักการย้อมสีไหมให้ได้สีตามต้องการ จากสีธรรมชาติมานานแล้ว มีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควรเริ่มจากไปหาไม้ที่จะให้สีที่ต้องการ ซึ่งจะอยู่ในป่าเป็นส่วนไหญ่ บางสีต้องการใช้ต้นไม้หลายชนิด ทำให้ยุ่งยาก เมื่อได้มาแล้วต้องมาสับมาซอย หั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำไปต้มกรองเอาน้ำให้ได้มากตามต้องการ แล้วจึงนำไปย้อมแต่ละครั้งสีจะแตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนเดิมทีเดียว ทำให้เกิดรอยด่างบนผืนผ้าได้ ปัจจุบันจึงนิยมใช้สีเคมีเป็นส่วนมากหรือเกือบทั้งหมด เพราะย้อมง่าย ขั้นตอนที่ทำไม่ยุ่งยากซับซ้อนสีที่ได้สม่ำเสมอ จะย้อมกี่ครั้งๆ ก็ได้สีเหมือนเดิมและสีติดทนนานมากกว่าสีจากธรรมชาติ ต้นไม้ที่นำย้อมแบบพื้นบ้าน สีที่ย้อมจากธรรมชาติ มีดังนี้ 1. สีแดง ได้จาก ครั่ง รากยอ 2. สีน้ำเงิน ได้จาก ต้นคราม 3. สีเหลือง ได้จาก แก่นขนุน ขมิ้นชัน แก่นเข 4. สีเขียว ได้จาก เปลือกสมอและใบหูกวาง ใบเตย 5. สีม่วงอ่อน ได้จาก ลูกหว้า 6. สีชมพู ได้จาก ต้นฝาง ต้นมหากาฬ 7. สีดำ ได้จาก เปลือกสมอ และลูกมะเกลือ ลูกระจาย 8. สีส้ม ได้จากลูกสะตี (หมากชาตี) 9. สีน้ำตาลแก่ ได้จาก จานแก่นอะลาง 10. สีกากีแกมเขียว ได้จาก เปลือกเพกากับแก่นขนุน 11. สีกากีแกมเหลือง ได้จาก หมากสงกับแก่นแกแล 3.2. สีย้อมวิทยาศาสตร์ หรือสีสังเคราะห์ มีส่วนผสมทางเคมีวิธีย้อมแต่ละครั้ง จะใช้สัดส่วนของสี และสารเคมีที่แน่นอนสีที่ได้จากการย้อมแต่ละครั้งจะเหมือนกัน แหล่งทอผ้าในปัจจุบันนิยมใช้สีย้อมวิทยาศาสตร์ เมื่อนำมาทอ เป็นผ้าไหม



 ผ้าไหม ของคุณ กองนาง กองเกิด ถือว่ามีฝีมือที่งดงามมาก ประณีต งดงามทุกลวดลาย นับว่าน่าสนใจที่สุด เราได้เห็นผ้าทอ ไหม มามากมาย แต่ไม่มี ที่แห่งใดงดงาม เท่า ผ้าไหม ของหมู่บ้านเริงกะพงษ์ ทำให้อดใจ ไม่ได้ ต้องอุดหนุน ผ้าไหมไทย เริงกะพงษ์ ที่สวยงาม ผ้าไหมพื้นสีเม็ดมะขาม มีลายรดน้ำ มีดอกประดับงดงามเป็นดอกแก้ว เกิดจากจินตนาการ ในการมองสายน้ำ จึง นำจินตนาการนั้นมา ทอ ผ้าไหมผืนนี้ จึงมีลักษณะ งดงาม ราวน้ำไหล เมื่อนำดอกแก้วมาประดับ จึงทำให้สวยงาม มากขึ้น นับว่า เป็นจิตนาการที่น่าประทับใจมาก ผ้าไหมผืนนี้เป็นเส้นใยที่อยู่ในสุดติดกับตัวไหม ทำให้ไหมมีเนื้อละเอียดบาง สวมใส่แล้วเบาสบายไม่ร้อน สนนราคาไม่แพงเลย ฝีมือการทอดีมาก เรียบเนียนทั้งผืนไม่มีรอยปม ให้เป็นตำหนิ เราได้ อุดหนุนผ้าขาวม้า ที่เป็นผ้าไหม อีกผืน เพื่อมีส่วนในการ ช่วยเหลือ สังคม การทอผ้า ไหมที่บ้านเริงกระพงษ์ อีก ส่วนหนึ่งด้วย ภูมิปัญญาไทยที่เราต้องสนับสนุน ไม่เอาเปรียบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าทุกผืน ล้วนมีชี้นเดียวในโลก นี่แหละคือสุดยอดผ้าไหมไทย ที่บ้านเริงกะพงษ์ อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร


 สันติ อภัยราช ๒ กค.๕๕




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2012, 07:43:24 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!