จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ธันวาคม 24, 2024, 08:29:55 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอย ๑๐๘ ปี เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร  (อ่าน 5570 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1444


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 09:11:38 pm »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เสด็จประพาสต้นจังหวัดกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ ๑๘ ถึงวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ โดยการเสด็จมาในครั้งนี้พระพุทธเจ้าหลวงทรงแต่งองค์อย่างสามัญชนเพื่อจะได้เข้าถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน และทรงอยากเห็นสภาพสังคมที่แท้จริงของเมืองกำแพงเพชร สาเหตุแรกที่ทำให้เสด็จมาก็เพื่อลบคำกล่าวลือว่าเมื่อล่องเรือมากำแพงเพชรขึ้นเหนือตามคลองสวนหมากถ้าล่องขึ้นไปแล้วหันหน้าเข้าหาฝั่งนครชุมจะจับไข้เจ็บป่วยและตาย ต้องเมินหน้าเข้าไปทางเมืองกำแพงเพชร จึงเสด็จมาเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนว่ากษัตริย์ยังกล้าที่จะมาแล้วคนในท้องถิ่นจะอพยพไปที่อื่นทำไม และเพื่อให้ประชาชนจากที่อื่นกล้าที่จะไปมาหาสู่ ติดต่อค้าขายที่เมืองกำแพงเพชร ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือเพื่อต้องการให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) มาดูแลเมืองในเขตเหนือจึงต้องการให้มาดูและทำความรู้จักกับเมืองพระร่วง และทรงให้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร 
           โดยวันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเข้าเขตเมืองขาณุ หรืออำเภอขาณุวรลักษบุรีในปัจจุบัน โดยเสด็จประพาสเขาหน่อ ทรงถ่ายภาพบริเวณต่างๆของเขาหน่อด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง และหลังจากนั้นจึงมาพักแรมที่เมืองขาณุ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จทอดพระเนตรคนผมแดง ซึ่งพระวิเชียรได้พาคนผมแดงมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวง ทรงถ่ายภาพชาวบ้านที่ได้มารอเข้าเฝ้า และได้พักแรมที่ตำบลบางแขม วันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้เสด็จแวะวัดวังพระธาตุ ทรงถ่ายภาพเจดีย์องค์ใหญ่ และล่องเรือตามลำน้ำปิงจนมาสิ้นสุดที่หน้าเมืองกำแพงเพชร มาประทับพักแรมที่หน้าวัดชีนางเกา ปัจจุบันคือบ้านพักของรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร วันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรเก่า เยี่ยมชมวัดต่างๆโดยทรงทอดพระเนตรวัดหนึ่งซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ยืนซึ่งต่างจากวัดอื่นๆ จึงทรงตั้งชื่อวัดว่า ?วัดพระยืน?แต่ไม่มีใครเรียกตามจึงเปลี่ยนมาเป็นวัดพระสี่อิริยาบถ และทรงถ่ายรูปชาวบ้านหญิงงามทั้ง ๔ คน โดยได้แม่หวีดบุตรหลวงพิพิธอภัยเป็นแบบถ่ายรูป แม่หวีดก็จัดท่าทางโดยไม่เกรงใจ คือนอนคว่ำหน้าขาเหยียดไขว้กันตามองกล้อง จนพระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสชมสาวเมืองกำแพงเพชรว่ามีรูปงาม วันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสคลองสวนหมาก โดยล่องเรือเลยขึ้นไปยังไม่ขึ้นมาวัดพระบรมธาตุ ซึ่งคลองสวนหมากในขณะนั้นมีน้ำไหลเชี่ยว น้ำใสเพราะเป็นลำห้วย จึงต้องใช้เรือกลไฟโยงเข้าไป คลองสวนหมากมีคลองแยกข้างขวามือเรียกว่า แม่พล้อ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีประสงค์จะประพาสบ้านพะโป้เพราะสนใจมากว่าพะโป้เป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรกับเมืองกำแพงเพชรโดยไปเยี่ยมถึงบ้านขึ้นไปพูดคุยกับพะโป้ ทรงถ่ายภาพบ้านพะโป้และบ้านกำนันวันจากนั้นจึงเสด็จกลับ พะโป้เป็นชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลของเมืองกำแพงเพชรเพราะได้มาขอทำไม้ กับเจ้าเมืองกำแพงเพชร ในป่าคลองสวนหมากซึ่งเป็นป่าขนาดใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์มาก อิทธิพลของพะโป้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อพะโป้ได้แต่งงานกับคนไทยคืออำแดงทองย้อย ลูกสาวกำนันวันกับอำแดงไทยผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในคลองสวนหมาก ทำให้ฐานะทางสังคมของพะโป้ยิ่งใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความมีน้ำใจต่อชาวบ้าน และยังได้บริจาคเงินในการบูรณะพระบรมธาตุนครชุม ซื้อยอดฉัตรจากเมืองมะระแหม่ง ซึ่งคาดกันว่ายอดฉัตรนั้นเป็นฉัตรที่ทำด้วยทองคำแท้ จากนั้นก็ทรงเสด็จกลับมาวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม เพื่อขึ้นไปสักการะพระบรมธาตุ และทรงถ่ายรูปพระบรมธาตุเจดีย์ด้วยพระองค์เอง ในขณะนั้นมีราษฎรมารอรับเสด็จอยู่ ณ ลานวัดพระบรมธาตุ ซึ่งจารึกนครชุมได้กล่าวไว้ว่าพระบรมธาตุครั้งแรกนั้นมีสีเหลือง ลายปูนปั้นสีขาว พระบรมธาตุเดิมเป็นพระเจดีย์แบบเดียวกับวังพระธาตุ ซึ่งพระยาตะก่าได้สร้างเจดีย์มอญสวมเจดีย์โบราณสามองค์ไว้ เมื่อพระยาตะก่าตาย พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ต่อมาวันที่ ๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระพุทธเจ้าหลวงได้รับถวายดาบฝักทองจากหลวงพิพิธอภัย เสด็จถ่ายรูปคนตระกูลพระยากำแพงเพชรเก่า และได้เสด็จไปวัดคูยาง ผ่านถนนสายในถนนสายนี้งามมากทรงถ่ายรูปไว้และให้ชื่อว่า ?ถนนราชดำเนิน? วันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ เสด็จพักแรมที่บ้านแดน และเสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชร  การเสด็จประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ซึ่งพระราชนิพนธ์อย่างตรงไปตรงมา ละเอียดลึกซึ้ง ทำให้เห็นสภาพของบ้านเมือง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง บริเวณสองฝั่งแม่น้ำปิง เมืองกำแพงเพชร นอกจากพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรแล้ว ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าหลวง
          นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จประพาสจังหวัดกำแพงเพชรแล้วยังมีกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่เสด็จมายังจังหวัดกำแพงเพชรคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(รัชกาลที่ ๙) และพระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้เสด็จมาถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ ๒๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ ซึ่งเสด็จมาเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลและบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณวังโบราณ เมืองกำแพงเพชร จากนั้นทรงปลูกต้นสักไว้ ณ หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชรโดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกไว้หน้าศาลากลางด้านขวา ส่วนสมเด็จพระราชินีนาถทรงปลูกไว้หน้าศาลากลางด้านซ้าย ครั้งที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีพระราชินีนาถตามเสด็จตามพระองค์ เพื่อทอดกฐิน ณ วัดคูยาง เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๓ จากนั้นทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ไว้ที่หน้าบรรณโบสถ์ด้านหน้าของวัดคูยาง และพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ สก. ที่หน้าบรรณโบสถ์ด้านหลังของวัดคูยาง ครั้งที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ในวันที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ โดยการเสด็จมากำแพงเพชรในครั้งนี้ได้มีพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเสด็จตามพระองค์ โดยลูกเสือชาวบ้านที่มาเข้าเฝ้ามีทั้งหมด ๑๑๗ รุ่น การเสด็จมาในครั้งนี้ยังได้ทรงพระราชทานความช่วยเหลือราษฎรเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งด้านอุปโภคและด้านบริโภค โดยได้พระราชทานท่อทองแดงในการจัดส่งน้ำให้กับราษฎรชาวกำแพงเพชร
           การเสด็จมาเยือนจังหวัดกำแพงเพชรของกษัตริย์ไทยทั้ง ๒ พระองค์ ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของเมืองกำแพงเพชร ทั้งการเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และการเสด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งทำให้ชาวจังหวัดกำแพงเพชรปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างมากที่พระองค์ไม่ทรงละทิ้งราษฎรที่อยู่ห่างไกล แต่ทรงให้ความช่วยเหลือดูแลราษฎรของพระองค์เป็นอย่างดี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
                                                                                                                                         นางสาวนภาพรรณ  ช่อชั้น  รหัสนักศึกษา ๕๕๑๑๒๑๕๓๑
บันทึกการเข้า
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1444


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 01:05:40 pm »

เขียนได้ละเอียด ชัดเจน การเสด็จ ประพาสวัดคูยางลองดูใหม่อีกครั้ง ให้ ๑๐ คะแนน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!