จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ธันวาคม 27, 2024, 02:37:05 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่าชาวปากคลอง เรื่องที่๑๐ สาวปากคลอง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมกำไล ข้อเ  (อ่าน 4628 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1445


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 17, 2017, 05:26:33 pm »

เรื่องเล่าชาวปากคลอง
   เรื่องที่๑๐ สาวปากคลอง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมกำไล ข้อเท้า
“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์”
รื่นหนุ่มวังแขม อายุ ๓๒ ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย  ๑๖ ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)
   สาวบ้านปากคลอง ในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ใช้กำไลแสดง ฐานะการครองตัว ว่าโสดหรือไม่โสด
การมองผู้หญิง จะเกี้ยวพาราสีได้หรือไม่  เขาจะมองกำไลที่ข้อเท้า ถ้าสวมอยู่ก็สามารถเกี้ยวได้แต่ถ้าถอดกำไลแล้ว ผู้ชายเขาจะไม่เกี้ยวพาราสี กับผู้หญิงคนนั้น นับว่าเป็นภูมิปัญญาในการใช้กำไลข้อเท้าบอกสถานภาพทางสังคม : กำไลข้อเท้าสามารถเป็นเครื่องแสดงถึงสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้ สำหรับเจ้านายและเจ้าฟ้าในวัง จะนิยมใส่กำไลข้อเท้าซึ่งโดยมากแล้วคือกำไลหัวบัว ทำด้วยเนื้อโลหะเงินหรือทองคำ หัวบัวสลักด้วยลวดลวยที่วิจิตร ในหมู่ชาวบ้านที่มีฐานะก็อาจจะใส่กำไลหัวบัวที่ทำด้วยโลหะเงินสลักลายที่หัวบัวแบบเรียบง่าย และในหมู่ชาวบ้านทั่วไปก็อาจจะใส่เป็นกำไลที่ทำด้วยโลหะสำริด
กำไลข้อเท้ากับสถานภาพการสมรสของสตรี : กำไลข้อเท้าจะสวมใส่ตั้งแต่เด็ก  และเปลี่ยนขนาดไปเรื่อยจนเป็นสาว จะถอดกำไลออกก็ต่อเมื่อถึงวันแต่งงาน และผู้ที่จะเป็นคนถอดกำไลให้ก็คือคนที่เป็นสามีนั่นเอง
จนมีสำนวนบ้านปากคลองว่า ข้าจะถอดกำไลให้เอง ซึ่งหมายถึง ข้าจะมาเป็นสามีของเอง หรือมาแต่งงานกับเอง
ปัจจุบันประเพณีการถอดกำไล หายไปจากบ้านปากคลอง กว่าห้าสิบปีแล้ว เสียดายถ้ารื้อฟื้นขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ในการแสดงสถานะของสตรีในสังคม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!