บันทึกคุณอาทิตย์ สุวรรณโชติ
ร่วมพิธีบรรจุศพพระนักพัฒนาชาวกำแพงเพชร
พระครูถาวรวชิรสาร (ทูล ฐานทตฺโต นิลรัตน์)
อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
ชาตะ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2473
มรณภาพ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2564
อายุ 91 ปี พรรษา 47
เมื่อวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.00 น.ที่วัดอินทาราม ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรสิทธิ์(กำนันตู้) วงศ์วิทยานันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พร้อมด้วย นายเพชรภูมิ อาภรรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดกำแพงเพชร เขต2 ,ดร.เสริมวุฒิ - นางอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ ประธานบริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด (ซึ่งเป็นศิษย์เอกและโยมอุปถากในตัวหลวงพ่อทูล เป็นประธานดำเนินการ) พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และพุทธศาสนิกชนชาวบ้านร่วมพิธีจำนวนมาก โดยมี พระวิเชียรมุนี (ผดุงกิจ กิตฺติธโร) วัดพัฒนราษฎร์บำรุง ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ประธานในพิธีวางผ้าไตร มหาบังสุกุล และ นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานพิธีบรรจุศพ (วางทราย) พระครูถาวรวชิรสาร (หลวงพ่อทูล ฐานทตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมรณภาพ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 และเคลื่อนศพ ไปไว้ที่วิหารแก้ว วัดอินทาราม ต่อไป
ประวัติ พระครูถาวรวชิรสาร (หลวงพ่อทูล ฐานทตฺโต)
อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม ต.ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
ประวัติชาติภูมิ
พระครูถาวรวชิรสาร (หลวงพ่อทูล ฐานทตฺโต) นามสกุล นิลรัตน์ เกิดเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2473 ณ บ้านทำไม้ หมู่ที่ 10 ต.ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร เป็นบุตรของพ่อเคลือบ - แม่ส้มลิ้ม นิลรัตน์ มีพี่น้องรวม 4 คน ดังนี้
1. นายเสริม นิลรัตน์ เสียชีวิตแล้ว
2. พระครูถาวรวชิรสาร (ทูล ฐานทตุโต) นามสกุล นิลรัตน์
3. นายวิสุทธิ์ กัลปา เสียชีวิตแล้ว
และ 4. นายเสน่ห์ กัลปา เสียชีวิตแล้ว
ประวัติด้านการศึกษาในวัยเยาว์ หลวงพ่อทูล ฐานทตุโต นามสกุล นิรัตน์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านท่าไม้ ต.ท่าไม้ อ.พร้านกระต่าย จ.กำแพงเพชร ในราวปี พ.ศ. 2483
ประวัติด้านการประกอบอาชีพและการอุปสมบท
เมื่อหลวงพ่อเรียนจบระดับชั้นประถมศึกษาแล้วจึงออกมาประกอบอาชีพกสิกรรม ทำนา ทำไร่ และเมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทตามประเพณีที่วัดอินทาราม ได้หนึ่งพรรษาจึงลาสิกขามาประกอบอาชีพการงานเลี้ยงดูบิดา - มารดาด้วยความขยันขันแข็ง และได้สมรสกับ นางแกะ พนัส มีบุตรธิดา 2 คน คือ นายมุย นิลรัตน์ และนางปาน นิลรัตน์ และในราวปี พ.ศ. 2503 ท่านได้สมัครเข้าทำงานเป็นนักการการโรง ที่โรงเรียนบ้านท่าไม้ ท่านปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความขยันขันแข็งจนเป็นที่กล่าวถึงของบุคคลทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ.2516 ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ที่มีแต่การคำเนินชีวิตที่หมุนเวียนไปมา เมื่อบุตรทั้งสองได้เติบโตพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจกลับมาบวชในพระบวรพระพุทธศาสนาอีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 ณ วัดกุฏิการาม อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร โดยมีพระครูวชิรปัญญาคุณ (หลวงพ่อจวบ ปญฺญาคโม)เป็นพระอุปัชฌาข์ พระใบฎีกาจำรัส ติสฺสเทโว วัคไตรภูมิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระดำรงค์ศักดิ์ ธมฺมกาโม(พระครูวิศาลวัชรกิจ) วัดกุฏิการาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาที่วัดอินทาร าม และต้องรับหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสตั้งแต่พรรษาแรก เนื่องจากไม่มีพระสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่าและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2523 ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูถาวรวชิรสาร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548 ปฏิบัติหน้าที่ เจ้าอาวาสวัดอินทาราม ต.ท่าไม้อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
ประวัติด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมและส่งเสริมพระสงฆ์ สามเณรให้ศึกษา ฯ
ปี พ.ศ.2518 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดอินทาราม ต. ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
ปี พ.ศ.2519 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดอินทาราม ต. ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
ปี พ.ศ.2520 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดอินทาราม ต. ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
หลวงพ่อยังได้ส่งเสริมให้พระสงฆ์และสามเณรศึกษาด้านพระปริยัติธรรม โดยเข้าสอบในสนามหลวงทุกปีและได้ส่งไปศึกษาต่อที่ต่างจังหวัด เช่น วัดโพธาราม จังหวัคนครสวรรค์ เป็นต้น
ประวัติด้านอุปนิสัยของหลวงพ่อ
หลวงพ่อเป็นพระนักพัฒนา ขยันขันแข็ง พูดน้อยและสันโดษ มีเมตตากับบุคคลทั่วไป ทำงานสิ่งใดท่านจะมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังจนกว่างานจะสำเร็จ อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้อยู่พระธรรมวินัย นอกจากนั้นท่านยังอบรมธรรมะ สั่งสอนชาวบ้านในทุกเช้าก่อนสว่างในวันพระอยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จนท่านอายุมากแล้วจึงมอบให้พระสงฆ์รูปอื่นพูดอบรมแทนท่าน
นอกจากนั้นท่านยังเป็นพระสงฆ์ที่ชอบศึกษาธรรมะ โดยสอบ นักธรรมชั้นตรี โท และเอกได้ในพรรษาต้นๆ และยัได้ศึกษาตำราคัมภีร์โบราณ ยันต์ ภาษาขอม และตำราคาถาอาคมของลุงถ้วย มณีเขียว ซึ่งตำราปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้ที่วัดอินทาราม และหลวงพ่อได้ใช้ตำรานี้ในการชาวบ้านที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านโดยเท่าเทียมกัน
ประวัติด้านการพัฒนาวัด และชุมชน
ปี พ.ศ.2519 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ที่สร้างยังไม่แล้วเสร็จจนสมบูรณ์และมีการฉลองยกช่อฟ้า
ปี พ.ศ.2520 ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถหลังเก่า ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านประมาณสามหมื่นบาทเศษ
ปี พ.ศ.2528 ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมวิหารหลังเก่า ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านประมาณสองแสนบาทเศษ
ปี พ.ศ.2536 ได้ดำเนินการก่อสร้างเมรุเผาศพ ด้วยเงินบริจากของชาวบ้านและบุคคลทั่วไปใช้ประมาณก่อสร้างประมาณสามแสนบาทเศษ
ปี พ.ศ.2537 ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมมณฑปหลังเก่า ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้าน
ประมาณหนึ่งแสนบาทเศษ
ปี พ.ศ.2540 ได้ดำเนินการสร้างซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านประมาณห้าหมื่นบาทเศษ
ปี พ.ศ.2541 ได้ดำเนินการสร้างสะพานข้ามกลองแม่ระกา หมู่ที่ 10 บ้านคลองสงกรานต์ ต.ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านประมาณสองหมื่นบาทเศษ
ปี พ.ศ.2543 ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ทดแทนอุโบสถหลังเก่าซึ่งทรุดโทรมยากแก่การบูรณะซ่อมแซม ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านและบุคคลทั่วไป
ปี พ.ศ.2546 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้าน และบุคคลทั่วไปประมาณสองล้านบาทเศษ
ปี พ.ศ.2550 ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านและบุคคลทั่วไปประมาณสองแสนบาทเศษ
ปี พ.ศ.2552 ได้ดำเนินการก่อสร้างหอระฆังแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โคยมีคุณเสริมวุฒิ - คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ บริษัทเฉาก๊วยชากังราว เป็นเจ้าภาพและมีชาวบ้านร่วมบริจาค
ปี พ.ศ.2554 ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิเจ้าอาวาสแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านและบุคคลทั่วไปประมาณสองล้านบาทเศษ
ปี พ.ศ.2555 ได้ดำเนินการก่อสร้างซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านและบุคคลทั่วไปใช้เงินประมาณสองแสนบาทเศษ
ปี พ.ศ.2556 ได้ดำเนินการก่อสร้างวิหารหลังใหม่ โคยมีคุณเสริมวุฒิ - คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ บริษัทเฉาก๊วยชากังราว เป็นเจ้าภาพและมีชาวบ้านร่วมบริจาค ใช้งบประมาณก่อสร้าง ประมาณ 10 ล้านบาทเศษ
ปี พ.ศ.2559 ได้ดำเนินการก่อสร้างกูฏิสงฆ์แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีคุณเสริมวุฒิ - คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ บริษัทเฉาก๊วยชากังราว เป็นเจ้าภาพและมีชาวบ้านร่วมบริจาค ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 3 ล้านบาท
ปี พ.ศ.2560 ได้ดำเนินการซื้อที่ดินด้านหลังวัดเพิ่มเติม ให้เป็นสมบัติของวัดด้วยเงินบริจาค ของ นายสุรสิทธิ์(กำนันตู้) วงศ์วิทยนันท์ และคุณเสริมวุฒิ-คุฌอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ เป็นเจ้าภาพ
ปี พ.ศ.2563 ได้บริจากเงินให้กับโรงพยาบาลพรานกระต่าย 100,000 บาท เดื้อจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
ปี พ.ศ.2563 ได้บริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไม้ 200,000 บาท เพื่อจัดสร้างห้องฉุกเฉินและเครื่องมือแพทย์
นอกจากนั้น หลวงพ่อยังได้บริจาคทุนการศึกษาให้กับนักเรียนและบริจาคเงินให้กับผู้สูงอายุในงานวันอายุวัฒนมงคลของท่านเป็นประจำทุกปี
ประวัติด้านการนำพระสงฆ์ สามเณรและชาวบ้านพัฒนาวัด
วัดอินทาราม เป็นเก่าที่มีประวัติการก่อสร้างมาหลายร้อยปี ในช่วงก่อนหลวงพ่ออุปสมบทวัดมีความทรุดโทรมเป็นอย่างมากไม่มีพระสงฆ์ที่มีพรรษามากพอที่จะเป็นหัวหน้าได้ มีแต่พระบวชใหม่เพียง 2-3 รูป ญาติโยมจึงต้องพากันไปขอความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อพระครูวชิรปัญญาคุณ (หลวงพ่อจวบ) วัดกุฏิการาม เจ้าคณะอำเภอพรานกระต่ายในสมัยนั้น เพื่อขอพระสงฆ์จากวัดกุฏิการาม มาจำพรรษาที่วัดอินทาราม หลวงพ่อพระครวชิรปัญญาคุณ(หลวงพ่อจวบ) จึงได้ส่งคณะสงฆ์จำนวนหนึ่งประมาณ 4-5 รูป มาอยู่จำพรรษาและเป็นหัวหน้าพระสงฆ์อยู่ระยะหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อทูล ฐานทตฺโต ได้อุปสมบทในต้นปี พ.ศ.2517 พระสงฆ์ที่มาจากวัดกุฏิการาม จำเป็นต้องไปศึกษาพระธรรมต่อที่จังหวัดนครสวรรค์ จึงได้มอบหมายภารกิจดูแลวัดอินทารามให้กับหลวงพ่อทูล ฐานทตฺโต ดูแลต่อในขณะที่หลวงพ่อเพิ่งจะบวชใหม่ยังมิได้พรรษาแต่เนื่องจากคณะสงฆ์และญาติโยมเห็นว่าหลวงพ่อเป็นคนในท้องถิ่นและมีความเหมาะสมที่จะดูแลวัดให้เจริญรุ่งเรืองได้
หลังจากหลวงพ่อได้อุปสมบทและรับภาระดูแลวัดอินทาราม จากหลวงพ่อ พระครูวชิรปัญญาคุณ(หลวงพ่อจวบ) พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อทูล ได้นำพาพระสงฆ์ สามเณรและชาวบ้าน พัฒนาวัดอินทาราม อย่างขันแข็งไม่ย่อท้อทำให้วัดที่ทรุดโทรมได้รับพัฒนารุ่งเรืองให้มีความเหมาะสมสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นกูฏิสงฆ์ โบสถ์ วิหารลานเจดีย์ อีกทั้งศาลาการเปรียญ ก็ยังสร้างค้างไว้ยังไม่เสร็จ หลวงพ่อก็นำสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ด้วยความขยันขันแข็งอดทน และบางอย่างท่านสร้างด้วยตนเอง เช่น การสร้างหอระฆังสร้างด้วยเสาไม้ต่อกันหลายต้นหลวงพ่อทูลขึ้นมุงหลังคาด้วยตนเองซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อก็มีอายุมากแล้ว แต่ไม่มีใครที่สามารถขึ้นไปมุงหลังคาได้ ไม่ว่าหลวงพ่อท่านจะออกปากว่าจะสร้างสิ่งใด ชาวบ้านจะร่วมกันบริจาคเงินคนละเล็ก คนละน้อย ช่วยสร้าง
สำเร็จลงได้ เพราะเห็นในความตั้งใจจริงของท่าน
หลวงพ่อทูล ฐานทตฺโต ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่เน้นให้วัดมีความสะอาด ในทุกวันท่านจะนำพระสงฆ์ สามเณร กวาดลานวัดให้สะอาดอยู่เสมอ จนเป็นที่รู้กันไปทั่วหรือแม้แต่ในวงการพระสงฆ์ต่างก็พูดถึงและยอมรับกันว่าวัดอินทาราม ของหลวงพ่อทูลเป็นวัดที่สะอาด สวยงามเป็นแบบอย่างให้กับวัดอื่นๆได้ มาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติด้านการอาพาธหรือเจ็บป่วย
ในระยะ 2-3 ปีมานี้ หลวงพ่อมีอาการอาพาธอยู่บ่อยครั้ง ลูกศิษย์และญาติโยมได้นำหลวงพ่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลกำแพงพชร และเมื่อหายดีแล้วจึงกลับมาพักฟื้นอยู่ที่วัดอินทาราม และฉันยาตามแพทข์สั่งอย่างสม่ำเสมอ โดยมีพระสงฆ์และญาติโยมอยู่อุปัฎฐากตลอดเวลา จนถึงคืนวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เวลาประมาณส 23.20 น. หลวงพ่อได้เรียกพระสงฆ์และญาติโยมที่นอนเฝ้าอยู่ด้านนอกให้เข้าไปหา แต่หลวงพ่อมิได้สั่งเสียสิ่งใดไว้ และละสังขารด้วยอาการอันสงบ ด้วยโรคชรา เมื่อเวลา 23 28 น. ของคืนวันที่ 3 พฤษกาคม พ.ศ.2564 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู สิริรวมอายุได้ 91 ปี พรรษา 47
By Mickysun