จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ธันวาคม 23, 2024, 05:11:21 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญาเลขที่ YRNH KP 002  (อ่าน 4311 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1444


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2022, 08:06:23 pm »

                                 สัญญาเลขที่  YRNH KP 002
                           

โครงงานยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

โครงงาน   การเปลี่ยนแปลงชุมชนริมฝั่งแม่น้ำปิง  จากบ้านปางฝรั่งสู่บ้านเทพนคร
โรงเรียนบ้านเทพนคร   
สำนักงาเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1



ครูที่ปรึกษา      นายรุ่งเรือง   สอนชู

คณะผู้วิจัย

1.  เด็กหญิงณัฐฐาภรณ์  คำลือ                   2.   เด็กชายสายชล   พันพุก
                     3.  เด็กหญิงลัดดาวัลย์  ศิริเขิน                  4.    เด็กหญิงสาวิตรี   สิงห์เถื่อน
         5.  เด็กหญิงรุ่งฟ้า   จันทร์ศรีสุราษฎร์       6.     เด็กหญิงศุภนิดา  ทองปรอน
                     7.   เด็กหญิงนิภาพร   จำปาแดง                8.  เด็กชายหรรษา   แก้วหรั่ง
                     9.  เด็กชายชุมพล   เจริญรักษ์                  10.   เด็กชายสมเจตต์   มีมุข
                   11.  เด็กชายณัฐชัย   มาลาวงค์                   12.    เด็กชายรัชพล   สุดสี
                   13.  เด็กชายกรกต   ชิตอุทัย                       14.   เด็กชายอนุชา   แพรน้อย

พฤศจิกายน     พ.ศ. 2552


สนับสนุนโดย   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โครงการ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ


คำนำ

          โครงการ “การเปลี่ยนแปลงชุมชนริมฝั่งแม่น้ำปิง จากบ้านปางฝรั่งสู่บ้านเทพนคร” จัดทำขึ้นเพื่อให้รู้ถึงเรื่องราวของหมู่บ้านดั้งเดิมเมื่อ 80  ปีที่ผ่านมา ซึ่งเคยเรียกว่า “บ้าปางฝรั่ง” หรือ “บ้านปางหรั่ง” ซึ่งเป็นป่าดงมาก่อนจนมาเป็นสถานที่ที่มีความเจริญดังปัจจุบันนี้  ได้กล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน   การโยกย้ายของประชาชน   การศึกษา  ศาสนา  อาชีพและอื่น ๆ
                  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลต่าง ๆ  ที่ให้ข้อมูลและที่สำคัญในการร่วมกันเก็บข้อมูล คือยุววิจัยจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนบ้านเทพนคร  จำนวน
ทั้งหมด  14   คน  ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่เตรียมตั้งคำถาม ข้อเสนอแนะ และการออกเก็บข้อมูลเพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดแล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านได้รับรู้
                  โครงการนี้ต้องขอขอบคุณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการการวิจัย  สำนักงานโครงการ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ  และคณาจารย์ทุกท่านที่รับผิดชอบได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำมาโดยตลอด จนได้เป็นเอกสารเล็ก ๆ  เล่มนี้ขึ้นมาได้
                    หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใฝ่รู้   ทราบถึงเรื่องราวที่ผ่านมาเป็นเวลาหลายปีที่ไม่มีใครได้จัดทำเรื่องราวเก็บไว้เลย

                                                                                            รุ่งเรือง  สอนชู
                                                                               ครูชำนาญการ   โรงเรียนบ้านเทพนคร
                                             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร  เขต  1
                                     ครูที่ปรึกษาโครงการ












หมู่ที่ 3,4,5,9  และ 15  ตำบลเทพนคร   อำเภอเมือง   จังหวัดกำแพงเพชร
            หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เคยเรียกในยุคแรกว่าบ้านปางฝรั่ง   อยู่ในบริเวณเมืองโบราณเทพนคร  แม้จะมีระยะทางห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรเพียงประมาณ 10  กิโลเมตร  แต่เมื่อนับเวลาย้อนกลับไปก่อน 80  ปีที่ผ่านมา มีสภาพเป็นป่าทึบที่ไม่มีคนอาศัยอยู่  มีถนนลัดเลาะไปกับริมแม่น้ำปิงถึงกลุ่มหมู่บ้านอื่นใช้ผ่านไปมาหาสู่กันเป็นพียงทางเดินและทางเกวียนเท่านั้น   ทางน้ำอาศัยเรือรับส่งผู้โดยสารและค้าขาย 
             เมื่อชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาใช้ที่ดินในการทำนา   จึงเริ่มเกิดเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ และแผ่ขยายออกไปในระยะหลัง  เมื่อเวลาผ่านไปทำให้สถานที่   ประชากร  ถนนหนทาง  การทำมาหากินและอื่นๆได้เปลี่ยนแปลงไป  การทำนาที่ใช้วัวควายได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์  แต่ก่อนเมื่อถึงวัยเข้าเรียนหนังสือก็จะเรียนภายในหมู่บ้าน เมื่อถนนเจริญขึ้น ก็พาลูกหลานไปเรียนในเมืองอาชีพดั้งเดิมคือการ
ทำนา  ปัจจุบันประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรได้เปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่น 
         วิถีชีวิตของคนปางฝรั่ง จากอดีตถึงปัจจุบันพอจะแบ่งออกเป็น 3 ยุคดังนี้
     ยุคที่ 1  จากสภาพป่าดงดิบถึงยุคทุ่งโล่งที่กว้าง
                 ใหญ่
     ยุคที่ 2   เมื่อฝรั่งไปคนไทยก็เข้ามา
     ยุคที่ 3  ได้ของเล่นใหม่อะไรก็เปลี่ยนแปลง
ยุคที่ 1  จากสภาพป่าดงดิบถึงยุคทุ่งโล่งที่กว้างใหญ่ ( ฝรั่งเข้ามาอยู่ พศ.2474-98)                                                                 
                                                                                                                 ภาพที่ 1  ภาพที่แสดงถึงอาณาเขตบ้านปางฝรั่ง
              ยายอินทร์  พลขันธ์ (2552, ตุลาคม ) ขณะนี้มีอายุ 82 ปี   ได้ย้ายตามพ่อซึ่งมาทำงานอยู่กับนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ และภรรยา คือนางเจียม  แก๊ตเนอร์  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.  2474   ได้เล่าว่าหมู่บ้านเดิมที่เรียกว่า บ้านปางฝรั่ง หรือ บ้านปางหรั่ง มีพื้นที่ครอบคลุม ของ 5  หมู่บ้านในตำบลเทพนครในปัจจุบันนี้คือ หมู่ที่ 3  บ้านไร่ที่ 15  บ้านศรีนคร  หมู่ที่ 4  บ้านเทพนคร
 หมู่ที่  5   บ้านท่าตะคร้อ  และหมู่ที่ 9  บ้าน โคนเหนือ
               ก่อนเป็นบ้านปางฝรั่ง หรือปางหรั่ง นั้นนาย เค. จี. แก๊ตเนอร์
 เป็นคนเชื้อชาติอังกฤษ สัญชาติไทย ซึ่งเคยรับราชการประจำกรมแผนที่                   ภาพที่ 2  ยายอินทร์ (สอนไว) พลขันธ์
หลังจากลาออกจากราชการแล้ว ได้เป็นผู้จัดการบริษัทบอมเบย์ค้าไม้ สาขาตากจึงมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างดี  พบว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่ม แถบบริเวณแม่น้ำจะเป็นป่าไม้สัก  เมื่อห่างออกจากแม่น้ำปิงออกไปจะเป็นป่าโปร่ง  เช่นไม้เต็ง  รัง ไม้เชือก  ที่ดินแถบนี้จึงเหมาะแก่การทำนา   
                   นาย เค. จี. แก๊ตเนอร์  เป็นคนเชื้อชาติอังกฤษ สัญชาติไทย ซึ่งเคยรับราชการประจำกรมแผนที่       หลังจากลาออกจากราชการแล้ว ได้เป็นผู้จัดการบริษัทบอมเบย์ค้าไม้ สาขาตากจึงมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างดี  พบว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่ม แถบบริเวณแม่น้ำจะเป็นป่าไม้สัก  เมื่อห่างออกจากแม่น้ำปิงออกไปจะเป็นป่าโปร่ง  เช่นไม้เต็ง  รัง ไม้เชือก  ที่ดินแถบนี้จึงเหมาะแก่การทำนา
ต่อมาได้จ้างชาวบ้านจากเชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  และจังหวัดตาก เพิ่มเติมขึ้น  โดยจัดสร้างที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ของหมู่  4  และหมู่ 15 ในปัจจุบันนี้ ได้จัดตั้งฟาร์มเลี้ยงหมูเล็ก ๆขึ้น  นาย  เค. จี.   ได้นำเครื่องจักรกลจากประเทศ อังกฤษมาใช้งาน เช่น รถไถนา   เครื่องจักรไอน้ำสำหรับสำหรับใช้สูบน้ำเข้านา  นวดข้าว สีข้าว  รถบรรทุก  เครื่องปั่นไฟฟ้า ทำให้การทำนาได้ผลดี  มีชาวนาจากถิ่นอื่นย้ายครอบครัวมาเช่านาของ นาย เค. จี.  เพิ่มมากขึ้น ทำให้ป่าดิบที่ไม่มีคนอาศัยกลายเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชาวบ้านจากหมู่อื่นๆได้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “บ้านปางฝรั่ง” หรือ “บ้านปางหรั่ง”   จนทำให้เกิดเป็นชื่อของหมู่บ้านต่อมา                                ภาพที่  4  เครื่องจักไอน้ำอเนกประสงค์  ใช้รูดข้าว  ดึงน้ำลงนา สีข้าว และอื่น ๆ
                 การทำให้ป่าโล่งเตียนนั้น    ”
 ต้องอาศัยคนงานเป็นหลัก  ใช้เลื่อยตัดไม้ลง
 ไฟ   จุดเผาต้นและตอ  ตอเล็ก ๆ  ใช้จอบ เสียมขุดออก   ในการไถนานอกจากเครื่องยนต์ที่นำมา   ใช้ในการทำ นาแล้ว ยังใช้วัว และควายเป็นส่วนใหญ่  มีควายฝูงใหญ่หลายฝูงเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำ มีคนงานดูแล   บริเวณริมแม่น้ำหลายแห่งมักเรียกกันจนถึงวันนี้ว่า “ท่าควาย”                                                                                           ภาพที่  5   รถไถนาของนาย เค.จี.
            นายจรัส  อิ่มแสง อายุ   (2552,ตุลาคม, )   อายุ  63 ปีซึ่งเกิดในหมูบ้านแห่งนี้ได้เล่าว่า  เขตที่นาของนายเค.จี. แก๊ตเนอร์  กว้างขวางมาก  ไม่สามารถจะทำได้ทั้งหมด  จึงได้แบ่งนาให้ชาวบ้านเช่า  และยังให้เช่าวัว และควายในการทำนาด้วย  ค่าเช่านาโดยใช้วัวและควายนั้นคิดเป็นข้าวเปลือก  ค่าเช่านาคิดเป็นหนึ่งในสามของข้าวเปลือกที่ได้ ค่าเช่าวัวและควายตัวละ  50 ถังต่อปี ส่วนค่าเช่านาคิดหนึ่งในสามของข้าวเปลือกที่ได้   ภาพที่ 6  นายจรัส  อิ่มแสง
             การทำนาของนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์  ในสมัยนั้น  ยังใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิม   เมื่อถึงฤดูทำนา  มีการเพาะกล้า ใช้วัวและควายไถนาทำเทือก  ถอนต้นกล้ามาปักดำ  แต่บางแห่งก็ใช้หว่านตากแห้งเพื่อรอฤดูฝนใหม่     เนื่องจากสภาพของดินยังอุดมสมบูรณ์มาก  จึงไม่มีการใสปุ๋ย  ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงดังปัจจุบันนี้  ทำนาเพียงปีละครั้งที่    เรียกว่านาปี  เมื่อข้าวแก่ก็เกี่ยวข้าว ตากลายทิ้งไว้ประมาณ  3  วันใช้ตอกมัด  นำมารวมกองไว้เพื่อนวด  พื้นที่การทำนากว้างขวางมาก นอกจากจะใช้การนวดข้าวโดยใช้เครื่องไอน้ำนวดข้าวที่นำมาจากประเทศอังกฤษทีซึ่งชาวบ้านเรียกว่า สตรีม แล้ว ยังต้องใช้วัวควายเป็นส่วนใหญ่   ใกล้แม่น้ำได้สร้างฉางเก็บข้าวเปลือกไว้หลายแห่ง  เหตุที่สร้างใกล้กับแม่น้ำเพื่อให้ง่ายต่อการขนข้าวลงเรือ  เมื่อถึงฤดูน้ำมาก จะมีพ่อค้าข้าวมาหาซื้อ เพราะแต่เดิมนั้นต้องอาศัยทางเรือในการค้าขาย ไม่มีการค้าขายทางรถยนต์  จะมีเรือขึ้นล่องเพื่อค้าขาย เช่น กะปิ  มะพร้าว   เกลือ น้ำปลา และอื่นๆ
                   อาชีพของชาวบ้านนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือการทำนา  ไม่มีอาชีพอย่างอื่น  แม้แต่จะมีอาชีพรับจ้าง แต่ก็รับจ้างในส่วนที่เป็นนาของนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ เท่านั้น ได้แก่ รับจ้าง เลี้ยงวัวควาย  เลี้ยงหมู  ไถนา   เกี่ยวข้าว  นวดข้าว  หาบข้าวขึ้นเรือ ตัดไม้พืนเพื่อใช้กับเครื่องจักรไอน้ำ 
                   การศึกษาในช่วงแรกที่บ้านปางฝรั่งนั้น
ลุงโต    แสงโฉม  (2552,ตุลาคม)  อายุ 84 ปี   ได้ตามพ่อซี่งมารับจ้างทำงานกับนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ ขณะทีมีอายุประมาณ 7-8 ขวบ   ก็ยังไม่มีโรงเรียนให้ลูกชาวนาที่มาทำงานได้เรียนหนังสือด้วยความรักเด็กๆ นาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้มาสอน หนังสือเพียงอ่านออกเขียนได้อยู่ระยะหนึ่ง   เมื่อ   ถึงปี พ.ศ. 2482   กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดโรงเรียนขึ้นใหม่โดยอาศัยโรงอาหารของนาย เค.จี. เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ตั้งชื่อ   ภาพที่ 7  ลุงโต แสงโฉมบัว กำลังเล่าเรื่องให้หลาน ๆ ฟัง
โรงเรียนว่า “โรงเรียนประชาบาล  ตำบลคณฑี 3 ฟาร์มวังพระธาตุ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบ้านเทพนคร” เมื่อปี พ.ศ. 2486  นักเรียนชุดแรกที่เข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้มีประมาณ  10 กว่าคน มีอายุที่ไม่เท่ากัน  นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่  1 รุ่นแรกนั้น มีอายุประมาณ 7 ปี ถึง 14  ปี ลุงโตเมื่อเรียนจนจบชั้ประถมศึกษาปีที่ 4  มีอายุมากที่สุดคือ 17  ปี เมื่อเรียนจบแล้วก็เข้ารับจ้างทำงานได้                                                             
                ลุงสนิท   ศิลารักษ์ (2552,ตุลาคม,)  อายุ 82 ปี บ้านเดิมอยู่ในเมืองกำแพงเพชรและได้ย้ายตามพ่อซึ่งมาทำงานอยู่กับ นาย เค.จี. อายุประมาณ 10 ขวบ   ขณะที่เป็นเด็กชอบหาปลา    เมื่อโตขึ้นก็รับจ้าง ทำงาน เคยทำหน้าที่ขับรถไถนา  ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่  2    ลุงสนิทเล่าว่าทหารของญี่ปุ่นประมาณ 200 กว่านายได้ใช้แพล่องลงมาแล้วค้างที่เกาะ ชาวปางฝรั่งได้พูดคุยเป็นกันเองกับทหารชาวญี่ปุ่น  ให้อาหาร ผลไม้  กลางคืนจัดงานสนุกสนาน  ตอนเช้าล่องไปทางไต้                                                                ภาพที่  8   ลุงสนิท  ศิลารักษ์  เล่าเรื่องทหารญี่ปุ่น

             ลุงแฟง   จันทร์ศรีสุราษฎณ์   ( 2552,ตุลาคม)  อายุ  73 ) ปีย้ายมาอยู่เมื่อปี พ.ศ. 2493   ยังไม่มีวัด  เมื่อเป็นวันพระ หรือวันสำคัญต้องข้ามแม่น้ำไปวัดท้ายเกาะ และวัดวังพระธาตุ   พิธีการเผาศพทำแบบง่าย ๆ  ไม่มีป่าช้า  จะทำที่ไหนก็ได้   งานประเพณีต่าง ๆ เช่นงานสงกรานต์  งานลอยกระทง        ก็คล้ายกับแหล่งอื่น ๆ    แต่ประเพณีที่ต่างไปจากหมู่บ้านใกล้เคียงก็คือ งานคริสต์มาส  นาย เค.จี. จัดงานเลี้ยงให้กับคนงานและเด็ก ๆ  มีการแจกของ เช่นเสื้อผ้า   ขนม  อาหาร
                 ด้านสาธารณสุขในยุคนั้น  ยังยึดถือแบบโบราณ เมื่อเจ็บป่วยก็ใช้ยาสมุนไพร  การคลอดบุตรยังใช้หมอตำแยเป็นที่พึ่ง ไม่นิยมที่จะไปรักษาที่โรง
พยาบาล  แม้แต่โรงพยาบาลขณะนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์  สาเหตุที่ไม่ไปโรงพยาบาลนั้น  ส่วนหนึ่งเพราะยังไมถนน  ไม่มีรถยนต์แต่อย่างใด                                  ภาพที่  9  ลุงแฟง  จันทร์ศรีสุราษฎร์  ให้ข้อมูลนักเรียน
                  เอกสาร  สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ   สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร (2544)
  ได้บันทึกว่า ปี พ.ศ. 2498   นายเค.จี. แก๊ตเนอร์   ได้ขายที่ดินพร้อมทั้งอาคารและเครื่องจักรกลทั้งหมดให้กับกรมสหกรรณ์ที่ดิน 
                 ลุงโต  แสงโฉม เล่าว่า เมื่อขายที่ดินแล้ว นายเค.จี. แก๊ตเนอร์  พร้อมครอบครัวได้ย้ายกลับไปอยู่ที่กรุงเทพฯ  ย่านสีลม  มีคนไทยตามไปอยู่ด้วย คือ  ลุงโต  แสงโฉม  ไปทำหน้าที่ขับรถ   ลุงปัน  ทองปรางค์(ลูกของนายอยู่  ทองปรางค์ ซึ่งมาจากจังหวัดตากพร้อมกับ นาย เค.จี.แก๊ตเนอร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474)  มีหน้าที่เป็นพ่อครัวประจำตระกูล   ประมาณ  10 ปี ทั้งสองได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเทพนคร

ยุคที่ 2   เมื่อฝรั่งไปคนไทยก็เข้ามา (พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2515)
                  เนื่องจากกรมส่งแสริมสหกรณ์ ขณะนั้นคือ กรมสหกรรณ์ที่ดิน   (เอกสารสรุป  นิคมสหกรณ์วังพระธาตุ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร 2544)   มีนโยบายที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ  ให้มีที่ดินทำกินและอยู่อาศัยเป็นของตนเองตลอดจนได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น   
                  ปี พ.ศ. 2498  กรมสหกรณ์ที่ดินโดย น.ท. พระเทวัญ  อำนวยเดช  ได้จัดซื้อที่ดินจากนาย เค.จี.  และนางเจียม  แก๊ตเนอร์  ที่เรียกว่า บ้านปางฝรั่ง  จำนวน 3,065 ไร่ 1  งาน  67 ตารางวา พร้อมทั้งอาคารและเครื่องจักรกล  ด้วยเงินงบประมาณ  1,064,324,.38   บาท(หนึ่งล้านหกหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบสี่บาทสามสิบแปดสตางค์)   นอกจากจะซื้อแล้วยังได้ทำการบุกเบิกที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า หัวไร่ ปลายนา  เพิ่มขึ้นอีก  จึงมีพื้นที่รวมทั้งหมดจำนวน 3,555 ไร่ 2  งาน 81 ตารางวา   
              วันที่  27  พฤศจิกายน พ.ศ.  2499  กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จดทะเบียนสหกรณ์ขึ้น 4  แห่ง ในเขตพื้นที่เดิมที่ซื้อที่ดินทั้งหมดจาก นายาเค.จี. และนางเจียม  แก๊ตเนอร์ คือ
1.   สหกรณ์เทพนคร ไม่จำกัดสินใช้ (หมู่ที่ 15  บ้านศรีนครในปัจจุบันนี้) 
2.   สหกรณ์ไทรงาม ไม่จำกัดสินใช้(หมู่ที่ 4  บ้านเทพนคร ในปัจจุบันนี้) 
3.   สหกรณ์อู่ทอง  ไม่จำกัดสินใช้(หมู่ที่ 9 บ้านโคนเหนือในปัจจุบันนี้)   
4.    สหกรณ์กระทุ่มทอง  ไม่จำกัดสินใช้ (หมู่ที่ 9 บ้านโคนเหนือในปัจจุบันนี้)   
มีสมาชิกแรกตั้ง 101  ครอบครัว  โดยได้รับจัดสรร
ที่ดินทำกินตามกำลังความสามารถเฉลี่ยครอบครัวละ  30 ไร่เศษ  รวมที่ดินจัดสรร  3,225 ไร 35  ตารางวา ที่เหลือกันไว้เป็นที่สาธารณะต่าง ๆ
                    ในวันที่ 1 กรกฏาคม  พศ. 2501  “หน่วยจัดตั้งสหกรณ์ที่ดิน ฟาร์มวังพระธาตุ“ ยกฐานะขึ้นเป็น
“ที่ทำการ ที่ดินสหกรณ์ที่ดินวังพระธาตุ”  ปัจจุบันได้เปลี่ยน      ภาพที่ 10  สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ 
ขึ้นเป็น“สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ”
           หลังจากที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เริ่มดำเนินการจัดสรรที่ดินให้กับครอบครัวแก่ผู้ที่ไม่มีที่ทำกินแล้ว  นายวีรยุทธ  แสนบุญมา (2552,ตุลาคม,)  อายุ  60  ปี ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดที่บ้านปางฝรั่ง ได้เล่าว่า  มี ชาวบ้านจากต่างจังหวัดย้ายมาอยู่ที่บ้านฝรั่งเป็นจำนวนมาก จากจังหวัดอุทัยธานี  ชัยนาท   นครสวรรค์  และ ตาก    เพื่อมาจับจองในรูปแบบของการเช่าซื้อ  เมื่อครบ       กำหนด 15 ปีแล้วจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน  ผู้ที่ จะมาเช่าซื้อจะต้องสมัครลงทะเบียนเป็นสมาสหกรณ์ก่อน  ในครั้งแรกค่าหุ้นๆละ 10  บาท
                  นอกจากจะดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์แล้ว  ยังได้ดำเนินการ เพื่อสมาชิกอีกมากมาย จากบันทึกประวัติการทำงานของอดีตหัวหน้าสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร (เสียชีวิตแล้ว)  คือ นายส่าง  จิตต์อารี   เมื่อ   พ.ศ. 2501  ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติ         
หน้าที่ หัวหน้าสำนักงานนิคมสหกรณ์ วังพระธาตุ                              ภาพที่  11  นายวีรยุทธ    แสนบุญมา
จนถึง พ.ศ. 2507  ได้พัฒนาในอาณาเขตของสหกรณ์
มากมาย ได้แก่           
           1.  จัดที่ดินให้สมาชิกสหกรณ์เพิ่มเติมขึ้น
                2.  ก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานและงาบริหารสาธารณะ เช่น ก่อสาร้างถนนสายใหม่จากบ้านโขมงหักถึงบ้านโคนใต้ ระยะทางประมาณ 15  กิโลเมตรโดยใช้รถแทรกเตอร์และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน  ถนนซอยในหมู่บ้าน ดำเนินการขุดคลองส่งน้ำพร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำปิงกระจายให้พอเพียงแก่ชาวนา  ขุดบ่อน้ำตื้น  วางท่อระบายลอดถนน  ขุดสระน้ำสาธารณะ  สร้างประตูบังคับน้ำ
              3. งานส่งเสริมสหกรณ์  มีสหกรณ์ที่อยู่ในความแนะนำ  จำนวน 1  สหกรณ์ คือ เดิมชื่อ“  สหกรณ์ที่ดินวัง พระธาตุ จำกัด” และครั้งหลังสุดได้      เปลี่ยนเป็น   “สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน วังพระธาตุ   จำกัด”                       ภาพที่  12   นายส่าง   จิตต์อารี
            4.   งานส่งเสริมอาชีพและการตลาด  โดยได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ
เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ   ส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกสหกรณ์ เช่นการเลี้ยงปลา  ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรในครัวเรือนและชนบท
                      ในช่วงระยะที่นายส่าง   จิตต์อารี  เข้ามาดำรงตำแหน่ง  หัวหน้านิคมสหกรณ์ วังพระธาตุ  ในปี  พ.ศ. 2501 – 2507  นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตของชาวบ้านปางฝรั่งอย่างมากมาย
                        การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านเดิมอยู่ในฐานะผู้รับจ้าง และมีบางส่วนเป็นผู้มาเช่านา  กระจายออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็อยู่ห่างกัน  หลังจากที่ นายหัวหน้าสำนักงานเข้ามาบริหารแล้ว  มีถนนที่สามารถจะเดินทางจากบ้านปางฝรั่งถึงเมืองกำแพงเพชรด้วยรถยนต์ได้บ้างแล้ว  ชาวบ้านก็เริ่มย้ายครอบครัวมาสร้างใหม่อยู่ริมถนน เริ่มเป็นหมู่บ้านเล็กๆ และขยายเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังเรียกบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ปางฝรั่ง” หรือ “ปางหรั่ง”   ตามระเบียบของกรมการปกครอง  เมื่อแต่ละกลุ่มหมู่บ้านมีประชากรมากขึ้นตามตัวเลขที่กำหนดก็ให้แยกหมู่บ้านออกแล้วตั้งเป็นหมู่ใหม่ขึ้น  ทำให้อาณาเขตบ้านปางฝรั่งที่มีพื้นที่นาประมาณ สามพันกว่าไร่ ต้องแยกออกเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  ได้ทั้งหมด 4   หมู่บ้าน จนกระทั่งผู้ใหญ่บ้าน นายคมศักดิ์  พลขันธ์ (สามีของยายอินทร์  พลขันธ์) ตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมและสอดคร้องกับชื่อของโรงเรียน จาก “ปางฝรั่ง”เป็น บ้านเทพนคร  ตำบลคณฑี  เมื่อปี พ.ศ. 2500-2501    แต่ ก่อนที่ผู้ใหญ่คมศักดิ์  พลขันธ์  จะเปลี่ยนเป็น บ้านเทพนคร นั้น ยายอินทร์  พลขันธ์  เล่าว่า นาย เค.จี. แก๊ตเนอร์  ได้เขียนและพูดไว้นานแล้วว่าให้เรียกชื่อ “บ้านเทพนคร”     เมื่อตั้งชื่อเป็นบ้านเทพนครแล้ว บ้าน “ปางฝรั่ง”  หรือ “บ้านปางหรั่ง” ก็ค่อยๆ หายไป  แต่คนในยุคแรกก็ยังมีอยู่บ้างที่เรียกปางฝรั่ง
                       เมื่อชาวบ้านได้ย้ายมารวมเป็นกลุ่มก็เริ่มมีตลาด  ร้านค้าเกิดขึ้นในหมูบ้าน   อาชีพทีเคยเพียงรับจ้างทำนาก็เริ่มมีอาชีพอื่นเพิ่มขึ้น  สามารถที่จะไปรับจ้างทำงานในตัวเมืองเพราะมีถนน  มีอาชีพค้าขายในหมู่บ้านโดยไปนำสินค้าจากตลาดในเมืองมาจำหน่ายได้    เริ่มอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่  เมื่อได้ขนาดก็มีพ่อค้ามาหาซื้อถึงบ้าน
                    หนังสือประวัติของโรงเรียนบ้านเทพนคร  ก่อตั้งในช่วงที่ นาย เค.จี. แก๊ตเนอร์  ยังเป็นเจ้าของที่ดิน  เมื่อปี วันที่ 23  มิถุนายน  พ.ศ. 2482  โดยอาศัยโรงครัวเป็นอาคารเรียนชั่วคราว  ริมแม่น้ำปิง และต่อมาก่อสร้างเป็นหลังคาแผกในที่เดิม 
                        ในปี พ.ศ. 2502  นายส่าง  จิตต์อารี  หัวหน้าสำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ ได้จัดแบ่งที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุจำนวน  35 ไร่  2 งาน  17 ตารางวา ให้เป็นที่ก่อสร้าง โรงเรียนบ้านเทพนคร    พร้อมช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียน  1   หลัง    พร้อม  เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4   จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512  ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นปีที่ 5 และ      ถึงชั้นปีที่ 6 และ7 ในปีที่ต่อๆมา   ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7  ไปเรียนต่อระดับมัธยมในตัวเมืองกำแพงเพชร
                      จากหนังสือประวัติของวัดเทพนคร  ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 4  บ้านเทพนคร  ตำบลเทพนคร   
อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เริ่มก่อตั้งและสร้าง                                ภาพที่ 13  โรงเรียนบ้านเทพนคร                                                                                                                                                                                                                                                   เป็นสำนักสงฆ์ ปี พ.ศ.  2506  โดย นายส่าง  จิตต์อารี  ได้เชิญชวนประชาชนให้สร้างวัดเพื่อให้เป็นของหมู่บ้านเทพนคร  นายคมศักดิ์   พลขันธ์  ผู้ใหญ่บ้านได้บริจาคที่ดิน ประมาณ  25  ไร่ ให้ใช้เป็นที่สร้างวัด
 ปี พ.ศ.  2513  นายหีบ  เซ็นน้อย  ได้ยื่นเรื่องขอสร้างวัด และได้รับอนุญาตให้เป็นที่ถูกต้องในวันที่  30  มิถุนายน  พ.ศ. 2513                                     
                         เมื่อเริ่มสร้างสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2506                         ภาพที่    14      วัดเทพนคร               
 ลุงสำเภา  เซ็นน้อย  (2552,ตุลาคม)เป็นผู้ร่วมกับชาวบ้าน             
ได้ทำการขุดย้ายพระพุทธรูปจากวัดร้างคือ”วัดผักหอม”     
ปัจจุบันอยู่ในเขตหมู่ที่ 3  บ้านไร่ ตำบลเทพนคร เล่าให้ฟังว่า พระพุทธรูปทั้งสององค์ตั้งอยู่บนฐานซึ่งเชื่อว่าเป็นฐานของโบสถ์   พระพุทธรูปทั้ง 2  องค์ทำด้วยศิลาแรง  มีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์  พระเศียร  พระศอ  และพระกร  หักออกไปทั้งหมด  จ้างนายช่างทวี  แย้มละมัย  มาทำการต่อเติมจนสมบูรณ์  เรียกชื่อพระพุทธรูปว่า   พระสองพี่น้อง  พร้อมทั้งสร้างพระวิหารด้วย                                                                ภาพที่  15 พระพุทธรูปสองพี่น้อง
                       ตาสุพจน์  สิญจวัตร  (2552,ตุลาคม) อายุ  71 ปี ได้ย้ายมาจากอุทัยธานีเมื่อปี พ.ศ. 2506  มาเช่าซื้อนา  วิธีการทำนายังต้องเป็นแบบเดิม   ใช้วัวควายเป็นหลักในการทำนา  ยาและปู๋ยที่ใช้ก็ยังไม่มี  การทำนาบางแห่งที่ส่งน้ำไปถึงเริ่มมี 2  ครั้ง  ซึ่งเรียกว่านาปีและนาปัง   การเกี่ยวข้าว  นวดข้าว  ในระยะแรกก็ยังไม่มีเครื่องจักรกลมาใช้   แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2514  เริ่มมีรถไถนาเล็ก ชาวบ้านมักเรียกว่า รถต๊อก ๆ หรือรถอีแต๋น  มีการขายวัวควายที่เคยใช้มาแล้วนำเงินนั้นไปซื้อ                      ภาพที่ 16   ลุงสุพจน์  สิญจวัตร   การทำนายุค 2
รถไถนาแทน                                                                         
                   เมื่อมีถนนเกิดขึ้น มีวัด มีโรงเรียน  ประเพณีเริ่มที่จะเพิ่มเติมขึ้นเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่น เช่น วันมาฆะบูชา  ตรุษจีน วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันเข้าปุริมพรรษา เทศกาลบุญมหาชาติ  งานลอยกระทง  และการละเล่นพื้นบ้าน 
                   เมื่อเจ็บป่วยในสมัยนี้  ยายสะอาด  จันทร์ศรีสุราษฏร์  (2522,ตุลาคม) อายุ  68   ปี เล่าว่าการเจ็บบ่วย  คลอดลูกเริ่มที่จะไปโรงพยาลแล้ว  แต่หมอตำแยและยาสมุนไพรก็ยังใช้อยู่เป็นบางส่วน
                   ประเพณีที่ต่างไปจากหมู่บ้านอื่น คือการทำขวัญข้าว  ตั้งแต่ข้าวเริ่มตั้งท้อง  ทำขวัญตอนนวดข้าวและแม้แต่เมื่อเก็บข้าวเข้ายุ้งก็ทำขวัญด้วย  ประเพณีนี้นิยมทำขวัญ  เพราะย้ายมาจากใจังหวัดนครสวรรค์  อุทัยธานีและชัยนาท ซึ่งนิยมทำกันมานานแล้ว
ยุคที่ 3  ได้ของเล่นใหม่อะไรก็เปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2516 -  ปัจจุบัน)
              นางมะรินทร์  ประสิทธิ์เขตกิจ  ( 2552,ตุลาคม)  อายุ  47  ปี   กล่าว่า บ้านเทพนคร  นี้เป็นชื่อ รวมของทั้ง 2  หมู่บ้านด้วยกัน คือ  หมูที่ 4  บ้านเทพนคร และหมู่ที่  15  บ้านศรีนคร  นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516 มีโรงน้ำตาลมิตรสยามเกิดขึ้น มีชาวบ้านไปสมัครทำงานที่โรงน้ำตาล  เพราที่นาเริ่มไม่เพียงพอจำเป็นต้องหาอาชีพอื่นเพิ่มเติม   ที่นาบางส่วนเปลียนเป็นอ้อยเพื่อส่งโรงน้ำตาล  มีสวนส้ม  ปี พ.ศ. 2522 มีถนนลาดยาง    มีไฟฟ้า  อาชีพ                                   ภาพที่ 17  นางมะรินทร์  ประสิทธิ์เขตกิจ
ที่จำเป็นต้องใช้ฟ้า   เกิดขึ้น  ช่างอ๊อก ช่างเชื่อม    นับปัจจุบันนี้  มีโรงงานและร้านเพิ่มเติมมากมายในหมู่บ้าน เช่นท่าทราย  วัสดุก่อสร้าง โรงงานพลาสติก  โรงงานปุ๋ยและ ยาฆ่าแมลง  มีบ่อปลา แต่ก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับอากาศ  ตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำมีการทรุดควรหาทางแก้ไข
              นายสมชาย   หล่มแสง   (2552,ตุลาคม)  อายุ47 ปี  ได้กล่าวถึงการศึกษาในหมู่บ้านว่าสมบูรณ์ขึ้น มีโรงเรียนหลายระดับ ตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก  ซึ่งเทศบาลตำบลเทพนครดูแลอยู่และติดอยู่กับโรงเรียนของเรา  ระดับ อนุบาล  ชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น  ถ้าจะเรียนต่อก็สามรถไปเรียนในตัวเมืองได้
                                                                                                       ภาพที่  18  ผู้ใหญ่สมชาย  หล่มแสง       
             ด้านสาธารณสุข นั้นได้รับความปลอดภัยเป็นอย่างดี  ในตัวเมืองก็ไปหาโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา  แม่แต่คลินิกก็เข้าพบได้  หมู่ที่ 13 มีสถานีอนามัยที่พร้อมที่จะให้การรักษา
  วิถีชีวิตของชาวปางฝรั่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุค พอที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ดังนี้
           1.   ชื่อของหมู่บ้านปางฝรั่ง หรือปางหรั่ง   ได้เรียกใหม่เป็น “บ้านเทพนคร”
           2.   สภาพทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นป่าทึบ  ได้เปลี่ยนเป็นทุ่งนา  ในปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรม มีร้านค้าเกิดขึ้น  ถนนที่เดินเลาะแม่น้ำถูกออกหลักฐานการครอบครองจึงไม่สารมารถวิ่งได้  มีท่าทรายหลายแห่ง ทำให้ริมตลิ่งบางส่วนดินยุบและถูกน้ำกัดเซาะ ชาวต้องโยกย้าย



   
                                                                       ภาพ ที่ 19  โรงงานอาหารสัตว์                                         




                                                                                   โรงงานน้ำตาล                             




                                                                      ภาพที่  21 ร้านค้าวัสดุมีหลายแห่ง
       


 
   3.  อุปกรณ์ในการทำนา แต่เดิมใช้วัวและควายเป็นหลัก  ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องจักรกลเข้ามาแทน
 

            ภาพที่ 22  อุปกรณ์ในการทำนาที่ต้องใช้กับวัวควาย ซึ่งนายถวิล  อยู่ยอด อดีตผู้ใหญ่บ้านเก็บรักษาไว้
 
                              ภาพที่  23    นายจรัส  อิ่มแสง  อุปกรณ์ในการทำนาโดยใช้เครื่องจักรกล
 
ภาพที่  24     วิธีเกี่ยวข้าว  เดิมใช้เคียวเกี่ยว ตากราย   มัดเป็นฟ่อน รวมกอง  ใช้วัวควายย่ำ  ใช้สีฝัด
                            แต่เดี๋ยวนี้ทันสมัย  เริ่มเกี่ยวแล้วได้ข้าวเปลือกทันที่
         
   4.   ในด้านการศึกษานั้นได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น นับแต่ไม่มีโรงเรียน จนสามารถที่จะเรียนได้ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3  สถานที่เดิมติดกับริมแม่น้ำได้ย้ายออกมาและปรับปรุงจนถือว่าสมบูรณ์
 
ภาพที 25 ลุงโต แสงโฉม ชี้ให้ดูสถานที่เรียนตั้งแต่ชั้น  ป. 1                    ภาพที่ 26 อาคารเรียนหลังแรกแห่งใหม่  ที่
ถึงชั้น ป. 4   อาคารเรียนติดตลิ่งแม่น้ำปิง   พ.ศ. 2482                                   นายสร่าง  จิตต์อารี จัดหาให้ เมื่อปี พ.ศ. 2502                                         
 
ภาพที่  27    อาคารเรียนหลังใหม่แทนอาคารเรียนหลังแรกในที่                      ภาพที่ 28  สภาพที่สมบูรณ์ในปัจจุบันนี้
                    เดิมเมื่อปี    พ.ศ. 2544
5.  อาชีพที่เปลี่ยนไป    เดิมมีอาชีพเพียงทำนา  แต่ปัจจุบัน นอกจากทำนาแล้วยังมีอาชีพอื่น ๆ ซึ่งทำในหมู่บ้านและสถานที่ทั่วๆไปเช่น ก่อสร้าง  รับจ้างทำตามโรงงาน  ค้าขาย  ช่างซ่อมเครื่องยนต์  เป็นต้น
บทสรุป 
                          เรืองราวของบ้านเทพนครที่ได้รวบรวมมานี้  สามารถที่จะอธิบายถึงวิถีชีวิตทั้ง 3 ยุคได้เป็นอย่างดี และจะเป็นกระจกให้ความรู้ใหม่ต่อรุ่นหลังต่อไป นับแต่ การตั้งถิ่นฐาน อาณาเขต  ถนนหนทาง  อาชีพการทำมาหากิน   การศึกษา  ศาสนา  สาธารณสุข  รวมทั้งประเพณีต่าง ๆ  ในแต่ละยุค  ส่วนที่จะนำมาเป็นประโยชน์นั้นเราควรนำมาพื้นฟูขึ้นใหม่



 
ที่มาของข้อมูล

  ยุคที่ 1  จากสภาพป่าดงดิบถึงยุคทุ่งโล่งที่กว้างใหญ่ (ก่อน พ.ศ.2474 - ฝรั่งเข้ามาอยู่ พศ.2474-98)

                1      “ เล่าเรื่องชาวอังกฤษผู้สร้างบ้านปางฝรั่ง”    ยายอินทร์    พลขันธ์  อายุ  82  ปี
                 2.    “การเช่านาและวัวควายของฝรั่ง”      นายจรัส  อิ่มแสง    อายุ  63  ปี
                 3.     “การเรียนหนังสือ”   ลุงโต  แสงบัว   อายุ  84  ปี
                 4.     “ทหารชาวญี่ปุ่นมาค้างคืนที่เกาะ”  ลุงสนิท  ศิรารักษ์  อายุ 82 ปี
                 5.     “ประเพณี  ยุคฝรั่ง”     ลุงแฟง   จันทร์ศรีสุราษฎร์  อายุ  73  ปี
                 6.     “ชาวฝร่งขายทุ่งนา”    สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ   สำนักงานสหกรณ์
                           จังหวัดกำแพงเพชร   2544
ยุคที่ 2   เมื่อฝรั่งไปคนไทยก็เข้ามา (พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2515)
                1.    “ผู้โยกย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านปางหรั่ง”       นายวีระยุทธ  แสนบุญมา  อายุ  60  ปี
                .     “ประวัติการทำงานของนายส่าง  จิตต์อารี”    นางสาวจริยา  จิตต์อารี  อายุ 42  ปี
                         บุตรสาวของนายส่าง  จิตต์อารี       
               2.      “การสร้างวัด”      วัฒนธรรมบ้านเทพนคร   2545
               3.       “การสร้าง โรงเรียนบ้านเทพนคร    วัฒนธรรมบ้านเทพนคร   2545
               4.    “วิธีการทำนายุค 2”  ลุงสุพจน์   สิญจวัตร  อายุ  71  ปี
               5.    “อุปกรรณ์หรือเครื่องมือในการทำนา”  นายถวิล   อยู่ยอด   อายุ  67   ปี
               6.     “ ด้านสาธารสุข”  ยายสะอาจ   จันทรืศรีสุราษฎร์
ยุคที่ 3  ได้ของใหม่เล่นใหม่อะไรก็เปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2516 -  ปัจจุบัน)
              1.        “อาชีพของชาวบ้านเทพนคร”    นางมะรินทร์  ประสิทธิ์เขตกิจ  อายุ  47  ปี
              2.      “  การศึกษา  ศาสนา  สาธารณสุข”  นายสมชาย  หล่มแสง       อายุ  47  ปี 









บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!