จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 23, 2024, 04:54:45 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุดยอดหญิงไทยในประวัติศาสตร์ // เนื่องในวันสตรีสากล  (อ่าน 33460 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1440


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 10:34:18 am »

วันสตรีสากล




ในประวัติศาสตร์ไทย มีสตรีทีทรงคุณค่าที่สมควรได้รับการยกย่องหลายท่าน ดังต่อไปนี้
และสตรีเหล่านี้ มิใคร่มีใครกล่าวถึงกันมากนัก (ส่วนท่านที่ประวัติศาสตร์บันทึกแล้วไว้จะกล่าวถึงในภายหลัง)
ท้าวศรีสุดาจันทร์
(ไม่ทราบ - พ.ศ. 2091) ในยุคนี้กรุงศรีอยุธยาเรียกได้ว่าเป็นยุคมืด เพราะมีสตรีผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงไม่สู้ดีนักในความคิดของคนไทย เพราะฆ่าลูก ฆ่าพระสวามีตัวเองแล้วให้ชู้ขึ้นครองราชย์แทน ความจริงทรงกอบกู้บ้านเมืองให้กับราชวงศ์อู่ทอง หลังจากถูกราชวงศ์สุพรรณภูมิชิงมา
ท้าวศรีสุดาจันทร์เดิมมีศักดิ์เป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์อู่ทอง พระนางได้เข้าวังรับตำแหน่งพระสนมในสมเด็จพระไชยราชาธิราช แล้วพระนางทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ เมื่อครั้นสมเด็จพระไชยราชาธิราช เห็นว่าอาณาจักรล้านนามีความอ่อนแอเพราะมีกษัตรียาปกครองบ้านเมืองจึงคิดจะยึดล้านนาไว้เป็นประเทศราช พระองค์จึงเสด็จไปรบ เมื่อพระองค์กลับมาท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ถวายโอสถซึ่งโอสถนั้นพระนางได้ใส่ยาพิษลงไป จึงทำให้สมเด็จพระไชยราชาธิราชถึงแก้พระชนม์ชีพ ตามกฎมณเทียรบาลที่มีไว้ในกฎหมายตราสามดวง ท้าวศรีสุดาจันทร์ ไม่ใช่เป็นชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อตำแหน่ง ของพระสนมเอก 1 ใน 4 องค์ของกษัตริย์ที่มีมาแต่สมัยอยุธยา เรียกว่า ท้าวพระสนมทั้ง 4 มีศักดินาคนละ 1,000 ไร่ โดยตำแหน่ง ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตำแหน่งของพระสนมเอกที่สืบเชื้อสายราชวงศ์อู่ทอง หรือ ละโว้ - อโยธา การที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ทำเช่นนี้ เมื่อวิเคราะห์และตีความแล้ว อาจเป็นไปได้ว่านางมีเจตจำนงทางการเมือง 2 ประการ คือ

ฟื้นฟูราชวงศ์อู่ทองให้กลับมามีอำนาจดังเคย (เนื่องจากราชวงศ์อู่ทองล่มสลายไปเพราะการเข้ามาแทนที่ของราชวงศ์สุพรรณภูมิ)
สืบทอดเจตนารมณ์ของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่ต้องการให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจในการปกครอง
หลังจากที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์สมเด็จพระไชยราชาธิราชโดยการลอบวางยาพิษ กับพระยอดฟ้าโดยการประหารชีวิต แล้วจึงให้ขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แทน (ตรงนี้ อาจสันนิษฐานได้ว่า ขุนวรวงศาธิราช อาจเป็นผู้มีเชื้อสายราชวงศ์อู่ทองด้วยเช่นกันก็เป็นได้) แต่ครองราชย์ได้เพียงแค่ ๔๒ วัน ก็ถูกรัฐประหารด้วยกลุ่มขุนนางเก่าและพระญาติวงศ์ในเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์สุโขทัย ขุนวรวงศาธิราชถูกประหารชีวิต แล้วท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ถูกพระแสงยิงถึงแก่พระชนม์

ท้าวศรีสุดาจันทร์ ถูกเรียกว่า "แม่หยัว" หรือ "แม่ยั่ว" คำ ๆ นี้เพี้ยนมาจาก "แม่อยู่หัว" นั่นเอง จึงเชื่อว่าท้าวศรีสุดาจันทร์น่าจะเป็นถึงพระสนมเอกในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เพราะนางมีโอรส 1 องค์ คือ พระศรีศิลป์ อีกทั้งสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้แต่งตั้งนางให้เป็นผู้สำเร็จราชการในพระแก้วฟ้าคู่กับพระเฑียรราชาด้วย




เจ้าแม่วัดดุสิต
พระบรมราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี พระองค์เป็นพระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีข้อสันนิษฐานมากมายเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดของเจ้าแม่วัดดุสิต เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้โดยอ้างจากหนังสือราชินิกุลบางช้างไว้ว่า "เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย"[1] นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงพระนามของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า บางแห่งกล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงบัว" มีเชื้อสายพระร่วงสุโขทัย บางแห่งก็กล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ อย่างไรก็ตาม หลักฐานหลายแห่งก็ไม่ได้บ่งบอกว่าสายตระกูลของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์สายไหนเช่นกัภายหลังมีความเปลี่ยนแปลงในราชสำนัก จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าและขึ้นทรงกรมที่ กรมพระเทพามาตย์ ตามลำดับในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นที่รู้จักกันดีในพระนาม "เจ้าแม่วัดดุสิต" ต่อมาภายหลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าได้เอ่ยถึงเจ้าแม่วัดดุสิตในนาม "เจ้าแม่ผู้เฒ่า"

เจ้าแม่วัดดุสิตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอุภัย แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงมีโอรสธิดา 3 พระองค์ คือ

เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคราไปตีนครเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตเอก
แช่ม หรือ ฉ่ำ ธิดา
ส่วนปัญหาที่ว่า เจ้าแม่วัดดุสิตนั้น เป็น เจ้า จริงหรือไม่นั้น อาจยืนยันได้จากคำพูดของสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งทรงใช้คำตรัสเรียกว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" คือเป็นพระนามโดยตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมนิยมแต่ก่อนจะไม่นิยมเรียกพระนามผู้เป็นเจ้ากันตรงๆ




ประวัติ และวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือนางสาวบุญเหลือ เป็นบุตรีของ หลวงเจริญ กรมการผู้น้อยแห่งเมืองนครราชสีมา ครอบครัวของหลวงเจริญ มีความใกล้ชิดสนิทสนม และเคารพนับถือ พระยาปลัดเมืองนครราชสีมา และคุณหญิงโม เป็นอันมาก อีกทั้งพระยาปลัดเมือง และคุณหญิงโม ไม่มีบุตร และธิดา จึงได้รัก และเอ็นดูนางสาวบุญเหลือ ดุจว่าเป็นลูกหลานแท้ ๆ [1]

เมื่อ ปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพเข้าแผ่นดินไทย จนถึงเมืองนครราชสีมา โดยอ้างว่า มีพระราชโองการให้ยกทัพไปกรุงเทพ เพื่อช่วยรบกับอังกฤษ และเนื่องจากในขณะนั้น เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาปลัดเมืองไม่อยู่ ไปราชการเมืองขุขันธ์ เจ้าอนุวงศ์จึงยกทัพ เข้ายึดเมืองนคราชสีมาได้โดยง่าย แล้วกวาดต้อนผู้คนชาวนครราชสีมาเป็นเชลยขึ้นไปยังเวียงจันทน์ ในจำนวนเชลยเหล่านั้น มีคุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือรวมอยู่ด้วย

ระหว่างที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์ และทหารลาว หยุดพักค้างแรมระหว่างเดินทางไปเวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 [2] คุณหญิงโม ร่วมกับ นางสาวบุญเหลือ และหลวงณรงค์สงคราม หัวหน้าชาวเมือง ได้ใช้กลอุบาย โดยให้ชาวเมืองเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาวที่ควบคุมตัวมา เมื่อทหารเจ้าอนุวงศ์หลงกลกินเหล้าเมายาจนขาดสติเกือบหมดกองทัพ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะสมแล้ว กำลังชาวโคราชที่ทุ่งสัมฤทธิ์ทั้งชาย และหญิง ก็แย่งอาวุธโจมตีเข่นฆ่าทหารลาวจนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้แผนกอบกู้อิสรภาพของนครราชสีมาสำเร็จ

และในเหตุการณ์ครั้งนั้น นางสาวบุญเหลือได้เสียสละพลีชีพด้วยการนำไม้ฟืนจากกองไฟ วิ่งหลอกล่อทหาร ตรงไปยังกองเกวียน กระสุนดินประสิวของกองทัพทหารลาว จนเกิดการระเบิด แสงเพลิงแดงฉานไปทั่วท้องทุ่งสัมฤทธิ์ ด้วยการตัดสินใจด้วยปฏิภาณอันห้าวหาญ เด็ดเดี่ยวในวีรกรรมครั้งนี้ ของนางสาวบุญเหลือ ยังคงประทับแน่นอยู่ในความทรงจำ ของลูกหลานชาวนครราชสีมาตลอดไม่รู้ลื


อาภัสรา หงสกุล (ชื่อเล่น: ปุ๊ก) นางสาวไทย พ.ศ. 2507 คนที่ 14 ครองมงกุฎนางงามจักรวาล ค.ศ. 1965 เป็นนางงามจักรวาลคนที่ 14 และคนที่ 2 ของเอเชีย ต่อจากอากิโกะ โคจิมะ นางงามญี่ปุ่นที่ครองตำแหน่งนี้เมื่อ ค.ศ. 1959 สำหรับอาภัสรา เป็นสาวไทยคนที่ 3 ที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย ต่อจากอมรา อัศวนนท์ รองนางสาวไทย พ.ศ 2496 และเป็นตัวแทนคนแรกเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล ค.ศ. 1956 และสดใส วานิชวัฒนา ในครั้งนั้น บริษัทน้ำมันเชลล์ เป็นเจ้าภาพ อาภัสรา หงสกุล มีส่วนสูง 164 ซม. สัดส่วน 35-23-35 ซม. ก่อนหน้านี้ศึกษาอยู่ที่ ปีนังคอนแวนต์ ประเทศมาเลเซีย

โดยในปีที่อาภัสราได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลนั้น ได้จัดการประกวดที่หาดไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยรองนางงามจักรวาลคนที่ 1 คือ นางงามจากฟินแลนด์], ที่ 2 นางงามจากสหรัฐอเมริกา, ที่ 3 นางงามจากสวีเดน และ ที่ 4 นางงามจากฮอลแลนด์

อาภัสรา หงสกุล เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 6 คนของ นาวาเอกเพิ่ม หงสกุล และ นางเกยูร หงสกุล เป็นสาวไทยคนแรกที่ได้ครองมงกุฎนางงามจักรวาล และยังเป็นพี่สาวของนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุล ที่เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต 2 และ เอกภาพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย

อาภัสรา หงสกุล สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร โอรสของหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร กับ หม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร (ชยางกูร) มีบุตรชาย คือ หม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร และสมรสอีกครั้งกับ สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์มีบุตร คือ นายภัสสรกรณ์ จิราธิวัฒน์


จีรนันท์ พิตรปรีชาเกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดตรัง มีความสนใจในการประพันธ์ตั้งแต่เด็ก จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ แผนกเตรียมเภสัช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกให้เป็นดาวจุฬา พ.ศ. 2515

ใน พ.ศ. 2516 เป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาที่ร่วมโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย ของ ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (ศสป)ซึ่งรัฐบาลอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยการดูแลของ ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่ง อ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ เป็น รมต. ทั้งนี้ ได้รับการชักชวนจาก นายวิรัติ ศักดิ์จิรภาพงศ์ ผู้นำนักศึกษาที่เป็นนิสิตจุฬาฯรุ่นพี่ กิจกรรมแรก คือ การจัดอบรมอาสาสมัครส่งเสริมประชาธิปไตย ที่ จิตตภาวันวิทยาลัย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อ มีค.2517 หลังจากนั้น เธอได้มีบทบาทในการแต่งคำประพันธ์เพื่ออ่านบนเวทีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานและกลุ่มสตรีต่างๆ ในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน และต้องหนีเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อยู่หลายปี จิระนันท์มีชื่อจัดตั้งในป่าว่า สหายใบไม้ จากนั้นไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุลหรือสหายไท อดีตผู้นำนักศึกษาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกัน มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ แทนไท ประเสริฐกุล และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุดอกไม้จะบาน
ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน
บริสุทธิ์กล้าหาญ  จะบานในใจ
สีขาว หนุ่มสาวจะใฝ่ 
แน่วแน่แก้ไข จุดไฟศรัทธา
เรียนรู้ ต่อสู้มายา
ก้าวไปข้างหน้า เข้าหามวลชน
ชีวิต อุทิศยอมตน
ฝ่าความสับสน เพื่อผลประชา
ดอกไม้ บานให้คุณค่า
จงบานช้าช้า แต่ว่ายั่งยืน 
ที่นี่
 และที่อื่นอื่น
ดอกไม้สดชื่น  ยื่นให้มวลชน 
 ผลิ (หนังสือปฐมนิเทศนิสิตใหม่จุฬาฯ) ๒๕๑๖

 


--------------------------------------------------------------------------------
สุสานทราย
ตรงรอยต่อสีขาวเส้นยาวเหยียด
ทรายละเอียดพบสายแดดแผดรังสี
ระยับไหวในละอองทองธาตรี
ลามสุรีย์สุดระยะทะเลทราย

คนสัญจรอ่อนล้า กร้านกว่ากร้าน
เดินโดยสารเวลาหาจุดหมาย
ความหวังตรงเส้นขาว ยาว, ท้าทาย
อาจละลายหลอมร้อนก่อนถึงมัน

แล้วสีเขียวแสนงามยามร้อนจัด
ปรากฏชัด, ธารใสเหมือนในฝัน
คนใกล้ตายตะกายวิ่งหาสิ่งนั้น
ภาพอาถรรพณ์พลันดับไปกับตา

ทะเลทรายรูปขวานกร้านลมแดด
วนในแวดวงเก่า-เขลา, ไร้ค่า
ผู้แสวงหวั่นไหวไกลเกินคว้า
มีแต่ล้ารอตายรอสายธาร
 
มิถุนายน ๒๕๑๖

 


--------------------------------------------------------------------------------
บันทึกลับกระบือหนุ่ม 
มาจะกล่าวบทไป
ถึงกระบือฝูงใหญ่อนาถา
ถูกขังคอกแคบคับอัปรา
จนตายด้านชินชามานักแล้ว

เขาให้กินเศษกากซากเน่า
ด่าว่าโง่เง่าทั้งเถาแถว
หลอกล่อลวงใช้ไม่รู้แกว
สี่ขาตาแป๋วไว้ไถนา

มีควายย่อมมีคนบนหลังควาย
เคี่ยวเข็ญเป็นนายควายเบิ่งบ้า
เขาทวงคุณขุนเลี้ยงอย่างเลี่ยงนา
ตัวไหนกล้าปฏิวัติ-ซัดด้วยปืน

กูก็เป็นควาย?
งมงายตามประสาหน้าต้องฝืน
แต่เลือดกูหลายหยดเคยรดพื้น
เพราะมันขืนดัดจริตจะขวิดคน

วันนี้กูเกิดเบื่อ
ไม่อยากทำเชื่องเชื่อเมื่อเขาพ่น
แอกหนักขึ้นทุกวันมันเกินทน
เกลียดสายสนตะพายอยากคลายทิ้ง


"เขาแหลมหรือจะสู้ดาบปลายปืน"
กูยืนฟังคำกล้ำนิ่ง
ทางเดียวหรือที่มีจริง
จับกูพิงยิงเป้าให้พ้นเวร
 
นิสิตนักศึกษา กรกฎาคม ๒๕๑๖
 

 


--------------------------------------------------------------------------------
ไฟ-วิญญาณ;
งาน-ชีวิต 
ทะเล ภูเขา เทาท้องฟ้า
นกน้อยปรารถนาบินให้ถึง
คาบธุลีจากหาวดาวดึงส์
มาเกลือกกลึงรอยไถในลุ่มนา
ท้าทายอหังการ์ท่าที
ไม่หนีลมคลื่นฝืนฝ่า
สองปีกนี้มีกำลังปกบังฟ้า
รักษามิให้ล่มถมมวลชน
และสำเนียงอมตะจะถี่ก้อง
เพลงนกร้องเฉียบเข้มเต็มข้น
กล่อมน้ำตาแห้งคาตาคนจน
สาปอธรรมทุกข์ทนอัปยศ
กล้าหาญ กล้าหาญ
ปราการเบื้องหน้าปรากฏ
ปราการฐานันดร์หลั่นลด
จักฝ่าไปปลดพันธนา
ฝันถึงสัจจะอิสรภาพ
วันโลกอาบอิ่มงามตามคุณค่า
คนคือคนลุกฟื้นคืนชีวา
สืบตำนานสะท้านฟ้าผาดินดาว

พรุ่งนี้แล้วพรุ่งนี้...
ปีกนกหลุบหรี่เหน็บหนาว
ถอนใจรับดับฝันอันสกาว
และปวดร้าวกับเลือดเนื้อเมื่อหมดแรง
 
(คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ)

 


--------------------------------------------------------------------------------
ปณิธานหนุ่มสาว
เบื้องหน้าคือหญิงสาว
พลิ้วอาภรณ์สีขาว ไร้เดียงสา
มีดวงดาววาวใสในแววตา
โปรยประกายปรารถนาเป็นดอกไม้
เธออ่านนิยายใฝ่ฝัน
สงสัยค่ายุติธรรม์หายไปไหน
การต่อสู้เพื่อสิ่งนี้จะมีใคร
เธอก้าวไปค้นความจริง (อิงนิยาย)

เขาคือชายหนุ่ม
ร้อนรุ่มแกร่งกล้าหาความหมาย
โดยยึดมั่นการต่อสู้ลูกผู้ชาย
ท้าทายภัยผองโลกหมองมัว
เขาตะโกนสุดเสียง
ถกเถียงหยันหยามความชั่ว
ชายหนุ่มวิ่งสวนทางกับความกลัว
เพื่อพบตัวมีค่าน่าพอใจ

ชายหนุ่มกับหญิงสาว
จูงมือกันก้าวสู่หนไหน?
เพียงหลงทางไม่มีทางไป
หรือสร้างสรรค์บันไดไกลถึงฟ้า

...นี่คือคำตอบ
"ชีวิตที่มอบไว้แก้ปัญหา
ต้องสู้ ต้องทำ รับคำท้า
เบื้องหน้าคืออะไรไม่พรั่นเลย"
 
นิสิตนักศึกษา ธันวาคม ๒๕๑๖ 

 


--------------------------------------------------------------------------------
อหังการของดอกไม้
สตรีมีสองมือ
มั่นยึดถือในแก่นสาร
เกลียวเอ็นจักเป็นงาน
มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ

สตรีมีสองตีน
ไว้ป่ายปืนความใฝ่ฝัน
ยืนหยัดอยู่ร่วมกัน
มิหมายมั่นกินแรงใคร

สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน

สตรีมีดวงใจ
เป็นดวงไฟไม่ผันผวน
สร้างสมพลังมวล
ด้วยเธอล้วนก็คือคน

สตรีมีชีวิต
ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล
คุณค่าเสรีชน
มิใช่ปรนกามารมณ์

ดอกไม้มีหนามแหลม
มิใช่แย้มคอยคนชม
บานไว้เพื่อสะสม
ความอุดมแห่งผืนดิน !
 
ประชาธิปไตย ๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ 

--------------------------------------------------------------------------------

http://www.arts.chula
.ac.th/~complit/etext/octobertext/octtext/jiranunt.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2011, 10:23:03 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!