จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ธันวาคม 04, 2024, 02:17:20 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วีรสตรีไทย จามเทวี นางเสือง นางนพมาศ ศรีสุดาจันทร์ สุริโยทัย สุพรรณกัลยา  (อ่าน 28394 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1442


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2012, 12:05:29 pm »

พระนางจามเทวี
เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น
        ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี
        นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี
        ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติพ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น
        พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญชัย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญ
        พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญชัย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาดในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้
     อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ
     อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก
     มหาสัตตาราม ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้
     มหาวนาราม ปัจจุบันคือ วัดมหาวัน เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก
พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุดโดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญชัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า ?...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...?
คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือนางเสืองนั่นเอง สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ (กษัตริย์) จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์
ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้
ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง ทางจังหวัดสุโขทัยจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย

นางนพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)หรือพระร่วงเจ้าสุโขทัย จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก
ปรากฏในพงศาวดารว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน นำไปถวายพระร่วงเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ามาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
นางนพมาศ ได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย
เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อว่า หนังสือ นางนพมาศ
นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า ?กวีหญิงคนแรกของไทย? ดังที่เขียนไว้ว่า ?ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน ?







     ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นพระสนมเอกของพระไชยราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอยุธยา ทรงเป็นพระราชมารดาของพระยอดฟ้า กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งอยุธยา และทรงเป็นพระมเหสีของขุนวรวงศาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 15 แห่งอยุธยา
     แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ เป็นเพียงพระนามที่ระบุว่าในพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา และ แม่ยั่วศรีสุดา ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ และพระนาม ?ศรีสุดาจันทร์? ไม่ใช่พระนามจริงของพระองค์แต่เป็นชื่อตำแหน่งสนมเอกของกษัตริย์อยุธยาตามที่ปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ของกฎหมายตราสามดวงระบุว่า ?นางท้าวสนมเอกทั้ง 4 คือ ท้าวสุเรนทร ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี ท้าวศรีจุฬาลักษณ์?
     พระไชยราชาธิราช ซึ่งขึ้นบัลลังก์กษัตริย์อยุธยา โดยการ ?ยึดอำนาจ? จากพระรัฏฐาธิราชกุมาร กษัตริย์องค์ที่ 12 ที่มีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา ถูกยึดอำนาจหลังการครองราชย์ได้ 5 เดือน และถูกนำตัวไปสำเร็จโทษ การยึดอำนาจครั้งนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนสายครองราชของโอรสของพระรามาธิบดีที่ 2 เท่านั้น คือ จากสายของ ?เจ้าฟ้า? (พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร กษัตริย์องค์ที่ 11 ซึ่งมีพระโอรสคือพระรัฏฐาธิราชกุมาร กษัตริย์ที่ 12 มาเป็นสาย ?โอรส? อันเกิดแต่พระสนมก็คือ พระไชยราชาธิราช)
     สมัยของพระไชยราชาธิราชเป็นยุคสมัยที่การค้ากับต่างประเทศเริ่มเฟื่องฟู ดังจะเห็นจากการการขุดคลองลัดบางกอก การมี ชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสา หรือ ทหารรักษาพระองค์ และยังเป็นยุคสมัยที่เปิดฉากสงครามครั้งแรกกับพม่าในกรณีปัญหาหัวเมืองมอญ คือศึกเชียงกราน
     การขึ้นครองราชย์ของพระยอดฟ้า ซึ้งเป็นโอรสที่เกิดแก่พระสนมเอก ?ศรีสุดาจันทร์? เมื่อพระชนมายุ 11 พรรษา ในช่วงที่พระสนมเอก ?ศรีสุดาจันทร์? มีสถานะเป็น ?นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์?
     พระยอดฟ้า กษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ครองราชสมบัติโดยมี พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ จึงได้ ?ราชาภิเษกขุนวรวงศาขึ้นเป็นเจ้าพิภพ? เป็นกษัตริย์องค์ที่ 15 ของอยุธยา
     หลังขุนวรวงศาได้เป็นกษัตริย์จึงเกิดเหตุการณ์นำเอาพระยอดฟ้าที่ยังทรงพระเยาว์ไปประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา
ขุนวรวงศาธิราชเป็นคนจากหัวเมืองฝ่ายเหนือแว่นแคว้นสุโขทัย การปรากฏตัวของขุนวรวงศาธิราชในนาม ?พันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ(ข้างหน้า)? ในพระราชวัง และมีสื่อสัมพันธ์กับพระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์โดยผ่านสัญลักษณ์ ?เมี่ยง? และ ?ดอกจำปา? กระทั่งได้รับการเปลี่ยนให้เป็น ?ขุนชินราช? ตำแหน่งผู้ ?รักษาหอพระข้างใน? ซึ่งการที่ ?หอพระข้างใน?พระราชวังหลวงมีตำแหน่ง ?ขุนชินราช?
     ขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์อยู่ 45 วัน หลังจากถูกยึดอำนาจ ทั้ง ขุนวรวงศาธิราช พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชนัดดาที่มีพระชนม์ 1-2 พรรษา ทั้งสามพระองค์ถูกฝ่ายยึดอำนาจ ?ฆ่าแล้วเอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพและคณะผู้ยึดอำนาจได้ถวายบัลลังก์คืนแก่ ?พระเทียนราชา? เชื้อพระวงศ์สุพรรณบุรี ซึ่งก็คือ พระมหาจักรพรรดิสำหรับ ?พระศรีศิลป์? โอรสอีกพระองค์ของ พระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์กับพระไชยราชาธิราชนั้นจะถูกประหารชีววิตในระยะถัดมาในข้อหาซ่องสุมคิดกบฎต่อพระมหาจักรพรรดิ (พระมหาจักรพรรดิทรงเลี้ยงพระศรีศิลป์ไว้ 13-14 ปี) จึงจบวงศ์ของพระแม่เจ้าอยู่หัวสุดาจันทร์กับพระไชยราชาธิราชและขุนวรวงศาธิราช

สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราช
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2012, 12:12:17 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!